Loading AI tools
ภาพยนตร์ชุดไทยมี 6 ภาค จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ กำกับการแสดงโดยหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล มี 6 ภาค ทุนสร้าง 700 ล้านบาท (ในครั้งแรกกำหนดให้มี 5 ภาค[1][2]) เป็นภาคต่อจากภาพยนตร์เรื่อง สุริโยไท โดยหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ได้วางเป้าหมายเรื่องนี้ไว้ว่าจะต้องทำให้ดีกว่าภาพยนตร์เรื่อง "สุริโยไท" ในทุกด้าน โดยมีขอบเขตการทำงานใหญ่กว่า อลังการกว่า ฉากต่าง ๆ มีความยิ่งใหญ่อลังการกว่า นักแสดงหลัก และนักแสดงประกอบมีจำนวนมากกว่า เครื่องมือ และเทคโนโลยีต่าง ๆ มากกว่า[3] ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลทรงเจริญพระชนมพรรษา 72 พรรษา[4]
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช | |
---|---|
ใบปิดภาพยนตร์ | |
กำกับ | หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล |
บทภาพยนตร์ | หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล สุเนตร ชุตินธรานนท์ |
อำนวยการสร้าง | หม่อมกมลา ยุคล ณ อยุธยา หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี ยุคล (ภาค 5-6) คุณากร เศรษฐี |
นักแสดงนำ | ดูด้านล่าง |
ผู้บรรยาย | ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ (ภาค 1) มนตรี เจนอักษร (ภาค 5-6) |
กำกับภาพ | ณัฐวุฒิ กิตติคุณ (ภาค 1-2) สตานิสลาฟ ดอร์ซิก |
ตัดต่อ | หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล หม่อมราชวงศ์ปัทมนัดดา ยุคล |
ดนตรีประกอบ | ริชาร์ด ฮาร์วีย์ (ภาค 1,2,4) แซนดี้ แม็คลาเลนด์ (ภาค 1-3) รอส คัลลัม (ภาค 3) เทิดศักดิ์ จันทร์ปาน (ภาค 5-6) |
บริษัทผู้สร้าง | |
ผู้จัดจำหน่าย | สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล |
วันฉาย | พ.ศ. 2550 – 2558 |
ประเทศ | ไทย |
ภาษา | ภาษาไทย ภาษาพม่า ภาษามอญ |
ทุนสร้าง | 700 ล้านบาท (6 ภาค) |
ก่อนหน้านี้ | สุริโยไท |
ข้อมูลจาก IMDb | |
ข้อมูลจากสยามโซน |
ตัวละคร | องค์ประกันหงสา | ประกาศอิสรภาพ | ยุทธนาวี | ศึกนันทบุเรง | ยุทธหัตถี | อวสานหงสา | |
---|---|---|---|---|---|---|---|
2550 | 2554 | 2557 | 2558 | ||||
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช | ปรัชฌา สนั่นวัฒนานนท์ | พันตรีวันชนะ สวัสดี ปรัชฌา สนั่นวัฒนานนท์ (วัยเด็ก) |
พันตรีวันชนะ สวัสดี | พันโทวันชนะ สวัสดี ปรัชฌา สนั่นวัฒนานนท์ (วัยเด็ก) | |||
มณีจันทร์ | สุชาดา เช็คลีย์ | ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ สุชาดา เช็คลีย์ (วัยเด็ก) |
ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ | ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ สุชาดา เช็คลีย์ (วัยเด็ก) | |||
ออกพระราชมนู / บุญทิ้ง | จิรายุ ละอองมณี | นพชัย ชัยนาม จิรายุ ละอองมณี (วัยเด็ก) |
นพชัย ชัยนาม | นพชัย ชัยนาม จิรายุ ละอองมณี (วัยเด็ก) |
นพชัย ชัยนาม | นพชัย ชัยนาม จิรายุ ละอองมณี (วัยเด็ก) | |
พระมหาเถรคันฉ่อง | สรพงศ์ ชาตรี | ||||||
พระเจ้านันทบุเรง | จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์ | ||||||
พระมหาอุปราชา (มังสามเกียด) | โชติ บัวสุวรรณ | นภัสกร มิตรเอม | |||||
พระสุพรรณกัลยา | เกรซ มหาดำรงค์กุล กล้วยไม้ พิกุลแย้ม (วัยเด็ก) |
เกรซ มหาดำรงค์กุล | |||||
นัดจินหน่อง | สิริพงษ์ แพทย์วงษ์ | นาวาอากาศเอกจงเจต วัชรานันท์ | |||||
สมเด็จพระเอกาทศรถ | กรัณย์ เศรษฐี | พลตรีวินธัย สุวารี | |||||
ออกญาสีหราชเดโช | ธนา สินประสาธน์ | ||||||
ท้าววรจันทร์ | อำภา ภูษิต | อำภา ภูษิต | |||||
สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช | ฉัตรชัย เปล่งพานิช | ||||||
มังจาปะโร | ทีปกร อัครวุฒิวรกุล | ชลัฏ ณ สงขลา | |||||
ออกญาสุโขทัย | ต่อลาภ กำพุศิริ | ||||||
ออกญากำแพงเพชร | อภิชาติ อรรถจินดา | ||||||
ออกญาท้ายน้ำ | คมน์ อรรฆเดช | ||||||
พระยาพิชัยสงคราม | ราวิน บุรารักษ์ | ||||||
พระวิสุทธิกษัตริย์ | ปวีณา ชารีฟสกุล | ปวีณา ชารีฟสกุล | |||||
ลักไวทำมู | สมชาติ ประชาไทย | ||||||
พระเจ้าบุเรงนองกะยอดินนรธา | สมภพ เบญจาธิกุล | ||||||
ขุนเดช | ดี๋ ดอกมะดัน | ||||||
สุระกำมา | โสธรณ์ รุ่งเรือง | ||||||
ฟ้าเสือต้าน (เจ้าฟ้าเมืองคัง) | ชุมพร เทพพิทักษ์ | ||||||
ออกญาพิชัย | กรุง ศรีวิไล | กรุง ศรีวิไล | |||||
ออกญาสวรรคโลก | มานพ อัศวเทพ | มานพ อัศวเทพ | |||||
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ | ศรัณยู วงศ์กระจ่าง | ศรัณยู วงศ์กระจ่าง | |||||
พระเทพกษัตรี | ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์ | ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์ | |||||
พระราเมศวร | สถาพร นาควิลัย | สถาพร นาควิลัย | |||||
สมเด็จพระมหินทราธิราช | สันติสุข พรหมศิริ | ||||||
ออกญาจักรี | ไพโรจน์ ใจสิงห์ | ||||||
พระนางจันทราเทวี | เปรมสินี รัตนโสภา | ||||||
สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช | รอน บรรจงสร้าง | ||||||
ออกญาราชภักดี | ญาณี ตราโมท | ||||||
ราชทูตล้านช้าง | กษมา นิสสัยพันธ์ | ||||||
มเหสีพระมหินทราธิราช | ปริศนา กล่ำพินิจ | ||||||
ปรารถนา สัชฌุกร | |||||||
พระชัยบุรี | ปราบต์ปฎล สุวรรณบาง | ||||||
พระศรีถมอรัตน์ | พันโทคมกริช อินทรสุวรรณ | ||||||
ออกญาเสนาภิมุข | คะซุกิ ยะโนะ | ||||||
ออกญาราชวังสรรค์ | นาวาอากาศตรีกัมปนาท อั้งสูงเนิน | ||||||
ออกญาศรีไสณรงค์ | วัชรชัย สุนทรศิริ | ||||||
เลอขิ่น | อินทิรา เจริญปุระ | ||||||
พระยาพิชิตรณรงค์ (ภาค : 2) |
พยัคฆ์ รามวาทิน | ||||||
พระยาจักรีศรีองครักษ์ (ภาค : 3-5) | |||||||
ขุนรัตนแพทย์ | โกวิทย์ วัฒนกุล | ||||||
ซักแซกยอถ่าง | เรืองยศ โกมลเพ็ชร | ||||||
พระยาพิชัยรณฤทธิ์ | อานนท์ สุวรรณเครือ | อานนท์ สุวรรณเครือ | |||||
หมอกมู | อภิรดี ภวภูตานนท์ | ||||||
พระยาเกียน | ประดิษฐ์ ภักดีวงษ์ | ||||||
พระยาราม | ศักราช ฤกษ์ธำรงค์ | ||||||
คุณยายตาบอด | เดือนเต็ม สาลิตุล | ||||||
ขุนรามเดชะ | ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ | ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ ฐากูร การทิพย์ |
ฐากูร การทิพย์ | ||||
พระยาพะสิม | ครรชิต ขวัญประชา | ||||||
ไชยกะยอสู | พันตำรวจเอกจตุรวิทย์ คชน่วม | ||||||
นันทจอถิง | หม่อมหลวงรังษิธร ภาณุพันธ์ | สุรศักดิ์ ชัยอรรถ | |||||
นายมหานุภาพ (ไอ้ขาม) | ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ | ||||||
หมอกใหม่ | ญาณิกา ทองประยูร | ||||||
นรธาเมงสอ (พระเจ้าเชียงใหม่) | ชลิต เฟื่องอารมย์ | ||||||
นันทกะยอสู | เขมชาติ โรจนะหัสดิน | ||||||
จ่าศรีพรม | จันทนา ศิริผล | ||||||
เสือหาญฟ้า | ดอม เหตระกูล | ||||||
มูเตอ | เกศริน เอกธวัชกุล | ||||||
ท้าวโสภา | พิมพ์พรรณ ชลายนคุปต์ | ||||||
พระศรีสุพรรณมาธิราช | ดิลก ทองวัฒนา | ||||||
พญาละแวก | เศรษฐา ศิระฉายา | ||||||
พระยาจีนจันตุ | ชูชาติ ทรัพย์สุทธิพร | ||||||
เสือหยก | พันธกฤต เทียมเศวต | ||||||
เจ้าหญิงรัตนาวดี | อคัมย์สิริ สุวรรณศุข | อคัมย์สิริ สุวรรณศุข | |||||
อังกาบ | ศิรพันธ์ วัฒนจินดา | ศิรพันธ์ วัฒนจินดา | |||||
เจ้าจอมมารดาสาย | วิชุดา มงคลเขตต์ | วิชุดา มงคลเขตต์ | |||||
ชาวบ้าน | จเร เชิญยิ้ม | จเร เชิญยิ้ม | |||||
แป๋ว บ้านโป่ง | แป๋ว บ้านโป่ง | ||||||
ค่อม ชวนชื่น | |||||||
พระยาเชียงราย | พงษ์อมร ณ สงขลา | ||||||
ขุนพลอย | พิสุทธิ์ แพร่แสงเอี่ยม | ||||||
พระยาเชียงแสน | มงคล อุทก | ||||||
ล่ามจีน | รอง เค้ามูลคดี | ||||||
นายกองหงสาวดี (มดแดง) | วิสา ทิพพะรังสี | ||||||
สเรนันทสู | ศิกษก บรรลือฤทธิ์ | ||||||
พระยาพะเยา | เฉลิมชัย มหากิจศิริ | ||||||
พระยาจันโต | ทินธนัท เวลส์ช | ||||||
พลับพลึง | ไอรินทร์ สุรังค์สุริยกุล | ||||||
นายกองพม่า | สุรศักดิ์ วงษ์ไทย | ||||||
โหราธิบดีหงสาวดี | จรัล เพ็ชรเจริญ | ||||||
ครูบาเฒ่า | ถนอม นวลอนันต์ | ||||||
เม้ยมะนิก | เต็มฟ้า กฤษณายุธ | ||||||
เมงเยสีหตู | นิรุตติ์ ศิริจรรยา | ||||||
เมงเกงสอ | รัชนี ศิระเลิศ | ||||||
มหาเถรเสียมเพียม | สะอาด เปี่ยมพงศ์สานต์ | ||||||
พระยาลอ | ไกรลาศ เกรียงไกร | ||||||
ขุนรอน | อรรถพร สุวรรณ | ||||||
พระเทพอรชุน | จรัสพงษ์ สุรัสวดี | ||||||
จอลุ | สมเดช แก้วลือ | ||||||
เมงราชาญี | รณ ฤทธิชัย | ||||||
ภะยะกามณี | กฤษณะ เศรษฐธำรงค์ |
เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ที่ ค่ายสุรสีห์ กาญจนบุรี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานในพิธีบวงสรวงเปิดกล้องภาพยนตร์เรื่องตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภายในบริเวณกองพลทหารราบที่ 9 (ค่ายสุรสีห์) ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี โดยม.จ. ชาตรีเฉลิม ยุคล ผู้กำกับภาพยนตร์ จัดการถ่ายทำถวายให้ทอดพระเนตรโดย เปิดกล้องด้วยฉากขบวนเสด็จของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพื่อเฝ้าสมเด็จพระมหาธรรมราชา พระราชบิดา ที่เมืองอโยธยา โดยมีนักแสดงกว่า 1,000 คน ร่วมเข้าฉาก[5]
ท่านมุ้ยกล่าวว่า
เหตุที่เลือกกาญจนบุรีเป็นสถานที่ถ่ายทำ เพราะสอดคล้องกับประวัติศาสตร์ที่เป็นเมือง หน้าด่านที่สำคัญในการสกัดกั้นทัพพม่าก่อนที่จะเข้าถึงอยุธยาได้ เป็นเส้นทางเดินทัพทั้งทางบกและทางน้ำ มีเหตุการณ์สำคัญหลายเรื่องที่เกิดขึ้นที่นี่ในยุคสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชประกอบกับทำเลที่ตั้งเหมาะสมมาก และที่สำคัญคือเราได้รับการสนับสนุนจากกองทัพบกเป็นอย่างดี ด้วยความพร้อมและศักยภาพทุกด้าน ทั้งพื้นที่ กำลังพล ตลอดจนอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ที่ช่วยให้การก่อสร้างดำเนินไปด้วยดี
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
ภาพยนตร์เรื่องนี้มีความยิ่งใหญ่ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่ามีการปฏิวัติวงการภาพยนตร์ไทย ได้แก่
หากเทียบกับภาพยนตร์เรื่อง สุริโยไท ท่านมุ้ยได้วางเป้าหมายเรื่องนี้ไว้ว่าจะต้องทำให้ดีกว่าสุริโยไทใน ทุกด้าน โดยมี scope ของการทำงานใหญ่กว่า ฉากต่าง ๆ มีความยิ่งใหญ่อลังการกว่า นักแสดงหลักและนักแสดงประกอบมีจำนวนมากกว่าและใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีต่าง ๆ มากกว่า
ในครั้งแรก ท่านมุ้ยได้มีความตั้งใจจะสร้างภาพยนตร์ชุดนี้เป็นภาพยนตร์ไตรภาค หรือ 3 ภาคเท่านั้น แต่เมื่อสร้างไปแล้วได้เกิดการขยายขึ้นเป็น 6 ภาค โดยเริ่มงานสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 หลังจากที่สุริโยไทได้เข้าฉายทันที รวมระยะเวลาตั้งแต่เริ่มสร้างจนถึงภาคสุดท้ายออกฉายถึง 13 ปี ด้วยกัน และความตั้งใจแรกท่านมุ้ยต้องการที่จะให้ชื่อในแต่ละภาคว่า ภาคแรก สูญสิ้นอิสรภาพ, ภาคสอง อิสรภาพนั้น ยากยิ่งที่จะได้มา และภาคสาม ยากยิ่งกว่าที่จะรักษาไว้[1]
อีกทั้งภาพยนตร์ชุดนี้ อาจถือได้ว่าเป็นภาพยนตร์ฟอร์มใหญ่เรื่องสุดท้ายที่มีถ่ายทำด้วยฟิล์ม[6]
ต่อมา หลังการฉายภาค 5 แล้ว ท่านมุ้ยไม่พอใจในฉากจบ จึงมีการสร้างภาคต่อเป็นภาค 6 อันเป็นภาคอวสาน[2]
ภาพยนตร์แบ่งเป็นหกภาค ปีที่เข้าฉาย วันที่เข้าฉายและรายได้สูงสุด แสดงในตารางด้านล่าง
ปี | ชื่อภาค | วันที่เข้าฉาย | รายได้สูงสุด |
---|---|---|---|
พ.ศ. 2550 | ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๑ องค์ประกันหงสา | 18 มกราคม พ.ศ. 2550 | 219.06 ล้านบาท [7] |
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๒ ประกาศอิสรภาพ | 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 | 216.87 ล้านบาท [8] | |
พ.ศ. 2554 | ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๓ ยุทธนาวี | 31 มีนาคม พ.ศ. 2554 | 201.08 ล้านบาท [9] |
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๔ ศึกนันทบุเรง | 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | 131.6 ล้านบาท [10] | |
พ.ศ. 2557 | ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๕ ยุทธหัตถี | 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | 206.86 ล้านบาท[ต้องการอ้างอิง] |
พ.ศ. 2558 | ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๖ อวสานหงสา | 9 เมษายน พ.ศ. 2558 | 115.11 ล้านบาท[ต้องการอ้างอิง] |
รวมรายได้ | 1090.58 ล้านบาท |
ภาพยนตร์ | รางวัล |
---|---|
ภาค ๑ องค์ประกันหงสา |
|
ภาค ๒ ประกาศอิสรภาพ |
|
ภาค ๓ ยุทธนาวี |
|
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.