คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง

อภิรดี ภวภูตานนท์

นักแสดงหญิงชาวไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Remove ads

อภิรดี ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม [1][2](เกิด 23 กันยายน พ.ศ. 2508) ชื่อเล่น แก้ว เป็นนักแสดงหญิงชาวไทย

ข้อมูลเบื้องต้น อภิรดี ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม, เกิด ...
Remove ads

ประวัติ

สรุป
มุมมอง

อภิรดีมีชื่อเล่นว่า แก้ว เกิดเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2508 ที่กรุงเทพมหานคร[3] เป็นบุตรของพันตำรวจเอก (พิเศษ) ทศพล และอำไพ ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม เธอมีเชื้อสายมอญ[4]อภิรดีเข้ารับการศึกษาระดับปฐมวัยที่โรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ, ระดับประถมศึกษาปีที่ 7 จากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนเขมะสิริอนุสรณ์, ต่อมาได้เข้าศึกษาระดับ ปวช.วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาวิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ[3] และศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาจาก ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรามคำแหง[3] ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกริก และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีในปี พ.ศ. 2560[5][6] หลักสูตรการเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ 9 สถาบันพระปกเกล้า

เธอเข้าสู่วงการบันเทิงครั้งแรกจากการเป็นพรีเซนเตอร์โฆษณา และต่อมาเธอก็ได้รับการสนับสนุนจากจีรวรรณ กัมปนาทแสนยากรให้เป็นนักแสดง[3] โดยภาพลักษณ์และบทบาทของอภิรดีถูกวางให้เป็นนางเอกบู๊ ก่อนที่จะหันมารับบทร้ายบทเซ็กซี่ในจอเงิน

ในปี พ.ศ. 2530 อภิรดีแสดงละครโทรทัศน์เรื่อง ทองเนื้อเก้า ทางช่อง 7 ซึ่งเป็นผลงานละครชิ้นแรกของเธอ ละครประสบความสำร็จอย่างสูง ทำให้ชื่อเสียงของอภิรดีขึ้นมานักแสดงชั้นแนวหน้าที่มากฝีมือการแสดง อีกทั้งบทลำยองจากเรื่องนี้ก็เป็นภาพจำติดตัวอภิรดีมาจนถึงทุกวันนี้

นอกจากทองเนื้อเก้า ละครที่โด่งดังสุดๆ ของอภิรดีอีกเรื่อง คือ สุสานคนเป็น ซึ่งประชันบทบาทกับชไมพร นางเอกและนักแสดงมากฝีมือ ละครเรื่องนี้ทำคนเกลียดชีพรสสุคนธ์ ขณะเดียวกันก็หวาดกลัวผีคุณนายลั่นทมกันทั้งประเทศ ละครโด่งดังมากจนทำให้ชีพ ซึ่งรับบทโดยภาณุเดช ที่ถือเป็นหน้าใหม่ในวงการขณะนั้น เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง

อภิรดีถือเป็นนักแสดงที่รับบทได้หลากหลาย ไม่ยึดติดกับภาพนางเอกเหมือนนางเอกร่วมรุ่นส่วนใหญ๋ เธอเป็นทั้งนางเอกนักบู๊ นางร้ายยั่วยวน นักแสดงบทชีวิตเข้มข้น หรือนางเอกกุ๊กกิ๊ก อย่างในละครเรื่อง แววมยุรา อภิรดีก็สามารถเล่นบทที่แตกต่างกันเหล่านี้ได้ทั้งหมด

แม้บทบาทในจอเงินของอภิรดีมักเป็นบทร้ายบทรอง กระทั่งตอนที่โด่งดังสุดขีดจากทองเนื้อเก้าแล้วก็ตาม แต่ในทางจอแก้ว อภิรดีนับเป็นนักแสดงจากสายภาพยนตร์ในยุคนั้นที่ผันมารับงานละครโทรทัศน์ได้ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่ง

Remove ads

ชีวิตส่วนตัว

อภิรดีสมรสกับโอภาส ทศพร ตั้งแต่ปีประมาณ พ.ศ. 2530 และใช้ชีวิตคู่กันหลายปี มีบุตร-ธิดา 3 คน ได้แก่ ปภณ (บูม), ภัสกร (แบงก์) และเลลาณี (เบลล์)[3] ก่อนจะหย่าเมื่อ พ.ศ. 2549[7] โดยให้เหตุผลว่าเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากหนี้สินในการทำธุรกิจ [8]

ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 เธอรับว่าจดทะเบียนสมรสแล้วกับพันเอกวินธัย สุวารี (ยศในขณะนั้น)[9] หลังจากที่ทั้งคู่ได้คบหากันมาเป็นระยะเวลาประมาณ 8 ปี[10] แต่แยกกันอยู่[11]

Remove ads

ผลงานการแสดง

ละครโทรทัศน์

ข้อมูลเพิ่มเติม พ.ศ., เรื่อง ...

ละครสั้น

งานเพลง

ผลงานภาพยนตร์

  • อั้งยี่ (2526)
  • ลำพูนดำ (2526) รับบท ภุมรินทร์
  • แม่หัวลำโพง (2526)
  • เงิน เงิน เงิน (2526)
  • นักเลงร้อยคม (2526)
  • แก้วขนเหล็ก (2526)
  • อีสาวเมืองสิงห์ (2526)
  • พยัคฆ์ทมิฬ (2526)
  • ข้าจะอยู่ค้ำฟ้า (2527)
  • เสือล่าสิงห์ (2527)
  • สวนทางปืน (2527)
  • ไอ้โหด .357 (2527)
  • สาลิกาลิ้นทอง (2527)
  • เพชรตัดเพชร (2527)
  • พูดด้วยปืน (2527)
  • แม่สาวสุพรรณ (2527)
  • เพชรภูเรือ (2527)
  • ไอ้ชาติเหล็ก (2527)
  • ป่าเดือด (2527)
  • ผ่าโลกันต์ (2527)
  • ชุมแพ ภาค 2 (2527)
  • ดับเจ้าพ่อ (2527)
  • สาวบัวตอง (2527)
  • พลิกแผ่นดินล่า (2527)
  • มดตะนอย (2527)
  • พญาเหยี่ยวโกลก (2527)
  • ผ่าโลก 2 แผ่นดิน (2527)
  • เขี้ยวฉลาม (2527)
  • ปางรัก (2528)
  • ไอ้งูเห่า (2528)
  • ขุมทองแม่น้ำแคว (2528)
  • ไม่ใหญ่อย่าอยู่ (2528)
  • ฟ้ากำหนด (2528)
  • ฝน (2528)
  • สาวลมกรด (2528)
  • สู้สะท้านเมือง (2528)
  • นักเลงสิบล้อ (2528)
  • อุ้งมือมาร (2529)
  • ดวลปืน (2529)
  • สะใภ้ (2529)
  • ท้ายิง (2529)
  • น.ส.กาเหว่า (2529)
  • พิศวาสซาตาน (2529)
  • เหยื่อทรชน (2530)
  • นักฆ่าหน้าหยก (2530)
  • เมียหมายเลข 1 (2530)
  • ฉันรักผัวเขา (2530)
  • เมียนอกหัวใจ (2530)
  • เพชรสลัม (2530)
  • ฆ่าปิดปาก (2530)
  • ฆ่าด้วยเสน่หา (2530)
  • สะใภ้เถื่อน (2530)
  • นักสู้เทวดา (2530)
  • เหตุเกิดที่ห้องไอซียู (2530)
  • วิญญาณรักคลั่งสวาท (2530)
  • ภุมรีสีทอง (2531)
  • รักสำรอง (2531)
  • แก่นแก้ว (2531)
  • ซอสามสาย (2531)
  • เพชรเหนือเพชร (2531)
  • กว่าจะได้เป็นเมีย (2531)
  • เรือมนุษย์ (2531)
  • คนกลางเมือง (2531)
  • คุณนายแจ๋วแหวว (2531)
  • พยัคฆ์ร้ายเดนตาย (2531)
  • สองตระกูลดิบ (2531)
  • ทอง 3 (2531)
  • คำพิพากษา (2533)
  • ทับเทวา (2533)
  • แม่เบี้ย (2533)
  • รักเถอะถ้าหัวใจอยากจะรัก (2533)
  • ไฟกลางฝน (2534)
  • เร็วกว่าใจ ไกลเกินฝัน (2536)
  • กู๊ดบายซัมเมอร์ เอ้อเหอเทอมเดียว (2539)
  • รินลณี ผีถ้วยแก้ว (2547)
  • 7 ประจัญบาน 2 (2548)
  • ถึงเป็นถึงตาย (2548)
  • ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาคองค์ประกันหงสา (2550)
  • ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาคประกาศอิสรภาพ (2550)
  • หนูกันภัย ศึกมหายันต์ ยิงกันสนั่นจอ (2553)
Remove ads

พิธีกร

  • รายการ เกมตั้งตัว
  • รายการ นี่สิ...ช่อง 9
  • รายการ แม่บ้านประจัญบาน

รางวัล

Remove ads

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Loading content...
Loading related searches...

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Remove ads