จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดในภาคใต้ในประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จังหวัดในภาคใต้ในประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นราธิวาส (มลายูปัตตานี: منارا / มือนารา, มือนารอ) เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย เป็นหนึ่งในจังหวัดชายแดนใต้สุดของประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลตะวันออกของแหลมมลายู ห่างจากกรุงเทพมหานคร ทางรถยนต์ประมาณ 1,149 กิโลเมตร นับเป็นจังหวัดที่ห่างไกลจากกรุงเทพมหานครมากที่สุด โดยมีเนื้อที่ประมาณ 4,475.43 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,797,143.75 ไร่ ทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดปัตตานีในเขตอำเภอกะพ้อ อำเภอสายบุรี อำเภอไม้แก่น และอ่าวไทย ทิศตะวันออกติดต่อกับอ่าวไทยและรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ทิศใต้ติดต่อกับรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดยะลาในเขตอำเภอเบตง อำเภอธารโต อำเภอบันนังสตา และอำเภอรามัน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้และภูเขา 2 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมด มีป่าพรุประมาณ 361,860 ไร่ ทางแถบทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดทิวเขาสันกาลาคีรีซึ่งเป็นแนวกั้นพรมแดนไทย-มาเลเซีย ลักษณะพื้นที่จะมีความลาดเอียงจากทิศตะวันตกไปสู่ทิศตะวันออก พื้นที่ราบส่วนใหญ่อยู่บริเวณติดกับอ่าวไทยและที่ราบลุ่มบริเวณแม่น้ำ 4 สาย คือ แม่น้ำบางนรา แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำตากใบ และแม่น้ำโก-ลก ตามหลักฐานการทะเบียนราษฏรของกระทรวงมหาดไทย ปี พ.ศ. 2565[4] จังหวัดนราธิวาส มีประชากรจำนวน 812,924 คน แยกเป็นชาย 402,020 คน หญิง 410,905 คน โดยจังหวัดนราธิวาสมีศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
จังหวัดนราธิวาส | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Changwat Narathiwat |
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง :
มัสยิดตะโละมาเนาะ สถานีรถไฟสุไหงโก-ลก หมู่บ้านชาวประมงในนราธิวาส เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา | |
คำขวัญ: ทักษิณราชตำหนัก ชนรักศาสนา นราทัศน์เพลินตา ปาโจตรึงใจ แหล่งใหญ่แร่ทอง ลองกองหอมหวาน | |
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดนราธิวาสเน้นสีแดง | |
ประเทศ | ไทย |
การปกครอง | |
• ผู้ว่าราชการ | ว่าที่ร้อยตรี ตระกูล โทธรรม[1] (ตั้งแต่ พ.ศ. 2566) |
พื้นที่[2] | |
• ทั้งหมด | 4,475.430 ตร.กม. (1,727.973 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 49 |
ประชากร (พ.ศ. 2566)[3] | |
• ทั้งหมด | 819,162 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 30 |
• ความหนาแน่น | 183.03 คน/ตร.กม. (474.0 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | อันดับที่ 18 |
รหัส ISO 3166 | TH-96 |
ชื่อไทยอื่น ๆ | บางนรา นรา |
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด | |
• ต้นไม้ | ตะเคียนชันตาแมว |
• ดอกไม้ | บานบุรี |
• สัตว์น้ำ | ปลาซิวข้างขวานใหญ่ |
ศาลากลางจังหวัด | |
• ที่ตั้ง | หมู่ที่ 8 ถนนศูนย์ราชการ ตำบลลำภู อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส 96000 |
เว็บไซต์ | http://www.narathiwat.go.th/ |
"นราธิวาส" เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นมาใหม่ใน พ.ศ. 2458 ชื่อเดิมของพื้นที่นี้คือ "เมอนารา" หรือ "เมอนารอ" (มลายู: Menara, منارا) ซึ่งมีความหมายว่า "หอคอย"[5] ที่กลายมาจากคำว่า "กัวลาเมอนารา" (มลายู: Kuala Menara) ที่มีความหมายว่า "กระโจมไฟ" หรือ "หอคอยที่ปากน้ำ"[5] ส่วนชาวไทยที่นับถือศาสนาพุทธจะเรียกว่า "บางนรา" หรือ "บางนาค"[5] ต่อมาใน พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองขึ้นใหม่ว่า "นราธิวาส"[6] อันมีความหมายว่า "ที่อยู่อันยิ่งใหญ่ของประชาชน"
จังหวัดนราธิวาส เดิมมีฐานะเป็นเพียงเมืองหนึ่งในอาณาจักรลังกาสุกะซึ่งพบหลักฐานโบราณคดีค่อนข้างน้อยเช่น ซากเจดีย์ 3 องค์บริเวณวัดเขากง อายุ 1,300 ปี (ต่อมาถูกรื้อถอนแล้วสร้างพระพุทธทักษิณมิ่งมงคลแทน) พระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์นิกายมนตยานบริเวณวัดเขากงเช่นกัน ต่อมาก็กลายเป็นอำเภอหนึ่ง เรียกว่า อำเภอบางนรา ขึ้นกับเมืองสายบุรี ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ็ดหัวเมืองภาคใต้ ต่อมาได้โอนไปขึ้นกับเมืองระแงะ ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ็ดหัวเมืองเช่นกัน โดยประวัติความเป็นมาของนราธิวาสนั้น มีความเชื่อมโยงกับเรื่องราวของเมืองปัตตานี เมืองสายบุรี และเมืองระแงะ
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีรับสั่งให้กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ยกทัพหลวงลงมาปักษ์ใต้เพื่อปราบปรามข้าศึกที่เข้ามาทางปักษ์ใต้ เมื่อข้าศึกแตกพ่ายหนีไปหมดแล้ว จึงเสด็จประทับ ณ เมืองสงขลา และได้มีรับสั่งออกไปถึงหัวเมืองมลายูทั้งหลาย ที่เคยขึ้นกับอยุธยามาก่อน ให้มาอ่อนน้อมดังเดิม โดยพระยาไทรบุรี และพระยาตรังกานูยอมอ่อนน้อมแต่โดยดี แต่พระยาปัตตานีแข็งเมืองไม่ยอมอ่อนน้อม จึงรับสั่งให้ยกทัพไปเมืองปัตตานีเมื่อ พ.ศ. 2332 เมื่อได้เมืองปัตตานีแล้ว ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระราชทานตราตั้งให้แก่พระยาสงขลา (บุญฮุย) เป็นพระยาปัตตานี และให้อยู่ในความกำกับดูแลของเมืองสงขลาต่อไป และตั้งในเป็นเมืองมนตรีขึ้นอยู่กับกรุงรัตนโกสินทร์โดยตรง ในระหว่างที่พระยาปัตตานี (ขวัญซ้าย) ว่าราชการเมืองปัตตานีอยู่นั้น บ้านเมืองสงบเรียบร้อยปกติสุขตลอดมา ครั้นเมื่อพระยาปัตตานีถึงแก่กรรม โปรดเกล้าฯ ให้นายพ่าย น้องชายพระยาหลวงสวัสดิภักดีผู้ช่วยราชการเมืองปัตตานี และได้ย้ายที่ว่าการเมืองปัตตานีจากบ้านมะนา (อ่าวนาเกลือ) ไปตั้งอยู่ที่บ้านยามู
ในระหว่างนั้นพวกของซาเห็ดรัตนวงศ์ฯ และพวกโมเซฟได้เริ่มก่อกวนความสงบสุขของบ้านเมือง โดยคบคิดกับปล้นบ้านพระยาปัตตานี และบ้านหลวงสวัสดิภักดี แต่ก็ได้ถูกตีถอยหนีไปหลบซ่อนตัวอยู่ที่บ้านกะลาพอ แขวงเมืองสายบุรี นอกจากนั้นเมืองปัตตานีซึ่งมีอาณาเขตกว้างขวาง และมีโจรผู้ร้ายชุกชุม เที่ยวปล้นบ้านเรือนราษฎรจนเหลือกำลังที่พระยาปัตตานีจะปราบให้ราบคาบได้ จึงแจ้งราชการไปยังเมืองสงขลา พระยาสงขลา (เถียนจ๋อง) ออกมาปราบปราม และจัดนโยบายแบ่งแยกเมืองปัตตานีออกเป็น 7 เมือง ได้แก่ เมืองปัตตานี เมืองหนองจิก เมืองยะลา เมืองรามันห์ เมืองระแงะ เมืองสายบุรี และเมืองยะหริ่ง ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้มีพระยาปัตตานี (ต่วนสุหลง) พระยาหนองจิก (ต่วนกะจิ) พระยายะลา (ต่วนบางกอก) และพระยาระแงะ (หนิเดะ) โดยเจ้าเมืองทั้ง 4 ได้สมคบคิดกันเป็นกบฏขึ้น จึงโปรดเกล้าให้พระยาเพชรบุรี และพระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) ลงมาปราบ และพิจารณาเห็นว่า หนิบอสูชาวบ้านบางปูซึ่งพระยายะหริ่งแต่งตั้งให้เป็นกรมการเมืองยะหริ่งได้เป็นกำลังสำคัญ และได้ทำการต่อสู้ด้วยความกล้าหาญยิ่ง ด้วยคุณงามความดีนี้จึงได้แต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาราชการเมืองระแงะ สืบต่อจากพระยาระแงะ (หนิเดะ) ที่หนีไป และได้ย้ายที่ว่าราชการจากบ้านระแงะมาตั้งใหม่ที่ตำบลตันหยงมัส
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงให้ยกเลิกการปกครองแบบเก่า เพราะการแบ่งเขตแขวงการปกครอง และตำแหน่งหน้าที่ราชการในหัวเมืองทั้ง 7 ที่ยังทับซ้อนกันอยู่หลายแห่ง จึงได้วางระเบียบแผนการปกครองและตำแหน่งหน้าที่ราชการให้เป็นระเบียบตามสมควรแก่กาลสมัย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2444
ต่อมาเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2449 มีประกาศพระบรมราชโองการให้แยกบริเวณ 7 หัวเมืองออกมาจากมณฑลเทศาภิบาล เรียกว่า มณฑลปัตตานี เพื่อสะดวกแก่ราชการ และทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญขึ้นกว่าแต่ก่อน ในปี พ.ศ. 2458 ได้ย้ายที่ว่าราชการจากเมืองระแงะ ตำบลตันหยงมัส มาตั้งที่บ้านมะนาลอ (บางมะนาวในปัจจุบัน) อำเภอบางนรา ส่วนท้องที่เมืองระแงะ และได้ยกฐานะอำเภอบางนราขึ้นเป็นเมืองบางนรา มีอำเภอในการปกครองได้แก่ อำเภอบางนรา อำเภอตันหยงมัส กิ่งอำเภอยะบะ อำเภอสุไหงปาดี และกิ่งอำเภอโต๊ะโมะ
ครั้นต่อมาสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้เสด็จประพาสมณฑลปักษ์ใต้ เมื่อพระองค์เสด็จถึงเมืองบางนรา ทรงพระราชทานพระแสงศาสตราแก่เมืองบางนรา และทรงดำริว่าบางนรานั้นเป็นชื่อตำบลบ้าน และควรที่จะมีชื่อเมืองไว้เป็นหลักฐานสืบไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเป็น "เมืองนราธิวาส" ซึ่งหมายถึงที่อยู่ของคนดี เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2458
ในปีพ.ศ. 2476 ได้มีการปรับปรุงระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคครั้งยิ่งใหญ่ และให้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นจังหวัด เมืองนราธิวาสจึงเป็นเปลี่ยนเป็น "จังหวัดนราธิวาส" จากนั้นเป็นต้นมา
รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส | ||
---|---|---|
ลำดับ | ชื่อ | ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง |
1 | พระนราภิบาล | 2458 |
2 | พระภิศัยสุนทรการ | ไม่ทราบแน่ชัด |
3 | หลวงปริวรรตวรวิจิตร | ไม่ทราบแน่ชัด |
4 | พระยานราศัยสุนทร | 2462 |
5 | พระยาสุรพลพิพิธ | 2465-2469 |
6 | พระยาศรีสุทัศน์ | 2469-2472 |
7 | พระเพชราภิบาลนฤเบศร | 2472-2475 |
8 | พระศรีสุทัศน์ | 2475-2480 |
9 | พระพิชิตบัญชาการ | 2480-2481 |
10 | หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์) | 2481-2484 |
11 | หลวงภูวนารถนฤบาล | 2484-2484 |
12 | พระพินิจเสนาการ | 2484-2485 |
13 | หลวงจรูญบูรกิจ | 2485-2487 |
14 | นายอิน ตุงคะผลิน | 2487-2490 |
15 | นายยุทธ จรัญยานนท์ | 2490-2491 |
16 | หลวงจรูญบูรกิจ | 2491-2492 |
17 | นายสง่า สุขรัตน์ | 2492-2494 |
18 | นายพุก ฤกษ์เกษม | 2494-2496 |
19 | นายวิทุร จักกะพาก | 2496-2497 |
20 | พ.ต.อ.จำรัส โรจนจันทร์ | 2497-2497 |
21 | นายผาด นาคพิน | 2497-2499 |
22 | ขุนวรคุตคณารักษ์ | 2499-2501 |
23 | นายอ้วน สุรกุล | 2501-2501 |
24 | นายเทียน อัชกุล | 2501-2504 |
25 | นายพันธุ สายตระกูล | 2504-2512 |
26 | นายวรวิทย์ รังสิโยทัย | 2512-2514 |
27 | นายจรูญ โลกะกะลิน | 2514-2517 |
28 | นายวัชระ สิงคิวิบูลย์ | 2517-2520 |
29 | นายชัด รัตนราช | 2520-2523 |
30 | นายชิต นิลพานิช | 2523-2526 |
31 | นายธวัชชัย สมสมาน | 2526-2528 |
32 | นายประจวบ พัฒกุล | 2528-2532 |
33 | นายผัน จันทรปาน | 2532-2534 |
34 | ร้อยเอกเคียงศักดิ์ ธรรมราชรักษ์ | 2534-2536 |
35 | นายสวัสดิ์ กฤตรัชตนันต์ | 2536-2540 |
36 | นายชูชาติ พูลศิริ | 2540-2541 |
37 | นายพงศ์โพยม วาศภูติ | 2541-2543 |
38 | นายปริญญา อุดมทรัพย์ | 2543-2545 |
39 | นายธีระ โรจนพรพันธุ์ | 2545-2546 |
40 | นายวิชม ทองสงค์ | 2546-2547 |
41 | นายประชา เตรัตน์ | 2547-2549 |
42 | นายการัณย์ ศุภกิจวิเลขการ | 2549-2551 |
43 | นายวินัย ครุวรรณพัฒน์ | 2551-2552 |
44 | นายธนน เกชกรกานนท์ | 2552-2554 |
45 | นายอภินันท์ ซื่อธานุวงศ์ | 2554-2556 |
46 | นายณัฐพงศ์ ศิริชนะ | 2556-2558 |
47 | นายสิทธิชัย ศักดา | 2558-2560 |
48 | นายสุรพร พร้อมมูล | 2560-2561 |
49 | นายเอกรัฐ หลีเส็น | 2561-2563 |
50 | นายเจษฎา จิตรัตน์ | 2563-2564 |
51 | นายสนั่น พงษ์อักษร | 2564-2566 |
52 | ว่าที่ร้อยตรี ตระกูล โทธรรม | 2566-ปัจจุบัน |
การปกครองแบ่งออกเป็น 13 อำเภอ 77 ตำบล 589 หมู่บ้าน
อำเภอเมืองนราธิวาส
อำเภอตากใบ อำเภอบาเจาะ
อำเภอยี่งอ
|
อำเภอระแงะ
อำเภอรือเสาะ
อำเภอศรีสาคร |
อำเภอแว้ง
อำเภอสุคิริน อำเภอสุไหงโก-ลก
|
อำเภอสุไหงปาดี |
รูปเรือใบแล่นกางใบ ตรงกลางใบมีรูปช้างเผือกประดับเครื่องคชาภรณ์ อยู่ในวงกลม มีความหมายดังนี้ รูปเรือใบแล่นกางใบ หมายถึง ที่ตั้งอยู่ริมทะเล มีการค้าขาย การประมง และการ ติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง ในเรือมีรูปช้างเผือกประดับเครื่องคชาภรณ์อยู่ในวงกลม หมายถึง ช้างสำคัญคู่บุญของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ชื่อว่า “พระศรีนรารัฐราชกิริณี”
ตะเคียนชันตาแมว (Neobalanocarpus heimii)
ทักษิณราชตำหนัก ชนรักศาสนา นราทัศน์เพลินตา ปาโจตรึงใจ แหล่งใหญ่แร่ทอง ลองกองหอมหวาน
— คำขวัญประจำจังหวัดนราธิวาส
ชาวจังหวัดนราธิวาสส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น การทำนา การเพาะปลูกพืชทางเศรษฐกิจ คือ ยางพารา ลองกอง เงาะ ทุเรียน เป็นต้น พืชที่สร้างชื่อเสียงของนราธิวาสคือ ลองกองบ้านซีโปตันหยงมัส มีรสชาติหวานนุ่มหอมอร่อยสามารถขายได้ราคาดี นอกจากการเกษตรแล้วบางส่วนก็ทำธุรกิจค้าขาย และทำงานในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน เป็นต้น
ปัจจุบันมีสถานศึกษารวมทั้งหมด 488 แห่ง (ไม่รวมแหล่งวิชาการนอกระบบ) สังกัด สปช. 255 แห่ง สังกัด สศ. 18 แห่ง สังกัด สช. 82 แห่ง สังกัด กศป. 15 แห่ง สังกัดเทศบาล 10 แห่ง สถาบันศึกษาปอเนาะที่จดทะเบียน 76 สถาบัน จำนวนนักศึกษาก่อนประถมศึกษา 31,200 คน ระดับประถมศึกษา 88,200 คน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 17,300 คน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและหรือ ปวช. 9,400 คน ระดับอุดมศึกษา (ปวส.) 900 คน ระดับอุดมศึกษา (วิทยาลัยพยาบาล) 800 คน รวม 147,700 ค
ระยะทาง 1,149 กิโลเมตร จากกรุงเทพฯ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ผ่านจังหวัดประจวบคีรีขันธ์–จังหวัดชุมพร และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 ผ่านจังหวัดสุราษฎร์ธานี–จังหวัดนครศรีธรรมราช–จังหวัดพัทลุง–อำเภอหาดใหญ่ และต่อด้วยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 42 เข้าสู่จังหวัดปัตตานี–จังหวัดนราธิวาส มีรถโดยสารประจำทางกรุงเทพฯ–นราธิวาส–สุไหงโก-ลก บริการทุกวัน
การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดบริการเดินรถไฟระหว่างกรุงเทพ–สุไหงโก-ลก ยะลา–สุไหงโก-ลก นครศรีธรรมราช–สุไหงโก-ลก สุราษฎ์ธานี–สุไหงโก-ลก ชุมทางหาดใหญ่–สุไหงโก-ลก พัทลุง–สุไหงโก-ลก ทุกวันทั้งรถด่วน รถเร็ว รถท้องถิ่น โดยผู้ที่ต้องการเดินทางมายังอำเภอเมืองนราธิวาสจะต้องลงที่สถานีรถไฟตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส เพื่อต่อรถเข้าสู่อำเภอเมืองนราธิวาส
สามารถเดินทางได้กับขบวนรถ ดังนี้
รถด่วนพิเศษที่ 37/38 กรุงเทพ–สุไหงโก-ลก-กรุงเทพ
รถเร็วที่ 171/172 กรุงเทพ–สุไหงโก-ลก-กรุงเทพ
รถเร็วที่ 175/176 ชุมทางหาดใหญ่–สุไหงโก-ลก-ชุมทางหาดใหญ่
รถท้องถิ่นที่ 451/452 นครศรีธรรมราช–สุไหงโก-ลก-นครศรีธรรมราช
รถท้องถิ่นที่ 463/464 พัทลุง-สุไหงโกลก-พัทลุง
รถท้องถิ่นที่ 447/448 สุราษฎร์ธานี–สุไหงโก-ลก-สุราษฎร์ธานี
รถท้องถิ่นที่ 453/454 ยะลา-สุไหงโก-ลก-ยะลา
ท่าอากาศยานนราธิวาส ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศเหนือ ระยะทาง 13 กิโลเมตร ปัจจุบันมีสายการบินเปิดให้บริการ ดังนี้
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.