Loading AI tools
ยศทหารชั้นสูงสุดของกองทัพไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จอมพล เป็นยศทหารชั้นสูงสุดของกองทัพไทย โดยมียศที่เทียบเท่ากันของทั้งสามเหล่าทัพ ได้แก่ จอมพล (ทหารบก) จอมพลเรือ (ทหารเรือ) และจอมพลอากาศ (ทหารอากาศ) (ตามพระราชบัญญัติยศทหาร พ.ศ. ๒๔๗๙) โดยเป็นยศสูงกว่าพลเอก และเป็นรองแต่เพียงจอมทัพไทยเท่านั้น (จอมทัพเป็นตำแหน่งมิใช่ยศทางการทหาร จอมทัพไทยทรงดำรงยศ จอมพล จอมพลเรือ และ จอมพลอากาศ)
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ยศทหารที่พบทั่วไป | ||
ทหารบก | ทหารเรือ | ทหารอากาศ |
---|---|---|
นายทหารชั้นสัญญาบัตร | ||
พลเอก | พลเรือเอก | พลอากาศเอก |
พลโท | พลเรือโท | พลอากาศโท |
พลตรี | พลเรือตรี | พลอากาศตรี |
พันเอก | นาวาเอก | นาวาอากาศเอก |
พันโท | นาวาโท | นาวาอากาศโท |
พันตรี | นาวาตรี | นาวาอากาศตรี |
ร้อยเอก | เรือเอก | เรืออากาศเอก |
ร้อยโท | เรือโท | เรืออากาศโท |
ร้อยตรี | เรือตรี | เรืออากาศตรี |
นายทหารชั้นประทวน | ||
จ่าสิบเอก | พันจ่าเอก | พันจ่าอากาศเอก |
จ่าสิบโท | พันจ่าโท | พันจ่าอากาศโท |
จ่าสิบตรี | พันจ่าตรี | พันจ่าอากาศตรี |
พลอาสาสมัครและทหารเกณฑ์ | ||
สิบเอก | จ่าเอก | จ่าอากาศเอก |
สิบโท | จ่าโท | จ่าอากาศโท |
สิบตรี | จ่าตรี | จ่าอากาศตรี |
พลทหาร | พลทหารเรือ | พลทหารอากาศ |
ปัจจุบัน ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการเหล่าทัพ ปลัดกระทรวงกลาโหม ได้รับเงินเดือนอัตราพลเอกพิเศษ
ยศจอมพลในประเทศไทยมีขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริตามแบบธรรมเนียมทหารในต่างประเทศ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศจอมพลแก่ สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช จเรทหารทั่วไป เป็นพระองค์แรก ต่อมาได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานยศจอมพลแก่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช เสนาบดีกระทรวงกลาโหม และสมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสนาธิการทหารบก และพระราชทานยศจอมพลเรือแก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ ต่อมาเมื่อโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ ทรงย้ายมาเป็นเสนาธิการทหารบก ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศจอมพลให้ด้วย
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง มีการปรับสายการบังคับบัญชาทหาร จากกองทัพน้อย กองพล กรม กองพัน เหลือเพียงระดับกองพัน จึงไม่มีการพระราชทานยศจอมพล จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ได้มีการขอพระราชทานยศจอมพล จอมพลเรือ และจอมพลอากาศ ให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ ยศจอมพลให้แก่ผู้บัญชาการทหารบก ยศจอมพลเรือแก่ผู้บัญชาการทหารเรือ และยศจอมพลอากาศแก่ผู้บัญชาการทหารอากาศ และต่อมาได้มีการขอพระราชทานยศจอมพลสามเหล่าทัพให้เฉพาะผู้ที่ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดเพียงตำแหน่งเดียว
นายทหารผู้ได้รับพระราชทานยศจอมพลคนสุดท้าย คือ จอมพลเกรียงไกร อัตตะนันทน์ เมื่อ พ.ศ. 2515 ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เป็นต้นมา ก็ไม่มีการแต่งตั้งยศจอมพลอีกเลย มีเพียงแต่งตั้งยศ พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก สามเหล่าทัพ ซึ่งได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของไทย, ปลัดกระทรวงกลาโหม รวมถึงการพระราชทานยศแบบพิเศษ เช่น พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2529 ขณะที่พลเอกเปรมฯ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม[1], พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อ พ.ศ. 2531 ขณะที่พลเอกชาติชาย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม [2], พลเอก เชษฐา ฐานะจาโร เมื่อ พ.ศ. 2540 อดีตผู้บัญชาการทหารบก ได้รับพระราชทานยศแบบพิเศษ[3], พลเรือเอก ประพัฒน์ กฤษณจันทร์ เมื่อ พ.ศ. 2534 อดีตผู้บัญชาการทหารเรือและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้รับพระราชทานยศแบบพิเศษ[4] และ พลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2546 อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้รับพระราชทานยศแบบพิเศษ[5] ในการพระราชทานยศจอมพล จะพระราชทานคทาจอมพล ที่มีลักษณะเป็นรูปครุฑพ่าห์ ด้านล่างของด้ามคทาประดิษฐ์เป็นรูปทรงมัณฑ์ 3 ยอด ประดับด้วยแก้วผลึกสีเขียวสลับแดง ที่ด้ามมีจารึกนามจอมพลพร้อมด้วยวันที่ได้รับพระราชทาน
ปัจจุบัน ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการเหล่าทัพ ปลัดกระทรวงกลาโหม จะรับเงินเดือนอัตราพลเอกพิเศษ (เทียบเท่าอัตราจอมพลเดิม) แต่ไม่ได้รับพระราชทานยศจอมพล เนื่องจาก ยศจอมพล จอมพลเรือ และ จอมพลอากาศ เป็นยศสำหรับจอมทัพไทยเท่านั้น[6][7]
ภาพธงที่แสดงในที่นี้ เป็นธงตามพระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2522
พระมหากษัตริย์ไทยทรงดำรงตำแหน่ง จอมทัพไทย ดำรงพระยศจอมพล
พระบรมฉายาลักษณ์ | พระนาม | วันเถลิงถวัลยราชสมบัติ | วันถวายเครื่องหมายพระยศจอมพลทหารบก | วันสิ้นสุดรัชกาล |
---|---|---|---|---|
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 | 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446[8] | 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 (สวรรคต) | |
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว | 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 | 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453[9][10] | 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 (สวรรคต) | |
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว | 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 | 5 ธันวาคม พ.ศ. 2468[11][12][13] | 2 มีนาคม พ.ศ. 2478 (สละราชสมบัติ) | |
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร | 2 มีนาคม พ.ศ. 2478 | 7 ธันวาคม พ.ศ. 2488[14] | 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 (สวรรคต) | |
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร | 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 | 26 มีนาคม พ.ศ. 2493[15] | 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 (สวรรคต) | |
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว | 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 | – | ยังอยู่ในราชสมบัติ |
สำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งดำรงพระยศเป็นจอมพล และนายทหารของกองทัพบกไทย กองทัพเรือไทย กองทัพอากาศไทย และกองบัญชาการทหารสูงสุด ซึ่งมียศจอมพล มีทั้งสิ้น 6 พระองค์ และ นายทหารชั้นจอมพลทั้งหมด 11 ท่าน
นายทหารชั้นจอมพล 11 ท่าน
วันแต่งตั้ง | ภาพ | จอมพล | เกิด | เสียชีวิต | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
11 ธันวาคม พ.ศ. 2453 | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช ม.จ.ก. น.ร. ป.จ.ว. ร.ว. ส.ร. ม.ป.ช. (ภายหลัง สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช) |
11 มกราคม พ.ศ. 2403 | 13 มิถุนายน พ.ศ. 2471 | นอกจากนี้ยังเป็น จอมพลเรือ เสนาบดีกระทรวงกลาโหม (พ.ศ. 2444–2453) เจ้ากรมยุทธนาธิการ (พ.ศ. 2435–2439; 2442–2444) | |
ก่อน พ.ศ. 2456 | พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ม.จ.ก. น.ร. ป.จ.ว. ร.ว. ป.ช. ป.ม. (ภายหลัง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช) |
7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2419 | 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2457 | เสนาบดีกระทรวงกลาโหม (พ.ศ. 2453–2457) เจ้ากรมยุทธนาธิการ (พ.ศ. 2444–2453) | |
30 ธันวาคม พ.ศ. 2460 | สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ม.จ.ก. น.ร. ป.จ.ว. ร.ว. ส.ร. ม.ป.ช. (ภายหลัง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ) |
3 มีนาคม พ.ศ. 2426 | 13 มิถุนายน พ.ศ. 2463 | เสนาธิการทหารบก | |
30 ธันวาคม พ.ศ. 2460 | เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต น.ร. ร.ว. ป.จ. ม.ป.ช. ป.ม. ม.ร. | 14 เมษายน พ.ศ. 2399 | 25 สิงหาคม พ.ศ. 2464 | เสนาบดีกระทรวงกลาโหม (พ.ศ. 2456–2464) | |
21 มิถุนายน พ.ศ. 2463 | สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต ม.จ.ก. น.ร. ป.จ.ว. ร.ว. ส.ร. ม.ป.ช. (ภายหลัง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต) |
29 มิถุนายน พ.ศ. 2424 | 18 มกราคม พ.ศ. 2487 | นอกจากนี้ยังเป็น จอมพลเรือ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (พ.ศ. 2475) เสนาบดีกระทรวงกลาโหม (พ.ศ. 2469–2471) | |
31 มีนาคม พ.ศ. 2469 | เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ป.จ. ป.ช. ป.ม. ร.ป.ฮ. ร.ด.ม. (พ) ร.ด.ม. (ผ) | 28 มีนาคม พ.ศ. 2394 | 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2474 | เจ้ากรมทหารบก (พ.ศ. 2433–2435) | |
28 กรกฎาคม พ.ศ. 2484 | หลวงพิบูลสงคราม น.ร. ร.ว. ป.จ. ม.ป.ช. ม.ว.ม. ร.ก. (ภายหลัง แปลก พิบูลสงคราม) |
14 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507 | นอกจากนี้ยังเป็น จอมพลเรือ และ จอมพลอากาศ นายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2481–2487; 2491–2500) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (พ.ศ. 2477–2484; 2484–2486; 2492–2500) ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (พ.ศ. 2483–2484; 2484–2487) ผู้บัญชาการทหารบก (พ.ศ. 2481–2487; 2490–2491) | |
พ.ศ. 2495 | ผิน ชุณหะวัณ ป.จ. ม.ป.ช. ม.ว.ม. ช.ส. พ.ร.ธ. ช.ร. | 14 ตุลาคม พ.ศ. 2434 | 26 มกราคม พ.ศ. 2516 | นอกจากนี้ยังเป็น พลเรือเอก และ พลอากาศเอก ผู้ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2490) หัวหน้าคณะทหารแห่งชาติ (พ.ศ. 2490; 2491) รองนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2494–2499) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม (พ.ศ. 2497–2498) ผู้บัญชาการทหารบก (พ.ศ. 2491–2497) | |
1 มกราคม พ.ศ. 2499 | สฤษดิ์ ธนะรัชต์ น.ร. ป.จ. ส.ร. ม.ป.ช. ม.ว.ม. ช.ส. | 16 มิถุนายน พ.ศ. 2451 | 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506 | นอกจากนี้ยังเป็น จอมพลเรือ และ จอมพลอากาศ นายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2502–2506) หัวหน้าคณะปฏิวัติ (พ.ศ. 2500; 2501–2502) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (พ.ศ. 2500) ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (พ.ศ. 2500–2506) ผู้บัญชาการทหารบก (พ.ศ. 2497–2506) | |
10 มกราคม พ.ศ. 2507 | ถนอม กิตติขจร ป.จ. ส.ร. ม.ป.ช. ม.ว.ม. ร.ก. ช.ส. | 11 สิงหาคม พ.ศ. 2454 | 16 มิถุนายน พ.ศ. 2547 | นอกจากนี้ยังเป็น จอมพลเรือ และ จอมพลอากาศ นายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2501; 2506–2514; 2515–2516) ประธานสภาบริหารคณะปฏิวัติ (พ.ศ. 2514–2515) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (พ.ศ. 2500–2514; 2515–2516) ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (พ.ศ. 2506–2516) ผู้บัญชาการทหารบก (พ.ศ. 2506–2507) | |
6 ตุลาคม พ.ศ. 2515 | เกรียงไกร อัตตะนันทน์ ม.ป.ช. ม.ว.ม. ท.จ. ช.ส. พ.ร.ธ. | 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496 | 28 สิงหาคม พ.ศ. 2515 | เดิมเป็น พลโท ได้รับพระราชทานยศหลังจากถึงแก่อนิจกรรม แม่ทัพภาคที่ 1 (พ.ศ. 2512–2515) | |
1 มิถุนายน พ.ศ. 2516 | ประภาส จารุเสถียร ป.จ. ส.ร. ม.ป.ช. ม.ว.ม. ร.ด.ม. (ห) ช.ส. | 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 | 18 สิงหาคม พ.ศ. 2540 | นอกจากนี้ยังเป็น จอมพลเรือ และ จอมพลอากาศ รองนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2501; 2506–2514; 2515–2516) รองประธานสภาบริหารคณะปฏิวัติ (พ.ศ. 2514–2515) ผู้บัญชาการทหารบก (พ.ศ. 2507–2516) | |
19 สิงหาคม พ.ศ. 2535 | สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ม.จ.ก. น.ร. ป.จ. ม.ป.ช. ม.ว.ม. ป.ภ. (ภายหลัง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง) |
12 สิงหาคม พ.ศ. 2475 | ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ | นอกจากนี้ยังเป็น จอมพลเรือ และ จอมพลอากาศ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (พ.ศ. 2499) ผู้บังคับการพิเศษกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ (พ.ศ. 2502–ปัจจุบัน) |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.