Loading AI tools
เกมส์การแข่งขันเยาวชนประจำชาติไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 35 (อังกฤษ: 35th Thailand National Youth Games) หรือเป็นที่รู้จักในนาม บุรีรัมย์เกมส์ เป็นมหกรรมกีฬาระดับชาติสำหรับเยาวชนทั่วไป ควบคุมโดยการกีฬาแห่งประเทศไทย ซึ่งจัดขึ้น ณ จังหวัดบุรีรัมย์ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 10 - 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2562[1] โดยตอนแรกมีกำหนดการเดิมจะจัดขึ้นวันที่ 19 - 29 มีนาคม พ.ศ. 2562 แต่เลื่อนกำหนดการเนื่องจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562[2][3]
เมืองเจ้าภาพ | จังหวัดบุรีรัมย์ |
---|---|
คำขวัญ | กีฬาเยาวชน สร้างคน สร้างชาติ |
ทีมเข้าร่วม | 77 จังหวัด |
นักกีฬาเข้าร่วม | 16,692 คน |
กีฬา | 45 ชนิดกีฬา |
พิธีเปิด | 10 พฤษภาคม 2562 |
พิธีปิด | 20 พฤษภาคม 2562 |
ประธานพิธีเปิด | วรวิทย์ เตชะสุภากูร, เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา |
ผู้จุดคบเพลิง | พุธวัฏ บุญปก |
สนามกีฬาหลัก | สนามกีฬากลางองค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์ |
เว็บไซต์ทางการ | www |
ในครั้งนี้มีนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันรวมทั้งสิ้น 16,692 คน จาก 77 จังหวัด มีกีฬาที่แข่งขันทั้งหมด 45 ชนิดกีฬา ซึ่งครั้งนี้ได้จัดการแข่งขันภายใน 42 สนาม ในจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมีสนามแข่งขันต่างจังหวัด 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา 6 สนาม และจังหวัดสมุทรปราการ 1 สนาม[4]
จังหวัดบุรีรัมย์ได้เป็นเจ้าภาพกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 35 ในปี พ.ศ. 2562 เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2561 ในการประชุมคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1/2561 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของจังหวัดบุรีรัมย์ที่ได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ
ในการประชุมคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2561 การกีฬาแห่งประเทศไทย ได้มีมติให้จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นเจ้าภาพกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 35 และกีฬาผู้สูงอายุแห่งชาติ ครั้งที่ 2 ตามธรรมเนียม ซึ่งในครั้งนี้มีการเสนอขอรับเป็นเจ้าภาพ จำนวน 3 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดอุดรธานี, จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดเพชรบูรณ์
มีการอัญเชิญไฟพระฤกษ์เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2562 โดยอัญเชิญจากกรุงเทพมหานครมายังจังหวัดบุรีรัมย์ โดยการนี้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เป็นผู้พระราชทานเชิญไฟพระฤกษ์แทนพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเชิญไปจุดในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 35 และพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาผู้สูงอายุแห่งชาติ ครั้งที่ 2 ตามลำดับขั้นตอน ในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ก่อนจะเริ่มพิธีเปิดการแข่งขัน ได้มีการวิ่งคบเพลิงไฟพระฤกษ์ โดยเริ่มจากศาลากลางจังหวัดบุรีรัมย์หลังเดิม ถึงสนามช้างอารีน่า (นักกีฬา: ไอรดา ลิม, ธีรศักดิ์ เล็งไธสง) ระยะที่ 2 จากสนามช้างอารีน่า ถึงบริเวณหน้าแขวงทางหลวงบุรีรัมย์ (นักกีฬา: บวรนันท์ ชันรัมย์, ธรรศกร โพธิ์ทอง) และระยะที่ 3 จากหน้าแขวงทางหลวง ถึงสนามกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์ (นักกีฬา: กรรชัย แถบทอง, ปรีชาพร ปลื้มพันธ์)[6]
พิธีเปิดการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 35 หรือ บุรีรัมย์เกมส์ เรื่มชึ้นเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เวลา 18.00 นาฬิกา โดยก่อนเริ่มพิธีเปิดการแข่งขันได้มีฝนตกลงมา[7] การแสดงชุดแรกของพิธีเปิดการแข่งขันมีชื่อว่า บายศรีสู่ขวัญทอฝันเยาวชน โดยมีแม่น้ำผึ้ง ศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดงระดับชาติ โดยเป็นการกล่าวยินดีต้อนรับนักกีฬาที่เข้าร่วมแข่งขันด้วยดนตรีพื้นบ้าน การแสดงชุดที่สองมีชื่อว่า เกริกเกียรติเปี่ยมล้นการกีฬา เป็นการเทิดพระเกียรติของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชที่ทรงมีต่อด้านกีฬา หลังจากนั้นมีการอัญเชิญธงชาติไทย ธงกีฬาเยาวชนแห่งชาติ และธงประจำจังหวัดบุรีรัมย์ เข้าสู่สนามแข่งขัน พร้อมกับขบวนนักกีฬา 76 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร ต่อมา มีการชักธงชาติไทยขึ้นสู่ยอดเสา ผู้ว่าการกีฬาแห่งประเทศไทยกล่าวรายงานวัตถุประสงค์ นักกีฬาและผู้ฝึกสอนกล่าวคำปฏิญาณ มีการชักธงกีฬาแห่งชาติ และธงประจำจังหวัดบุรีรัมย์ขึ้นสู่ยอดเสา การแสดงชุดที่สามมีชื่อว่า พนมรุ้งรุ่งฟ้าเรืองนิรันดร์ เป็นการเล่าประวัติความเป็นมาของจังหวัดบุรีรัมย์ในยุคประวัติศาสตร์ มีการจุดไฟในกระถางคบเพลิง ซึ่งมีการแสดงประกอบชื่อว่า อัศจรรย์เปล่งประกายไฟพระฤกษ์ การแสดงชุดสุดท้ายมีชื่อว่า เบิกสายแสงแห่งเมืองสองปราสาท ปิดท้ายด้วยมินิคอนเสิร์ตจากวงบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต อาทิ ณัฐรุจา ชุติวรรณโสภณ, วรัทยา ดีสมเลิศ, วฑูศิริ ภูวปัญญาสิริ และอื่น ๆ[8][9][10]
พิธีปิดการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 35 หรือ บุรีรัมย์เกมส์ เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เวลา 18.30 นาฬิกา โดยการแสดงชุดแรกมีชื่อว่า การกีฬาผนึกรักสามัคคี เป็นการประมวลภาพการแข่งขันตลอดต้นจนจบ เพื่อสื่อถึงความสามัคคี ความมีน้ำใจ และการรู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ต่อมาเริ่มการแสดงชุดที่สอง เรืองรวีพิธีการวันสดใส เป็นการเชิญธงชาติไทย ธงกีฬาเยาวชนแห่งชาติ และธงประจำจังหวัดบุรีรัมย์ เข้าสู่สนาม พร้อมกับคณะกรรมการอำนวยการการจัดการแข่งขัน ซึ่งนำโดยรองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมกับป้ายประจำชนิดกีฬาที่ได้จัดขึ้นในบุรีรัมย์เกมส์ และคณะนักกีฬาส่วนที่เหลือ เมื่อได้เข้าสู่สนามแล้ว มีการชักธงชาติไทยลงจากยอดเสา มีการกล่าวรายงานวัตถุประสงค์จากผู้ว่าการกีฬาแห่งประเทศไทย]ต่อประธานพิธี พร้อมกับมอบโล่ให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ จากนั้น มีการชักธงกีฬาเยาวชนแห่งชาติ และธงประจำจังหวัดบุรีรัมย์ลงจากยอดเสา มีการแสดงของเจ้าภาพครั้งถัดไป นั้นคือกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 36 มีการแสดงชุดที่สามซึ่งมีชื่อว่า อนุสรณ์แสงรักประจักษ์ใจ เป็นการแสดงดับไฟในกระถางคบเพลิง มีการนำเยาวชนจากสี่ภาคมาร่วมใจกันนับไฟ ต่อมา การแสดงชุดที่สี่มีชื่อว่า สานสายใยมิตรภาพตราบนิรันดร์ โดยมีการจำลองเหตุการณ์จำลองคนท้องถิ่นกับคนรุ่นใหม่ในทำนองเพลงแต่ละสังคม[11] [12][13]
สนามแข่งขัน | กีฬา | สถานที่ |
---|---|---|
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ | กรีฑา, บาสเกตบอล, ตะกร้อ, เทนนิส, วอลเลย์บอล และซอฟท์เทนนิส | เมืองบุรีรัมย์ |
แขวงทางหลวงบุรีรัมย์ | เปตอง | เมืองบุรีรัมย์ |
โรงพยาบาลบุรีรัมย์ | แบดมินตัน | เมืองบุรีรัมย์ |
โรงเรียนเสนศริอนุสรณ์ | บริดจ์ | เมืองบุรีรัมย์ |
ถนนสายบุรีรัมย์ - อำเภอนางรอง / วนอุทยานภูเขาไฟกระโดง | จักรยาน | เมืองบุรีรัมย์ |
สนามกีฬากลางองค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์ | พิธีการ และฟุตบอล | เมืองบุรีรัมย์ |
โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม | ฟุตซอล และฟันดาบ | เมืองบุรีรัมย์ |
อ่างเก็บน้ำห้วยตลาด | เรือพาย และกีฬาทางอากาศ | เมืองบุรีรัมย์ |
ครูคลิเบิล สนุกเกอร์ คลับ บุรีรัมย์ | สนุกเกอร์ | เมืองบุรีรัมย์ |
โรงเรียนอนุบาลบุรีรัมย์ | ลีลาศ | เมืองบุรีรัมย์ |
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา บุรีรัมย์ เขต 1 | เทเบิลเทนนิส | เมืองบุรีรัมย์ |
กองร้อยอาสารักษาดินแดนจังหวัดบุรีรัมย์ | วู้ดบอล | เมืองบุรีรัมย์ |
โรงเรียนภัทรบพิตร | ยูโด และยูยิตสู | เมืองบุรีรัมย์ |
โรงเรียนเทศบาล 3 บุรีรัมย์ | มวยปล้ำ | เมืองบุรีรัมย์ |
มณฑลทหารบกที่ 26 | รักบี้ | เมืองบุรีรัมย์ |
โรงเรียนภัทรบพิตร | แฮนด์บอล | เมืองบุรีรัมย์ |
สวนรมย์บุรี 200 ปี เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ | เพาะกาย | เมืองบุรีรัมย์ |
สนามช้าง อารีนา / ลานจอดรถตลาดไนท์เซราะกราว | เอ็กซ์ตรีม | เมืองบุรีรัมย์ |
โรงเรียนบุรีรัมย์บุรีรัมย์พิทยาคม | ฟันดาบสากล | เมืองบุรีรัมย์ |
โรงเรียนพระครูพิทยาคม | กาบัดดี | เมืองบุรีรัมย์ |
โรงเรียนประโคนชัยพิทยาคม | มวยไทยสมัครเล่น และวูซู | ประโคนชัย |
โรงเรียนเมืองตลุงพิทยาสรรพ์ | มวยสากลสมัครเล่น และปันจักสีลัต | ประโคนชัย |
อุทยานน้ำหนองระแซซัน | เจ็ตสกี | ประโคนชัย |
โรงเรียนนางรอง | เทควันโด และคาราเต้ | นางรอง |
โรงเรียนทีโอเอวิทยา (เทศบาล 1) | ชักเย่อ | นางรอง |
โรงเรียนลำปลายมาศ | หมากล้อม และเบตบอล | ลำปลายมาศ |
โรงเรียนกระสังพิทยาคม | ฮอกกี้ | กระสัง |
โรงเรียนห้วยราชพิทยาคม / โรงเรียนวัดบ้านสนวน | ซอฟท์บอล | ห้วยราช |
โรงเรียนธารทองพิทยาคม | คริกเก็ต | ลำปลายมาศ |
สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 | ว่ายน้ำ จักรยาน และยิงปืน | จังหวัดนครราชสีมา |
สนามกอล์ฟ พานอราม่า | กอล์ฟ | จังหวัดนครราชสีมา |
ศูนย์การค้า เทอมิเนอร์ 21 โคราช | ยิมนาสติก | จังหวัดนครราชสีมา |
ศูนย์การค้า อิมพีเรียลเวิลด์ สำโรง อำเภอเมือง | ฟิกเกอร์สเก็ตและสปีดสเก็ตติ้ง | จังหวัดสมุทรปราการ |
เปิด | พิธีเปิดการแข่งขัน | ● | การแข่งขันรอบทั่วไป | การแข่งขันชิงเหรียญทอง | ปิด | พิธีปิดการแข่งขัน |
อันดับที่ | จังหวัด | ทอง | เงิน | ทองแดง | รวม |
---|---|---|---|---|---|
1 | กรุงเทพมหานคร | 114 | 116 | 129 | 388 |
2 | ชลบุรี | 53 | 59 | 50 | 162 |
3 | สุพรรณบุรี | 47 | 33 | 46 | 126 |
4 | นครราชสีมา | 46 | 24 | 29 | 99 |
5 | เชียงใหม่ | 29 | 31 | 41 | 103 |
6 | นครศรีธรรมราช | 26 | 24 | 33 | 83 |
7 | สมุทรปราการ | 19 | 20 | 22 | 61 |
8 | ศรีสะเกษ | 19 | 12 | 29 | 60 |
9 | ขอนแก่น | 18 | 7 | 24 | 49 |
10 | นนทบุรี | 16 | 31 | 27 | 74 |
รวม | 728 | 730 | 1062 | 2520 |
สัญลักษณ์ประจำการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 35 เป็นรูปปราสาทหินพนมรุ้ง ซึ่งเป็นปราสาทที่เป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัดบุรีรัมย์ โดยในส่วนของปราสาทประธานแสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของการแข่งขันที่จัดขึ้นในจังหวัดบุรีรัมย์ สัญลักษณ์ตัวแทนคนมีความหมายว่าผู้คนจากทั่วประเทศที่จะเข้าร่วมการแข่งขัน จะได้รับความประทับใจ มิตรภาพที่เกิดใหม่ ได้เยี่ยมชมโบราณสถานและวัฒนธรรมตลอดจนวิถีชีวิตชาวบุรีรัมย์ มีตราสัญลักษณ์กีฬาแห่งชาติประดับอยู่กลางประสาทประธานเปรียมเสมือนดวงอาทิตย์ที่ขึ้นตรงกับประตูของปราสาท[14]
มาสคอตประจำการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 35 มีชื่อว่า น้องเหินหาว มีลักษณะมาจากนกกระเรียนที่มีชื่อว่า น้องเหินหาว โดยที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เป็นผู้พระราชทานชื่อ ในโครงการทดลองปล่อยคืนสู่พื้นที่ชุ่มน้ำตามธรรมชาติที่จังหวัดบุรีรัมย์ นอกจากนั้นบริเวณคอยังได้คล้องผ้าซิ่นตีนแดง สื่อให้เห็นถึงผ้าเอกลักษณ์ของจังหวัดบุรีรัมย์ และให้เห็นถึงวิถีวัฒนธรรมอันดีงาม เก่าแก่ ทรงคุณค่าและเป็นสินค้าสร้างรายได้แก่ชาวบุรีรัมย์ และคบเพลิงเป็นรูปเลข 35 สื่อถึงการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 35 ที่สร้างพลังกาย พลังความคิด และมีน้ำใจนักกีฬาแก่เยาวชนชาติไทย ให้เติบโตเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชาติให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
น้องเหินหาว มีนิสัยน่ารัก เป็นมิตร ชอบการเรียนรู้ มีความคิดสร้างสรรค์ รักการออกกำลังกาย เล่นกีฬา เป็นตัวแทนชาวบุรีรัมย์ ในการต้อนรับคณะนักกีฬาเยาวชนทั่วประเทศสู่การแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 35[15]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.