คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
จังหวัดฉะเชิงเทรา
จังหวัดในภาคตะวันออกในประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
ฉะเชิงเทรา เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกของประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อกับกรุงเทพมหานคร จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดสระแก้ว จังหวัดจันทบุรี จังหวัดชลบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ รวมถึงมีอาณาเขตติดกับอ่าวไทยเป็นระยะสั้นประมาณ 12 กิโลเมตร
Remove ads
Remove ads
ศัพทมูลวิทยา
ที่มาของคำว่า "ฉะเชิงเทรา" มีข้อสันนิษฐานที่แตกต่างกัน 2 ข้อ คือ[3]
- คำว่า ฉะเชิงเทรา มาจากคำภาษาเขมร 2 คำ คือ สทึง+เจรา ซึ่ง สทึง (ស្ទឹង) แปลว่า แม่น้ำสายย่อย และ เจรา (ជ្រៅ) แปลว่า ลึก เมื่อรวมความหมายก็ได้ว่า แม่น้ำลึก ซึ่งหมายถึงแม่น้ำบางปะกงนั่นเอง (มีผู้โต้แย้งข้อสันนิษฐานนี้ เนื่องจากว่าเมืองฉะเชิงเทรานั้นตั้งขึ้นมาในสมัยเดียวกับเมืองสาครบุรี เมืองนครไชยศรี และเมืองนนทบุรี ซึ่งไม่น่าจะมีคำเขมรมาปนอยู่ในชื่อเมืองแล้ว)
- คำว่า ฉะเชิงเทรา อาจเพี้ยนมาจากคำว่า แสงเชรา แสงเซา หรือ แซงเซา (ข้อสันนิษฐานนี้ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน)
Remove ads
ประวัติ
สรุป
มุมมอง
ช่วงก่อนและต้นยุคทวารวดี มีชุมชนบ้านเมืองโบราณบริเวณสองฝั่งคลองลำน้ำท่าลาด หรือคลองท่าลาด ที่ไหลผ่านอำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา หลายแห่งตั้งแต่บ้านเกาะขนุน ถึงบ้านท่าเกวียน ฯลฯ ช่วงปลายยุคทวารวดี ฉะเชิงเทราและดินแดนใกล้เคียงคือ เมืองมโหสถ (อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี) กับเมืองพระรถ (อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี) ต่างรุ่งเรืองขึ้นจากการค้าโลก และมีความเกี่ยวข้องเป็นเครือญาติกับกษัตริย์ขอมทั้งเมืองละโว้ (ลพบุรี) และเมืองพระนคร (กัมพูชา) จนหลังยุคขอมจนถึงสมัยอยุธยาตอนต้น บริเวณลุ่มน้ำบางปะกง ตั้งแต่เขตฉะเชิงเทราถึงปราจีนบุรีกลายเป็นป่าดง เนื่องจากเป็นที่ดอนมากขึ้นจากทับถมของตะกอนปากแม่น้ำ ส่งผลให้เส้นทางคมนาคมออกอ่าวไทยไม่ค่อยสะดวกเช่นเดิม จนสมัยอยุธยาตอนกลาง สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 โปรดให้ซ่อมแปลงคลองสำโรง ซึ่งเชื่อมแม่น้ำบางปะกง กับแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อให้สะดวกในการคมนาคม
ในสมัยรัชกาลที่ 3 หลังปี พ.ศ. 2369 ทรงยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ ได้มีการกวาดต้อนครัวลาวพวกหนึ่งมาอยู่ที่ลุ่มแม่น้ำบางปะกง เกิดเมืองใหม่ชื่อ เมืองฉะเชิงเทรา แต่ปากชาวบ้านเรียกชื่อเดิมที่มีมาก่อนว่า เมืองแปดริ้ว (ปัจจุบันคือ อำเภอบางคล้า) มีการสร้างป้อมเมืองฉะเชิงเทราเพื่อป้องกันศึกญวนและเขมรที่มาทางแม่น้ำบางปะกง และอ่าวไทย ราวปี พ.ศ. 2377 ต่อมา พ.ศ. 2381 ให้อพยพครอบครัวเจ้าองค์ด้วง แห่งกัมพูชา เข้ากรุงเทพฯ ส่วนบ่าวไพร่ทั้งหลายให้อยู่เมืองฉะเชิงเทรา (บริเวณ ชุมชนวัดดอนทอง ปากคลองบางตีนเป็ด ตรงข้ามอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา)
ในสมัยรัชกาลที่ 4 โปรดให้ยกบ้านท่าถ่านเป็นเมืองพนมสารคาม (อำเภอพนมสารคาม) และต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ปี พ.ศ. 2459 โปรดให้เมืองฉะเชิงเทรากับเมืองพนมสารคาม รวมกันสถาปนาเป็น จังหวัดฉะเชิงเทรา[4]
Remove ads
ภูมิศาสตร์
ภูมิประเทศของจังหวัดฉะเชิงเทราแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนตะวันตกของจังหวัดตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำบางปะกง ส่วนตะวันออกมีลักษณะเป็นเนินเขา ด้วยความสูงจากระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ยกว่า 100 เมตร จังหวัดฉะเชิงเทรามีเกาะจำนวน 1 เกาะ คือ เกาะกลาง ที่บริเวณปากแม่น้ำบางปะกง
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สัญลักษณ์ของจังหวัด
- ตราประจำจังหวัด เป็นรูปพระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหารหลังใหม่ หมายถึง ที่ประดิษฐานพระพุทธโสธร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำคัญของเมือง ตำนานเล่าว่าเป็นพระพุทธรูปแสดงปาฏิหาริย์ ลอยทวนน้ำมา ขึ้นที่จังหวัด ชาวเมืองเคารพ ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ บันดาลให้ดิน และน้ำอุดมสมบูรณ์ มีรูปครุฑ และชื่อจังหวัดฉะเชิงเทราอยู่ด้านล่างโบสถ์
สีหลังคาพระอุโบสถ : เป็นสีด่อน (สีเทาควันบุหรี่) ซึ่งเป็นจริงของหลังคาพระอุโบสถหลังใหม่
พื้นหน้าพระอุโบสถ : เป็นสีเทาอ่อน มิใช่สีดำ
ขอบสีรอบเครื่องหมายราชการ : เป็นสีแดงเลือดหมู ซึ่งเป็นสีประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา
- ต้นไม้ประจำจังหวัด นนทรีป่า
- ดอกไม้ประจำจังหวัด นนทรี
- สัตว์น้ำประจำจังหวัด ปลากะพงขาวหรือปลาโจ้โล้
- ลักษณะรูปร่างของจังหวัดฉะเชิงเทรา ลักษณะรูปร่างของจังหวัดฉะเชิงเทรามีรูปร่างคล้ายกับ "ค้อนตอกตะปู"
- คำขวัญประจำจังหวัด “แม่น้ำบางปะกงแหล่งชีวิต พระศักดิ์สิทธิ์หลวงพ่อโสธร พระยาศรีสุนทรปราชญ์ภาษาไทย เขาอ่างฤๅไนป่าสมบูรณ์”
Remove ads
หน่วยการปกครอง
สรุป
มุมมอง
การปกครองแบ่งออกเป็น 11 อำเภอ 93 ตำบล 859 หมู่บ้าน
![]() |
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
จังหวัดฉะเชิงเทรามีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด 109 แห่ง ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดฉะเชิงเทรา มีเทศบาล 34 แห่ง เป็นเทศบาลเมือง 1 แห่ง และเทศบาลตำบล 33 แห่ง ที่เหลือเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวน 73 แห่ง โดยเทศบาลทั้งหมดแบ่งตามอำเภอในจังหวัดฉะเชิงเทรา มีดังนี้
Remove ads
ประชากร
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
Remove ads
การศึกษา
มหาวิทยาลัย
- มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
- มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา ฉะเชิงเทรา
- มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์พุทธโสธร
วิทยาลัย
- วิทยาลัยอาชีวศึกษาฉะเชิงเทรา
- วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา
- วิทยาลัยเทคนิคจุฬาภรณ์ (ลาดขวาง)
- วิทยาลัยเทคนิคพนมสารคาม
- วิทยาลัยการอาชีพบางปะกง
- วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีฉะเชิงเทรา
- วิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทรา
- วิทยาลัยเทคโนโลยีฉะเชิงเทรา
- วิทยาลัยเทคโนโลยียานยนต์โตโยต้า
- วิทยาลัยเทคโนโลยีบุรณวิชญ์-บ้านโพธิ์
โรงเรียน
Remove ads
กีฬา
การขนส่ง
ระยะทางจากตัวจังหวัดไปอำเภอต่าง ๆ
- อำเภอบ้านโพธิ์ 16 กิโลเมตร
- อำเภอคลองเขื่อน 18 กิโลเมตร
- อำเภอบางปะกง 20 กิโลเมตร
- อำเภอบางนํ้าเปรี้ยว 21 กิโลเมตร
- อำเภอบางคล้า 25 กิโลเมตร
- อำเภอราชสาส์น 32 กิโลเมตร
- อำเภอแปลงยาว 33 กิโลเมตร
- อำเภอพนมสารคาม 35 กิโลเมตร
- อำเภอสนามชัยเขต 51 กิโลเมตร
- อำเภอท่าตะเกียบ 79 กิโลเมตร
สถานที่ท่องเที่ยว
- วัดโสธรวรารามวรวิหาร
- กำแพงเมืองฉะเชิงเทรา
- ศาลหลักเมืองฉะเชิงเทรา
- สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ฉะเชิงเทรา
- วัดเมือง
- วัดจีนประชาสโมสร
- วัดโพธิ์บางคล้า
- ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
- ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน
- เขาหินซ้อน
- ศูนย์ศึกษาพัฒนาการสังคมหมู่บ้าน
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไน
- สมาคมสงเคราะห์การกุศลฉะเชิงเทรา (เจ้าแม่กวนอิมลอยน้ำ)
- สวนน้ำเกาะแก้วบางปะกง
- สวนปาล์มฟาร์มนก
- ตลาดน้ำบางคล้า
- อนุสรณ์สถาน พระสถูปเจดีย์ศาลพระเจ้าตากสินมหาราช
Remove ads
บุคคลที่มีชื่อเสียง
สรุป
มุมมอง
ด้านศาสนา
- สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปญฺโญ) – สมเด็จพระราชาคณะ เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร
- พระพรหมคุณาภรณ์ (เจียม จิรปุญฺโญ) – พระราชาคณะเจ้าคณะรอง อดีตเจ้าอาวาสวัดโสธรวรารามวรวิหาร
- พระเทพวชิรโสภณ (สุรพล ชิตญาโณ) – เจ้าคณะภาค 12 วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
- พระราชปริยัติสุนทร (อมรภิรักษ์ ปสฺสนฺโน) – อดีตเจ้าคณะจังหวัด ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโสธรวรารามวรวิหาร,ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 12
- พระเทพภาวนาวชิรคุณ (ศิริวัฒน์ สิริวฑฺฒโน) – เจ้าคณะจังหวัด เจ้าอาวาสพระอารามหลวงวัดโสธรวรารามวรวิหาร
- พระครูสิทธิสารคุณ (จาด คังคสโร) – อดีตเจ้าอาวาสวัดบางกะเบา
- หลวงปู่ไข่ อินทสโร – พระเกจิอาจารย์ชาวไทย
- หลวงพ่อฟู อติภทฺโท พระเกจิอาจารย์
- พระชลญาณมุนี (สมโภช ธมฺมโภชฺโช) เจ้าคณะอำเภอเมืองชลบุรี (ธรรมยุต)
ด้านวงการบันเทิง
- ธนพล นิ่มทัยสุข - นักแสดง
- รุ่งเรือง อนันตยะ - นักแสดง
- วี จิราพร - นักร้องลูกทุ่ง
- วิจิตร คุณาวุฒิ - ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ภาพยนตร์และละคร) ประจำปี พ.ศ. 2530
- ภรณ์ทิพย์ นาคหิรัญกนก - นางสาวไทยปี 2531 และนางงามจักรวาลปี 1988
- พัชราภา ไชยเชื้อ - นักแสดง นางแบบ
- กนกอร บุญมา- นางสาวไทย พ.ศ. 2515
- ชัยชนะ บุญนะโชติ- เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง
- นิสา วงวัฒน์- นักแสดง
- ปราบ ยุทธพิชัย- นักแสดง พิธีกร
- เพิ่มพล เชยอรุณ- ผู้กำกับภาพยนตร์ไทย
- ราม ราชพงษ์- นักแสดง
- แมน ธีระพล- อดีตนักแสดง
- ละอองดาว สกาวเดือน- นักร้องลูกทุ่ง
- อุบลวรรณ บุญรอด- นักแสดง
- ภูธนิน สินสมใจ- นักแสดง
- พีรวิชญ์ อรรถชิตสถาพร- นักแสดง
- สไปร์ท (ศุกลวัฒน์ พวงสมบัติ) - นักร้องแร็ปเปอร์
- รพีพรรณ แช่มเจริญ (เหมย CGM48) – นักร้อง
- พิมพ์มาดา ตั้งสี (มีมี่ DaruNi) – นักร้อง
ด้านวงการกีฬา
- พลเรือตรี หลวงเจียรกลการ (เจียม เจียรกุล) น้องชาย นายนี้ เจียรกุล ผู้ให้กำเนิดโรงเรียนบางปะกง “บวรวิทยายน”) นักฟุตบอลทีมนายเรือ ชุดถ้วยทองของหลวง พ.ศ. 2458 ทูตทหารเรือไทยคนแรก ณ กรุงโรม และนายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ คนที่ 8
- ศิริมงคล ลูกศิริพัฒน์ - นักมวยไทย
- สามารถ พยัคฆ์อรุณ - นักมวยไทยและอดีตแชมป์โลกมวยสากล
- ก้องธรณี พยัคฆ์อรุณ - นักมวยไทย
- ทรงชัย รัตนสุบรรณ - โปรโมเตอร์มวย
- อดุลย์ ศรีโสธร - นักมวยไทย
- ชูชัย ลูกปัญจมา - นักกีฬามวยไทย
- เดชฤทธิ์ อิทธิอนุชิต - นักมวยไทย เจ้าของฉายา "ไอ้ปลิว" หรือ "ไอ้ปลิวใจเพชร"
- มนต์ชัย สุภจิรกุล - หัวหน้าผู้ฝึกสอนวอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย
- วิลาศ น้อมเจริญ - อดีตผู้รักษาประตูฟุตบอลทีมชาติไทย
- ปรีชา พิมพ์พันธ์ - คนไทยคนแรกที่ปั่นจักรยานทางไกล จากประเทศไทยไปประเทศสหรัฐอเมริกา เคยเป็นอดีตโค้ชนักกีฬาจักรยานทีมชาติไทย ปัจจุบันเป็นผู้จัดการโรงเรียนจิรศาสตร์วิทยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ด้านวงการวิชาการ
- พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) - ผู้แต่งตำราเรียนชุดแรกของไทย
- โกวิท วรพิพัฒน์ - อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ อธิบดีกรมสามัญศึกษา อธิบดีกรมวิชาการ อธิบดีกรมการศึกษานอกโรงเรียน สมาชิกวุฒิสภา และอีกหลาย ๆ ตำแหน่ง
- หม่อมหลวงมานิจ ชุมสาย- นักเขียน นักประวัติศาสตร์
- เรียน วันเจริญ- ปราชญ์ชาวบ้านตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- สัชฌุเศรษฐ์ เรืองเดชสุวรรณ-ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมทางวิทยาการและการประกอบการ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น ผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์การตลาด Micro SMEs เจ้าของโครงการ Mini-Giant Entrepreneurship
- อมร วาณิชวิวัฒน์ - อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล - อาจารย์ภาควิชาอายุรศาสตร์ สาขาโรคปอดและวัณโรค คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล นายกสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ผู้นำนักรบเสื้อกาวน์และบุคลากรสาธารณสุขในการสู้ภัยการระบาดของโควิด-19 ของประเทศไทย
ด้านวงการธุรกิจ
▪ นายวิชัย มาลีนนท์ ผู้ก่อตั้งและบุกเบิก สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อ.ส.ม.ท.
ด้านวงการทหาร
- พล.อ.พิจิตร กุลละวณิชย์ - อดีตแม่ทัพภาคที่ 1 และอดีตองคมนตรีในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ด้านวงการตำรวจ
- พล.ต.ท.พิทักษ์ จารุสมบัติ - อดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 8
- วินัย ทองสอง- อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
ด้านราชการพลเรือน
- ณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร - เป็นข้าราชการชาวไทย อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดจังหวัดพะเยา อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง อดีตผู้ตรวจราชการของกระทรวงมหาดไทย อดีตที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมสำรวจของกรมที่ดิน อดีตผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีทำแผนที่กรมที่ดิน อดีตผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลแผนที่ของกรมที่ดิน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นบัญชีของกระทรวงการคลัง สำหรับการดำเนินการเกี่ยวกับการให้เอกชนลงทุนในโครงการของรัฐ เขามีชื่อเสียงจากการดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานการณ์ช่วยเหลือเด็กและโค้ชติดถ้ำ 13 คน ในปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง ระหว่างวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2561 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
ด้านอื่น ๆ
- บุญทบ อรัณยะกานนท์- อดีตนายกเทศมนตรีเมืองฉะเชิงเทรา ปี พ.ศ. 2500-2515
- ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ - นักการเมือง อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎรและรัฐมนตรีในหลายกระทรวง ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยรังสิต
- อนันต์ ฉายแสง - อดีต ส.ส.ฉะเชิงเทรา และ อดีต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในสมัยรัฐบาล ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช
- พินิจ จารุสมบัติ - อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีในหลายกระทรวง, อดีตหัวหน้าพรรคเสรีธรรม
- จาตุรนต์ ฉายแสง - อดีตรองนายกรัฐมนตรี ,อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย
- วุฒิพงศ์ ฉายแสง - อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- ฐิติมา ฉายแสง - โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- สมชัย อัศวชัยโสภณ- สมาชิกาสภาผู้แทนราษฎร 3 สมัย,ประธานคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุและผู้พิการ รัฐสภา,อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดฉะเชิงเทรา 3 สมัย
- บุญเลิศ ไพรินทร์ - อดีตสมาชิกวุฒิสภา และโหราจารย์ที่มีชื่อเสียง
- ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน- อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อดีตปลัดทบวงมหาวิทยาลัย
- กระจ่าง ตุลารักษ์- ผู้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
- ไกรสร นันทมานพ- นักการเมือง
- นิคม ไวยรัชพานิช- อดีตประธานวุฒิสภาไทย
- ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์- เป็นอดีตประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย
- พิเชษฐ์ ตันเจริญ- อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
- สวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์- อดีตจุฬาราชมนตรีของประเทศไทย
- เสกสรรค์ ประเสริฐกุล- เป็นอดีตผู้นำนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 และนักเขียนรางวัลศรีบูรพา
Remove ads
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads