สโมสรฟุตบอลราชนาวี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สโมสรฟุตบอลราชนาวี

สโมสรฟุตบอลราชนาวี เป็นสโมสรฟุตบอลระดับอาชีพของประเทศไทย ภายใต้การบริหารของกองทัพเรือไทย ที่มีฐานที่มั่นอยู่ที่จังหวัดชลบุรี โดยแข่งอยู่ในไทยลีก 3 ซึ่งสโมสรแห่งนี้เคยแข่งในชื่อสโมสรฟุตบอลทหารเรือ, ราชนาวี และราชนาวี-ระยอง

ข้อมูลเบื้องต้น ชื่อเต็ม, ฉายา ...
สโมสรฟุตบอลราชนาวี
(Navy F.C.)
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลราชนาวี
(Navy Football Club)
ฉายาตะหานน้ำ
ก่อตั้ง10 มกราคม พ.ศ. 2499 (69 ปี) ในชื่อสโมสรฟุตบอลทหารเรือ
สนามสนามกีฬาราชนาวี สัตหีบ
จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย
ความจุ6,000 ที่นั่ง
เจ้าของราชนาวีไทย
หัวหน้าผู้ฝึกสอนนาวาโท สมศักดิ์ อักษร
ลีกไทยลีก 3
ฤดูกาล 2566–67ไทยลีก 3 อันดับ 4 จาก 11 สโมสรของภาคตะวันออก
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม
ปิด
ข้อมูลเบื้องต้น สโมสรที่ดำเนินงานใน ราชนาวี, ฟุตบอล ...
สโมสรที่ดำเนินงานใน
ราชนาวี
ฟุตบอล ฟุตบอลบี ฟุตซอล
ปิด

ประวัติสโมสร

สรุป
มุมมอง

ก่อนมีการจัดตั้งสโมสรฟุตบอลของกองทัพเรือนั้น กองทัพไทยได้จัดให้มีการแข่งฟุตบอลเป็นการภายในอยู่ก่อนแล้ว โดยกองทัพเรือมีเสนาบดีกระทรวงทหารเรือและผู้บัญชาการทหารเรือท่านต่าง ๆ เป็นผู้ให้การสนับสนุนโดยตลอด ดังปรากฏว่า พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร ได้ให้การสนับสนุนฟุตบอลภายในกองทัพเป็นอย่างดีโดยเฉพาะนักเตะจากโรงเรียนนายเรือจนได้แชมป์ถ้วยทองหลวงในปี พ.ศ. 2458 ก่อนจะมาได้แชมป์ถ้วย ก. 2 สมัยใน พ.ศ. 2466 และ 2467 ในสมัยพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ ต่อมากองทัพเรือไทยจึงได้จัดตั้งสโมสรฟุตบอลราชนาวีสโมสรขึ้น เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2499[1]

เนื่องจากสโมสรฟุตบอลราชนาวีสโมสรขาดแคลนงบประมาณในการดึงตัวนักฟุตบอลฝีมือดีมาร่วมทีมเช่นเดียวกับทีมฟุตบอลของเหล่าทัพอื่น จึงต้องใช้นักฟุตบอลที่เป็นทหารอาชีพล้วนลงแข่งขัน ผลงานของทีมนี้จึงไม่คงที่ มีการเลื่อนชั้นสลับกับตกชั้นระหว่างฟุตบอลดิวิชั่น 1 และไทยลีกมาโดยตลอด อย่างไรก็ตาม สโมสรฟุตบอลแห่งนี้ยังเคยคว้าแชมป์ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานควีนส์คัพครั้งที่ 32 ใน พ.ศ. 2549 มาครองได้สำเร็จ

ในการแข่งขันฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2552 สโมสรฟุตบอลราชนาวีสโมสรได้สิทธิกลับมาแข่งขันในฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีกอีกครั้ง จากการทำผลงานได้สูงสุดเป็นอันดับ 3 ในไทยลีกดิวิชัน 1 โดยปีนี้สโมสรได้มีการไปร่วมทุนกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในชื่อ "ราชนาวี-ระยอง" เพื่อให้สามารถส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันได้ตามข้อกำหนดของเอเอฟซี โดยใช้สนามกีฬากลางจังหวัดระยองเป็นสนามเหย้า ภายใต้การบริหารจัดการของบริษัท ระยองไทยพรีเมียร์ จำกัด ในฉายา "ม้านิลมังกร" สามารถขึ้นไปถึงลำดับที่ 12 ของตารางไทยพรีเมียร์ลีก และในฤดูกาล 2553 ราชนาวี-ระยอง ยังคงรั้งอยู่อับดับ 11 ในไทยพรีเมียร์ลีก แต่เมื่อจบฤดูกาล หมดสัญญากับจังหวัดระยอง กองทัพเรือดึงสิทธิ์ไปทำทีมเองในฤดูกาล 2554 ภายใต้การบริหารของบริษัท สยามนาวี ลีค คลับ กลับไปใช้ชื่อทีม "ราชนาวี" เหมือนเดิม และปรับปรุงสนามกีฬากองทัพเรือ กม.5 สัตหีบ เป็นสนามเหย้า จบฤดูกาล "ตะหานน้ำ" ก็ร่วงไปเล่นในไทยลีกดิวิชัน 1 อีกครั้ง เพราะทำได้เพียงอันดับที่ 16 เท่านั้น

พ.ศ. 2558 สโมสรฟุตบอลราชนาวีได้กลับขึ้นสู่ไทยพรีเมียร์ลีกอีกครั้ง หลังจากได้อันดับ 3 ในไทยลีกดิวิชัน 1 ฤดูกาล 2557 ซึ่งในไทยพรีเมียร์ลีกฤดูกาล 2558 พลเรือโทประพฤติพร อักษรมัต (ยศขณะนั้น) ประธานสโมสรราชนาวี เปิดตัวทีมสู้ศึกด้วยแคมเปญ "NAVY SMART TEAM" และเป็นที่ฮือฮาเมื่อปรากฏข่าวสโมสรแห่งนี้ได้รับการฝึกจากหน่วยทำลายใต้น้ำจู่โจม (ประเทศไทย) โดยเป็นการฝึกให้นักกีฬาได้มีจิตใจเข้มแข็งและมีสมาธิก่อนเข้าร่วมการแข่งขันไทยลีกคัพ[2] ในไทยพรีเมียร์ลีก สโมสรฟุตบอลราชนาวีภายใต้การฝึกสอนของสุรศักดิ์ ตังสุรัตน์ จบเลคแรกไม่ค่อยสวยนัก เลคหลังสโมสรตัดสินใจดึงโค้ชอาจหาญ ทรงงามทรัพย์ให้คัมแบ็คมาคุมทีมเต็มตัว ประเดิมเปิดบ้านเสมอกับ แบงค็อก ยูไนเต็ด ไปอย่างสนุกด้วยสกอร์ 2 - 2 แต่เมื่อบุกไปแพ้ให้กับ เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ถึง 7 - 0 อาจหาญ ทรงงามทรัพย์ ก็แสดงความรับผิดชอบโดยการลาออกหลังจากเกมดังกล่าว ต่อมาสโมสรก็ได้เปิดตัวสเตฟาโน คูกูรา อดีตหัวหน้าผู้ฝึกสอนของโอสถสภา เอ็ม-150 เข้าเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนคนใหม่ของสโมสรและสร้างผลงานฮือฮาเมื่อสามารถเอาชนะติดต่อกัน 4 นัดซ้อน ทำให้อันดับในตารางดีขึ้น แต่ก็อยู่ในโซนหนีตกชั้นจนจบฤดูกาล 2558 โดยนัดสุดท้ายเปิดบ้านเอาชนะทีมอาร์มี่ ยูไนเต็ด (ทีมอันดับ 10) ด้วยจำนวนประตู 2 - 1 รั้งอันดับ 15 (จาก 18 ทีม) ยังคงยืนหยัดอยู่ในไทยพรีเมียร์ลีก ต่อไปอีกฤดูกาล

หลังจากพีทีที ระยองในไทยลีกและไทยฮอนด้าในไทยลีก 2 ไม่ส่งทีมเข้าแข่งขันในฤดูกาล 2563 สมาคมฟุตบอลฯ มีมติให้คงจำนวนทีมในไทยลีกและไทยลีก 2 เป็น 16 และ 18 ทีมตามเดิมเพื่อให้จำนวนทีมเหมาะสมและเอื้อต่อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสด ทำให้สุพรรณบุรีที่จบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 14 ในไทยลีกยังคงแข่งขันในไทยลีกต่อไป ส่วนราชนาวีที่จบฤดูกาลในอันดับที่ 16 ในไทยลีก 2 ฤดูกาล 2562 ยังคงแข่งขันในไทยลีก 2 เช่นกัน ในขณะที่อุบล ยูไนเต็ดซึ่งเป็นสโมสรที่ดีที่สุดเป็นอันดับสองในกลุ่มตกชั้นนั้นไม่ผ่านคลับไลเซนซิงและถูกปรับตกชั้นไปแข่งขันในไทยลีก 4 ทำให้สิทธิ์การแข่งขันในไทยลีก 2 ฤดูกาล 2563 ตกเป็นของอยุธยา ยูไนเต็ด[3][4]

วันสำคัญ

  • 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 - สโมสรนักเรียนนายเรือ (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น สโมสรฟุตบอลราชนาวี) ได้ครองถ้วยทองของหลวงเป็นสโมสรแรกของประเทศ
  • 10 มกราคม พ.ศ. 2499 - วันจัดตั้ง สโมสรฟุตบอลราชนาวี

การบริหารจัดการ

ในปี พ.ศ. 2552 แม้ว่าทีมราชนาวี-ระยอง จะไม่มีนักฟุตบอลระดับซูเปอร์สตาร์ และผลงานอยู่ในโซนท้ายตารางต้องลุ้นไม่ให้ทีมตกชั้นจนถึงนัดสุดท้าย แต่ด้วยความสำเร็จการเข้ามาทำทีมของกมล สุวรรณเจริญ ที่มีระบบเงินเดือน เบี้ยเลี้ยง และการประชาสัมพันธ์ ทำให้ราชนาวี-ระยอง เก็บยอดบัตรผ่านประตูสะสมมากที่สุดในบรรดา 16 สโมสร[5] และรวมรายได้ค่าของที่ระลึกแล้วเป็นรองแค่สโมสรเมืองทองหนองจอกทีมแชมป์ในปีนั้นแค่ทีมเดียวเท่านั้น

ในปี พ.ศ. 2558 ทีมราชนาวีได้ผู้สนับสนุนหลัก คือ บริษัท เอช อาร์ โปรเฟสชั่นแนล คอนซัลติ้ง แอนด์ เซอร์วิส จำกัด โดยนายสมฤทธิ์ ศรีทองดี

เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2558 พลเรือเอก ประพฤติพร อักษรมัต ประธานสโมสรฟุตบอลราชนาวี ซึ่งได้รับการโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศสูงขึ้น ได้เป็นประธานเปิดสนามฟุตบอลราชนาวี (สนาม 2) เพื่อเป็นสถานที่ฝึกสอนเยาวชน ACADEMY NAVY FC ซึ่งเป็นบุตรหลานกำลังพลทหารเรือและเยาวชนในท้องถิ่น เพื่อเสริมทีมราชนาวีในอนาคต และเป็นสนามสำรองเพื่อฝึกซ้อมนักเตะสโมสรราชนาวี โดยสุเมธ กองพัฒนากูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซีเค ชูส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้มอบเงินสนับสนุน ซึ่งจะเป็นการปั้นเยาวชนเสริมทีมในอนาคต

ตราสโมสร

ผู้เล่น

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

ข้อมูลเพิ่มเติม เลข, ตำแหน่ง ...
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK ประเทศไทย วรุฒ วงค์สมศักดิ์
5 DF ประเทศไทย ดลธชัย ดีพุ่ม
7 MF ประเทศไทย พงศ์พันธ์ พาระพันธ์
9 DF ประเทศไทย ณัฐกฤต อินเสาร์
10 FW ประเทศไทย ธัญพิสิษฐ์ เหมปันดัน
11 MF ประเทศไทย ณัฐภูมิ มายา
12 DF ประเทศไทย ชุติคม กลิ่นจำปาศรี (ยืมตัวจาก เมืองทอง ยูไนเต็ด)
16 MF ประเทศไทย บารมี ลิ้มวัฒนะ
17 DF ประเทศไทย วชิรวัฒน์ คงรื่น
18 MF ประเทศไทย อนุพันธ์ เกิดสมพงษ์
19 DF ประเทศไทย อาทิตย์ บัวงาม
20 DF ประเทศไทย ธีราทร ผลอำพันธ์
22 GK ประเทศไทย สุพัฒณ์ชัย เหล่าทอง
23 GK ประเทศไทย ปิยวัฒน์ กองแสนสี
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
26 MF ประเทศไทย ธัชพล ไชยยันต์
28 MF ประเทศไทย ธนาธร จันทร์เพชร
29 MF ประเทศไทย นิติธรรม ศิริสินธุ์
32 MF ประเทศอาร์เจนตินา มาติอัส ปานิกัซซิ
33 MF ประเทศไทย เตชินท์ มุขธระโกษา
37 GK ประเทศไทย สันติภาพ บุญเกลี้ยง
46 DF ประเทศไทย สิทธิศักดิ์ อินทร์ใย
47 FW ประเทศไทย พลวัฒน์ ดำนอก
54 FW ประเทศไทย อิสริยาพล ชมเชย
57 MF ประเทศไทย ชินวัฒน์ โพธิ์ธา
67 DF ประเทศไทย วันใหม่ เศรษฐนันท์
77 MF ประเทศบราซิล กุสตาวินญู
79 MF ประเทศไทย ธนดล ศุภผล
88 MF ประเทศไทย จีระศักดิ์ แสงชมภู
91 FW ประเทศบราซิล ลูอัง ซังตุส
ปิด

ผู้เล่นคนสำคัญในอดีต

ผู้เล่นชุดชนะเลิศถ้วยทองของหลวง พ.ศ. 2458

  • นายเจริญ (พลเรือโท หลวงเจริญราชนาวา) เป็นหัวหน้าทีม
  • นายสวัสดิ์ เดชะไกสะยะ (นาวาตรี หลวงสวัสดิ์เดชไพศาลย์)
  • นายแหวน (เรือตรี แหวน กัณหวยัคฆ์)
  • นายแดง (นาวาเอก หลวงสำแดงพิชชาโชติ)
  • นายดำ ทังสุบุตร (นาวาโท หลวงขยันสงคราม)
  • นายสวัสดิ์ ศิริเวทย์
  • นายสุภี จันทนมาศ (นาวาเอก หลวงสุภีอุทกธาร)
  • นายเจียม เจียรกุล (พลเรือโท หลวงเจียรกลการ)
  • นายภูหิน สถาวรวณิช
  • นายลอย ปสุตนาวิน (เรือเอก ลอย ปสุตนาวิน)
  • หม่อมราชวงศ์พงษ์ นวรัตน (นาวาตรี หลวงพงษ์นวรัตน์)

ผลงาน

ผลงานสูงสุด

ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล

ข้อมูลเพิ่มเติม ฤดูกาล, ลีก ...
ฤดูกาล ลีก เอฟเอคัพ ลีกคัพ ลีก 3 คัพ ผู้ยิงประตูสูงสุด
ระดับ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย คะแนน อันดับ ชื่อ จำนวนประตู
2564–65 ไทยลีก 2 34 2 5 27 28 71 11 อันดับที่ 18 รอบคัดเลือก รอบเพลย์ออฟ ประเทศไนจีเรีย อเดโฟลาริน ดูโรซินมี 8
2565–66 ไทยลีก 3
โซนภาคตะวันออก
22 4 9 9 20 27 21 อันดับที่ 11 รอบ 64 ทีมสุดท้าย รอบเพลย์ออฟ ประเทศไทย ศิริชัย ภูมิพัฒน์ 4
2566–67 ไทยลีก 3
โซนภาคตะวันออก
20 7 7 6 38 20 28 อันดับที่ 4 รอบแรก รอบ 32 ทีมสุดท้าย รอบ 32 ทีมสุดท้าย ประเทศไทย พงศ์พันธ์ พาระพันธ์ 6
2567–68 ไทยลีก 3
โซนภาคตะวันออก
รอบ 32 ทีมสุดท้าย รอบคัดเลือกรอบสอง รอบ 16 ทีมสุดท้าย
ปิด
แชมป์ รองแชมป์ อันดับที่สาม เลื่อนชั้น ตกชั้น

รายชื่อหัวหน้าผู้ฝึกสอน

ข้อมูลเพิ่มเติม ชื่อและสัญชาติ, ระยะเวลา ...
ชื่อและสัญชาติ ระยะเวลา เกียรติประวัติ
ประเทศไทย สุขสันต์ คุณสุทธิ์ ฤดูกาล 2552
ประเทศไทย อนันต์ อมรเกียรติ ฤดูกาล 2553
ประเทศไทย เรืองฤทธิ์ แสงแก้ว ฤดูกาล 2553
ประเทศไทย วรกรณ์ วิจารณ์ณรงค์ ฤดูกาล 2554
ประเทศไทย สมศักดิ์ อักษร ฤดูกาล 2554
ประเทศไทย สมชาย ชวยบุญชุม ฤดูกาล 2554
ประเทศไทย สุขสันต์ คุณสุทธิ์ ฤดูกาล 2555 – 2556
ประเทศไทย วิสูตร วิชายา ฤดูกาล 2556
ประเทศไทย สุรศักดิ์ ตังค์สุรัตน์ 2557 – 8 กรกฎาคม 2558 อันดับที่ 3 ไทยลีกดิวิชัน 1 ฤดูกาล 2557 (เลื่อนชั้นสู่ไทยลีก)
ประเทศไทย อาจหาญ ทรงงามทรัพย์ 8 กรกฎาคม – 20 กันยายน 2558
ประเทศบราซิล สเตฟาโน คูกูรา 23 กันยายน 2558 – 3 พฤศจิกายน 2559
ประเทศไทย สมชาย ชวยบุญชุม 3 พฤศจิกายน 2559 – ปลายปี 2560
ประเทศไทย วิริยะ เผ่าพันธุ์ ต้นปี 2561 – 3 เมษายน 2561
ประเทศไทย ชำนาญ แพรขุนทด 4 – 11 เมษายน 2561
ประเทศไทย เนติพงษ์ ศรีทองอินทร์ 17 เมษายน – 7 พฤษภาคม 2561
ประเทศเซอร์เบีย ยูบอมีร์ ริสต็อฟสกี 1 มิถุนายน – ตุลาคม 2561
ประเทศเกาหลีใต้ ลิม จ็อง เฮือน ปลายปี 2561 – สิงหาคม 2562
ประเทศไทย วิริยะ เผ่าพันธุ์ สิงหาคม – ตุลาคม 2562
ประเทศไทย เฉลิมวุฒิ สง่าพล ธันวาคม 2562 – เมษายน 2564
ประเทศญี่ปุ่น มิซูโอะ คัตโตะ 28 เมษายน – 29 กันยายน 2564
ประเทศไทย เฉลิมวุฒิ สง่าพล 30 กันยายน 2564 – กุมภาพันธ์ 2565
ประเทศไทย นิวัฒน์ จิตพูลผล กุมภาพันธ์ 2565 – 5 กุมภาพันธ์ 2566
ประเทศไทย กรณ์ภพ ทรัพย์สิน 10 กุมภาพันธ์ – 14 ธันวาคม 2566
ประเทศไทย สมชาย ชวยบุญชุม 14 ธันวาคม 2566 – กรกฎาคม 2567
ประเทศไทย สมศักดิ์ อักษร กรกฎาคม 2567 –
ปิด

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.