Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาวิทยาลัยรังสิต (อังกฤษ: Rangsit University; อักษรย่อ: มรส. – RSU) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย ถูกจัดอยู่ในลำดับที่ 20 มหาวิทยาลัยที่แพงที่สุดในประเทศ นอกจากนี้ยังถูกจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่ดีลำดับที่ 1[ต้องการอ้างอิง] ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2528 [2] เปิดสอนหลากหลายหลักสูตรในระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก โดยเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีจำนวนศาสตราจารย์มากเป็นลำดับต้นๆ ของประเทศไทยและเป็นมหาวิทยาลัยที่มีจำนวนศิลปินดาราศึกษาอยู่เป็นจำนวนมากตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน [3]
บทความนี้มีข้อมูลไม่เป็นแก่นสารหรือปลีกย่อยเป็นอันมาก (มีนาคม 2023) |
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
Rangsit University | |
ตราโลกุตระ ตรามหาวิทยาลัยรังสิต | |
ชื่อเดิม | วิทยาลัยรังสิต (Rangsit College) |
---|---|
ชื่อย่อ | มรส. / RSU |
คติพจน์ | สร้างสรรค์สิ่งที่ดีให้แก่สังคม |
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาเอกชน |
สถาปนา | 25 มกราคม พ.ศ. 2528 (ในชื่อ วิทยาลัยรังสิต) 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 (ในชื่อ มหาวิทยาลัยรังสิต) |
นายกสภาฯ | ศาสตราจารย์ ดร.เกษม สุวรรณกุล |
อธิการบดี | ดร.อรรถวิท อุไรรัตน์ |
ผู้ศึกษา | 7652 |
ที่ตั้ง | |
เพลง | ตะวันรุ่งทุ่งรังสิต |
สี | ฟ้า บานเย็น[1] |
มาสคอต | เสือ |
เว็บไซต์ | www.rsu.ac.th |
ก่อตั้งเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2527 นายประสิทธิ์ อุไรรัตน์ ประธานกรรมการ บริษัท ประสิทธิ์พัฒนา จำกัด ผู้ดำเนินกิจการโรงพยาบาลพญาไทในขณะนั้น พร้อมด้วย พลเอกพร ธนะภูมิ และ นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ ได้ยื่นความประสงค์ เพื่อขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษา ระดับวิทยาลัย ต่อทบวงมหาวิทยาลัย[4] (ปัจจุบันคือ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา)
คณะผู้ก่อตั้งวิทยาลัย ได้เลือกที่ดินบริเวณตำบลคูคตในขณะนั้น อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ "ทุ่งรังสิต" เป็นสถานที่ก่อตั้ง จึงได้นำมงคลนาม รังสิต อันเนื่องมาจากพระนามของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มาตั้งเป็นชื่อของวิทยาลัย ซึ่งเดิมเคยระบุชื่อวิทยาลัยที่จะก่อตั้งไว้ว่า วิทยาลัยปิ่นเกล้า ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาลัยรังสิต ในเวลาต่อมา[4]
ต่อมา ในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2528 ทบวงมหาวิทยาลัย ออกประกาศจัดตั้ง วิทยาลัยรังสิต (Rangsit College) ลงนามโดย นายปรีดา พัฒนถาบุตร รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยในขณะนั้น และประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 102 ตอนที่ 28 ก ฉบับพิเศษ หน้า 5 เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2528 โดยเป็นไปตามที่ระบุใน ใบอนุญาตจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่ 2/2528[5]
วิทยาลัยรังสิต ตั้งอยู่ภายในโครงการหมู่บ้านเมืองเอก บนถนนเอกประจิม ตำบลหลักหก อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี บนพื้นที่ 10 ไร่ ห่างจากท่าอากาศยานดอนเมือง เป็นระยะทาง 3 กิโลเมตร เริ่มเปิดการเรียนการสอนครั้งแรก เมื่อปีการศึกษา 2529 ในคณะพยาบาลศาสตร์ และคณะบริหารธุรกิจ โดยมีนักศึกษารุ่นแรก จำนวน 478 คน[6]
เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2532 ทบวงมหาวิทยาลัย ออกประกาศอนุญาตให้นายประสิทธิ์ โอนกิจการวิทยาลัยรังสิต ให้เป็นสิทธิการบริหารงานของ บริษัท ประสิทธิ์รัตน์ จำกัด โดยให้ถือว่าบริษัทดังกล่าว เป็นเสมือนผู้รับใบอนุญาตของวิทยาลัย และเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 ทบวงมหาวิทยาลัย ออกประกาศอนุญาตให้วิทยาลัยรังสิต เปลี่ยนประเภทสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยรังสิต ทั้งนี้ ประกาศดังกล่าว ลงนามโดย นายทวิช กลิ่นประทุม รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยในขณะนั้น และประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 107 ตอนที่ 164 ง หน้า 7213 เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2533[7]
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธานในพิธีสถาปนามหาวิทยาลัยรังสิต เมื่อเวลา 15.00 น. วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 ซึ่งถือเป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัยรังสิต โอกาสนี้ ทรงเยี่ยมชมอาคารหอสมุดของมหาวิทยาลัยด้วย[8] แต่ทางมหาวิทยาลัยยังคงจัด พิธีรำลึกการสถาปนามหาวิทยาลัย ในวันที่ 25 มกราคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันจัดตั้งวิทยาลัยรังสิต มาจนถึงปัจจุบัน
เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2553 หม่อมราชวงศ์ปรียนันทนา รังสิต พระนัดดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร อนุญาตให้มหาวิทยาลัยรังสิต จำลองพระอนุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร เพื่อประดิษฐาน ณ บริเวณหน้าอาคารวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และคณะทันตแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งได้รับอนุญาตให้อัญเชิญพระนาม รังสิตประยูรศักดิ์ เป็นชื่ออาคาร เนื่องจากทรงมีบทบาท ในการพัฒนาการแพทย์และการสาธารณสุขไทย เพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณสู่นักศึกษาและอนุชนรุ่นหลังสืบไป[9]
เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2553 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานนามแก่อาคารอเนกประสงค์ ซึ่งเป็นที่ทำการวิทยาลัยนานาชาติ และคณะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการของมหาวิทยาลัย ซึ่งจัดสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุ 50 พรรษาว่า รัตนคุณากร อันหมายถึง อาคารซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งความดีอันทรงค่า ในการนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารดังกล่าว ในวันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2553 พร้อมทั้งทอดพระเนตรกิจการของมหาวิทยาลัยรังสิต ในโอกาสการสถาปนาครบรอบ 25 ปีด้วย[10]
ในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งอธิการบดี ในการนี้ คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยรังสิต มีมติแต่งตั้ง ดร.อรรถวิท อุไรรัตน์ บุตรชายคนที่สองของ ดร.อาทิตย์ ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต โดยมีพิธีส่งมอบคทาและธง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยในวันเดียวกัน ที่งานครบรอบ 84 ปี ดร. อาทิตย์ ณ อาคารนันทนาการ มหาวิทยาลัยรังสิต[11][12] ต่อมา ดร.อาทิตย์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นอธิการบดีกิตติคุณผู้ก่อตั้ง หรือ President Emeritus
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยรังสิต มีหลักสูตรที่เปิดดำเนินการรวม 136 สาขาวิชา ใน 22 คณะ 9 วิทยาลัย 3 สถาบัน รวม 34 คณะ โดยจำแนกเป็นระดับปริญญาตรี 91 สาขาวิขา ระดับปริญญาโท 35 สาขาวิชา และระดับปริญญาเอก 8 สาขาวิชา ประกาศนียบัตรบัณฑิต 1 สาขาวิชา ใน 22 คณะ 9 วิทยาลัย 3 สถาบัน ทั้งนี้ ยังเปิดสอนในระดับอนุบาล ประถมศึกษาจนถึงมัธยมศึกษา ซึ่งประกอบด้วยโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต และโรงเรียนนานาชาติ บริติช ภูเก็ต
รายนาม | ตำแหน่ง | ประสบการณ์การทำงาน |
---|---|---|
ศ. ดร.เกษม สุวรรณกุล | นายกสภามหาวิทยาลัย | อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย อดีตอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ศ.เกียรติคุณ ดร.นพ.พรชัย มาตังคสมบัติ | กรรมการสภามหาวิทยาลัย | กรรมการบริหารมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล กรรมการสภาสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ประธานกรรมการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย |
ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเวศ วะสี | กรรมการสภามหาวิทยาลัย | ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ และราษฎรอาวุโส อดีตประธานคณะสมัชชาปฏิรูปประเทศ |
ศ.ดร.ธีระ สูตะบุตร | กรรมการสภามหาวิทยาลัย | อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ | กรรมการสภามหาวิทยาลัย | อดีตปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภาคีสมาชิก ราชบัณฑิตยสถาน |
ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ | กรรมการสภามหาวิทยาลัย | อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตประธานคณะกรรมการบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) |
ศ.ดร.อาณัติ อาภาภิรม | กรรมการสภามหาวิทยาลัย | อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อดีตผู้ว่าการการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย |
ศ.ดร.สุทัศน์ ยกส้าน | กรรมการสภามหาวิทยาลัย | กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการสนับสนุนการวิจัย |
ศ.ดร.ปรัชญา เวสารัชช์ | กรรมการสภามหาวิทยาลัย | อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
รศ.ดร.เอก ไชยสวัสดิ์ | กรรมการสภามหาวิทยาลัย | อดีตประธานสภาคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย |
รศ.ดร.ครรชิต มาลัยวงศ์ | กรรมการสภามหาวิทยาลัย | ราชบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ อดีตผู้อำนวยการศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี |
ดร.อาชว์ เตาลานนท์ | กรรมการสภามหาวิทยาลัย | รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รองประธานกรรมการเครือเจริญโภคภัณฑ์ และ ทรูคอร์ปอเรชั่น |
รศ.ยืน ภู่วรวรรณ | กรรมการสภามหาวิทยาลัย | อดีตรองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
ศ.ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน | กรรมการสภามหาวิทยาลัย | รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ศ.เกียรติคุณ ดร.พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ | กรรมการสภามหาวิทยาลัย | อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม | กรรมการสภามหาวิทยาลัย | |
นิสากร จึงเจริญธรรม | กรรมการสภามหาวิทยาลัย | |
อานันท์ หาญพาณิชย์พันธ์ | เลขานุการสภามหาวิทยาลัย | รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต |
วิทยาลัยรังสิต | |
รายนามอธิการบดี[13] | วาระการดำรงตำแหน่ง |
---|---|
1. ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ | พ.ศ. 2529 - พ.ศ. 2534 |
มหาวิทยาลัยรังสิต | |
รายนามอธิการบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง |
2. ศาสตราจารย์ พันเอก ดร.อาทร ชนเห็นชอบ | พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2535 |
3. ศาสตราจารย์ ดร.สืบแสง พรหมบุญ | พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2537 |
4. ศาสตราจารย์ ดร.สุพัทธ์ พู่ผกา | พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2543 |
1. ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ | พ.ศ. 2544 - 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 |
5. ดร.อรรถวิท อุไรรัตน์[11] | 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน[11] |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.