จังหวัดตราด
จังหวัดในภาคตะวันออกในประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จังหวัดในภาคตะวันออกในประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตราด เป็นจังหวัดชายฝั่งทะเลทางภาคตะวันออกของประเทศไทย มีเนื้อที่ 2,819 ตารางกิโลเมตร ตราดนับเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกในช่วงปลายอยุธยา สินค้าที่ส่งออกขายยังแดนไกล โดยเฉพาะของป่า เช่น เขากวาง หนังสัตว์ ไม้หอม และเครื่องเทศต่าง ๆ ล้วนมาจากเขตป่าเขาชายฝั่งทะเลตะวันออก แถบระยอง จันทบุรี ตราด โดยลำเลียงสินค้าผ่านมาตามแม่น้ำเขาสมิง ออกสู่ปากอ่าวตราด ติดต่อกับจังหวัดจันทบุรีและประเทศกัมพูชา
จังหวัดตราด | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Changwat Trat |
เกาะหมาก | |
คำขวัญ: | |
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดตราดเน้นสีแดง | |
ประเทศ | ไทย |
การปกครอง | |
• ผู้ว่าราชการ | ณัฐพงษ์ สงวนจิตร[1] (ตั้งแต่ พ.ศ. 2566) |
พื้นที่[2][3] | |
• ทั้งหมด | 2,819.0 ตร.กม. (1,088.4 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 62 |
ประชากร (พ.ศ. 2566)[4] | |
• ทั้งหมด | 227,052 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 73 |
• ความหนาแน่น | 80.54 คน/ตร.กม. (208.6 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | อันดับที่ 61 |
รหัส ISO 3166 | TH-23 |
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด | |
• ต้นไม้ | หูกวาง |
• ดอกไม้ | กฤษณาชนิด Aquilaria subintegra |
• สัตว์น้ำ | ปลากะรังจุดฟ้าจุดเล็ก |
ศาลากลางจังหวัด | |
• ที่ตั้ง | ถนนราษฎร์นิยม ตำบลบางพระ อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด 23000 |
• โทรศัพท์ | 0 3951 1282 |
เว็บไซต์ | http://www.trat.go.th/ |
ในเอกสารประวัติศาสตร์สะกดแตกต่างกัน 3 แบบ คือ "ตราษ" "ตราด" และ "กราด" คำว่า "ตราษ" เป็นคำที่เก่าที่สุดเท่าที่ตรวจสอบได้จากเอกสารประวัติศาสตร์ ปรากฏในจดหมายเหตุรัชกาลที่ 3 จ.ศ. 1206 (พ.ศ. 2387) หนังสือไปเมืองตราษว่าด้วย เกลือไม่ส่งไปเมืองพนมเปน และจดหมายเหตุรัชกาลที่ 3 จ.ศ. 1207 (พ.ศ. 2388) ใบบอกเรื่อง สืบราชการลับเมืองเขมร[5]
ในสมัยรัชกาลที่ 4 พบคำว่า "ตราษ" และ "ตราด" ดังปรากฏในราชกิจจานุเบกษาตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2401–2402 ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 5 พบว่าเมืองตราดสะกดว่า "ตราด" ส่วนคำว่า "กราด" พบในหนังสือ ทำเนียบหัวเมือง ตอนที่ 1–3 ร.ศ. 119 คำว่า "ตราด" หรือ "ตราษ" นี้อาจจะมีชื่อเรียกเพี้ยนมาจากภาษาเขมรเรียก ត្រាច ตฺราจ หมายถึง ยางกราด เป็นไม้พื้นเมืองในแถบนี้[6]
ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่า เมืองตราดมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอย่างไร แต่เท่าที่ค้นพบในสมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (ปี พ.ศ. 1991–2031) ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการปรับปรุงเป็นบ้านเมืองครั้งใหญ่ขึ้น โดยจัดแบ่งการบริหารราชการแผ่นดินออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ส่วนกลางประกอบไปด้วย ฝ่ายทหาร และพลเรือน ส่วนภูมิภาคแบ่งเมืองต่าง ๆ ออกเป็น หัวเมืองเอก หัวเมืองโท หัวเมืองตรี และหัวเมืองจัตวา ตามลำดับ อย่างไรก็ตามในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ก็ไม่ปรากฏชื่อของเมืองตราดแต่อย่างใดเพียงแต่บอกว่า "หัวเมืองชายทะเลหรือบรรดาหัวเมืองชายทะเล" เท่านั้น
ต่อมาในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ปรากฏว่า บรรดาหัวเมืองชายทะเลแถบตะวันออกนั้นเรียกแต่เพียงว่า "บ้านบางพระ" ในตอนปลายของกรุงศรีอยุธยา ได้ปรากฏหลักฐานในพระราชพงศาวดารว่าบรรดาเสนาบดีจัตุสดมภ์ทั้งหลาย ได้พากันแบ่งหัวเมืองต่าง ๆ ให้ไปขึ้นกับสมุหนายก สมุหพระกลาโหมและโกษาธิบดี ทำการติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศทางทะเล เมืองตราดเป็นเมืองสำคัญซึ่งขึ้นอยู่กับฝ่ายการคลังของประเทศมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าปราสาททองแล้ว
จนกระทั่งก่อนจะเสียกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2310 พระเจ้าตากสินได้รวบรวมกำลังทหารจำนวนหนึ่ง ตีฝ่าวงล้อมของพม่าหนีออกจากกรุงศรีอยุธยา เดินทางไปรวมตัวกันทางทิศตะวันออก โดยยกทัพไปถึงเมืองตราดซึ่งปรากฏในพงศาวดารว่า " ...หลังจากพระเจ้าตากสินตีเมืองจันทบุรีได้แล้ว เมื่อวันอาทิตย์เดือน 7 ปีกุน พ.ศ. 2310 ก็ได้เกลี้ยกล่อมผู้คนให้กลับคืนมายังภูมิลำเนาเดิม... "ครั้นเห็นว่าเมืองจันทบุรีเรียบร้อยอย่างเดิมแล้ว จึงยกกองทัพเรือไปยังเมืองตราด พวกกรมการและราษฎรก็พากันเกรงกลัวยอมอ่อนน้อมโดยดีทั่วทั้งเมือง และขณะนั้นมีสำเภาจีนมาทอดอยู่ที่ปากน้ำเมืองตราดหลายลำ พระเจ้าตากให้ไปเรียกนายเรือมาเฝ้าพวกจีนขัดขืน แล้วกลับยิงเอาข้าหลวง พระเจ้าตากทรงทราบก็ลงเรือที่นั่งคุม เรือรบลงไปล้อมสำเภาไว้แล้ว บอกให้พวกจีนอ่อนน้อมโดยดีพวกจีนก็หาฟังไม่กลับเอาปืนใหญ่น้อยระดมยิงรบกันอยู่ครึ่งวัน พระเจ้าตากก็ตีได้เรือสำเภาจีนทั้งหมด ได้ทรัพย์สิ่งของเป็นกำลังการทัพเป็นอันมาก พระเจ้าตากจัดการเมืองตราดเรียบร้อยแล้ว ก็กลับขึ้นมาตั้งอยู่ ณ เมืองจันทบุรี"
เมื่อปี พ.ศ. 2446 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเทศไทยได้เสียดินแดนให้แก่ประเทศฝรั่งเศส เนื่องมาจากการตกลงทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 (ร.ศ. 122) ซึ่งทำให้ไทยจำต้องยกดินแดนจังหวัดตราด และเกาะต่าง ๆ ตั้งแต่อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรีไปจนถึงเกาะกูด และจังหวัดปัจจันตคิรีเขตร หรือเกาะกงให้แก่ฝรั่งเศสเพื่อแลกเปลี่ยนให้ฝรั่งเศสถอนกองทหารไปจากจันทบุรี โดยสัญญาฉบับนี้ได้ให้สัตยาบันต่อกันและมีผลทำให้กองทหารฝรั่งเศสถอนออกไปจากเมืองจันทบุรีตามสัญญา เมื่อ 12 มกราคม พ.ศ. 2447[8]
รัฐบาลไทยได้รับมอบจังหวัดตราดคืนจากรัฐบาลฝรั่งเศสกลับมาเป็นพระราชอาณาเขตตามเดิมใน พ.ศ. 2450 (ร.ศ.126) ตามสัญญาแบ่งปันดินแดนกันขึ้นใหม่ตามสนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 125 ทั้งนี้ยังได้เกาะทั้งหลายภายใต้แหลมลิงลงไปจนถึงเกาะกูดให้แก่รัฐบาลสยาม[9]
ทำเนียบผู้ว่าราชการจังหวัดตราด[10] | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
พระนาม/ชื่อ | เข้ารับตำแหน่ง | สิ้นสุดการดำรงตำแหน่ง | |||||||
1. พระยาวิเศษสิงหนาท | 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2450 | 6 เมษายน พ.ศ. 2452 | |||||||
2. พระยาสุนทราธรธุรกิจ | 7 เมษายน พ.ศ. 2452 | 30 มกราคม พ.ศ. 2456 | |||||||
3. พระตราษบุรีศรีสมุทเขตต์ (ธน ณ สงขลา) | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456 | 26 สิงหาคม พ.ศ. 2464 | |||||||
4. พระยาประเสริฐสุนทราศรัย (กระจ่าง สิงหเสนี) | 26 สิงหาคม พ.ศ. 2464 | 17 กันยายน พ.ศ. 2467 | |||||||
5. พระยาชุมพรบุรีศรีสมุทเขตต์ | 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467 | 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470 | |||||||
6. พระยาตราษบุรีศรีสมุทเขตต์ | 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470 | 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 | |||||||
7. พระยาบริหารเทพธานี | 20 มีนาคม พ.ศ. 2474 | 18 มกราคม พ.ศ. 2475 | |||||||
8. พระวุฒิภาคภักดี | 18 มกราคม พ.ศ. 2475 | 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476 | |||||||
9. นาวาโท พระประยุทธชลธี (แป๊ะ วีราสา) ร.น. | 22 มีนาคม พ.ศ. 2476 | 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 | |||||||
10. พระศรีพิชัยบริบาล | 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 | 18 เมษายน พ.ศ. 2482 | |||||||
11. ขุนภูมิประศาสน์ | 19 เมษายน พ.ศ. 2482 | 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 | |||||||
12. หลวงนรนิติผดุงการ | 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 | 1 มกราคม พ.ศ. 2486 | |||||||
13. ร้อยเอก สุรจิตต์ อินทรกำแหง | 1 มกราคม พ.ศ. 2486 | 7 มกราคม พ.ศ. 2486 | |||||||
14. ขุนปัญจพรรคพิบูล | 7 มกราคม พ.ศ. 2486 | 18 มกราคม พ.ศ. 2490 | |||||||
15. ขุนสนิทประชาราษฎร์ | 18 มกราคม พ.ศ. 2490 | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2491 | |||||||
16. นายบรรณการ สร้อยทอง | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2491 | 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2492 | |||||||
17. นายอารี บุปผเวส | 18 มกราคม พ.ศ. 2490 | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2491 | |||||||
18. นายประกอบ ทรัพย์มณี | 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 | 6 กันยายน พ.ศ. 2494 | |||||||
19. พันตำรวจโท นายราชภักดี | 6 กันยายน พ.ศ. 2494 | 12 เมษายน พ.ศ. 2497 | |||||||
20. นายสุทิน วิวัฒนะ | 12 เมษายน พ.ศ. 2497 | 27 เมษายน พ.ศ. 2498 | |||||||
21. นายประพันธ์ ณ พัทลุง | 27 เมษายน พ.ศ. 2498 | 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2501 | |||||||
22. นายจรัส เทศวิศาล | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2501 | 2 ตุลาคม พ.ศ. 2511 | |||||||
23. นายอเนก แก้วลาย | 2 ตุลาคม พ.ศ. 2511 | 15 เมษายน พ.ศ. 2513 | |||||||
24. นายวิจิตร แจ่มใส | 15 เมษายน พ.ศ. 2513 | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2514 | |||||||
25. นายกนกศักดิ์ วรรณกนก | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2514 | 30 กันยายน พ.ศ. 2516 | |||||||
26. นายพฤทธิพงศ์ ชัยยะโสตถิ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2516 | 30 กันยายน พ.ศ. 2518 | |||||||
27. นายพิสนธ์ สุนทรธรรม | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2518 | 30 กันยายน พ.ศ. 2521 | |||||||
28. นายปัญญา ฤกษ์อุไร | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2521 | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2522 | |||||||
29. นายประกิต อุตตะโมท | 14 มิถุนายน พ.ศ. 2522 | 30 กันยายน พ.ศ. 2522 | |||||||
30. นายสุนทร บำรุงพงศ์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2522 | 30 กันยายน พ.ศ. 2523 | |||||||
31. นายสมพงศ์ พันธ์สุวรรณ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2523 | 30 กันยายน พ.ศ. 2527 | |||||||
32. นายทองดำ บานชื่น | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2527 | 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 | |||||||
33. ร้อยตรี ปรีดี ตันติพงศ์ | 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 | 30 กันยายน พ.ศ. 2533 | |||||||
34. นายอมร อนันตชัย | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2533 | 30 กันยายน พ.ศ. 2536 | |||||||
35. นายไพโรจน์ ปรียารัตน์ | 5 ตุลาคม พ.ศ. 2536 | 30 กันยายน พ.ศ. 2538 | |||||||
36. นายผไท วิจารณ์ปรีชา | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2538 | 30 กันยายน พ.ศ. 2541 | |||||||
37. นายสุรอรรถ ทองนิรมล | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2541 | 30 กันยายน พ.ศ. 2542 | |||||||
38. นายสงคราม กอสุทธิธีรกุล | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 | 29 ธันวาคม พ.ศ. 2544 | |||||||
39. นายสมบูรณ์ งามลักษณ์ | 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 | 30 กันยายน พ.ศ. 2547 | |||||||
40. นายบุญช่วย เกิดสุคนธ์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 | 30 กันยายน พ.ศ. 2550 | |||||||
41. นายแก่นเพชร ช่วงรังษี | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 | 30 กันยายน พ.ศ. 2553 | |||||||
42. นางสาวเบญจวรรณ อ่านเปรื่อง | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 | 30 กันยายน พ.ศ. 2557 | |||||||
43. นายณรงค์ ธีรจันทรางกูร | 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 | 30 กันยายน พ.ศ. 2558 | |||||||
44. นายชาญนะ เอี่ยมแสง | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 | 30 กันยายน พ.ศ. 2560 | |||||||
45. นายประเสริฐ ลือชาธนานนท์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 | 30 กันยายน พ.ศ. 2562 | |||||||
46. ว่าที่ร้อยตรี พิเชียน ลิมป์หวังอยู่ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 | 30 กันยายน พ.ศ. 2563 | |||||||
47. นายภิญโญ ประกอบผล | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 | 30 กันยายน พ.ศ. 2564 | |||||||
48. นายชำนาญวิทย์ เตรัตน์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 | 30 กันยายน พ.ศ. 2566 | |||||||
49. นายณัฐพงษ์ สงวนจิตร | 17 ธันวาคม พ.ศ. 2566 | ปัจจุบัน |
การปกครองแบ่งออกเป็น 7 อำเภอ 38 ตำบล 261 หมู่บ้าน
จังหวัดตราดมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด 44 แห่ง ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดตราด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับพื้นฐาน 43 แห่ง แบ่งออกเป็น เทศบาลเมือง 1 แห่ง, เทศบาลตำบล 14 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 28 แห่ง
ชื่อ | อำเภอที่ตั้ง | อาณาเขตการปกครอง |
---|---|---|
เทศบาลเมืองตราด | เมืองตราด | ตำบลบางพระทั้งตำบล และบางส่วนของตำบลวังกระแจะ |
เทศบาลตำบลท่าพริกเนินทราย | เมืองตราด | ตำบลท่าพริกทั้งตำบล และบางส่วนของตำบลเนินทราย |
เทศบาลตำบลชำราก | เมืองตราด | ตำบลชำรากทั้งตำบล |
เทศบาลตำบลตะกาง | เมืองตราด | ตำบลตะกางทั้งตำบล |
เทศบาลตำบลหนองเสม็ด | เมืองตราด | ตำบลหนองเสม็ดทั้งตำบล |
เทศบาลตำบลเขาสมิง | เขาสมิง | บางส่วนของตำบลเขาสมิงและตำบลทุ่งนนทรี |
เทศบาลตำบลแสนตุ้ง | เขาสมิง | บางส่วนของตำบลแสนตุ้ง |
เทศบาลตำบลบ่อพลอย | บ่อไร่ | บางส่วนของตำบลบ่อพลอย |
เทศบาลตำบลหนองบอน | บ่อไร่ | ตำบลหนองบอนทั้งตำบล |
เทศบาลตำบลแหลมงอบ | แหลมงอบ | บางส่วนของตำบลแหลมงอบ |
เทศบาลตำบลน้ำเชี่ยว | แหลมงอบ | ตำบลน้ำเชี่ยวทั้งตำบล |
เทศบาลตำบลเกาะช้าง | เกาะช้าง | ตำบลเกาะช้างทั้งตำบล |
เทศบาลตำบลเกาะช้างใต้ | เกาะช้าง | ตำบลเกาะช้างใต้ทั้งตำบล |
เทศบาลตำบลคลองใหญ่ | คลองใหญ่ | บางส่วนของตำบลคลองใหญ่ |
เทศบาลตำบลหาดเล็ก | คลองใหญ่ | ตำบลหาดเล็กทั้งตำบล |
ท่าอากาศยานตราด ตั้งอยู่บริเวณ บ้านสลัก ระหว่างรอยต่ออำเภอเขาสมิงและอำเภอแหลมงอบ มีเที่ยวบินสายการบิน Bangkok Airways เส้นทาง กรุงเทพ-ตราด ทุกวัน วันละ 3 เที่ยวบิน และเส้นทาง ตราด-สมุย สัปดาห์ละ 3 วัน
สนามบินเกาะไม้ซี้ อยู่ห่างจากเกาะกูดเล็กน้อย สนามบินดังกล่าวมีความยาวทางวิ่ง 800 เมตร ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2551[11]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.