คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง

หูกวาง

ชนิดของพืช จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หูกวาง
Remove ads

หูกวาง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Terminalia catappa; อังกฤษ: tropical almond) เป็นไม้ยืนต้นประเภทผลัดใบ มีความสูงประมาณ 8–25 เมตร มีเปลือกเรียบ กิ่งแตกรอบลำต้นตามแนวนอนเป็นชั้น ๆ คล้ายฉัตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่ตอนปลายกิ่ง ใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลมเป็นติ่งสั้น ๆ โคนใบสอบแคบ เว้า ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ขนาดเล็ก มีสีขาวนวล ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ผลเป็นรูปไข่หรือรูปรีป้อม ๆ แบนเล็กน้อยคล้ายเมล็ดแอลมอนด์ มีขนาดกว้างประมาณ 2–5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3–7 เซนติเมตร มีสีเขียว เมื่อแห้งมีสีดำคล้ำ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

ข้อมูลเบื้องต้น หูกวาง, สถานะการอนุรักษ์ ...
Remove ads
Thumb
ผลหูกวาง (Terminalia catappa) ที่แก่แห้งแล้ว
Remove ads

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เป็นต้นไม้ยืนต้นอายุยาวนาน สูงได้ถึง 15–25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลแกมดำ ลอกออกตามยาว กิ่งก้านแผ่ออกเป็นชั้น กิ่งสีน้ำตาลแกมน้ำตาลหนาแน่นใกล้ยอด[3]

ใบออกสลับ อัดแน่นที่ปลายกิ่ง ก้านใบกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5–2 เซนติเมตร รูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบแคบ ยาวประมาณ 12–30 เซนติเมตร กว้าง 8–15 เซนติเมตร ผิวทั้งสองด้านเกลี้ยงเกลาหรือมีขนเบาบางตามแนวแกน เมื่อยังอ่อน ฐานใบแคบ ตัดปลายหรือปลายทู่ เส้นใบ 10–12 คู่[3]

ช่อดอกออกตามซอกใบ เรียบง่าย ยาว แหลมเรียว 15–20 เซนติเมตร ออกดอกจำนวนมาก ดอกสีขาวในระยะเวลาสั้น ๆ มีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยงกลีบเลี้ยงปลายกลีบดอก 0.7–0.8 เซนติเมตร รังไข่หนาแน่นมาก รูปถ้วยบาง กลีบดอก 5 กลีบ เกสรตัวผู้ 10 แฉก ยาว 0.2–0.3 เซนติเมตร[3]

ผลไม่แตกลาย เมื่อสุกสีแดงหรือเขียวอมดำ ทรงรี แบนข้างเล็กน้อย มี 2 ปีก (ปีกกว้าง 3 มม.) ผลยาว 3–5.5 เซนติเมตร กว้าง 2–3.5 เซนติเมตร เกลี้ยงเกลา เมื่อแก่จัดเปลือกผลแบบเปลือกไม้ออกดอกช่วง มี.ค.–มิ.ย. ออกผลช่วง พฤษภาคม, ก.ค.–ก.ย.[3]

สถานะเกือบอยู่ในข่ายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในบางพื้นที่[4][ต้องการคำอ้างอิงเพื่อยืนยัน] โดยทั่วไปอยู่สถานะความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์ (LC)[5]

Remove ads

ถิ่นกำเนิด

เป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในเขตร้อนของอนุทวีปอินเดีย, เอเชียอาคเนย์ ไปจนถึงภูมิภาคโอเชียเนียและหมู่เกาะฮาวาย[6] โดยมักจะพบประจำที่บริเวณชายหาดหรือป่าชายหาดริมทะเล[7][4] เพราะเป็นไม้ที่ขึ้นได้ดีในดินแบบดินร่วนปนทราย

การใช้ประโยชน์

มีประโยชน์โดยเปลือกและผลมีรสฝาดมาก ใช้แก้อาการท้องเสีย ย้อมหนังสัตว์ ทำหมึก

เมล็ดในผลรับประทานได้ และให้น้ำมันคล้ายน้ำมันอัลมอนด์

นอกจากนี้แล้วใบของหูกวางโดยเฉพาะใบแห้ง เป็นที่รู้จักดีของผู้นิยมเลี้ยงปลาสวยงามหรือปลากัด เนื่องจากใช้ใบแห้งหมักน้ำที่ใช้เลี้ยงปลาได้ เพราะสารแทนนินในใบหูกวาง จะทำให้สภาพน้ำมีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) สูงขึ้น เหมาะสำหรับใช้เลี้ยงปลาที่มาจากแหล่งน้ำที่มีค่าความเป็นกรดสูง ทั้งนี้ยังช่วยลดการสะท้อนแสงของน้ำ เพื่อให้ปลาสบายตา ไม่เสียสายตา รู้สึกปลอดภัย ไม่ใช้ปากคีดกระจก และใช้รักษาอาการบาดเจ็บของปลากัดได้เป็นอย่างดี เพราะมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรียได้เป็นอย่างดี[8]

ข้อเสีย

ไม่ควรปลูกในบริเวณลานจอดรถเนื่องจากผลที่แข็งและใบร่วงมาก หรือมีระบบรากที่ใหญ่และแผ่กว้างซึ่งอาจสามารถทำความเสียหายให้กับสิ่งก่อสร้างโดยรอบ เช่น อาคารหรือพื้นคอนกรีตได้ แต่อย่างไรก็ตามในทางกลับกัน ระบบรากที่แข็งแรงนี้เป็นโครงสร้างทางวิศวกรรมทางธรรมชาติชั้นดีในการช่วยยึดเกาะกันระหว่างต้นไม้และตลิ่งไม่ให้ถูกน้ำทะเลกัดเซาะได้โดยง่าย นับได้ว่าว่าเป็นต้นไม้ที่สำคัญต่อระบบนิเวศริมทะเลและพื้นที่ชายหาดที่มีลมและคลื่นแรง[4]

ในประเทศไทย

สรุป
มุมมอง

ในยุคหนึ่งนิยมใช้ปลูกในงานภูมิทัศน์ที่มีขนาดโครงการค่อนข้างใหญ่มากเช่น รีสอร์ตริมทะเล และสวนสาธารณะ เนื่องจากเป็นต้นไม้ที่โตเร็วและแข็งแรงคงทน สามารถเติบโตได้ในพื้นที่แห้งแล้งและดินทุกชนิด โดยเฉพาะในดินปนทรายที่มีพืชน้อยชนิดที่สามารถเติบโตได้ดี อีกทั้งยังมีความสวยงามในแง่ของรูปทรงพุ่มที่ค่อนข้างกลมหรือรูปพีระมิดหนาทึบ นอกจากนั้นยังผลัดใบจากสีเขียวอ่อนเป็นสีส้มแดงดูสดใสสวยงามในฤดูหนาว ช่วงเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน[4]

หูกวางเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดตราด และเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยสยาม

หูกวางยังมีชื่อเรียกต่างกันออกไปตามแต่ละจังหวัดหรือภูมิภาคด้วย เช่น โคน (นราธิวาส), ดัดมือ หรือ ตัดมือ (ตรัง), ตาปัง (พิษณุโลก, สตูล), ตาแปห์ (มลายู-นราธิวาส), หลุมปัง (สุราษฎร์ธานี) เป็นต้น[9]

ภูมิทัศน์บริเวณริมชายหาดที่มีความเป็นเอกลักษณ์ที่มีการปลูกต้นหูกวาง ได้แก่ ชายหาดเมืองพัทยา บางส่วนมีอายุตั้งแต่หลายสิบปีไปจนถึงหลักร้อยปี[4][ต้องการคำอ้างอิงเพื่อยืนยัน] จากบันทึกข้อมูลพบว่าต้นหูกวางที่หาดพัทยาปลูกไว้ 2 ครั้ง คือ พ.ศ. 2508 และ พ.ศ. 2512[10] ซึ่งในปี พ.ศ. 2564 มีการดำเนินการเข้าไปรื้อถอนและทำลายต้นหูกวางในบริเวณชายหาดพัทยาเหนือ-ใต้ ตลอดระยะทางประมาณ 2.7 กิโลเมตรของโครงการ Pattaya New look เพื่อปลูกพืชตระกูลปาล์มแทนตลอดแนว[4][11] ซึ่งเกิดกระแสวิจารณ์ต่อต้านอย่างหนัก และผู้รับเหมาได้หยุดตัดแต่งถอนโค่น “ต้นหูกวาง” ริมหาดพัทยาเป็นการชั่วคราว[12]

Remove ads

ระเบียงภาพ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Loading content...
Loading related searches...

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Remove ads