ท่าอากาศยานนานาชาติตริภูวัน (อังกฤษ: Tribhuvan International Airport, เนปาล: त्रिभुवन अन्तर्राष्ट्रिय विमानस्थल, (IATA: KTM, ICAO: VNKT)) เป็นท่าอากาศยานนานาชาติในเขตกรุงกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล ตั้งอยู่ในหุบเขากาฐมาณฑุ ห่างจากใจกลางนครประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นท่าอากาศยานนานาชาติเพียงแห่งเดียวในเนปาล เริ่มต้นใช้งานในปี ค.ศ. 1949 ในฐานะสนามบินเล็ก และได้ทำพิธีเปิดทางการในปี ค.ศ. 1955 โดยสมเด็จพระเจ้ามเหนทระแห่งเนปาล และได้รับการตั้งชื่อ "ตริภูวัน" มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1964 แต่เดิมมีรันเวย์เป็นหญ้า และได้เปลี่ยนมาเป็นคอนกรีตในปี ค.ศ. 1957 เครื่องบินไอพ่นลงจอดที่นี่ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1967
ท่าอากาศยานนานาชาติตริภูวัน त्रिभुवन अन्तर्राष्ट्रिय विमानस्थल | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ข้อมูลสำคัญ | |||||||||||
การใช้งาน | สาธารณะ | ||||||||||
ผู้ดำเนินงาน | การบินพลเรือนเนปาล (CAAN) | ||||||||||
พื้นที่บริการ | กาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล | ||||||||||
ฐานการบิน |
| ||||||||||
เหนือระดับน้ำทะเล | 4,390 ฟุต / 1,338 เมตร | ||||||||||
เว็บไซต์ | www | ||||||||||
แผนที่ | |||||||||||
ทางวิ่ง | |||||||||||
| |||||||||||
สถิติ (2009) | |||||||||||
| |||||||||||
ท่าอากาศยานมีอาคารผู้โดยสารในประเทศกับระหว่างประเทศอย่างละ 1 แห่ง ในปัจจุบัน มีเที่ยวบินระหว่างประเทศ 30 เที่ยวบินลงจอดที่นี่ รวมถึงการบินไทยด้วย ต่อมาในปี ค.ศ. 2001 สายการบินรอยัลเนปาลแอร์ไลน์ ได้ยกเลิกเที่ยวบินไปลอนดอนกับแฟรงค์เฟิร์ต ทำให้ไม่มีเที่ยวบินระหว่างเนปาลกับสหภาพยุโรปอีก อย่างไรก็ตาม สายการบินเตอร์กิชแอร์ไลน์ ยังคงให้บริการเที่ยวบินจากอิสตันบูลมายังกาฐมาณฑุ
ประวัติ
เดิมชื่อว่า ท่าอากาศยาน Gauchaur ซึ่งตั้งชื่อตามพื้นที่บริเวณนั้น การบินครั้งแรกเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1949 โดยเป็นการลงจอดของเครื่องบินบีชคราฟต์โบนันซาของเอกอัครราชทูตอินเดีย เที่ยวบินตามฤดูกาลเที่ยวแรกบินระหว่าง Gauchaur กับโกลกาตา โดยเครื่องบินดักลาส ดีซี-3 ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1950[4]
ในปี ค.ศ. 1955 ท่าอากาศยานได้ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการโดยสมเด็จพระเจ้ามเหนทระแห่งเนปาล และได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น ท่าอากาศยานตริภูวัน เพื่อเป็นการรำลึกถึงสมเด็จพระเจ้าตริภูวันแห่งเนปาล และได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น ท่าอากาศยานนานาชาติตริภูวัน ในปี ค.ศ. 1964 รันเวย์ได้เปลี่ยนมาเป็นผิวคอนกรีตในปี ค.ศ. 1957 และได้ขยายจาก 3,750 ฟุต (1,140 เมตร) เป็น 6,600 ฟุต (2,000 เมตร) ในปี ค.ศ. 1967 และขยายเพิ่มขึ้นเป็น 10,000 ฟุต (3,000 เมตร) ในปี ค.ศ. 1975[4]
เครื่องบินพาณิชย์ลำแรกที่ลงจอดคือ ลุฟต์ฮันซา โบอิง 707 ลงจอดในปี ค.ศ. 1967[4] ส่วนสายการบินรอยัลเนปาลแอร์ไลน์ ก็ให้บริการเที่ยวบินครั้งแรกในปี ค.ศ. 1972 โดยเครื่องบินโบอิง 727[4]
ต่อมาในปี ค.ศ. 2001 สายการบินรอยัลเนปาลแอร์ไลน์ ได้ยกเลิกเที่ยวบินไปลอนดอนกับแฟรงก์เฟิร์ต ทำให้ไม่มีเที่ยวบินระหว่างเนปาลกับสหภาพยุโรปอีก อย่างไรก็ตาม สายการบินเตอร์กิชแอร์ไลน์ ยังคงให้บริการเที่ยวบินจากอิสตันบูลมายังกาฐมาณฑุ[5]
สิ่งอำนวยความสะดวก
ท่าอากาศยานมีรันเวย์คอนกรีตยาว 10,007 ฟุต (3,050 เมตร) ทิศทาง 02/20 แต่ไม่มีระบบตรวจจับเครื่องบิน[6] มีอาคารผู้โดยสารภายในและระหว่างประเทศอย่างละ 1 แห่ง นอกจากนี้ยังมีอาคารสำหรับบุคคลสำคัญ และยังมีที่จอดเครื่องบินของหน่วยบริการกองทัพอากาศเนปาลอีกด้วย
โรงแรม Radisson สาขากาฐมาณฑุ ให้บริการที่พักสำหรับผู้โดยสารชั้นหนึ่งและชั้นธุรกิจ ของสายการบินบางส่วน รวมถึงการบินไทยด้วย
ระบบขนส่งสาธารณะ
จากท่าอากาศยาน ต้องนั่งรถโดยสารประจำทางเพื่อเข้าไปยังกรุงกาฐมาณฑุ และเมือง Patan ซึ่งจะจอดอยู่ด้านหน้าอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ
สายการบิน
สายการบิน | จุดหมายปลายทาง | อาคารผู้โดยสาร |
---|---|---|
แอร์อาระเบีย | เราะซุลคัยมะฮ์, ชัรญะฮ์ | ระหว่างประเทศ |
แอร์เอเชีย เอกซ์ | กัวลาลัมเปอร์ | ระหว่างประเทศ |
แอร์ไชนา | เฉิงตู, ลาซา | ระหว่างประเทศ |
แอร์อินเดีย | เดลี, โกลกาตา, พาราณสี | ระหว่างประเทศ |
บีบีแอร์เวย์ | ฮ่องกง, กัวลาลัมเปอร์ | ระหว่างประเทศ |
บิมานบังกลาเทศแอร์ไลน์ | ธากา | ระหว่างประเทศ |
บุดด้าแอร์ | Bhadrapur, Bhairahawa, Bharatpur, Biratnagar, Dhangadhi, ชนกปุระ, Nepalgunj, Pokhara, Simara, Tumlingtar | ในประเทศ |
บุดด้าแอร์ | พาราณสี, ทิมพู/พาโร | ระหว่างประเทศ |
ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ | คุนหมิง, เซี่ยงไฮ้-ผู่ตง[7] | ระหว่างประเทศ |
ไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์ | กวางโจว | ระหว่างประเทศ |
ดราก้อนแอร์ | ฮ่องกง | ระหว่างประเทศ |
Druk Air | เดลี, ทิมพู/พาโร | ระหว่างประเทศ |
สายการบินเอทิฮัด | อาบูดาบี | ระหว่างประเทศ |
ฟลายดูไบ | ดูไบ | ระหว่างประเทศ |
อินดิโก | เดลี | ระหว่างประเทศ |
เจ็ตแอร์เวย์ | เดลี, มุมไบ | ระหว่างประเทศ |
โคเรียนแอร์ | โซล-อินช็อน | ระหว่างประเทศ |
มาเลเซียแอร์ไลน์ | กัวลาลัมเปอร์ | ระหว่างประเทศ |
มาลินโดแอร์ | กัวลาลัมเปอร์[8] | ระหว่างประเทศ |
เนปาลแอร์ไลน์ | Bhadrapur, Bhojpur, Biratnagar, Chaurjahari และ Rukumkot, Dhangadhi, Lamidanda, Lukla, Phaplu, Pokhara, Rumjatar, Tumlingtar | ในประเทศ |
เนปาลแอร์ไลน์ | กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ, เดลี,[9] โดฮา, ฮ่องกง, กัวลาลัมเปอร์ | ระหว่างประเทศ |
โอมานแอร์ | มัสกัต | ระหว่างประเทศ |
กาตาร์แอร์เวย์ | โดฮา | ระหว่างประเทศ |
รีเจนต์แอร์เวย์ | ธากา | ระหว่างประเทศ |
Saurya Airlines | Bhairahawa, Bharatpur, Biratnagar, Dhangadhi, Nepalgunj | ในประเทศ |
เสฉวนแอร์ไลน์ | เฉิงตู, ลาซา[10] | ระหว่างประเทศ |
ซิลค์แอร์ | สิงคโปร์ | ระหว่างประเทศ |
Simrik Airlines | Bhairahawa, Jomsom, Lukla, Pokhara, Simara | ในประเทศ |
สีดาแอร์ | Biratnagar, Dang, Dhangadhi, ชนกปุระ, Jomsom, Lukla, Nepalgunj, Pokhara, Tumlingtar[11] | ในประเทศ |
สไปซ์เจ็ต | เดลี | ระหว่างประเทศ |
Tara Air | Bhojpur, Lamidanda, Lukla, Nepalgunj, Phaplu, Ramechhap[12] | ในประเทศ |
ทาชิแอร์ | เดลี (เริ่ม 16 กันยายน ค.ศ. 2015),[13] พาโร[14] | ระหว่างประเทศ |
ไทยสมายล์ | กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ | ระหว่างประเทศ |
ไทยไลอ้อนแอร์ | กรุงเทพฯ-ดอนเมือง | ระหว่างประเทศ |
เตอร์กิชแอร์ไลน์ | อิสตันบูล | ระหว่างประเทศ |
ยูไนเต็ดแอร์เวย์ | ธากา | ระหว่างประเทศ |
เยติแอร์ไลน์ | Bhadrapur, Bhairahawa, Bharatpur, Biratnagar, Dhangadhi, ชนกปุระ, Nepalgunj, Pokhara, Tumlingtar[15] | ในประเทศ |
อุบัติเหตุและอุบัติการณ์
- 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1973: เครื่องบินการบินไทย เที่ยวบินที่ 311 (พ.ศ. 2516) ไถลออกจากลู่วิ่งขณะลงจอด เครื่องบินชนคนที่สนามบินเสียชีวิต 1 รายจากผู้โดยสารจำนวน 100 คน ลูกเรือ 10 คน[16]
- 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1992: การบินไทย เที่ยวบินที่ 311 ประสบอุบัติเหตุชนเทือกเขาหิมาลัยขณะกำลังลดระดับ เตรียมร่อนลงจอด ผู้โดยสารจำนวน 99 คน และลูกเรือ 14 คน เสียชีวิตทั้งหมด ภายหลังอุบัติเหตุ การบินไทยได้เปลี่ยนรหัสของเที่ยวบิน กรุงเทพ-กาฐมาณฑุ เป็น TG319/320 ใช้เครื่องโบอิง 777-200
- 28 กันยายน ค.ศ. 1992: ปากีสถานแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 268 ประสบอุบัติเหตุชนภูเขา เสียชีวิตทั้งหมด
- 17 มกราคม ค.ศ. 1995: รอยัลเนปาลแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 133 มุ่งหน้าสู่ Rumjatar เกิดอุบัติเหตุออกทางวิ่ง ผู้โดยสารและลูกเรือ 1 คน ได้รับบาดเจ็บ[17]
- 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1999: สายการบินลุฟต์ฮันซาคาร์โก ประสบอุบัติเหตุชนภูเขาที่ความสูง 7,550 ฟุต ลูกเรือ 5 คน เสียชีวิตทั้งหมด[18]
- 5 กันยายน ค.ศ. 1999: นีคอนแอร์ เที่ยวบินที่ 128 จาก Pokhara ประสบอุบัติเหตุชนภูเขาขณะกำลังลดระดับ และตกลงไปในป่าทางตะวันตกของกาฐมาณฑุ ผู้โดยสารจำนวน 10 คน และลูกเรือ 5 คน เสียชีวิตทั้งหมด[19]
- 26 ธันวาคม ค.ศ. 1999: อินเดียนแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 814 ถูกโจรกรรมขณะบิน ทำให้ทางท่าอากาศยานต้องหมั่นตรวจสอบความปลอดภัยมากขึ้น
- 24 ธันวาคม ค.ศ. 2008: เครื่องบินเนปาลแอร์ไลน์ ไถลออกนอกทางวิ่งขณะเตรียมยกระดับ[20]
- 24 สิงหาคม ค.ศ. 2010: Agni Air เที่ยวบินที่ 101 ประสบอุบัติเหตุชนภูเขาขณะที่ฝนตกหนักมาก[21] ผู้โดยสารจำนวน 11 คน และลูกเรือ 3 คน เสียชีวิตทั้งหมด[22] ส่วนเครื่องบิน ตกลงไปในหมู่บ้านทางตอนใต้ ห่างจากกาฐมาณฑุ 80 km (50 mi)
- 15 ธันวาคม ค.ศ. 2010: Tara Air สูญเสียการติดต่อขณะอยู่ห่างจากกาฐมาณฑุ 162 km (101 mi) และได้ประสบอุบัติเหตุชนภูเขา ผู้โดยสารจำนวน 19 คน และลูกเรือ 3 คน เสียชีวิตทั้งหมด
- 25 กันยายน ค.ศ. 2011: บุดด้าแอร์ เที่ยวบินที่ 103 ประสบอุบัติเหตุ เนื่องจากสูญเสียวิสัยทัศน์ในการมองเห็น ผู้โดยสารจำนวน 16 คน และลูกเรือ 3 คน เสียชีวิตทั้งหมด
- 28 กันยายน ค.ศ. 2012: สีดาแอร์ เที่ยวบินที่ 601 ประสบอุบัติเหตุหลังจากยกระดับ ผู้โดยสารจำนวน 16 คน และลูกเรือ 3 คน เสียชีวิตทั้งหมด[23]
- 21 มีนาคม ค.ศ. 2014: มาเลเซียแอร์ไลน์ วิ่งชนฝูงเป็ด มีเป็ดตาย 10 ตัว แต่ไม่มีผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด
- 4 มีนาคม ค.ศ. 2015: เตอร์กิชแอร์ไลน์ ไถลออกนอกทางวิ่งขณะลงจอด เนื่องจากวิสัยทัศน์ที่ไม่ค่อยดี[24] ทำให้ไถลลงพื้นหญ้า ทางท่าอากาศยานจึงจำเป็นต้องปิดให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศชั่วคราว[25] ไม่มีผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บ[26]
- 4 มีนาคม ค.ศ. 2015: เตอร์กิชแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ TK726 เครื่องบินไถลออกนอกรันเวย์ ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ แต่ตัวเครื่องบินได้รับความเสียหาย
- 25 เมษายน ค.ศ. 2015: เนื่องจากเกิดแผ่นดินไหวในประเทศเนปาล ทำให้ท่าอากาศยานปิดทำการชั่วคราว[27]
ดูเพิ่ม
- รายชื่อท่าอากาศยานในประเทศเนปาล
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.