คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
บังคลาเทศพิมาน
สายการบินแห่งชาติของประเทศบังกลาเทศ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
สายการบินบังกลาเทศพิมาน (เบงกอล: বিমান বাংলাদেশ এয়ারলাইন্স; อังกฤษ: Biman Bangladesh Airlines)[3] เป็นสายการบินประจำชาติของประเทศบังกลาเทศ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 1972 มีฐานการบินอยู่ที่ท่าอาอากาศยานนานาชาติชาฮ์ลายัล และยังให้บริการเที่ยวบินจากฐานการบินรองที่ท่าอากาศยานนานาชาติชาห์ อมานัท ในจิตตะกอง และท่าอากาศยานนานาชาติออสมานี ในสิเลฏ[4]
Remove ads
Remove ads
ประวัติ
สรุป
มุมมอง
สายการบินบังกลาเทศพิมานถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 1972 ในฐานะสายการบินแห่งชาติของบังกลาเทศภายใต้กฎหมายพิมาน ตามคำสั่งประธานาธิบดีหมายเลข 126[5] โดยได้มีการนำอดีตพนักงาน 2,500 คน รวมถึงนักบินสิบเจ็ดคนจากปากีสถานอินเตอร์เนชันแนลแอร์ไลน์มาเริ่มดำเนินกิจการ ซึ่งได้ยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาลในวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1971 หลังจากได้รับเอกราชของบังกลาเทศ[6] โดยเดิมใช้ชื่อ แอร์บังกลาเทศ แต่ก็เปลี่ยนเป็นชื่อปัจจุบันในเวลาต่อมา[7]
ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1972 บังกลาเทศพิมานเริ่มให้บริการภายในประเทศ โดยเริ่มให้บริการเที่ยวบินเชื่อมธากากับจิตตะกอง เจสซอร์ และสิเลฏ โดยใช้เครื่องบินดักลาส ดีซี-3 หนึ่งลำจากอินเดีย[8] หลังจากการตกของเครื่องบินลำเดียวในฝูงบินในวันที่ 10 เดือนกุมภาพันธ์ ใกล้กรุงธากา ระหว่างการบินทดสอบ สายการบินได้นำเครื่องบินฟอกเกอร์ เอฟ-27 2 ลำของอินเดียนแอร์ไลน์มาประจำการแทน และได้ยืมดักลาส ดีซี-6 จากสภาคริสตจักรโลก ซึ่งต่อมาถูกแทนที่ด้วย ดักลาส ดีซี-6B รุ่นใหม่กว่า ที่เช่าจากโทรล์แอร์ เพื่อใช้ในการบินเส้นทางธากา-โกลกาตา[9] ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1972 บังกลาเทศพิมานเริ่มให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศด้วยเที่ยวบินรายสัปดาห์ไปยังลอนดอนโดยใช้เครื่องบินโบอิง 707 ที่เช่าจากบริติชคาลิโดเนียน[10] ในปีแรกของการดำเนินงาน บังกลาเทศพิมานให้บริการเที่ยวบิน 1,079 เที่ยวบินซึ่งมีผู้โดยสารมากกว่า 380,000 คน[6]
Remove ads
จุดหมายปลายทาง
ณ เดือนมกราคม ค.ศ. 2023 สายการบินบังกลาเทศพิมานให้บริการเที่ยวบินไปยัง 25 จุดหมายปลายทาง โดย 17 เส้นทางเป็นเส้นทางระหว่างประเทศ[11]
ฝูงบิน
ณ เดือนมกราคม ค.ศ. 2023 สายการบินบังกลาเทศพิมานมีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[12][13]
อ้างอิง
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads