รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ (อังกฤษ: Islamic State of Iraq and the Levant, ย่อ: ISIL) หรือเรียก รัฐอิสลามอิรักและซีเรีย (อังกฤษ: Islamic State of Iraq and Syria; ย่อ: ISIS), รัฐอิสลามอิรักและอัชชาม (อังกฤษ: Islamic State of Iraq and ash-Sham) หรือรัฐอิสลาม (อังกฤษ: Islamic State; ย่อ: IS) เป็นกลุ่มก่อการร้ายและกองกำลังติดอาวุธข้ามชาติที่ดำเนินการตามแนวคิดญิฮัดซาลาฟี ซึ่งตั้งตนเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์และรัฐอิสลาม กลุ่มนี้มีชาวอาหรับนิกายซุนนีย์จากประเทศอิรักและซีเรียเป็นผู้นำและเป็นส่วนใหญ่ ในเดือนมีนาคม 2015 กลุ่มควบคุมดินแดนที่มีประชากร 10 ล้านคนในประเทศอิรักและซีเรีย และควบคุมเหนือดินแดนขนาดเล็กในประเทศลิเบีย ไนจีเรียและอัฟกานิสถานผ่านกลุ่มท้องถิ่นที่ภักดี กลุ่มนี้ยังปฏิบัติการหรือมีสาขาในส่วนอื่นของโลก รวมถึงแอฟริกาเหนือและเอเชียใต้

ข้อมูลเบื้องต้น รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์, ปฏิบัติการ ...
รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์
الدولة الإسلامية في العراق والشام
ad-Dawlah al-Islāmiyah fī 'l-ʿIrāq wa-sh-Shām
Thumb
ธงสีดำมาตรฐานที่ใช้โดยไอซิล[1]
Thumb
ตราของไอซิล[2][3][4]
ปฏิบัติการ
1999–ปัจจุบัน
  • ก่อตั้งภายใต้ชื่อของญะมาอัต อัตเตาฮีด วัลญิฮาด: ค.ศ. 1999
  • เข้าร่วมกับอัลกออิดะฮ์: ตุลาคม ค.ศ. 2004
  • ประกาศเป็นรัฐอิสลามในอิรัก: 13 ตุลาคม ค.ศ. 2006
  • ครอบครองพื้นที่ในลิแวนต์: 8 เมษายน ค.ศ. 2013
  • แยกออกจากอัลกออิดะฮ์:[5][6] 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2014[7]
  • ประกาศเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์: 29 มิถุนายน ค.ศ. 2014
  • ครอบครองพื้นที่ในลิเบีย, อียิปต์, อัลจีเรีย, ซาอุดีอาระเบีย, เยเมน: 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 2014
  • ครอบครองพื้นที่ในเอเชียใต้: 29 มกราคม ค.ศ. 2015[8]
  • ครอบครองพื้นที่ในไนจีเรีย: 12 มีนาคม ค.ศ. 2015[9]
  • ครอบครองพื้นที่ในนอร์ธคอเคซัส: 23 มิถุนายน ค.ศ. 2015[10]
  • กองทัพอิรักยึดเมืองโมซูลคืน: 20 กรกฎาคม ค.ศ. 2017
  • กองทัพ SDF ยึดเมืองอัรร็อกเกาะฮ์คืน: 17 ตุลาคม ค.ศ. 2017
  • สูญเสียดินแดนในซีเรียทั้งหมด: 23 มีนาคม ค.ศ. 2019
  • อะบู บักร์ อัลบัฆดาดี ถูกฆ่า: 27 ตุลาคม ค.ศ. 2019
แนวคิดอุดมการณ์รัฐอิสลาม
ลัทธิกุฏบ์
ตักฟีรี
ลัทธิวะฮาบีย์
ลัทธิซาลาฟี
แพน-อิสลาม
ต่อต้านชาวยาซิดี
ต่อต้านชีอะห์
ต่อต้านคริสเตียน
ต่อต้านฮินดู
ต่อต้านความหลากหลายทางเพศ
ต่อต้านชาวยิว
ต่อต้านเพศหญิง
กลุ่มจังหวัดอัลจีเรีย
จังหวัดคอเคซัส
จังหวัดแอฟริกากลาง
จังหวัดเอเชียตะวันออก
จังหวัดกาซา
จังหวัดสะฮารา
จังหวัดคุรอซาน
จังหวัดลิเบีย
จังหวัดไซนาย
จังหวัดโซมาเลีย
จังหวัดแอฟริกาตะวันตกจังหวัดเยเมน
ผู้นำผู้นำ: อะบู ฮัฟส์ อัลฮาชิมี อัลกุเราะชี[11]

อดีตผู้นำ: อะบู บักร์ อัลบัฆดาดี [12], อะบู อิบรอฮีม อัลฮาชิมี อัลกุเราะชี [13], อะบู อัลฮะซัน อัลฮาชิมี อัลกุเราะชี [14], อะบู อัลฮุสเซน อัลฮุสเซนี อัลกุเราะชี [15] รองหัวหน้าในอิรัก: อะบู ฟะฏิมะห์ อัลญะฮัยชี[16] รองหัวหน้าในซีเรีย: อะบู อะลี อัลอันบารี [17][18] รองหัวหน้าในลิเบีย: อับเดลบาเกร์ อันนัจดี[19] หัวหน้าทหาร: อะบูซาเลฮ์ อัลโอบัยดี[16] หัวหน้าสภาชูรอ: อะบูอัรกาน อัลอะเมรี[20] หัวหน้าโฆษก: อะบูโมฮัมมัด อัลอัดนานี [21][22][23][24][25] หัวหน้าปฏิบัติการทหารซีเรีย: อาบู โอมาร์ อัลชิชานี [22][26][27][28][29] กระทรวงสงคราม: กุลมูรอด คาลีโมฟ[30] กระทรวงข้อมูล: วะอิล อะดิล ฮะซํน ซัลมาน อัลฟะยัด [31]

โฆษก: อะบู ฮูไทฟา อัลอันซารี
กองบัญชาการ
  • บะอ์กูบะฮ์, อิรัก (ค.ศ. 2006–2007)
  • ไม่มีศูนย์กลาง (ค.ศ. 2007–2013)
  • อัรร็อกเกาะฮ์, ซีเรีย (ค.ศ. 2013–2017)
  • มิยาดีน, ซีเรีย (มิถุนายน–ตุลาคม ค.ศ. 2017)[32][33]
  • อัลกออิม, อิรัก (ตุลาคม–พฤศจิกายน ค.ศ. 2017)[34]
  • อบูกะมาล, ซีเรีย (พฤศจิกายน ค.ศ. 2017)[35][36]
  • ฮะญีน, ซีเรีย (พฤศจิกายน ค.ศ. 2017 – ธันวาคม ค.ศ. 2018)[37]
  • อัสซูซะฮ์, ซีเรีย (ธันวาคม ค.ศ. 2018 – มกราคม ค.ศ. 2019)[38][39]
  • อัลมะรอชิดะฮ์, ซีเรีย (มกราคม–กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2019)[40][41][42]
  • อัลบาฆูซ เฟากอนี, ซีเรีย (กุมภาพันธ์–มีนาคม ค.ศ. 2019)[43][44]
  • ไม่ทราบศูนย์บัญชาการตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ. 2019
พื้นที่ปฏิบัติการThumb
ดินแดนของรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์เป็นสีเทา ในช่วงเวลาที่ขยายได้สูงสุด (พฤษภาคม ค.ศ. 2015).
รายละเอียดในแผนที่
  •   รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์
  •   รัฐบาลอิรัก
  •   รัฐบาลซีเรีย
  •   รัฐบาลเลบานอน
  •   กองกำลังฝ่ายค้านซีเรีย
  •   ตะฮ์รีร อัชชาม (HTS)
  • หมายเหตุ: พื้นที่ในอิรักและซีเรียส่วนใหญ่เป็นทะเลทราย โดยมีประชากรอยู่เบาบาง แผนที่นี้วาดตามกองกำลังที่ควบคุมถนนและเมือง
กำลังพล
จำนวนทหาร
  • ในซีเรียและอิรัก:
    • 200,000[45][46] (2015 อ้างโดยเคอร์ดิสถานอิรัก)
    • 100,000[47][46] (2015 อ้างโดยนักญิฮาด)
    • 28,600–31,600[48] (2016 ประเมินการของกระทรวงกลาโหม)
    • 35,000–100,000[49] (ประเมินการของกระทรวงการต่างประเทศ)
  • นอกซีเรียและอิรัก: 32,600–57,900 (ดูเพิ่มที่กิจกรรมทางทหารของรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์)
  • รวม: 61,200–257,900
ประชากร
  • ในปีค.ศ. 2015 (ใกล้จุดขยายสูงสุด): 8–12 ล้าน[50][51]
ส่วนหนึ่งของ อัลกออิดะฮ์ (2004-2014)
ถือกำเนิดที่ ญะมาอัต อัตเตาฮีด วัลญิฮาด (1999)[52]
พันธมิตรดูข้างล่าง
ปรปักษ์รัฐศัตรู

 อัฟกานิสถาน
 แคนาดา
 สหภาพยุโรป
 ฝรั่งเศส
 อินเดีย
 อิหร่าน
 อิรัก
 อิสราเอล
 จอร์แดน
 เลบานอน
 ลิเบีย
 โมซัมบิก
 ไนจีเรีย
 ปากีสถาน
 ฟิลิปปินส์
 รัสเซีย
 ซาอุดีอาระเบีย
 ซีเรีย
 ตุรกี
 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
 สหราชอาณาจักร
 สหรัฐ
 เยเมน
รัฐศัตรูอื่นๆ
 อับฮาเซีย
 แอลเบเนีย
 แอลจีเรีย
 อาร์มีเนีย
 นากอร์โน-คาราบัค
 ออสเตรเลีย
 ออสเตรีย
 อาเซอร์ไบจาน
 บาห์เรน
 บังกลาเทศ
 เบลเยียม
 เบนิน
 โบลิเวีย
 บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
 บราซิล
 บัลแกเรีย
 กัมพูชา
 แคเมอรูน
 ชาด
 จีน
 สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก
 โครเอเชีย
 เช็กเกีย
 เดนมาร์ก
 จิบูตี
 อียิปต์
 เอสโตเนีย
 ฟีจี
 ฟินแลนด์
 จอร์เจีย
 เยอรมนี
 กรีซ
 ฮังการี
 อินโดนีเซีย
 ไอร์แลนด์
 อิตาลี
 ญี่ปุ่น
 คาซัคสถาน
 เกาหลีเหนือ
 เกาหลีใต้
 คอซอวอ
 คีร์กีซสถาน
 ลัตเวีย
 ลิทัวเนีย
 ลักเซมเบิร์ก
 มาเลเซีย
 มัลดีฟส์
 มอลตา
 มอริเชียส
 เม็กซิโก
 มอลโดวา
 โมร็อกโก
 พม่า
 เนเธอร์แลนด์
 นิวซีแลนด์
 นิการากัว
 ไนเจอร์
 มาซิโดเนียเหนือ
 นอร์เวย์
 โอมาน
 ปาเลสไตน์
 โปแลนด์
 โปรตุเกส
 กาตาร์
 โรมาเนีย
สาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวี
 เซอร์เบีย
 สิงคโปร์
 สโลวาเกีย
 สโลวีเนีย
 โซมาเลีย
 เซาท์ออสซีเชีย
 สเปน
 ศรีลังกา
 สวีเดน
 สวิตเซอร์แลนด์
 ไต้หวัน
 ทาจิกิสถาน
 ไทย
 ตรินิแดดและโตเบโก
 ตูนิเซีย
 เติร์กเมนิสถาน
 ยูกันดา
 ยูเครน
 อุซเบกิสถาน
 เวียดนาม

ศัตรูที่ไม่ใช่รัฐ
รัฐบาลชั่วคราวของซีเรีย
เพชเมอร์กา
อัลกออิดะห์
ศัตรูที่ไม่ใช่รัฐอื่นๆ
ฮิซบุลลอฮ์
ขบวนการฮูตี
กองทัพซีเรียเสรี
ฮามาส
หน่วยป้องกันที่ราบนิเนเวห์
สหภาพชุมชนชาวเคิร์ด
เคอร์ดิสถานอิรัก
อันนุสราฟรอนต์
อะฮ์ราร อัชชาม
กองกำลังโล่ลิเบีย
สภาชูรออ์แห่งมุญาฮิดีนในเดอร์มา

รายชื่อทั้งหมด
การสู้รบและสงครามสงครามอิรัก (2003-2011)
การก่อความไม่สงบในอิรัก
สงครามกลางเมืองซีเรีย
สงครามในอิรัก (2013-2017)
สงครามกลางเมืองลิเบียครั้งที่สอง
การก่อความไม่สงบของกลุ่มโบโกฮาราม
การก่อความไม่สงบในแคว้นไคเบอร์ปัคตุนควา
สงครามในอัฟกานิสถาน
สงครามกลางเมืองเยเมน
และสงครามอื่นๆ
ปิด

วันที่ 29 มิถุนายน กลุ่มตั้งต้นเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์ทั่วโลก โดยมีอะบู บักร์ อัลบัฆดาดีเป็นเคาะลีฟะฮ์ และเปลี่ยนชื่อเป็นอัดเดาละฮ์ อัลอิสลามิยะฮ์ (อาหรับ: الدولة الإسلامية, ad-Dawlah al-Islāmiyah "รัฐอิสลาม") ด้วยเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์ กลุ่มนี้อ้างอำนาจทางศาสนา การเมืองและทหารเหนือมุสลิมทุกคนทั่วโลก และว่า "ความชอบด้วยกฎหมายของทุก ๆ เอมิเรต กลุ่ม รัฐและองค์การเป็นโมฆะโดยการแผ่ขยายอำนาจของเคาะลีฟะฮ์และทหารของรัฐเคาะลีฟะฮ์มาถึงพื้นที่ของสิ่งเหล่านี้"[53][54][55][56] สหประชาชาติถือว่า ISIL รับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนและอาชญากรรมสงคราม และองค์การนิรโทษกรรมสากลรายงานการล้างชาติพันธุ์ของกลุ่มใน "ขนาดที่ไม่เคยมีมาก่อน" สหประชาชาติ สหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย แคนาดา อินโดนีเซีย มาเลเซีย ตุรกี ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อียิปต์ อินเดียและรัสเซียประกาศให้กลุ่มนี้เป็นองค์การก่อการร้าย กว่า 60 ประเทศกำลังทำสงครามโดยตรงหรือโดยอ้อมต่อ ISIL

กลุ่มนี้กำเนิดเป็น "จามาต ตอฮิด วัล ญิฮัด" (Jama'at al-Tawhid wal-Jihad) ในปี 1999 ซึ่งสวามิภักดิ์ต่ออัลกออิดะฮ์ในปี 2004 กลุ่มนี้เข้าร่วมการก่อการกำเริบอิรักให้หลังการบุกครองอิรักในปี 2003 โดยกำลังตะวันตก ในเดือนมกราคม 2006 กลุ่มนี้เข้ากับกลุ่มก่อการกำเริบซุนนีย์อื่นตั้งเป็นสภาชูรามุญาฮิดีน (Mujahideen Shura Council) ซึ่งประกาศตั้งรัฐอิสลามอิรัก (Islamic State of Iraq หรือ ISI) ในเดือนตุลาคม 2006 หลังสงครามกลางเมืองซีเรียอุบัติในเดือนมีนาคม 2011 ISI โดยมีอัลบัฆดาดีเป็นผู้นำ ส่งผู้แทนไปซีเรียในเดือนสิงหาคม 2011 นักรบเหล่านี้ตั้งชื่อตัวเองเป็นญับฮะตุลนุศเราะฮฺลิอะห์ลิอัชชาม (Jabhat an-Nuṣrah li-Ahli ash-Shām) หรือแนวอัลนุสรา (al-Nusra Front) และเข้าไปในอยู่ในพื้นที่ของซีเรียซึ่งมีมุสลิมซุนนีย์เป็นส่วนใหญ่จำนวนมาก ในผู้ว่าราชการอัรร็อกเกาะฮ์ อิดลิบ เดอีร์เอซซอร์ และอะเลปโป ในเดือนเมษายน 2013 อัลบัฆดาดีประกาศรวม ISI กับแนวร่วมอัลนุสราแล้วเปลี่ยนชื่อเป็นรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ (Islamic State of Iraq and the Levant หรือ ISIL) อย่างไรก็ดี อะบู มุฮัมมัด อัลจูลานี (Abu Mohammad al-Julani) และอัยมัน อัซเซาะวาฮิรี ผู้นำของอัลนุสราและอัลกออิดะฮ์ตามลำดับ ปฏิเสธการรวมดังกล่าว วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2014 หลังการแย่งอำนาจนานแปดเดือน อัลกออิดะฮ์เรียกกลุ่มนี้ว่า "สุดโต่งเกิน" และตัดความสัมพันธ์ทั้งหมดกับ ISIL โดยอ้างว่าไม่สามารถปรึกษาได้และไม่ยอมอ่อนข้ออย่างเปิดเผย" ในประเทศซีเรีย กลุ่มนี้ดำเนินการโจมตีภาคพื้นดินต่อทั้งกำลังรัฐบาลและกลุ่มแยกกบฏในสงครามกลางเมืองซีเรีย กลุ่มนี้มีความสำคัญหลังขับกำลังรัฐบาลอิรักออกจากนครสำคัญในภาคตะวันตกของอิรักในการรุกที่เริ่มเมื่อต้นปี 2014 การเสียดินแดนของอิรักแทบทำให้รัฐบาลอิรักล่มและทำให้สหรัฐรื้อฟื้นการปฏิบัติทางทหารใหม่ในอิรัก[57][58][59][60]

เดือนตุลาคม 2014 กองกำลังเฉพาะกิจร่วมนำโดยสหรัฐเริ่มปฏิบัติการโจมตีรัฐอิสลามทางอากาศอย่างหนัก พร้อมด้วยสนับสนุนด้านที่ปรึกษา ยุทโธปกรณ์และการฝึกให้แก่กองทัพอิรักและกองทัพประชาธิปไตยซีเรีย ปฏิบัติการนี้สร้างความเสียหายให้รัฐอิสลามอย่างมาก[61] เดือนกันยายน 2015 รัสเซียเริ่มปฏิบัติการทางอากาศในซีเรีย ซึ่งยิ่งสร้างความเสียหายแก่รัฐอิสลาม[62] เดือนกรกฎาคม 2017 รัฐอิสลามเสียเมืองโมซูลซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุด ตามด้วยอัรร็อกเกาะฮ์ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นเมืองหลวงให้แก่กองทัพอิรัก[63] หลังจากนั้น รัฐอิสลามเสียดินแดนมากขึ้นเรื่อย ๆ จนเดือนธันวาคม 2017 ไฮเดอร์ อัล-อะบาดี นายกรัฐมนตรีอิรักประกาศว่ากองทัพอิรักสามารถขับไล่ที่มั่นสุดท้ายของรัฐอิสลามในอิรักได้สำเร็จ[64] เดือนมีนาคม 2019 รัฐอิสลามเสียที่มั่นสำคัญสุดท้ายในตะวันออกกลาง[44] ในวันที่ 27 ตุลาคม 2019 อะบู บักร์ อัลบัฆดาดี เคาะลีฟะฮ์แห่งรัฐอิสลามปลิดชีพตัวเองด้วยระเบิดที่ติดไว้กับตัวหลังถูกหน่วยปฏิบัติการพิเศษสหรัฐไล่ล่า[65][66][67][68][69] วันที่ 31 ตุลาคม 2019 รัฐอิสลามยืนยันการเสียชีวิตของอัลบัฆดาดี และประกาศว่าอะบู อิบรอฮีม อัลฮาชิมี อัลกุเราะชีจะขึ้นเป็นเคาะลีฟะฮ์คนใหม่[70] วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2022 ทางการสหรัฐรายงานว่าอัลกุเราะชีปลิดชีพตนเองพร้อมสมาชิกในครอบครัวด้วยระเบิดหลังถูกหน่วยปฏิบัติการพิเศษสหรัฐบุกจู่โจมที่เมืองอัตมะฮ์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศซีเรีย[71] วันที่ 10 มีนาคม 2022 อะบู โอมาร์ อัลมูฮาจีร์ โฆษกรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ประกาศว่าอะบู อัลฮะซัน อัลฮาชิมี อัลกุเราะชีจะดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์คนต่อไป[72] วันที่ 30 พฤศจิกายน 2022 รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ประกาศว่าอะบู อัลฮะซันเสียชีวิตในการต่อสู้ และอะบู อัลฮุสเซน อัลฮุสเซนี อัลกุเราะชีจะดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์คนต่อไป[73] วันที่ 30 เมษายน 2023 เรเจป ไตยิป แอร์โดอัน ประธานาธิบดีตุรกีประกาศว่าองค์การข่าวกรองแห่งชาติตุรกีได้สืบหาและสังหารอะบู อัลฮุสเซนในวันที่ 29 เมษายน ต่อมาในวันที่ 3 สิงหาคม ปีเดียวกัน อะบู ฮูไทฟา อัลอันซารี โฆษกรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ยืนยันการเสียชีวิตของอะบู อัลฮุสเซน และประกาศว่าอะบู ฮัฟส์ อัลฮาชิมี อัลกุเราะชีจะดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์คนต่อไป[74]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.