Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สงครามกลางเมืองซีเรีย เป็นการขัดกันด้วยอาวุธหลายฝ่ายที่กำลังดำเนินอยู่ในประเทศซีเรีย โดยมีต่างชาติเข้าแทรกแซง ความไม่สงบเริ่มในต้นฤดูใบไม้ผลิปี 2554 ในบริบทการประท้วงอาหรับสปริง โดยมีการประท้วงทั่วประเทศต่อรัฐบาลประธานาธิบดีบัชชาร อัลอะซัด ซึ่งกำลังของเขาสนองโดยการปราบปรามอย่างรุนแรง ความขัดแย้งค่อย ๆ กลายจากการประท้วงของประชาชนเป็นการกบฏมีอาวุธหลังการล้อมทางทหารหลายเดือน[85] รายงานสหประชาชาติฉบับหนึ่งในปลายปี 2555 อธิบายความขัดแย้งว่า "มีสภาพนิยมนิกาย (sectarian) อย่างเปิดเผย" ระหว่างกำลังรัฐบาล ทหารอาสาสมัครซึ่งส่วนใหญ่เป็นอะละวี (Alawite) และกลุ่มชีอะฮ์อื่น[86] ต่อสู้กับกลุ่มกบฏซึ่งมีซุนนีครอบงำเป็นส่วนใหญ่[87][88] แม้ทั้งฝ่ายค้านและกำลังรัฐบาลต่างปฏิเสธ[89][90]
สงครามกลางเมืองซีเรีย | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ อาหรับสปริง, อาหรับวินเทอร์, สงครามต่อต้านการก่อการร้าย, ความขัดแย้งอิหร่าน-ซาอุดิอาระเบีย, ความขัดแย้งรัสเซีย-สหรัฐ และ ความขัดแย้งอิหร่าน-อิสราเอล | |||||||||||
(คลิกเพื่อดูแผนที่ละเอียด) สถานการณ์ทางทหารเมื่อเดือนสิงหาคม 2563: สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย (SAA) สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย & โรจาวา (SAA & SDF) โรจาวา (SDF) รัฐบาลชั่วคราวซีเรีย (SNA) & การยึดครองของตุรกี รัฐบาลไถ่ซีเรีย (HTS[a]) กองทัพคอมมานโดปฏิวัติ & การยึดครองของสหรัฐ กลุ่มฝ่ายค้านที่กำลังประนีประนอม ISIL | |||||||||||
| |||||||||||
คู่สงครามหลัก | |||||||||||
รัฐบาล
กลุ่มพันธมิตร
อิหร่าน (ตั้งแต่ปี 2556) |
ฝ่ายค้าน (เอสเอ็นซี)
สนับสนุน:
อะห์รัรอัชชาม[e] สนับสนุน:
|
(ตั้งแต่ปี 2556)
|
สหพันธรัฐประชาธิปไตยซีเรียเหนือ (SDF)
(ตั้งแต่ปี 2555)
สนับสนุน: ซีเจทีเอฟ–โอไออาร์ อดีตผู้เข้าร่วม:
| ||||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||||||
เสียชีวิตในหน้าที่:
|
เสียชีวิตในหน้าที่:
|
เสียชีวิตในหน้าที่:
|
| ||||||||
กำลัง | |||||||||||
Syrian Armed Forces: 180,000[48] |
FSA: 40,000–50,000[55] (2013) Ahrar al-Sham: 18,000–20,000+[60][61] (March 2017) Tahrir al-Sham: 31,000[62] | 15,000–20,000 (U.S. claim, late 2016)[63] 1,000 (U.S. claim, late 2017)[64] |
SDF: 60,000–75,000 (ประมาณ 2017)[65] | ||||||||
ความสูญเสีย | |||||||||||
Syrian Arab Republic: 68,308–103,308 soldiers & 52,568–66,568 militiamen killed[71][72] 4,100 soldiers/militiamen & 1,800 supporters captured[71] Hezbollah: 1,705–2,000 killed[71][73] Russia: 137–160 soldiers killed & 184–284 PMCs killed[74] Other non-Syrian fighters: 8,300 killed[71] (2,300–3,500+ IRGC-led)[75][76] |
Syrian opposition/HTS: Turkey: 239–296 killed (2016–20 incursions)[77] |
ISIL: 40,515 killed[71] |
Autonomous Administration of North and East Syria: CJTF–OIR: 13 killed[79] ( 10, 1, 1, 1) | ||||||||
พลเรือนเสียชีวิต 117,388 ตามบันทึกของฝ่ายค้าน[71] Total killed: 388,652–594,000 (per SOHR)[71] Estimated ≥7,600,000 internally displaced & ≥5,116,097 refugees (July 2015/2017)[80] a ตั้งแต่ต้นปี 2556 FSA มีการแยกศูนย์โดยกบฏต่าง ๆ ใช้ชื่อนี้แบบไม่เลือก |
ทีแรกรัฐบาลซีเรียอาศัยกองทัพเป็นหลัก แต่ตั้งแต่ปี 2557 หน่วยป้องกันท้องถิ่นซึ่งประกอบจากอาสาสมัครที่เรียก กำลังป้องกันชาติ (National Defence Force) ได้มีบทบาทมากขึ้น ค่อย ๆ กลายเป็นกำลังทหารหลักของรัฐซีเรีย รัฐบาลซีเรียได้รับความช่วยเหลือทางเทคนิค การเงิน การทหารและการเมืองจากประเทศรัสเซีย อิหร่านและอิรักมาตั้งแต่ต้น ในปี 2556 ฮิซบุลลอฮ์ที่อิหร่านสนับสนุนเข้าร่วมสงครามโดยสนับสนุนกองทัพซีเรีย[91][92] รัสเซียเข้าร่วมปฏิบัติการทางอากาศตั้งแต่เดือนกัยายน 2558 เนื่องจากการเกี่ยวพันของต่างชาติ ความขัดแย้งนี้จึงถูกเรียกว่าเป็น สงครามตัวแทน ระหว่างชาติซุนนีและชีอะฮ์ภูมิภาค ที่สำคัญที่สุดคือความขัดแย้งตัวแทนระหว่างซาอุดีอาระเบียและอิหร่าน[93][94] ในเดือนกันยายน 2558 รัสเซีย อิรัก อิหร่านและซีเรียตั้งห้องปฏิบัติการร่วม (ศูนย์สารสนเทศ) ในกรุงแบกแดดเพื่อประสานงานกิจกรรมของพวกตนในประเทศซีเรีย วันที่ 30 กันยายน 2558 ประเทศรัสเซียเริ่มการทัพทางอากาศของตนโดยเข้ากับฝ่ายและด้วยคำขอของรัฐบาลซีเรีย จึงเกิดสงครามตัวแทนระหว่างสหรัฐและรัสเซีย[95][96][97][98] ซึ่งนักวิจารณ์บางส่วนบรรยายสถานการณ์ว่าเป็น "ก่อนสงครามโลกโดยมีประเทศเกือบโหลพัวพันในสองความขัดแย้งที่ทับซ้อนกัน"[99]
ฝ่ายค้านมีอาวุธประกอบด้วยหลายกลุ่มซึ่งก่อตั้งในห้วงความขัดแย้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กองทัพซีเรียเสรี (FSA) ซึ่งเป็นผู้แรกที่หยิบอาวุธในปี 2554 และแนวร่วมอิสลามซึ่งก่อตั้งในปี 2556 ฝ่ายทางตะวันออก รัฐอิสลามอิรักและเลแวนต์ (ISIL) กลุ่มนักรบญิฮัดซึ่งกำเนิดในประเทศอิรัก ได้ชัยชนะทางทหารอย่างรวดเร็วทั้งในประเทศซีเรียและอิรัก จนลงเอยด้วยพิพาทกับกบฏอื่น ฝ่ายแนวร่วมนานาชาติที่มีสหรัฐเป็นผู้นำมีการสถาปนาขึ้นในปี 2557 โดยมีวัตถุประสงค์ที่ประกาศไว้ว่าเพื่อตอบโต้ ISIL และได้ดำเนินการโจมตีทางอากาศต่อ ISIL ในซีเรีย ตลอดจนเป้าหมายบะอัธซีเรียและให้การสนับสนุนต่อสหพันธรัฐประชาธิปไตยซีเรียเหนือ สหรัฐเลิกให้การสนับสนุนด้านอาวุธโดยตรงต่อ FSA ในปี 2560; ปลายปี 2560 อิทธิพลและดินแดนควบคุมของ ISIL เสื่อมลง จนซีเรียประกาศว่าประเทศได้รับการปลดปล่อยจาก ISIL แล้ว ด้านตุรกีมีความเกี่ยวข้องในสงครามตั้งแต่ปี 2559 และสนับสนุนฝ่ายค้านซีเรียอย่างแข็งขันและยึดพื้นที่ได้เป็นบริเวณกว้างทางภาคเหนือของประเทศซีเรีย
องค์การระหว่างประเทศกล่าวหารัฐบาลซีเรีย ISIL และกำลังฝ่ายค้านอื่นว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง โดยเกิดการสังหารหมู่หลายครั้ง[100][101][102][103][104] ความขัดแย้งนี้ทำให้เกิดการย้ายประชากรอย่างสำคัญ ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2558[105] สหประชาชาติประกาศเริ่มการเจรจาสันติภาพซีเรียเจนีวาที่สหประชาชาติเป็นสื่อกลางอย่างเป็นทางการ โดยการสู้รบยังดำเนินไปโดยไม่มีทีท่าลดลง[106]
ประเทศซีเรียกลายเป็นสาธารณรัฐเอกราชในปี 2489 แต่การปกครองระบอบประชาธิปไตยสิ้นสุดลงด้วยรัฐประหารในเดือนมีนาคม 2492 ตามด้วยรัฐประหารอีกสองครั้งในปีเดียวกัน[107][108] การก่อการกำเริบของประชาชนต่อการปกครองระบอบทหารในปี 2497 มีการถ่ายโอนอำนาจของกองทัพสู่พลเรือน ตั้งแต่ปี 2501 ถึง 2504 สหภาพช่วงสั้น ๆ กับประเทศอียิปต์เปลี่ยนระบบรัฐสภาของซีเรียเป็นรัฐบาลระบบประธานาธิบดีที่รวมอำนาจปกครองอย่างสูง[109] รัฐบาลพรรคบะอัธสาขาภูมิภาคซีเรียซึ่งเป็นฆราวาสเถลองอำนาจผ่านรัฐประหารที่สัมฤทธิ์ผลในปี 2506 อีกหลายปีถัดมา ประเทศซีเรียเผชิญรัฐประหารและการเปลี่ยนแปลงผู้นำอีก[110]
ในเดือนมีนาคม 2514 ฮาฟิซ อัลอะซัด ชาวอะละวี ประกาศตนเป็นประธานาธิบดีซึ่งเป็นตำแหน่งที่เขาครองจนถึงแก่อสัญกรรมในปี 2543 ตั้งแต่ปี 2513 สาขาภูมิภาคซีเรียซึ่งเป็นฆราวาสยังเป็นองค์การการเมืองที่ครอบงำในประเทศซึ่งเป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวจนมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาประชาชนซีเรียแบบหลายพรรคการเมืองครั้งแรกในปี 2555[111] ในวันที่ 31 มกราคม 2516 ฮาฟิซ อัลอะซัดนำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไปปฏิบัติ ซึ่งนำสู่วิกฤตการณ์ระดับชาติ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ผิดจากฉบับก่อนที่ไม่กำหนดให้ประธานาธิบดีซีเรียเป็นมุสลิม ทำให้เกิดการเดินขบวนดุเดือดในฮะมาฮ์ ฮอมส์และอะเลปโป ซึ่งกลุ่มภราดรภาพมุสลิมและอูละมา (ulama) เป็นผู้จัดระเบียบ พวกเขาตีตราอะซัดว่าเป็น "ศัตรูแห่งอัลลอฮ์" และเรียกร้องญิฮาดต่อการปกครองของเขา[112] รัฐบาลรอดพ้นการกบฏด้วยอาวุธโดยอิสลามซุนนีย์ซึ่งเป็นสมาชิกภราดรภาพมุสลิมเป็นหลักหลายครั้งตั้งแต่ปี 2519 ถึง 2525
ครั้นฮาฟิซ อัลอะซัดถึงแก่อสัญกรรมในปี 2553 บุตรของเขา บัชชาร อัลอะซัด ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีซีเรีย บัชชาร อัลอะซัดกับภรรยา อัสมา มุสลิมซุนนีย์ซึ่งเกิดและได้รับการศึกษาในบริเตน ทีแรกจุดความหวังการปฏิรูปประชาธิปไตย เกิดดามัสกัสสปริง ช่วงการอภิปรายทางสังคมและการเมือง ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2543 และสิงหาคม 2544[113] ดามัสกัสสปริงสิ้นสุดลงในเดือนสิงหาคม 2544 ด้วยการจับกุมและจำคุกนักกิจกรรมชั้นแนวหน้าสิบคนซึ่งเรียกร้องการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยและการรณรงค์ดื้อแพ่ง[114] ในความเห็นของนักวิจารณ์ บัชชาร อัลอะซัดไม่อาจให้การปฏิรูปตามที่ให้คำมั่นไว้[115] ในการเลือกตั้งปี 2543 และ 2550 เขาได้รับเสียงสนับสนุน 99.7% และ 97.6% ในการลงประชามติเรื่องตำแหน่งผู้นำของเขาโดยไม่มีคู่แข่ง[116][117][118] ประธานาธิบดีบัชชาร อัลอะซัดยืนยันว่าไม่มี "ฝ่ายค้านสายกลาง" ต่อการปกครองของเขา และว่ากำลังฝ่ายค้านทั้งหมดเป็นญิฮัดที่เจตนาทำลายรัฐบาลฆราวาสของเขา ในเดือนเมษายน 2560 เขาให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์โครเอเชียฉบับหนึ่งว่า กลุ่มก่อการร้ายที่ปฏิบัติการอยู่ในซีเรีย "เชื่อมโยงกับวาระของต่างประเทศ"[119]
อาหรับซีเรีย ร่วมกับอาหรับปาเลสไตน์ประมาณ 600,000 คนคิดเป็นร้อยละ 74 ของประชากร (หากไม่นับคริสต์ศาสนิกชนซีเรีย)[120] มุสลิมในซีเรียเป็นซุนนีร้อยละ 74 (รวมซูฟี) ชีอะฮ์ร้อยละ 13 (รวมอะลาวีร้อยละ 8–12 และมูรชิด) ดรูซร้อยละ 3 ส่วนอีกร้อยละ 10 ที่เหลือเป็นคริสต์ศาสนิกชน ซุนนีซีเรียมิใช่อาหรับทั้งหมด ตระกูลอะซัดมีศาสนาผสม บัชชารแต่งงานกับภรรยาซุนนีและมีบุตรหลายคน เขาเข้ารีตนิกายเดียวกับบิดามารดาคืออะลาวี[121] อะลาวีควบคุมฝ่ายความมั่นคงของซีเรีย[122][123] ส่วนคริสต์ศาสนิกชนซีเรียส่วนใหญ่เป็นคริสตจักรตะวันออกซึ่งอยู่ในบริเวณนี้มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1[124]
เคิร์ดซีเรีย ชนกลุ่มน้อยซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 9 ของประชากร เผชิญเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาตและปฏิเสธสิทธิทางวัฒนธรมและภาษา ตลอดจนการปฏิเสธความเป็นพลเมืองอยู่บ่อยครั้งตลอดประวัติศาสตร์ของรัฐซีเรีย[125] เติร์กเมนคิดเป็นร้อยละ 3–5 ของประชากร
ชาวอัสซีเรีย ชนเซมิติกคริสต์ศาสนิกชนที่พูดภาษาแอราเมอิกตะวันออกพื้นเมือง มีจำนวนประมาณ 400,000 คน[126] ส่วนใหญ่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศซีเรีย ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์อื่นได้แก่อาร์มีเนีย เซอร์แคสเซียน เติร์กเมน กรีก Mhallami, Kawliya, เยซีดี, Shabaks, และ Mandeans[127]
ความไม่เสมอภาคทางสังคม-เศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอย่างสำคัญหลังฮาฟิซ อัลอะซัดริเริ่มนโยบายตลาดเสรีในช่วงบั้นปลายชีวิต และเพิ่มมากขึ้นหลังบัชชาร อัลอะซัดเถลิงอำนาจ ด้วยการเน้นภาคบริการ นโยบายเหล่านี้ให้ประโยชน์ต่อประชากรส่วนน้อยของประเทศ ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์กับรัฐบาล และสมาชิกของชนชั้นวาณิชซุนนีในกรุงดามัสกัสและอะเลปโป[128] ในปี 2553 จีดีพีต่อหัวของซีเรียอยู่ที่ 2,834 ดอลลาร์สหรัฐ เทียบได้กับประเทศแอฟริกาใต้สะฮาราอย่างไนจีเรีย และต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างเลบานอน โดยมีอัตราเติบโตต่อปีร้อยละ 3.39 ซึ่งต่ำกว่าประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่[129]
ประเทศซีเรียยังเผชิญกับอัตราว่างงานของเยาวชนสูง[130] เมื่อสงครามเริ่ม ความไม่พอใจต่อรัฐบาลมีมากที่สุดในพื้นที่ยากจนของซีเรีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งซุนนีอนุรักษนิยม[128] ซึ่งรวมนครที่มีความยากจนสูงอย่างดัรอาและฮอมส์ และเขตยากจนของนครใหญ่ ๆ
สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศซีเรียเป็นหัวข้อวิจารณ์อย่างหนักจากองค์การระดับโลก[131] สิทธิการแสดงออกอย่างเสรี การสมาคมและการชุมนุมถูกควบคุมอย่างเข้มงวดตั้งแต่ก่อนการก่อการกำเริบ[132] ประเทศอยู่ภายใต้การปกครองฉุกเฉินตั้งแต่ปี 2506 ถึงปี 2554 และห้ามการชุมนุมเกินกว่าห้าคน[133] กำลังความมั่นคงมีอำนาจจับกุมและกักขังอย่างกว้างขวาง[134]
ทางการรังควานและจำคุกนักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชนและนักวิจารณ์รัฐบาลอื่นซึ่งมักถูกกักขัอย่างไม่มีกำหนดและถูกทรมานภายใต้ภาวะคล้ายเรือนจำ[132] สตรีและชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์เผชิญกับการเลือกปฏิบัติในภาครัฐ[132] เคิร์ดซีเรียหลายพันคนถูกปฏิเสธการให้สิทธิพลเมืองในปี 2505 และผู้สืบสันดานถูกตีตราว่า "คนต่างด้าว"[135] เหตุจลาจลหลายครั้งในปี 2547 ทำให้เกิดความตึงเครียดเพิ่มขึ้นในเคอร์ดิสถานซีเรีย[136] และมีการปะทะกันบางครั้งระหว่างผู้ประท้วงเคิร์ดกับกำลังความมั่นคงนับแต่นั้น
แม้มีความหวังการเปลี่ยนแปลงประชาธิปไตยในดามัสกัสสปริงปี 2543 แต่ส่วนใหญ่ถือว่าบัชชาร อัลอะซัดล้มเหลวการนำพัฒนาการไปปฏิบัติ รายงานของฮิวแมนไรตส์วอชที่ออกก่อนการก่อการกำเริบปี 2554 ระบุว่า เขาล้มเหลวในการพัฒนาสถานะสิทธิมนุษยชนนับแต่ครองอำนาจ[137]
การประท้วงเริ่มต้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2554 เมื่อผู้ประท้วงเดินขบวนในเมืองหลวงดามัสกัส เรียกร้องการปฏิรูปประชาธิปไตยและการปล่อยตัวนักโทษการเมือง กำลังความมั่นคงตอบโต้โดยการเปิดฉากยิงใส่ผู้ประท้วง[140] การประท้วงดังกล่าวมีสาเหตุจากการที่รัฐบาลจับกุมเด็กชายกับเพื่อนฐานเขียนกราฟิตี "ประชานต้องการให้รัฐบาลล่มสลาย" ในนครดัรอา (Daraa)[140][141] เด็กชายผู้นั้นชื่อ ฮัมซา อัลคาตีป (Hamza al-Khateeb) วัย 13 ปี ถูกทรมานและฆ่า[142] วันที่ 20 มีนาคม ผู้ประท้วงเผาสำนักงานใหญ่พรรคบะอัษและ "อาคารอื่น" เหตุปะทะให้หลังนั้นทำให้ตำรวจเสียชีวิตเจ็ดนาย[143] และผู้ประท้วงเสียชีวิต 15 คน[144] สิบวันถัดมา ประธานาธิบดีบัชชาร อัลอะซัดกล่าวสุนทรพจน์โทษ "ผู้สมคบต่างด้าว" ที่ผลักดันโฆษณาชวนเชื่ออิสราเอลให้เกิดการประท้วง[145]
จนถึงวันที่ 7 เมษายน ผู้ประท้วงเรียกร้องการปฏิรูปประชาธิปไตย การปล่อยตัวนักโทษการเมือง การเพิ่มเสรีภาพ การเลิกกฎหมายฉุกเฉินและการยุติการฉ้อราษฎร์บังหลวงเป็นสำคัญ หลังวันที่ 8 เมษายน การเน้นคำขวัญการเดินขบวนค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นการเรียกร้องให้ล้มรัฐบาลอะซัดแทน การประท้วงลุกลาม ในวันที่ 8 เมษายน เกิดการประท้วงพร้อมกันในสิบนคร ครั้นวันที่ 22 เมษายน เกิดการประท้วงในยี่สิบนคร เมื่อถึงปลายเดือนพฤษภาคม 2554 มีพลเรือนเสียชีวิต 1,000 คน[146] และทหารและตำรวจ 150 นาย[147] และมีผู้ถูกควบคุมตัวอีกหลายพันคน[148] ซึ่งในจำนวนนี้มีนักศึกษา นักกิจกรรมเสรีนิยมและผู้เรียกร้องสิทธิมนุษยชนรวมอยู่ด้วย[149]
เกิดการขัดขืนด้วยอาวุธอย่างสำคัญต่อฝ่ายความมั่นคงของรัฐในวันที่ 4 มิถุนายน 2554 ในจิซร์ อัล-ชูกูร์ (Jisr al-Shughur) รายงานที่ไม่ได้รับการยืนยันอ้างว่ากำลังความมั่นคงส่วนหนึ่งในจิซร์แปรพักตร์หลังตำรวจลับและเจ้าหน้าที่ข่าวกรองประหารชีวิตทหารที่ปฏิเสธคำสั่งยิงพลเรือน[150] ต่อมา ผู้ประท้วงในประเทศซีเรียจับอาวุธมากขึ้น และทหารแปรพักตร์มากขึ้นเพื่อคุ้มครองผู้ประท้วง
ระยะการก่อการกำเริบช่วงต้นของสงครามกลางเมืองซีเรียกินเวลาตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคม 2554 ถึงเมษายน 2555 และสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของทหารอาสาสมัครฝ่ายค้านติดอาวุธทั่วประเทศซีเรียและจุดเริ่มต้นของการกบฏด้วยอาวุธต่อรัฐบาลสาธารณรัฐอาหรับซีเรีย การตั้งกองทัพซีเรียเสรี (FSA) เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2554 เป็นสัญลักษณ์จุดเริ่มต้นของการก่อการกำเริบ เมื่อกลุ่มนายทหารแปรพักตร์ประกาศสถาปนากำลังทหารฝ่ายค้านจัดระเบียบครั้งแรก โดยมีเป้าหมายเพื่อกำจัดบัชชาร อัลอะซัดและรัฐบาลจากอำนาจ
สงครามระยะนี้มีการก่อการกำเริบของประชาชนในขั้นต้นมีลักษณะหลายประการของสงครามกลางเมือง จากผู้สังเกตการณ์ภายนอกหลายกลุ่ม รวมทั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เมื่อฝ่ายที่ติดอาวุธมีการจัดระเบียบดีขึ้นและเริ่มดำเนินการโจมตีตอบโต้การปราบปรามการเดินขบวนและผู้แปรพักตร์ของรัฐบาลซีเรียเป็นผลสำเร็จ[151]
คณะผู้แทนเฝ้าสังเกตของสันนิบาตอาหรับ ซึ่งเริ่มมีขึ้นในเดือนธันวาคม 2554 ยุติด้วยความล้มเหลวในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 เมื่อกำลังพรรคบะอัษซีเรียและทหารอาสาสมัครฝ่ายค้านยังคงรบพุ่งกันทั่วประเทศและรัฐบาลพรรคบะอัษซีเรียกีดกันมิให้ผู้สังเกตการณ์ต่างชาติเที่ยวชมสมรภูมิที่กำลังรบกันอยู่รวมทั้งที่มั่นของฝ่ายค้านที่ถูกล้อม
ต้นปี 2555 โคฟี อันนันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แทนพิเศษซีเรียร่วมของสหประชาชาติและสันนิบาติอาหรับ แผนสันติภาพของเขาจัดให้มีการหยุดยิง แต่แม้ระหว่างมีการเจรจาแผนดังกล่าว ฝ่ายกบฏและรัฐบาลซีเรียยังต่อสู้กันอยู่แม้หลังแผนสันติภาพนี้[152] การหยุดยิงที่สหประชาชาติสนับสนุนมีโคฟี อันนัน ผู้แทนพิเศษ เป็นนายหน้าและมีประกาศในกลางเดือนเมษายน 2555
การเพิ่มระดับปี 2555–56 ของสงครามกลางเมืองซีเรียเป็นระยะที่สามของสงครามกลางเมืองซีเรีย ซึ่งค่อย ๆ เพิ่มระดับจากความพยายามหยุดยิงที่มีสหประชาชาติเป็นสื่อกลางระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2555 แต่เสื่อมลงเป็นความรุนแรงมูลวิวัติ เพิ่มระดับความขัดแย้งดังกล่าวเป็นสงครามกลางเมืองเต็มรูป
ให้หลังการสังหารหมู่ฮูลา (Houla) เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2555 ซึ่งมีผู้ถูกประหารชีวิตโดยรวบรัด 108 คน และคำขาดของ FSA ต่อรัฐบาลพรรคบะอัษซีเรีย การหยุดยิงหมดสภาพโดยปฏิบัติเมื่อ FSA เริ่มการบุกทั่วประเทศต่อทหารฝ่ายรัฐบาล วันที่ 12 กรกฎาคม 2555 สหประชาชาติประกาศอย่างเป็นทางการครั้งแรกว่าประเทศซีเรียอยู่ในสภาพสงครามกลางเมือง[153] ความขัดแย้งเริ่มเคลื่อนสู่สองนครใหญ่สุด คือ ดามัสกัสและอะเลปโป
หลังการหยุดยิงเดือนตุลาคม 2555 ล้มเหลว ระหว่างฤดูหนาวปี 2555–56 และต้นฤดูใบไม้ผลิปี 2556 ฝ่ายกบฏยังคงรุกคืบทุกแนวรบ วันที่ 11 มกราคม 2556 กลุ่มอิสลามรวมทั้งแนวร่วมอัลนุสเราะเข้าควบคุมฐานทัพอากาศ Taftanaz ในเขตผู้ว่าการอิดลิปได้อย่างสมบูรณ์หลังการสู้รบหลายสัปดาห์ กลางเดือนมกราคม 2556 เมื่อมีการปะทะใหม่ระหว่างกบฏและกำลังเคิร์ดในเราะอัลอัย (Ras al-Ayn) กำลัง YPG เริ่มขับไล่ทหารรัฐบาลออกจากพื้นที่อุดมด้วยน้ำมันในอัลฮะซะกะฮ์ (Hassakeh)[154] วันที่ 6 มีนาคม 2556 ฝ่ายกบฏยึดนครอัรร็อกเกาะฮ์ ทำให้เป็นเมืองเอกของเขตผู้ว่าการแห่งแรกที่รัฐบาลอะซัดเสีย
สุดท้ายการรุกของฝ่ายกบฏถูกหยุดยั้งในเดือนเมษายน 2556 เมื่อกองทัพอาหรับซีเรียสามารถจัดระเบียบใหม่และเริ่มการบุก ในวันที่ 17 เมษายน 2556 กำลังรัฐบาลพรรคบะอัษทะลวงแนวล้อมหกเดือนของฝ่ายกบฏใน Wadi al-Deif ใกล้อิดลิป มีรายงานการสู้รบอย่างหนักรอบเมืองบะบู Babuleen หลังทหารรัฐบาลพยายามเข้าควบคุมทางหลวงหลักซึ่งมุ่งสู่อะเลปโป การเจาะวงล้อมดังกล่าวยังทำให้กำลังพรรคบะอัษส่งกำลังบำรุงต่อฐานทัพหลักสองแห่งในพื้นที่ซึ่งต้องอาศัยการส่งทางอากาศประปราย[155] ในเดือนเมษายน 2556 กำลังรัฐบาลและฮิซบุลลอฮ์ซึ่งมีความพัวพันในการสู้รบมากขึ้นเรื่อย ๆ เปิดฉากการบุกเพื่อยึดพื้นที่ใกล้อัลกุสซัยร (al-Qusayr) วันที่ 21 เมษายน กำลังนิยมอะซัดยึดเมือง Burhaniya, Saqraja และ al-Radwaniya ใกล้ชายแดนเลบานอน[156]
ทว่าตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2556 สถานการณ์กลายเป็นเสมอ โดยการสู้รบในทุกแนวรบระหว่างกลุ่มแยกต่าง ๆ ดำเนินต่อโดยสูญเสียรี้พลไปเป็นจำนวนมากแต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงดินแดนที่สำคัญ วันที่ 28 มิถุนายน 2556 กำลังกบฏยึดด่านตรวจทหารสำคัญในนครดัรอา[157] ไม่นาน กลุ่มแยกฝ่ายค้านซีเรียประกาศสงครามต่อรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ซึ่งกลายมาครอบงำเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทั่วทั้งเขตสงครามโดยฆ่าไม่เลือกไม่ว่าภักดีต่ออะซัดหรือฝ่ายกบฏ มีการรุกใหญ่เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2556 เมื่อฝ่ายกบฏยึดฐานทัพอากาศเมนาจฮ์ (Menagh) หลังการล้อมนาน 10 เดือน วันที่ 21 สิงาหคม เกิดการโจมตีเคมีขึ้นในเขตกูตา (Ghouta) ชานกรุงดามัสกัส ทำให้มีผู้บาดเจ็บหลายพันคน และเสียชีวิตหลายร้อยคนในที่มั่นที่ฝ่ายค้านถือครองอยู่ การโจมตีดังกล่าวมีขึ้นก่อนรัฐบาลส่งกำลังทหารเข้าสู่พื้นที่ซึ่งเป็นที่กำเนิดของฝ่ายค้าน[158] การโจมตีดังกล่าวซึ่งส่วนใหญ่ถือว่ามาจากกำลังอะซัดทำให้ประชาคมนานาชาติมุ่งปลดอาวุธเคมีจากกองทัพอาหรับซีเรีย
ความตึงเครียดระหว่างกำลังกบฏสายกลางและ ISIS มีสูงตั้งแต่ ISIS ยึดเมืองชายแดนอะซัซ (Azaz) จากกำลังกองทัพซีเรียเสรีเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2556[159] ความขัดแย้งเหนืออะซัซกลับมาอีกในต้นเดือนตุลาคม[160] และในปลายเดือนพฤศจิกายน ISIS ยึดเมืองชายแดนอัตมะฮ์ (Atme) จากกองทัพซีเรียเสรี[161] วันที่ 3 มกราคม 2557 กองทัพมุญาฮีดีน กองทัพซีเรียเสรีและแนวร่วมอิสลามเปิดฉากการบุกต่อ ISIS ในเขตผู้ว่าการอเลปโปและอิดลิบ โฆษกฝ่ายกบฏกล่าวว่า กบฏโจมตี ISIS ใน 80% ของหมู่บ้านที่ ISIS ถือครองอยู่ในอิดลิบและ 65% ของหมู่บ้านในอะเลปโป[162]
วันที่ 6 มกราคม กบฏฝ่ายค้านจัดการขับกำลัง ISIS ออกจากนครรักกา ที่มั่นใหญ่สุดของ ISIS และเมืองหลวงของเขตผู้ว่าการอัรร็อกเกาะฮ์[163] วันที่ 8 มกราคม กบฏฝ่ายค้านขับกำลัง ISIS ส่วนใหญ่ออกจากนครอะเลปโป อย่างไรก็ดี กำลังเสริม ISIS จากเขตผู้ว่าการดัยรุซซูรจัดการยึดคืนหลายย่านของนครอัรร็อกเกาะฮ์[164] เมื่อถึงกลางเดือนมกราคม ISIS ยึดนครอัรร็อกเกาะฮ์คืนได้ทั้งหมด ส่วน ISIS ขับไล่นักรบ ISIS จากนครอะเลปโปและหมู่บ้านที่อยู่ทางตะวันตกของนคร
วันที่ 29 มกราคม อากาศยานตุรกีใกล้ชายแดนยิงใส่ขบวนรถ ISIS ใกล้จังหวัดอะเลปโป ฆ่านักรบ ISIS 11 คนและเอมีร์ 1 คน[165] ปลายเดือนมกราคม มีการยืนยันว่ากบฏลอบฆ่า Haji Bakr รองผู้บัญชาการของ ISIS ซึ่งเป็นประธานสภาทหารของอัลกออิดะฮ์และอดีตนายทหารในกองทัพของซัดดัม ฮุสเซน[166] เมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ แนวร่วมอัลนุสเราะเข้าร่วมรบสนับสนุนกำลังกบฏและขับ ISIS ออกจากเขตผู้ว่าการดัยรุซซูร[167] เมื่อถึงเดือนมีนาคม กำลัง ISIS ถอนทัพสมบูรณ์จากเขตผู้ว่าการอิดลิบ[168] วันที่ 4 มีนาคม ISIS ถอยจากเมืองชายแดน Azaz และหมู่บ้านใก้เคียง โดยเลือกประชุมกำลังรอบรักกาเพื่อเตรียมยกระดับการสู้รบกับอัลนุสเราะแทน[169]
วันที่ 4 มีนาคม กองทัพซีเรียเข้าควบคุมซาเฮล (Sahel) ในภูมิภาค Qalamoun[170] วันที่ 8 มีนาคม กำลังรัฐบาลยึดซาราในเขตผู้ว่าการฮอมส์ ขัดขวางเส้นทางกำลังบำรุงของกบฏจากเลบานอนยิ่งขึ้น[171] วันที่ 11 มีนาคม กำลังรัฐบาลและฮิซบุลลอฮ์เข้าควบคุมภูมิภาค Rima Farms ที่เผชิญหน้า Yabrud โดยตรง[172] วันที่ 18 มีนาคม อิสราเอลยิงปืนใหญ่ใส่ฐานทัพกองทัพซีเรีย หลังทหารสี่นายได้รับบาดเจ็บจากระเบิดข้างถนนขณะลาดตระเวนที่สูงโกลัน[173]
วันที่ 19 มีนาคม กองทัพซีเรียยึด Ras al-Ain ใกล้ Yabrud หลังการสู้รบสองวัน และ al-Husn ในเขตผู้ว่าการฮอมส์ ขณะกบฏในเขตผู้ว่าการดารายึดเรือนจำดาราและปล่อยผู้จำขังหลายร้อยคน[174][175] วันที่ 20 มีนาคม กองทัพซีเรียเข้าควบคุมครักเดเชอวาลีเยใน al-Husn[175] วันที่ 29 มีนาคม กองทัพซีเรียเข้าควบคุมหมู่บ้าน Flitah และ Ras Maara ใกล้ชายแดนกับเลบานอน[176]
วันที่ 22 มีนาคม กบฏเข้าควบคุมจุดผ่านแดน Kesab ในเขตผู้ว่าการอัลลาษิกียะฮ์[177] วันที่ 23 มีนาคม กบฏยึดส่วนใหญ่ของคอนชัยคูนในฮะมาฮ์[178] ระหว่างการปะทะใกล้จุดผ่านแดน Kesab ในลาษิกียะฮ์ Hilal Al Assad หัวหน้ากำลังป้องกันชาติ (ทหารอาสาสมัครนิยมรัฐบาล) ในลาษิกียะฮ์ และลูกพี่ลูกน้องคนหนึ่งของบัชชาร อัลอะซัดถูกนักรบฝ่ายกบฏฆ่า[179] วันที่ 4 เมษายน กบฏยึดเมือง Babulin ในเขตผู้ว่าการอิดลิบ[180] วันที่ 9 เมษายน กองทัพซีเรียเข้าควบคุม Rankous ในภูมิภาค Qalamoun[181] วันที่ 12 เมษายน กบฏในอะเลปโปบุกโจมตีย่านอุตสาหกรรม Ramouseh ที่รัฐบาลควบคุมอยู่เพื่อพยายามตัดเส้นทางส่งกำลังบำรุงของกองทัพระหว่างสนามบินและฐานทัพขนาดใหญ่ กบฏยังยึดย่าน Rashidin และบางส่วนของเขต Jamiat al-Zahra[182] วันที่ 26 เมษายน กองทัพซีเรียเข้าควบคุม Al-Zabadani[183] ข้อมูลของ SOHR ระบุว่า กบฏเข้าควบคุม Tell Ahrmar เขตผู้ว่าการอัลกุนัยฏิเราะฮ์[184] กบฏในดารายังยึดฐานทัพกองพลน้อย 61 และกองพันที่ 74[185]
วันที่ 26 เมษายน กองทัพซีเรียเสรีประกาศว่าเริ่มการบุกต่อ ISIS ในเขตผู้ว่าการรักกา และยึดห้าเมืองทางตะวันตกของนครอัรร็อกเกาะฮ์[186] วันที่ 29 เมษายน นักเคลื่อนไหวกล่าวว่า กองทัพซีเรียยึด Tal Buraq ใกล้เมือง Mashara ในกุนัยฏิเราะฮ์โดยไม่มีการปะทะใด ๆ[187] วันที่ 7 พฤษภาคม SOHR รายงานว่าการพักรบมีผลในนครฮอมส์ เงื่อนไขของความตกลงมีการอพยพอย่างปลอดภัยของนักรบอิสลามมิสต์จากนคร ซึ่งจะตกอยู่ใต้การควบคุมของรัฐบาล เพื่อแลกกับการปล่อยตัวนักโทษและเส้นทางปลอดภัยของความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมแก่ Nubul และ Zahraa ซึ่งเป็นดินแดนแทรกชีอะฮ์สองแห่งที่ถูกกบฏล้อมไว้[188] วันที่ 18 พฤษภาคม หัวหน้าการป้องกันภัยทางอากาศซีเรีย พลเอก Hussein Ishaq เสียชีวิตจากบาดแผลที่ได้รับระหว่างการโจมตีของกบฏต่อฐานทัพอากาศแห่งหนึ่งใกล้ Mleiha เมื่อวันก่อน ในเขตผู้ว่าการฮอมส์ กำลังกบฏเข้าควบคุมเมือง Tel Malah ฆ่านักรบนิยมอะซัด 34 คนที่จุดตรวจกองทัพแห่งหนึ่งใกล้เมือง การยึดเมืองนี้เป็นครั้งที่สามที่กบฏเข้าควบคุมเมือง[189]
ประเทศซีเรียจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีในพื้นที่ที่รัฐบาลาถือครองในวันที่ 3 มิถุนายน 2557 เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ซีเรียที่มีผู้ได้รับอนุญาตให้ลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีมากกว่าหนึ่งคน[190] มีการจัดสถานีลงคะแนนเสียงกว่า 9,000 แห่งในพื้นที่ที่รัฐบาลถือครอง[191] ตามข้อมูลของศาลรัฐธรรมนูญสูงสุดแห่งซีเรีย มีชาวซีเรียออกเสียง 11.63 ล้านคน (คิดเป็นผู้มาใช้สิทธิร้อยละ 73.42)[192] ประธานาธิบดีบัชชาร อัลอะซัดชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 88.7 ส่วนผู้ท้าชิง Hassan al-Nouri ได้คะแนนเสียงร้อยละ 4.3 และ Maher Hajjar ได้คะแนนเสียงร้อยละ 3.2[193] พันธมิตรของอะซัดจากกว่า 30 ประเทศได้รับเชิญจากรัฐบาลซีเรียให้ติดตามการเลือกตั้งประธานาธิบดี[194] รวมทั้งโบลิเวีย บราซิล คิวบา เอกวาดอร์ อินเดีย อิหร่าน อิรัก นิการากัว รัสเซีย แอฟริกาใต้ และเวเนซุเอลา[195] ข้าราชการอิหร่าน Alaeddin Boroujerdi อ่านถ้อยแถลงของกลุ่มกล่าวว่าการเลือกตั้งนั้น "อิสระ เป็นธรรมและโปร่งใส"[196] สภาความร่วมมืออ่าว สหภาพยุโรปและสหรัฐล้วนปฏิเสธการเลือกตั้งดังกล่าวว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นละครตลก[197]
ข้าราชการได้รับคำสั่งให้ออกเสียงลงคะแนนหรือต้องถูกสอบสวน[198] ในภาคสนามไม่มีผู้เฝ้าติดตามอิสระประจำ ณ จุดลงคะแนน[199] เนื่องจากการควบคุมดินแดนซีเรียของกบฏ เคิร์ดและ ISIS จึงไม่มีการออกเสียงลงคะแนนในพื้นที่ประมาณร้อยละ 60 ของประเทศ[200]
ผู้สังเกตการณ์สิทธิมนุษยชนซีเรียระบุเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2557 ว่า ISIS เข้าควบคุมบ่อน้ำมัน Shaar ฆ่ากำลังนิยมรัฐบาล 90 คนและเสียนักรบ 21 คน นอกจากนี้ ทหารยามและนักรบที่เข้ากับรัฐบาลยังสูญหายอีก 270 คน บุคคลของรัฐบาลประมาณ 30 คนสามารถหลบหนีไปบ่อ Hajjar ใกล้เคียงได้[201] วันที่ 20 กรกฎาคม กองทัพซีเรียยึดบ่อน้ำมันดังกล่าวได้ แม้ยังมีการสู้รบอยู่รอบนอก[202] วันที่ 25 กรกฎาคม รัฐอิสลามเข้าควบคุมฐานกองพล 17 ใกล้อัรร็อกเกาะฮ์[203]
วันที่ 7 สิงหาคม 2557 ISIL ยึดฐานกองพลน้อย 93 ในรักกาโดยใช้อาวุธที่ยึดจากการบุกในประเทศอิรัก มีระเบิดฆ่าตัวตายหลายครั้งก่อนการบุกฐาน[204] วันที่ 13 สิงหาคม กำลัง ISIL ยึดเมือง Akhtarin และ Turkmanbareh จากกบฏในอะเลปโป กำลัง ISIL ยังยึดหมู่บ้านใกล้เคียงจำนวนหนึ่ง เมืองอื่นที่ยึดได้แก่ Masoudiyeh, Dabiq และ Ghouz วันที่ 14 สิงหาคม หลังถูกแนวร่วมอัลนุสเราะจับได้ ผู้บัญชาการกองทัพซีเรียเสรี Sharif As-Safouri ยอมรับว่าทำงานร่วมกับอิสราเอลและได้รับอาวุธต่อสู้รถถังจากอิสราเอล และทหารกองทัพซีเรียเสรียังได้รับการรักษาทางการแพทย์ เป็นไปได้ว่าคำสารภาพนี้ได้มาภายใต้การขู่เข็ญว่าจะทำร้าย[205] วันที่ 14 สิงหาคม กองทัพซีเรียตลอดจนทหารอาสาสมัครฮิซบุลลอฮ์ยึดเมือง Mleiha ในเขตผู้ว่าการรีฟดิมัชก์ สภาทหารสูงสุดของ FSA ปฏิเสธข้ออ้างการยึด Mleiha แต่ระบุว่ากบฏมีการวางกำลังใหม่จากการบุกล่าสุดไปยังแนวป้องกันอื่น[206] Mleiha ถูกแนวร่วมอิสลามถือครอง กบฏใช้เมืองนี้ยิงปืนครกใส่พื้นที่ที่รัฐบาลถือครองในกรุงดามัสกัส[207][208]
ขณะเดียวกัน กำลัง ISIL ในร็อกเกาะฮ์ล้อมฐานทัพอากาศ Tabqa ฐานทัพสุดท้ายของรัฐบาลซีเรียในร็อกเกาะฮ์ ฐานทัพอากาศ Kuwaires ในอะเลปโปก็ถูก ISIL โจมตีหนักเช่นกัน[209] วันที่ 16 สิงหาคม 2557 มีรายงานว่ามีผู้เสียชีวิต 22 คนในหมู่บ้านดาราจากเหตุระเบิดรถยนต์นอกมัสยิด คาดว่า ISIS เป็นผู้จุดระเบิด วันเดียวกัน รัฐอิสลามยึดหมู่บ้าน Beden ในเขตผู้ว่าการอะเลปโปจากกบฏ[210]
วันที่ 17 สิงหาคม 2557 SOHR กล่าวว่าในสองสัปดาห์ที่ผ่านมา นักรบญิฮัด ISIL ฆ่าสมาชิกเผ่าในเขตผู้ว่าการดัยรุซซูรกว่า 700 คน[211] วันที่ 19 สิงหาคม Abu Abdullah al-Iraqi สมาชิกอาวุโสใน ISIL ที่ช่วยเตรียมการและวางแผนระเบิดรถยนต์และระเบิดฆ่าตัวตายทั่วประเทศซีเรีย เลบานอนและอิรักถูกฆ่า บางรายงานว่าเขาถูกนักรบฮิซบอลเลาะฮ์ฆ่า นอกจากนี้ยังมีหลายรายงานระบุว่าเขาถูกกองทัพซีเรียฆ่าในภูมิภาค Qalamoun ใกล้ชายแดนเลบานอน[212]
ในร็อกเกาะฮ์ กองทัพซีเรียเข้าควบคุมเมือง Al-Ejeil;[213] มีรายงานว่า ISIL ส่งกำลังเสริมจากอิรักสู่เขตผู้ว่าการร็อกเกาะฮ์ SOHR กล่าวว่านักรบ ISIL อย่างน้อย 400 คนได้รับบาดเจ็บจากการปะทะห้าวันกับกองทัพซีเรียและกำลังป้องกันชาติในร็อกเกาะฮ์ที่เดียว[213][214] ขณะเดียวกัน ข้าราชการระดับสูงของสหราชอาณาจักรและสหรัฐกระตุ้นตุรกีให้หยุดอนุญาตให้ ISIL เดินทางข้ามพรมแดนไปซีเรียและอิรัก[215] ในช่วงนี้เองสหรัฐตระหนักว่าตุรกีไม่มีเจตจำนงปิดชายแดนฝั่งตน ฉะนั้นรัฐบาลจึงตัดสินใจทำงานร่วมกับเคิร์ดซีเรียเพื่อปิดชายแดนฝั่งซีเรีย[216] ปีต่อมา เมื่อเคิร์ดควบคุมพรมแดนตุรกี–ซีเรียได้เป็นส่วนใหญ่ และกองทัพซีเรียรุกคืบภายใต้การสนับสนุนทางอากาศของรัสเซียเพื่อปิดชายแดนที่เหลือ สถานการณ์จึงก่อให้เกิดความรบกวนอย่างมากในกรุงอังการา[217]
วันที่ 26 สิงหาคม 2557 กองทัพอากาศซีเรียดำเนินการโจมตีทางอากาศต่อ ISIL ในเขตผู้ว่าการดัยรุซซูร เป็นครั้งแรกที่กองทัพซีเรียโจมตีในดัยรุซซูรขณะที่กองทัพซีเรียถอนกำลังออกจากร็อกเกาะฮ์แล้วเบนไปยังดัยรุซซูรเนื่องจากทรัพยากรน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ ตลอดจนการแบ่งแยกดินแดนของ ISIL ตามยุทธศาสตร์[218] เครื่องบินเจ็ตอเมริกันเริ่มทิ้งระเบิด ISIL ในซีเรียเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2557 เพิ่มระดับความพัวพันของสหรัฐในซีเรีย กลุ่ม SOHR รายงานว่ามีเป้าหมายในและรอบร็อกเกาะฮ์ถูกถล่มอย่างน้อย 20 จุด ประเทศที่เข้าร่วมการโจมตีกับสหรัฐได้แก่ บาห์เรน ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์และจอร์แดน[219]
อากาศยานสหรัฐรวมทั้งเครื่องบินทิ้งระเบิดบี-1, เอฟ-16, เอฟ-18 และพรีเดเตอร์โดรน โดยเอฟ-18 ดำเนินภารกิจบินจากยูเอสเอส จอร์จ เอช.ดับเบิลยู. บุช (ซีวีเอ็น-77) ในอ่าวเปอร์เซีย มีการยิงขีปนาวุธโทมาฮอว์กจากเรือพิฆาต ยูเอสเอส อาร์เลห์ เบิร์ก (ดีดีจี-51) ในทะเลแดง กระทรวงการต่างประเทศซีเรียบอกแอสโซซิเอเต็ดเพรสว่า สหรัฐแจ้งทูตซีเรียประจำยูเอ็นว่า "จะเปิดฉากโจมตีต่อกลุ่มก่อการร้ายในร็อกเกาะฮ์"[220] สหรัฐแจ้งกองทัพซีเรียเสรีถึงการโจมตีทางอากาศดังกล่าวล่วงหน้า และกบฏกล่าวว่าเริ่มการโอนอาวุธให้กองทัพซีเรียเสรีแล้ว[221] สหรัฐยังโจมตีกลุ่มแยกบางกลุ่มของอัลนุสเราะชื่อกลุ่มโคราซัน (Khorasan) ซึ่งสหรัฐระบุว่ามีค่ายฝึกและแผนโจมตีสหรัฐในอนาคต[222] ตุรกียื่นคำร้องอย่างเป็นทางการต่อยูเอ็นให้ตั้งเขตห้ามบินเหนือประเทศซีเรีย[223] วันเดียวกัน อิสราเอลยิงเครื่องบินรบซีเรียตกหลังล้ำเข้าพื้นที่โกลันจากอัลกุนัยฏิเราะฮ์[224]
วันที่ 3 ตุลาคม 2557 กำลัง ISIS ยิงปืนใหญ่ถล่มนครโคบานีอย่างหนักและอยู่ในระยะหนึ่งกิโลเมตรจากนคร[225] ภายใน 36 ชั่วโมงหลังวันที่ 21 ตุลาคม กองทัพอากาศซีเรียดำเนินการโจมตีทางอากาศกว่า 200 ครั้งทั่วประเทศซีเรียและเครื่องบินเจ็ตสหรัฐและอาหรับโจมตีที่ตั้ง IS รอบโคบานี รัฐมนตรีสารสนเทศซีเรีย Omran al-Zoubi กล่าวว่า กำลัง YPG ในโคบานีได้รับการจัดหาการสนับสนุนทางทหารและลอจิสติกส์[226] ซีเรียรายงานว่ากองทัพอากาศของตนทำลายเครื่องบินรบเจ็ตสองลำที่ IS ปฏิบัติการ[227] วันที่ 26 มกราคม YPG เคิร์ดบีบให้ ISIL ล่าถอยออกจากโคบานี[228] จึงควบคุมนครได้อีกครั้ง[229]
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2557 มีการตั้งแนวรบใต้ของกองทัพซีเรียเสรีในภาคใต้ของซีเรีย หกเดือนต่อมา เริ่มได้ชัยในดัรอาและอัลกุนัยฏิเราะฮ์ ระหว่างการบุกอัลกุนัยฏิเราะฮ์, ยุทธการที่ Al-Shaykh Maskin, ยุทธการที่บอสรา (2558), และยุทธการที่จุดผ่านแดน Nasib การรุกโต้ตอบของรัฐบาลในช่วงนี้ซึ่งมีเหล่าพิทักษ์การปฏิวัติอิสลาม (ของอิหร่าน) และฮิซบุลลอฮ์ยึดเมือง หมู่บ้านและเขาได้ 15 แห่ง แต่หลังจากนั้นก็หยุดลง ตั้งแต่ต้นปี 2558 ห้องปฏิบัติการทางทหารของฝ่ายค้านในจอร์แดนและตุรกีเริ่มประสานงานกันมากขึ้น โดยมีรายงานว่าซาอุดีอาระเบียและกาตาร์ตกลงกันถึงความจำเป็นในการสร้างเอกภาพของกลุ่มแยกฝ่ายค้านต่อรัฐบาลซีเรีย[230]
ปลายเดือนตุลาคม 2557 เกิดความขัดแย้งระหว่างแนวร่วมอัลนุสเราะฝ่ายหนึ่งและ SRF และขบวนการฮาซัม (Hazzm) ที่ตะวันตกสนับสนุนอีกฝ่ายหนึ่ง ปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2558 อัลนุสเราะพิชิตทั้งสองกลุ่ม ยึดภูมิภาคภูเขา Zawiya ทั้งหมดในเขตผู้ว่าการอิดลิบ และเมืองและฐานทัพหลายแห่งในเขตผู้ว่าการอื่น และยึดอาวุธที่ซีไอเอจัดหาให้กลุ่มสายกลางสองกลุ่มดังกล่าว[231] อาวุธปริมาณมากที่ยึดได้รวมทั้งขีปนาวุธต่อสู้รถถังบีจีเอ็ม-71 คล้ายกับระบบอาวุธของอัลนุสเราะที่ยึดได้จากคลังของรัฐบาลก่อนหน้านี้ เช่น มิลานฝรั่งเศส, เอชเจ-8 ของจีน และ 9เค111 ฟากอตของรัสเซีย[232] รอยเตอส์รายงานว่านี่เป็นตัวแทนของอัลนุสเราะบดขยี้กบฏนิยมตะวันตกในภาคเหนือของประเทศ[233] ทว่า ผู้บัญชาการ FSA ในซีเรียตอนเหนือระบุว่า การกำจัด Harakat Hazm และ SRF เป็นสถานการณ์น่ายินดีเพราะผู้นำของกลุ่มแยกเหล่านี้ถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับการฉ้อราษฎร์บังหลวง[234] กองพลที่ 30 ของ FSA ที่ตะวันตกสนับสนุนยังปฏิบัติการอยู่ที่อื่นในอิดลิบ[235]
จนถึงวันที่ 24 มีนาคม 2558 แนวร่วมอัลนุสเราะครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของเขตผู้ว่าการอิดลิบ ยกเว้นอิดลิบ เมืองหลวงของเขตที่รัฐบาลควบคุมอยู่ ซึ่งพวกเขาตีวงล้อมสามด้านร่วมกับพันธมิตรอิสลามิสต์[236] ฉะนั้น พวกเขาจึงเข้ากันตั้งกองทัพพิชิตดินแดน (Army of Conquest) ในวันนี้[237] วันที่ 28 มีนาคม กองทัพพิชิตดินแดนยึดอิดลิบ[238] ทำให้ภาคเหนือถูกอะห์รัรอัชชาม แนวร่วมอัลนุสเราะและกบฏอิสลามิสต์อื่นควบคุม เหลือภาคใต้ของประเทศเป็นที่มั่นสำคัญสุดท้ายของนักรบฝ่ายค้านที่มิใช่ญิฮัด[239]
วันที่ 22 เมษายน มีการเปิดฉากการบุกรอบใหม่ของกบฏในภาคตะวันตกเฉียงเหนือ และในวันที่ 25 เมษายน แนวร่วมกบฏกองทัพพิชิตดินแดนยึดนคร Jisr al-Shughur[240] เมื่อปลายเดือนถัดมา กบฏยังยึดฐานทัพ Al-Mastumah[241] และ Ariha ทำให้กำลังรัฐบาลควบคุมวงล้อมเล็ก ๆ ในอิดลิบ รวมทั้งสนามบินทหาร Abu Dhuhur[242] นอกจากนั้น ตามข้อมูลของชาลส์ ลิสเตอร์ แนวร่วมกองทัพพิชิตดินแดนเป็นความพยายามของฝ่ายค้านกว้างขวางเพื่อรับประกันว่าแนวร่วมอัลนุสเราะที่มีความสัมพันธ์กับอัลกออิดะฮ์ถูกควบคุม โดยมีการเกี่ยวข้องเป็นกองหลังของกลุ่มแยกที่ตะวันตกสนับสนุนถือว่ามีความสำคัญ[234] กระนั้น บางคนว่า FSA ในภาคเหนือของซีเรียหมดไปเกือบทั้งสิ้นแล้ว นักรบสายกลางจำนวนมากเข้ากับองค์การที่สุดโต่งกว่า อย่างอะห์รัรอัชชาม กลุ่มแยกใหญ่สุดของกองทัพพิชิตดินแดน ซึ่งนำไปสู่ความเจริญของแนวร่วมกองทัพพิชิตดินแดนอิสลามิสต์[243]
การรุกของกบฏทำให้ขวัญกำลังใจของรัฐบาลและฮิซบุลลอฮ์ตกต่ำ[244] ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของซีเรีย การเสียเหล่านี้ได้การบุกที่ฮิซบุลลอฮ์เป็นผู้นำในเทือกเขา Qalamoun ทางเหนือของกรุงดามัสกัสติดชายแดนเลบานอน มาชดเชย ทำให้ฮิซบุลลอฮ์ควบคุมบริเวณดังกล่าวได้ทั้งหมด[245]
วันที่ 21 พฤษภาคม ISIL เข้าควบคุมแพลไมรา แหล่งมรดกโลกของยูเนสโก หลังการสู้รบแปดวัน[246] ISIL ยังยึดเมืองใกล้เคียง Al-Sukhnah และ Amiriya ได้ ตลอดจนบ่อน้ำมันหลายแห่ง[247] หลัการยึดพัลไมรา ISIL สังหารหมู่ในบริเวณนั้น ฆ่าผู้สนับสนุนรัฐบาลที่เป็นพลเรือนและทหารประมาณ 217–329 คนตามข้อมูลของนักเคลื่อนไหวฝ่ายค้าน[248] แหล่งข่าวของรัฐบาลระบุเลขไว้ระหว่าง 400–450 คน[249] ในต้นเดือนมิถุนายน ISIL ถึงเมือง Hassia ซึ่งตั้งอยู่บนถนนหลักจากกรุงดามัสกัสถึงฮอมส์และอัลลาษิกียะฮ์ และมีรายงานว่ายึดที่มั่นทางตะวันตกของเมือง ทำให้อาจเป็นภัยพิบัติต่อรัฐบาลและเพิ่มภัยคุกคามต่อเลบานอนถูกดึงเข้าสู่สงครามด้วย[250]
วันที่ 25 มิถุนายน ISIL เปิดฉากการบุกสองครั้ง ครั้งหนึ่งเป็นการโจมตีเบี่ยงเบนแบบจู่โจมต่อโคบานี ส่วนครั้งที่สองเป็นนครอัลฮะซะกะฮ์ส่วนที่รัฐบาลควบคุมอยู่[251] การบุกของ ISIL ต่ออัลฮะซะกะฮ์ทำให้มีผู้พลัดถิ่น 60,000 คน โดยยูเอ็นประมาณการว่าอาจมีผู้พลัดถิ่นทั้งสิ้น 200,000 คน[252] ในเดือนกรกฎาคม 2558 การตีโฉบฉวยของกำลังพิเศษสหรัฐต่อสถานที่พักของ "หัวหน้าเจ้าหน้าที่การเงิน" ของรัฐอิสลาม อะบู ซัยยัฟ (Abu Sayyaf) พบหลักฐานว่าข้าราชการตุรกีติดต่อกับสมาชิก ISIS ระดับสูงโดยตรง[253]
ISIS ยึดนครกัรยาตัยน์ (Qaryatayn) จากรัฐบาลเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2558[254] ออสเตรเลียเข้าร่วมการทิ้งระเบิด ISIL ในซีเรียในกลางเดือนกันยายน ซึ่งเป็นการขยายความพยายามของพวกตนในอิรักเมื่อปีที่แล้ว[255] วันที่ 2 สิงหาคม ข้าราชการสหรัฐแจ้งรอยเตอส์ว่าสหรัฐตัดสินใจ "อนุญาตการโจมตีทางอากาศเพื่อช่วยป้องกันการโจมตีใด ๆ ต่อกบฏซีเรียที่สหรัฐฝึก แม้ผู้โจมตีมาจากกำลังที่ภักดีต่อประธานาธิบดีซีเรียบัชชาร อัลอะซัด" วันต่อมากระทรวงกลาโหมสหรัฐประกาศว่าจะบินภารกิจโดรนติดอาวุธไม่มีคนควบคุมในซีเรียครั้งแรก[256]
วันที่ 30 กันยายน 2558[257] กำลังห้วงอากาศ-อวกาศรัสเซียเริ่มการทัพโจมตีทางอากาศต่อทั้ง ISIL และ FSA ที่ต่อต้านอะซัด[258] เพื่อสนองตอบคำขออย่างเป็นทางการของรัฐบาลซีเรีย[259] ทีแรกการโจมตีมาจากอากาศยานรัสเซียที่ประจำอยู่ที่ฐาน Khmeimim ในประเทศซีเรียอย่างเดียว ไม่นานหลังจากรัสเซียเริ่มปฏิบัติการ มีรายงานว่าประธานาธิบดีสหรัฐ บารัก โอบามา อนุญาตการส่งกำลังบำรุงแก่เคิร์ดซีเรียและฝ่ายค้านอาหรับ-ซีเรีย ม่รายงานว่าโอบามาเน้นทีมของเขาว่าสหรัฐจะสนับสนุนฝ่ายค้านซีเรียต่อไปเมื่อบัดนี้รัสเซียเข้าร่วมความขัดแย้งแล้ว[260]
วันที่ 7 ตุลาคม 2558 ข้าราชการรัสเซียกล่าวว่าเรือจากกองเรือแคสเปียนยิงขีปนาวุธร่อนจากทะเล 26 ลูกใส่เป้าหมาย ISIL 11 แห่งในประเทศซีเรียวันเดียวกันก่อนหน้านี้ โดยไม่มีพลเรือนเสียชีวิต[261] วันเดียวกัน รัฐบาลซีเรียเปิดฉากการบุกซีเรียภาคตะวันตกเฉียงเหนือ[262] ในอีกไม่วันสามารถยึดคืนดินแดนบางส่วนในเขตผู้ว่าการฮะมาฮ์เหนือ[263] วันที่ 8 ตุลาคม 2558 สหรัฐประกาศการสิ้นสุดของโครงการฝึกและติดอาวุธกบฏซีเรีย 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐอย่างเป็นทางการ และยอมรับว่าโครงการล้มเหลว[264] ทว่า โครงการลับอื่นที่มีขนาดใหญ่ของซีเรียในการติดอาวุธนักรบต่อต้านรัฐบาลในประเทศซีเรียยังดำเนินต่อ[265]
สองสัปดาห์หลังเริ่มการทัพรัสเซียในประเทศซีเรีย เดอะนิวยอร์กไทมส์ เขียนความเห็นว่าผู้บังคับบัญชาต่อต้านรัฐบาลได้รับกำลังบำรุงขีปนาวุธต่อสู้รถถังที่ผลิตในสหรัฐอย่างมาก และรัสเซียเพิ่มจำนวนการโจมตีทางอากาศต่อฝ่ายค้านช่วยเสริมขวัญกำลังใจของทั้งสองฝ่าย ขยายวัตถุประสงค์ของสงครามและยิ่งส่งเสริมฐานะทางการเมือง ความขัดแย้งนี้กลายเป็นสงครามตัวแทนเต็มขั้นระหว่างสหรัฐและรัสเซีย[266] แม้มีทหารอิหร่านระดับสูงที่แนะนำนักรบในประเทศซีเรียเสียชีวิตหลายคน[267] แต่ในกลางเดือนตุลาคม การบุกของรัสเซีย-ซีเรีย-อิหร่าน-ฮิซบุลลอฮ์ที่มีเป้าหมายต่อกบฏในอะเลปโปเดินหน้าต่อ[267]
ปลายเดือนตุลาคม 2558 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐ แอชตัน คาร์เตอร์ ส่งสัญญาณการเปลี่ยนยุทธศาสตร์ของการทัพที่สหรัฐเป็นผู้นำโดยระบุว่าจะมีการโจมตีทางอากาศมากขึ้นและพิจารณาการใช้การตีโฉบฉวยทางบกโดยตรง และการสู้รบในประเทศซีเรียเน้นส่วนใหญ่ต่ออัรร็อกเกาะฮ์ วันที่ 30 ตุลาคม และอีกสองสัปดาห์ต่อมา มีการจัดการเจรจาสันติภาพในกรุงเวียนนาที่มีสหรัฐ รัสเซีย ตุรกีและซาอุดีอาระเบียเป็นผู้ริเริ่ม วันที่ 30 ตุลาคม ประเทศอิหร่านเข้าร่วมการเจรจาครั้งแรกต่อการระงับข้อพิพาทซีเรีย ประเทศผู้เข้าร่วมเห็นไม่ตรงกันเรื่องอนาคตของบัชชาร อัลอะซัด
วันที่ 10 พฤศจิกายน 2558 กำลังรัฐบาลซีเรียสำเร็จปฏิบัติการตีฝ่าวงล้อมฐานทัพอากาศ Kweires ของรัฐอิสลามในเขตผู้ว่าการอะเลปโป ซึ่งถูกล้อมมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2556;[268] กลางเดือนพฤศจิกายน 2558 ในห้วงเหตุเครื่องบินรัสเซียระเบิดเหนือซีนายและเหตุโจมตีในกรุงปารีส ทั้งรัสเซียและฝรั่งเศสเพิ่มระดับการโจมตีในประเทศซีเรียอย่างสำคัญ โดยฝรั่งเศสประสานงานใกล้ชิดกับกองทัพสหรัฐ[269] วันที่ 17 พฤศจิกายน ปูตินกล่าวว่าตนออกคำสั่งให้เรือลาดตระเวน มอสควา ที่อยู่ในเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออกนับแต่เริ่มปฏิบัติการรัสเซียให้ "ทำงานเหมือนกับเป็นพันธมิตร"[270][271][272] กับกลุ่มกองทัพเรือฝรั่งเศสที่มีเรือธง ชาลส์ เดอ โกล นำซึ่งออกเดินทางสู่เมดิเตอร์เรเนียนตะวันออกนับแต่ต้นเดือนพฤศจิกายน[273] ไม่นานจากนั้น ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐวิจารณ์ท่าทีต่อต้านอะซัดแข็งกร้าวของฝรั่งเศสเช่นเดียวกับการโจมตีทางอากาศต่อสิ่งก่อสร้างน้ำมันและแก๊สในประเทศซีเรีย[274] ซึ่งดูเหมือนเป็นไปเพื่อป้องกันสถานที่เหล่านั้นมิให้ตกอยู่ในการควบคุมของรัฐบาลซีเรีย ข้าราชการคนดังกล่าวชี้ว่าการโจมตีของฝรั่งเศสไม่มีความชอบธรรมเพราะดำเนินการโดยปราศจากความยินยอมของรัฐบาลซีเรีย[275] วันที่ 14 พฤศจิกายน ประธานาธิบดีบัชชาร อัลอะซัดวิจารณ์การกระทำของฝรั่งเศสและชาติตะวันตกอื่นต่อรัฐบาลซีเรียโดยแนะว่าการสนับสนุนกำลังฝ่ายค้านซีเรีของฝรั่งเศสนำสู่การโจมตีที่รัฐอิสลามอ้างในกรุงปารีส[276]
วันที่ 19 พฤศจิกายน 2558 ประธานาธิบดีสหรัฐบารัก โอบามากล่าวถึงกระบวนการกรุงเวียนนา กล่าวว่าเขาไม่สามารถ ""พยากรณ์สถานการณ์ที่เราสามารถยุติสงครามกลางเมืองในประเทศซีเรียขณะที่อะซัดยังครองอำนาจ" เขากระตุ้นให้รัสเซียและอิหร่านยุติการสนับสนุนรัฐบาลซีเรีย[277] วันที่ 20 พฤศจิกายน 2558 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ แม้ไม่สามารถอ้างบทที่ 7 ของยูเอ็นซึ่งให้อำนาจทางกฎหมายเฉพาะสำหรับการใช้กำลัง[278] แต่ผ่านข้อมติที่ 2249 ซึ่งกระตุ้นสมาชิกยูเอ็นให้เพิ่มและประสานงานความพยายามของสมาชิกเพื่อป้องกันและปราบปราม ISIL และบุคคลหรือกลุ่มที่เข้าร่วมกับอัลกออิดะฮ์และกลุ่มก่อการร้ายอื่น [279]
วันที่ 24 พฤศจิกายน 2558 ประเทศตุรกียิงเครื่องบินรบรัสเซียที่อ้างว่าละเมิดน่านฟ้าตุรกีตกในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศซีเรีย ทำให้นักบินซีเรียเสียชีวิต 1 นาย[280] หลังเกิดเหตุมีรายงานว่ากบฏเติร์กเมนซีเรียจากกองพลน้อยเติร์กเมนซีเรียโจมตีและยิงเฮลิคอปเตอร์กู้ภัยรัสเซียตก ทำให้มีทหารเรือรัสเซียเสียชีวิต 1 นาย[280] ไม่กี่วันถัดมา มีรายงานว่าอากาศยานรัสเซียโจมตีเป้าหมายในเมือง Ariha ในเขตผู้ว่าการอิดลิบซึ่งถูกกองทัพพิชิตดินแดนควบคุมทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายคน[281][282] วันที่ 2 ธันวาคม 2558 รัฐสภาสหราชอาณาจักรลงมติให้ขยายปฏิบัติการเชเดอร์เข้าสู่ซีเรียด้วยฝ่ายข้างมาก 397–223[283] รัฐมตนรีกลาโหม ไมเคิล ฟัลลอนกล่าวว่าการโจมตีถูกบ่อน้ำมันโอมาร์ในภาคตะวันออกของซีเรีย และมีการส่งเครื่องบินเจ็ตอีกแปดเครื่องไปยัง RAF Akrotiri สมทบกับอีกแปดเครื่องที่อยู่ที่นั่นแล้ว[284]
วันที่ 7 ธันวาคม 2558 รัฐบาลซีเรียประกาศว่าเครื่องบินรบของแนวร่วมที่มีสหรัฐเป็นผู้นำยิงขีปนาวุธเก้าลูกใส่ฐานทัพแห่งหนึ่งใกล้ Ayyash เขตผู้ว่าการดัยรุซซูรเมื่อเย็นวาน ทำให้มีทหารเสียชีวิต 3 นายและได้รับบาดเจ็บอีก 13 นาย พาหนะหุ้มเกราะ 3 คัน, พาหนะทหาร 4 คัน, ปืนกลหนักและคลังอาวุธและเครื่องกระสุนถูกทำลายด้วย[285] รัฐบาลประณามการโจมตีดังกล่าว เป็นครั้งแรกที่กำลังรัฐบาลถูกแนวร่วมตะวันตกโจมตี[286] ถือเป็นการกระทำ "ก้าวร้าวซึ่งหน้า" โฆษกแนวร่วมปฏิเสธว่าแนวร่วมรับผิดชอบ[285] วันที่ 14 ธันวาคม 2558 สื่อข่าวรัฐบาลรัสเซียรายงานว่ากำลังรัฐบาลซีเรียยึดฐานทัพอากาศ Marj al-Sultan ทางตะวันออกของกรุงดามัสกัสซึ่งถูกกลุ่มญัยชุลอิสลามยึดคืนได้[287]
ข้อมติยูเอ็นที่ 2254 วันที่ 18 ธันวาคม 2558 ซึ่งสนับสนุนแผนเปลี่ยนผ่านของกลุ่มสนับสนุนซีเรียระหว่างประเทศ (International Syria Support Group) แต่ไม่ระบุว่าผู้ใดจะเป็นผู้แทนของฝ่ายค้านซีเรีย และประณามกลุ่มก่อการร้ายอย่าง ISIL และอัลกออิดะฮ์ แต่ไม่ระบุบทบาทในอนาคตของประธานาธิบดีบัชชาร อัลอะซัด[288]
วันที่ 12 มกราคม 2559 รัฐบาลซีเรียประกาศว่ากองทัพและกำลังพันธมิตร "ควบคุมอย่างสมบูรณ์" ซึ่งเมืองที่ตั้งยุทธศาสตร์ Salma ในเขตผู้ว่าการอัลลาษิกียะฮ์ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ และรุกขึ้นเหนือต่อ[289] วันที่ 16 มกราคม 2559 นักรบ ISIL เปิดฉากตีโฉบฉวยต่อพื้นที่ที่รัฐบาลถือครองในนครดัยรุซซูร ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากถึง 300 คน[290] มีรายงานว่าการตีโต้ตอบโดยเครื่องบินขับไล่เจ็ตกองทัพอากาศรัสเซียเพื่อสนับสนุนกองทัพซีเรียยึดพื้นที่คืน[291]
วันที่ 21 มกราคม 2559 มีรายงานกิจกรรมของรัสเซียซึ่งสันนิษฐานว่ากำลังตั้งฐานใหม่ในท่าอากาศยาน Kamishly ที่รัฐบาลควบคุมครั้งแรก[292][293] เมือง Qamishli ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในเขตผู้ว่าการอัลฮะซะกะฮ์ส่วนใหญ่อยู่ในการควบคุมของเคิร์ดซีเรียนับแต่เริ่มต้นความขัดแย้งเคิร์ดซีเรีย–อิสลามิสต์ในเขตผู้ว่าการอัลฮะซะกะฮ์ในเดือนกรกฎาคม 2556 มีการสงสัยกิจกรรมคล้ายกันของกองทัพสหรัฐในฐานทัพอากาศ Rmeilan ห่างจากท่าอากาศยาน Kamishly 50 กิโลเมตร พื้นที่ดังกล่าวถูกหน่วยคุ้มครองประชาชนเคิร์ด (YPG) ที่สหรัฐสนับสนุนควบคุม[293][294] วันที่ 24 มกราคม 2559 รัฐบาลซีเรียประกาศว่ากำลังของตนยึดเมืองราเบีย เมืองสำคัญสุดท้ายที่กบฏถือครองในเขตผู้ว่าการอัลลาษิกียะฮ์สำเร็จ มีการกล่าวว่ากำลังรัสเซียมีบทบาทสำคัญในการยึดเมืองคืน กล่าวกันว่าการยึดราเบียคุกคามเส้นทางกำลังบำรุงจากประเทศตุรกี[295][296] วันที่ 26 มกราคม 2559 รัฐบาลซีเรียสถาปนา "การควบคุมสมบูรณ์" เหนือเมือง Al-Shaykh Maskin ในเขตผู้ว่าการดัรอา[297] ฉะนั้นจึงสำเร็จปฏิบัติการที่เริ่มเมื่อปลายเดือนธันวาคม 2558 อัลญะซีเราะฮ์ถือว่าการยึดเมืองคืนของรัฐบาลซีเรียนี้เป็น "การพลิกกระแสในสงครามซีเรีย"[298]
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติรับข้อมติที่ 2268 อย่างเป็นเอกฉันท์ที่สนับสนุนข้อตกลงที่สหรัฐ-รัสเซียเป็นนายหน้าก่อนหน้านี้ว่าด้วย "การยุติความเป็นปรปักษ์"[299] การหยุดยิงเริ่มเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 00:00 (เวลาดามัสกัส)[300] การหยุดยิงไม่รวมการโจมตีต่อองค์การก่อการร้ายที่ยูเอ็นกำหนด[301][302] เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2559 แม้มีการปะทะบ้างประปราย แต่มีรายงานว่าการพักรบยังมีผล[303] เมื่อปลายเดือนมีนาคม กำลังรัฐบาลซีเรียด้วยการสนับสนุนจากรัสเซียและอิหร่านยึดแพลไมราคืนจาก ISIL สำเร็จ[304]
เมื่อต้นเดือนกรกฎาคม 2559 กล่าวกันว่าการพักรบไม่มีผลมากแล้ว ความรุนแรงยกระดับขึ้นอีกครั้ง และการสู้รบระหว่างภาคีหลักของความขัดแย้งดำเนินต่อ[305] ปลายเดือนกรกฎาคม 2559 การสู้รบระหว่างรัฐบาลและกบฏอิสลามิสต์ในและรอบอะเลปโปทวีความรุนแรง
วันที่ 12 สิงหาคม 2559 กำลังประชาธิปไตยซีเรียยึดมันบิจคืนจาก ISIL อย่างสมบูรณ์ หลายวันต่อมา SDF ประกาศการบุกรอบใหม่ต่ออัลบับ (Al-Bab)[306] ซึ่งสุดท้ายจะเชื่อมภูมิภาคเคิร์ดในภาคเหนือของซีเรีย
หลายวันต่อมา ยุทธการที่อัลฮะซะกะฮ์เริ่มต้น วันที่ 22 สิงหาคม หลัง YPG เคิร์ดยึด Ghwairan ซึ่งเป็ยย่านอาหรับสำคัญแห่งเดียวในฮะซะกะฮ์ซึ่งอยู่ในมือของรัฐบาล เปิดฉากการบุกใหญ่เพื่อยึดพื้นที่ที่รัฐบาลควบคุมในนครฮะซะกะฮ์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของซีเรีย หลังทีมไกล่เกลี่ยรัสเซียไม่สามารถประสานรอยร้าวระหว่างทั้งสองฝ่าย[307] วันต่อมา การยึดนครสำเร็จ[308] ไม่กี่วันก่อนหน้านั้น กระทรวงกลาโหมสหรัฐแนะนำรัฐบาลซีเรียไม่ให้ "แทรกแซงกับกำลังแนวร่วมหรือผู้ให้ความร่วมมือของเรา" ในภูมิภาคนั้น โดยเสริมว่าสหรัฐมีสิทธิป้องกันทหารของตน[309]
วันที่ 24 สิงหาคม 2559 กองทัพตุรกีบุกครองพื้นที่ Jarabulus ที่ ISIL ควบคุม เปิดฉากปฏิบัติการยูเฟรตีสชีลด์ ซึ่งประธานาธิบดีตุรกีเรเจป ไตยิป แอร์โดอันแถลงว่ามุ่งเป้าต่อทั้ง "กลุ่มก่อการร้ายที่คุกคามประเทศของเราในภาคเหนือของซีเรีย"[310] IS และเคิร์ด รัฐบาลซีเรียประณามการแทรกแซงดังกล่าวว่าเป็นการละเมิดอำนาจอธิปไตยอย่างโจ่งแจ้ง และว่าการต่อสู้การก่อการร้ายไม่ได้กระทำโดยขับ ISIS ออกแล้วแทนที่ด้วยกลุ่มก่อการร้ายอื่นที่ตุรกีหนุนหลังโดยตรง[311] Salih Muslim ผู้นำ PYD ระบุว่าขณะนี้ตุรกีอยู่ใน "หล่มซีเรีย" และจะแพ้เหมือน IS[310][312] รองประธานาธิบดีสหรัฐ โจ ไบเดน สนับสนุนท่าทีของตุรกีทางอ้อมและกล่าวว่าสหรัฐเคยแสดงออกชัดเจนต่อกำลังเคิร์ดซีเรียแล้วว่าพวกเขาควรย้ายไปฝั่งตะวันออกของแม่น้ำยูเฟรตีส หรือเสียการสนับสนุนจากสหรัฐ[313]
เมื่อทหารตุรกีและกบฏซีเรียที่เข้ากับตุรกีเข้าควบคุม Jarablus แล้วเคลื่อนลงใต้สู่เมืองมันบิจของซีเรีย พวกเขาปะทะกับ YPG เคิร์ด ซึ่งทำให้ข้าราชการสหรัฐแสดงความกังวลและออกคำเตือนแก่ทั้งสองฝ่าย วันที่ 29 สิงหาคม รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐ แอช คาร์เตอร์ เจาะจงว่าสหรัฐไม่สนับสนุนการบุกของตุรกีไปใต้กว่า Jarablus คำเตือนตลอดจนประกาศหยุดยิงเบื้องต้นระหว่างกำลังตุรกีและเคิร์ดในพื้นที่ Jarablus ของสหรัฐพลันถูกข้าราชการตุรกีปัดทันควันอย่างโกรธเกรี้ยว ทว่า การสู้รบระหว่างกำลังตุรกีและ SDF ซาลงและกำลังตุรกีเคลื่อนไปทางตะวันตกไปเผชิญ IS แทน[314] ขณะเดียวกัน SDF รวมทั้งอาสาสมัครตะวันตกยังเสริมกำลังมันบิจต่อ[315]
ยามตะวันตกของวันที่ 12 กันยายน 2559 การหยุดยิงที่สหรัฐ-รัสเซียเป็นนายหน้ามีผล[316] ห้าวันถัดมา เครื่องบินเจ็ตสหรัฐและแนวร่วมอื่นทิ้งระเบิดใส่ที่ตั้งของกองทัพซีเรียใกล้กัยดัยรุซซูร ซึ่งน่าจะเป็นอุบัติเหตุ แต่รัสเซียแย้งว่าเจตนา ฆ่าทหารซีเรียอย่างน้อย 62 นายที่กำลังสู้รบกับนักรบ ISIL[317] ไม่นานหลังจากนั้น การหยุดยิงก็ไม่มีผล และในวันที่ 19 กันยายน กองทัพซีเรียประกาศว่าจะไม่ยินยอมพักรบต่อไป[318] วันเดียวกัน ขบวนรถช่วยเหลือในอะเลปโปถูกโจมตีโดยแนวร่วมสหรัฐกล่าวหารัฐบาลรัสเซียและซีเรียว่าก่อเหตุดังกล่าว ฝ่ายรัฐบาลทั้งสองประเทศปฏิเสธ และโทษผู้ก่อการร้ายแทน
วันที่ 22 กันยายน กองทัพซีเรียประกาศการบุกรอบใหม่ในอะเลปโป[319] การบุกสำเร็จในวันที่ 14 ธันวาคม เมื่อที่มั่นสุดท้ายของกบฏในอะเลปโปถูกรัฐบาลซีเรียยึดคืนหลังความตกลงหยุดยิง[320]
วันที่ 26 ตุลาคม 2559 รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐ แอช คาร์เตอร์ กล่าวว่าการบุกเพื่อยึดร็อกเกาะฮ์คืนจาก IS จะเริ่มต้นในอีกไม่กี่สัปดาห์[321] SDF ดำเนินความพยายามนี้ในปฏิบัติการรอธออฟยูเฟรตีส ปฏิบัติการนี้ใช้ทหารอาหรับ คริสต์ศาสนิกชนและเคิร์ดถึง 30,000 คนด้วยการสนับสนุนจากแนวร่วมตะวันตก ในเดือนธันวาคม 2559 SDF ยึดหมู่บ้านหลายแห่งและดินแดนทางตะวันตกของร็อกเกาะฮ์ซึ่งเดิม IS ควบคุม[322] ในเดือนมกราคม 2560 ดินแดนกว้างใหญ่ทางตะวันตกของร็อกเกาะฮ์ถูกยึด และปฏิบัติการระยะที่สองสำเร็จ
ในเดือนธันวาคม 2559 กำลังรัฐบาลซีเรียยึดส่วนของอะเลปโปที่กบฏควบคุมคืนได้ทั้งหมด ยุติการยุทธ์ 4 ปีในนคร[323] วันที่ 29 ธันวาคม 2559 ประธานาธิบดีรัสเซียวลาดีมีร์ ปูตินประกาศข้อตกลงหยุดยิงรอบใหม่ซึ่งบรรลุระหว่างรัฐบาลซีเรียและกลุ่มฝ่ายค้านโดยมีรัสเซียและตุรกีทำหน้าที่เป็นผู้ค้ำประกัน และอิหร่านเป็นผู้ลงนามความตกลงไตรภาคี การหยุดยิงมีผลเมื่อเวลา 00:00 ตามเวลาซีเรีย (02:00 UTC) ของวันที่ 30 ธันวาคม ทั้งนี้ ไม่รวมกลุ่มก่อการร้ายที่ระบุแล้ว เช่น ISIL และ Jabhat Fateh al-Sham ผู้แทนคณะกรรมการเจรจาระดับสูงซีเรียในตุรกียืนยันว่าพวกตนมีความเกี่ยวข้องในข้อตกลงดังกล่าวด้วย มีกำหนดการเจรจาระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ในกรุงอัสตานา เมืองหลวงของประเทศคาซัคสถาน ในวันที่ 15 มกราคม[324]
รายงานแรก ๆ ชี้ว่าแม้มีเหตุการณ์สู้รบประราย แต่การหยุดยิงดูจะมีผล โดยไม่มีพลเรือนเสียชีวิต[325] สายวันเดียวกัน สำนักงานประสานงานกิจการมนุษยธรรมสหประชาชาติรายงานว่ามีประชาชน 4 ล้านคนในกรุงดามัสกัสและพื้นที่ใกล้เคียงไม่สามารถเข้าถึงน้ำได้อย่างน่าไว้วางใจหลังโครงสร้างพื้นฐานการประปาตกเป็นเป้าหมายอย่างเจตนาเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พวกเขากล่าวว่าแม้รัฐบาลเริ่มโครงการปันส่วน แต่ยังกังวลว่าทุกคนอาจไม่สามารถเข้าถึงน้ำดื่มปลอดภัย และเรียกร้องให้ภาคีบรรลุความตกลงอย่างสันติเพื่อรับประกันปัจจัยพื้นฐาน[325]
วันที่ 2 มกราคม 2560 กลุ่มกบฏกล่าวว่าจะไม่เข้าร่วมการเจรจาตามกำหนดหลังมีการกล่าวหาการละเมิดการหยุดยิงของกำลังรัฐบาลในหุบวะดีบาราดาใกล้กับกรุงดามัสกัส ฝ่ายรัฐบาลระบุว่าภูมิภาคดังกล่าวถูกงดการหยุดยิงเพราะมีกลุ่ม Fatah al-Sham แต่นักเคลื่อนไหวท้องถิ่นปฏิเสธว่ามีกลุ่มนี้อยู่ที่นั่น[326] ปลายเดือนมกราคม กำลังรัฐบาลสามารถยุดวะดีบาราบาและการประปาของกรุงดามัสกัสกลับมาอีกครั้ง[327][328]
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2560 การหยุดยิงระหว่างกำลังอะซัดและกบฏล้มเหลวทั่วประเทศ ทำให้มีการปะทะรอบใหม่ตามจุดต่าง ๆ และมีการบุกของกบฏในดัรอา[329] มีการจัดการประชุมสันติภาพรอบใหม่ในเจนีวาในวันที่ 23 กุมภาพันธ์[330]
วันที่ 23 กุมภาพันธ์ กองทัพตุรกียึดอัลบับจาก ISIL ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอะเลปโป[331] กำลังรัฐบาลซีเรียเริ่มการบุกทางตะวันออกของอะเลปโปเพื่อพิชิต Dayr Hafir จาก ISIL และป้องกันการบุกของตุรกีเพิ่มเติม
วันที่ 17 มีนาคม กองทัพซีเรียยิงขีปนาวุธเอส-200 ใส่เครื่องบินเจ็ตอิสราเอลเหนือที่สูงโกลัน กองทัพอิสราเอลอ้างว่าระบบป้องกันขีปนาวุธแอร์โรว์สกัดขีปนาวุธได้ 1 ลูก ส่วนกองทัพซีเรียอ้างว่ายิงเครื่องบินเจ็ตอิสราเอลลำดังกล่าวตก กระทรวงการต่างประเทศรัสเซียเรียกตัวเอกอัครราชทูตอิสราเอลมาชี้แจงสถานการณ์[332]
กองทัพอาหรับซีเรียเข้า Dayr Hafir ที่มั่นสุดท้ายที่ IS ถือครองในอะเลปโปตะวันออกในวันที่ 23 มีนาคมและยึดได้ในวันเดียวกัน ซึ่งเปิดโอกาสให้ผลักลงใต้เข้าสู่เขตผู้ว่าการอัรร็อกเกาะฮ์ซึ่งเป็นเมืองหลวงโดยพฤตินัยของรัฐอิสลาม ทว่า วันเดียวกัน หน่วยชั่วคราวของกำลังประชาธิปไตยซีเรียขึ้นฝั่งบนคาบสมุทรทางตะวันตกของอัรร็อกเกาะฮ์โดยเรือและเฮลิคอปเตอร์เพื่อพยายามปิดมิให้กองทัพอาหรับซเรียเข้าสู่ร็อกเกาะฮ์ วันที่ 28 มีนาคม มีรายงานว่ามีการบรรลุความตกลงที่มีกาตาร์และอิหร่านเป็นนายหน้าสำหรับการอพยพเมืองที่ถูกล้อมสี่แห่งในประเทศซีเรียซึ่งมีประชากรรวมประมาณ 60,000 คน ข้อตกลงเกี่ยวข้องกับการอพยพผู้อยู่อาศัยในเมือง al-Fu'ah และ Kafriya ในเขตผู้ว่าการอิดลิบที่ถูกกำลังกบฏล้อม แลกกับการอพยพผู้อยู่อาศัยและกบฏใน Zabadani และ Madaya ในเขตผู้ว่าการรีฟดิมัชก์ที่ถูกรัฐบาลล้อม[333]
วันที่ 7 เมษายน เรือรบสหรัฐปล่อยขีปนาวุธโทมาฮอว์กใส่ฐานทัพชะริอัตของรัฐบาลซีเรีย ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นแหล่งของการโจมตีเคมีที่คอนชัยคูนเมื่อสามวันก่อนหน้านั้น[334] เนื่องจากการโจมตีของสหรัฐดำเนินการโดยไม่ได้รับอนุญาตจากทั้งรัฐสภาสหรัฐหรือคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ จึงก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายภายใต้กฎหมายสหรัฐเช่นเดียวกับกฎหมายระหว่างประเทศ[335] มีการจัดประชุมคณะมนตรีความมั่นคงฯ ฉุกเฉิน ตามคำขอของโบลิเวียและรัสเซียสนับสนุน ผู้แทนสหรัฐกล่าวว่า "มลทินศีลธรรมของระบอบอะซัดไม่อาจปล่อยไว้ได้อีกต่อไป"[336] โฆษกประธานาธิบดีกล่าวว่า ปูตินมองการโจมตีของสหรัฐว่าเป็น "การกระทำรุกรานต่อชาติเอกราชโดยละเมิดบรรทัดฐานของกฎหมายระหว่างประเทศและภายใต้บริบทกุขึ้น"[337] เดโบราห์ เพิร์ลสเตน (Deborah Pearlstein) แนะว่าการโจมตีของกองทัพสหรัฐต่อกำลังรัฐบาลซีเรียละเมิดกฎบัตรยูเอ็น[338]
ขณะเดียวกัน การสู้รบดุเดือดระหว่างกำลังรัฐบาลและกลุ่มกบฏเริ่มทางเหนือของฮะมาฮ์ในวันที่ 21 มีนาคม ดำเนินต่อ[339]
วันที่ 12 เมษายน ความตกลงแลกเปลี่ยนผู้อยู่อาศัยในเมืองที่กบฏยึดครอง Zabadani และ Madaya กับผู้อยู่อาศัยของเมืองนิยมรัฐบาล Al-Fu'ah และ Kafraya เริ่มมีการนำไปปฏิบัติ[340] ในวันที่ 15 เมษายน ขบวนรถโดยสารประจำทางที่บรรทุกผู้อพยพจาก Al-Fu'ah และ Kafriya ถูกระเบิดฆ่าตัวตายในอะเลปโป ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 126 คน[341]
วันที่ 24 เมษายน กองทัพอากาศตุรกีดำเนินการโจมตีทางอากาศหลายครั้งต่อที่ตั้งของ YPG และ YPJ ใกล้กับ al-Malikiyah ทำให้มีนักรบเสียชีวิตอย่างน้อย 20 คน สหรัฐประณามเหตุดังกล่าว[342]
วันที่ 4 พฤษภาคม 2560 รัสเซีย อิหร่านและตุรกีลงนามความตกลงในกรุงอัสตานาเพื่อสถาปนา "เขตลดขอบเขต" (de-escalation zone) 4 เขตในประเทศซีเรีย ได้แก่ เขตผู้ว่าการอิดลิบ เขตผู้ว่าการฮอมส์ส่วนเหนือที่กบฏควบคุม กูตาตะวันออกที่กบฏควบคุมและชายแดนจอร์แดน–ซีเรีย กลุ่มกบฏบางกลุ่มปฏิเสธความตกลงนี้[343] และพรรคสหภาพประชาธิปไตยยังประณามข้อตกลงนี้ โดยกล่าวว่าเขตหยุดยิง "แบ่งซีเรียออกตามนิกาย" การหยุดยิงมีผลในวันที่ 6 พฤษภาคม[344]
วันที่ 18 พฤษภาคม 2560 เครื่องบินขับไล่โจมตีขบวนกำลังนิยมรัฐบาลซีเรียที่มุ่งหน้าสู่ฐานของแนวร่วมสหรัฐ ณ เมืองชายแดน al-Tanf ที่ซึ่งกองทัพสหรัฐปฏิบัติการและฝึกกบฏต่อสู้รัฐบาล[345] กระนั้น การรุกทะเลททรายของรัฐบาลยังดำเนินต่อและในวันที่ 9 มิถุนายน กำลังรัฐบาลยึดบางส่วนของชายแดนซีเรีย–อิรักได้เป็นครั้งแรกนับแต่ปี 2558[346]
วันที่ 7 กรกฎาคม 2560 สหรัฐ รัสเซียและจอร์แดนตกลงหยุดยิงในบางส่วนของภาคตะวันตกเฉียงใต้ของซีเรีย รัสเซียรับรองว่าอะซัดจะปฏิบัติตามความตกลง[347]
วันที่ 19 กรกฎาคม 2560 มีรายงานว่ารัฐบาลดอนัลด์ ทรัมป์ตัดสินใจยุติโครงการของซีไอเอในการติดอาวุธและฝึกกลุ่มกบฏต่อสู้รัฐบาล ซึ่งเป็นไปตามความประสงค์ของรัสเซีย[348]
วันที่ 5 กันยายน 2560 การรุกซีเรียภาคกลางของรัฐบาลทำให้แก้ไขการล้อมดัยรุซซูรนานสามปีของ ISIL ได้สำเร็จ โดยกองทัพอากาศและกองทัพเรือรัสเซียเข้าร่วมด้วย[349][350][351] ไม่นานหลังจากนั้น ท่าอากาศยานของนครก็ได้รับการแก้ไขวงล้อมเช่นกัน[352]
วันที่ 17 ตุลาคม 2560 หลังการสู้รบดุเดือดกว่าสี่เดือนและการทิ้งระเบิดของแนวร่วมที่มีสหรัฐเป็นผู้นำ กำลังประชาธิปไตยซีเรียประกาศว่าสถาปนาการควบคุมสมบูรณ์ซึ่งนครร็อกเกาะฮ์ในภาคเหนือของประเทศซีเรียซึ่งเป็นเมืองหลวงโดยพฤตินัยเดิมของ ISIL ปลายเดือนตุลาคม รัฐบาลซีเรียกล่าวว่าจะถือว่าร็อกเกาะฮ์เป็นนครที่ถูกยึดครองซึ่ง "ถือว่าได้รับการปลดปล่อยเฉพาะเมื่อกองทัพอาหรับซีเรียเข้าเท่านั้น" กลางเดือนพฤศจิกายน 2560 กำลังรัฐบาลและทหารอาสาสมัครพันธมิตรสถาปนาการควบคุมสมบูรณ์เหนือดัยรุซซูรและเมือง Abu Kamal ที่ถูกยึดครองในภาคตะวันออกของประเทศ ใกล้กับชายแดนอิรัก[354]
วันที่ 6 ธันวาคม 2560 รัฐบาลซีเรียประกาศว่าซีเรีย "ได้รับการปลดปล่อยอย่างสมบูรณ์" จาก ISIL วันที่ 11 ธันวาคม ประธานาธิบดีปูตินเยือนฐานทัพรัสเซียในประเทศซีเรีย ซึ่งเขาสั่งให้ถอนกำลังบางส่วนที่ประจำอยู่ในประเทศ[355][356] วันที่ 26 ธันวาคม รัฐมนตรีกลาโหมรัสเซีย เซียร์เกย์ ชอยกูกล่าวว่ารัสเซียจะ "ตั้งกลุ่มถาวร" ที่ฐานทัพเรือที่ฏ็อรฏูสและฐานทัพอากาศ Hmeymim[357][358] สองวันให้หลัง รัฐมนตรีคนดังกล่าวระบุว่า รัสเซียเชื่อว่ากำลังสหรัฐต้องออกจากดินแดนซีเรียอย่างเต็มตัวเมื่อส่วนสุดท้ายของผู้ก่อการร้ายถูกขจัดไปอย่างสมบูรณ์และคาดว่าจะเกิดขึ้นในเร็ววัน[359][360]
ระหว่างเดือนแรก ๆ ของปี 2561 กองทัพอาหรับซีเรียเปิดฉากการบุกในเขตผู้ว่าการฮะมาฮ์และชานเมืองกูตา ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ มีการบุกขนาดใหญ่ต่อกำลังตะห์รีรุชชาม (HTS), ISIS, หน่วยของพรรคอสิลามเตอร์กิสถาน (TIP) และกบฏอื่นในเขตผู้ว่าการฮะมาฮ์ การบุกประสบความสำเร็จในการยึดฐานทัพอากาศ Abu Adh Dhuhur เช่นเดียวกับการยุติ ISIS ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศซีเรียอย่างถาวร ขณะเดียวกันวันที่ 21 กุมภาพันธ์ กองทัพซีเรียและพันธมิตรเริ่มปฏิบัติการกวาดล้างวงล้อมของกบฏที่ตั้งอยู่ในย่านกูตาทางตะวันออกของกรุงดามัสกัส ปฏิบัติการดังกล่าวมีชื่อรหัสว่า "ดามัสกัสสตีล" เริ่มต้นด้วยการทัพทางอากาศอย่างเข้มข้น และจนถึงวันที่ 12 มีนาคม กำลังกบฏซึ่งประกอบด้วย Al-Rahman Legion, Jaysh al-Islam และกลุ่มแยกอื่น[361] ถูกบีบให้เป็นสามวงล้อมเล็ก ๆ แยกกัน[362]
ขณะเดียวกับที่กำลังรัฐบาลซีเรียบุกทั่วประเทศซีเรีย ประเทศตุรกีก็เปิดฉากการบุกของตนเองเช่นกันชื่อ ปฏิบัติการกิ่งมะกอก (Olive Branch) เป็นปฏิบัติการตามหลังปฏิบัติการยูเฟรตีสชีลด์ในปี 2559 และเป็นการโจมตีข้ามพรมแดนอีกครั้ง โดยครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อยึดอะฟรินแคนทอน (Afrin Canton) และ Tell Rifaat ที่เคิร์ดยึดในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทซีเรีย ปฏิบัติการเริ่มต้นเมื่อวันที่ 20 มกราคม โดยกองทัพตุรกีซึ่งมีกลุ่มแยก FSA หลายกลุ่มสนับสนุน ปะทะกับกำลัง YPG/YPJ ในวันที่ 18 มีนาคม FSA และกองทัพตุรกียึดอะฟรินแคนทอนจากกำลังเคิร์ด 58 วันหลังเริ่มปฏิบัติการ ทว่า กำลังที่ตุรกีสนับสนุนมิได้บุกต่อไปยังพื้นที่ Tell Rifaat เนื่องจากทั้งกำลังป้องกันชาติของรัฐบาลซีเรียและสารวัตรทหารรัสเซียเข้าพื้นที่และยึดเมือง Tell Rifaat และฐานทัพอากาศ Menaghe แล้ว[363]
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561 กำลังป้องกันภัยทางอากาศซีเรียยิงเครื่องบินขับไล่เจ็ตเอฟ-16 ของอิสราเอลเพื่อตอบโต้การตีโฉบฉวยข้ามชายแดนที่อิสราเอลดำเนินการต่อเป้าหมายอิหร่านใกล้กรุงดามัสกัสผ่านน่านฟ้าเลบานอน[364] [365] นักบินรอดชีวิตจากเครื่องตก แต่ถูกนำตัวรับการรักษาพยาบาล[366]
วันที่ 7 เมษายน 2561 มีรายงานการโจมตีเคมีในนครดูมา มีผู้เสียชีวิต 70 คน[367][368] และบาดเจ็บ 500 คน แพทย์สนามระบุว่าสาเหตุการเสียชีวิตเกิดจากการสัมผัสแก๊สคลอรีนและซาริน[369] รัฐบาลซีเรียปฏิเสธการใช้อาวุธเคมี หลังเกิดเหตุ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติไม่สามารถรับข้อมติที่ขัดกันสามข้อมติว่าด้วยการสอบสวนเหตุโจมตีเคมีดังกล่าวได้ โดยรัสเซียและสหรัฐขัดกันในประเด็นดังกล่าว[370] วันรุ่งขึ้น กบฏทั้งหมดที่ควบคุมดูมาตกลงกับรัฐบาลยอมยกพื้นที่ดังกล่าวให้[371] วันที่ 12 เมษายน มีการสถาปนาการควบคุมของรัฐบาลอย่างสมบูรณ์เหนือพื้นที่กูตาตะวันออกทั้งหมดที่เดิมกบฏ Jaysh al-Islam ถือ การล้อมกูตาตะวันออกจึงสิ้นสุดลงหลังการสู้รบนานกว่า 5 ปี[372] วันที่ 13 เมษายน 2561 สหรัฐ สหราชอาณาจักรและฝรั่งศสเปิดฉากการโจมตีด้วยขีปนาวุธตอบแทนต่อเป้าหมายในกรุงดามัสกัสและฮอมส์ ประเทศซีเรีย
วันที่ 19 เมษายน 2561 กองทัพซีเรียและกลุ่มพันธมิตรชาวปาเลสไตน์เริ่มการบุกต่อค่ายผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ยาร์มุก ซึ่งถูก ISIL ยึดครองบางส่วน วันที่ 21 พฤษภาคม กลุ่มนิยมรัฐบาลเข้ายึดค่ายยาร์มุคคืนได้อย่างสมบูรณ์ ขณะที่นักรบ ISIL ถอนกำลังออกไปทางทะเลทรายทางทิศตะวันออกของนคร ฉะนั้นจึงทำให้กองทัพอาหรับซีเรียเมืองหลวงได้อย่างสมบูรณ์ครั้งแรกในรอบ 6 ปี[373][374]
วันที่ 6 กรกฎาคม ผลของการบุกภาคใต้ของซีเรียซึ่งเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน กองทัพซีเรียที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทัพรัสเซียถึงชายแดนจอร์แดนและยึดจุดผ่านแดนนาซิบ[375][376] วันที่ 31 กรกฎาคม การบุกยุติลงทำให้รัฐบาลซีเรียควบคุมเขตผู้ว่าการดัรอาและกุนัยฏิเราะฮ์ได้อย่างเบ็ดเสร็จ
วันที่ 17 กันยายน อิสราเอลโจมตีเป้าหมายหลายตำแหน่งในภาคตะวันตกของซีเรีย กองทัพซีเรียยิงเครื่องบินรัสเซียตกลำหนึ่งขณะพยายามโจมตีเครื่องบินอิสราเอล ทำให้ชาวรัสเซียเสียชีวิต 15 คน[377][378] การโจมตีดังกล่าวมีขึ้นไม่กี่ชั่วโมงหลังรัสเซียกับตุรกีตกลงสร้างเขตปลอดทหารรอบเขตอิดลิบ ซึ่งชะลอปฏิบัติการบุกของกำลังรัฐบาลบะอัธซีเรียและพันธมิตร[379] รัสเซียกล่าวโทษอสิราเอลจากเหตุการณ์นี้[380][381]
วันที่ 24 กันยายน 2561 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมรัสเซีย Sergey Shoygu ยืนยันว่ากองทัพซีเรียจะได้รับระบบขีปนาวุธป้องกันภัยทางอากาศเอส-300 เพื่อเสริมสมรรถนะการป้องกันภัยทางอากาศในการรบของซีเรีย เขาเสริมว่าการยกเลิกสัญญาส่งมอบเอส-300 ในปี 2556 เป็นเพราะคำขอของอิสราเอล แต่สถาการณเปลี่ยนไปหลังเหตุเครื่องบินรัสเซียถูกยิงตกในซีเรีย[382][383][384] ทั้งนี้ เอส-300 มีระบบ IFF สมัยใหม่ซึ่งป้องกันการเล็งขีปนาวุธใส่เครื่องบินรัสเซีย[385]
วันที่ 17 กันยายน 2561 ประธานาธิบดีวลาดีมีร์ ปูตินของรัสเซียและเอร์โดอันของตุรกีบรรลุความตกลงสร้างเขตกันชนในอิดลิป
วันที่ 12 ธันวาคม รัฐบาลตุรกีประกาศจะเริ่มปฏิบัติการต่อโรยาวา โดยเป็นการวิจารณ์ความพยายามของสหรัฐในการรับประกันความมั่นคงชายแดนของตุรกีในพื้นที่ ประธานาธิบดีทรัมป์ประกาศในวันที่ 19 ธันวาคม 2561 ว่าจะถอนกำลังทั้งหมดออกจากซีเรีย หลังตุรกีชะลอการเข้าตีตามแผน
วันที่ 25 ธันวาค อิสราเอลเปิดฉากการเข้าตีจากหรือข้ามน่านฟ้าเลบานอน "เพื่อตอบสนองขีปนาวุธต่อสู้อากาศยานที่ยิงมาจากซีเรีย" รายงานจากซีเรียกล่าวว่าคลังอาวุธใน Qatifah ห่างจากกรุงดามัสกัสไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 40 กิโลเมตร ถูกโจมตี ทำให้มีทหารบาดเจ็บ 3 นาย
วันที่ 30 ธันวาคม รัฐบาลบะอัธซีเรียอนุญาตให้อิรักโจมตี ISIL ในดินแดนซีเรีย อิรักโจมตีเป้าหมาย ISIL ใน Deir ez-Zor ในวันถัดมา
ระหว่างวันที่ 1 ถึง 10 มกราคม 2562 Hayat Tahrir al-Sham (HTS) เข้าตีและยึดที่ตั้งของ National Front for Liberation (NLF) ข้ามอิดลิปและอะเลปโปที่กบฏถือครอง วันที่ 9 มกราคม 2562 ทั้งสองกลุ่มบรรลุการพักรบ โดย NLF ยอมยกที่ตั้งสุดท้ายในอิดลิปให้ HTS และอพยพไปยังพื้นที่ที่อยู่ใต้การควบคุมของกองทัพซีเรียเสรีในอะฟรินที่ตุรกีหนุนหลังอยู่ วันต่อมา HTS เข้าควบคุมพื้นที่ดังกล่าว
วันที่ 6 มกราคม 2562 ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาตของสหรัฐ จอห์น โบลตัน กล่าวว่าการถอนกำลังสหรัฐจากซีเรียขึ้นอยู่กับเงื่อนไขบางประการ เช่น การรับประกันว่ากำลัง ISIL กลุ่มสุดท้ายแพ้และเคิร์ดในซีเรียเหนือปลอดภัยจากองทัพตุรกี อย่างไรก็ดี ประธานาธิบดีเอร์โดอันปฏิเสธข้อเรียกร้องให้คุ้มครองเคิร์ดซึ่งเขาถือว่าเป็นกลุ่มก่อการร้าย วันที่ 10 มกราคท 2562 ไมก์ ปอมเปโอ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ กล่าวว่าสหรัฐจะถอนกำลังจากซีเรียแต่ยังจะสู้กับ ISIL ต่อไป แต่เตือนด้วยว่าจะไม่มีงบช่วยเหลือบูรณะสำหรับพื้นที่ที่ประธานาธิบดีอัลอะซัดควบคุมอยู่จนกว่าอิหร่านและตัวแทนออกจากพื้นที่
วันที่ 23 มีนาคม หลังการสู้รบอย่างประปรายนานหลายสัปดาห์ใน Baghuz กองทัพรัฐบาลซีเรียประกาศว่า ISIL ถูกปราบในซีเรียหมดสิ้นแล้ว แต่ในวันที่ 20 เมษายน ISIL รายงานว่าได้ฆ่าทหารรัฐบาล 35 นายในจังหวัด Homs และ Deir al-Zour นับเป็นการโจมตีใหญ่สุดหลัง ISIL ถูกประกาศว่าปราชัยแล้ว
ในเดือนสิงหาคม สหรัฐและตุรกีบรรลุข้อตกลงในการตั้งเขตปลอดทหารในซีเรียเหนือ และซีเรียกับรัสเซียประกาศหยุดยิงฝ่ายเดียวในอิดลิบ
อย่างไรก็ดี วันที่ 9 ตุลาคม ประธานาธิบดีตุรกีแอร์โดกันประกาศบุกซีเรียเหนือเต็มขั้น ทำให้ในวันที่ 13 ตุลาคม โรยาวาและรัฐบาลซีเรียตกลงในการป้องปรามการบุกของตุรกี โดยมีรัสเซียเป็นนายหน้า จนในวันที่ 22 ตุลาคม ประธานาธิบดีตุรกีและรัสเซียบรรลุความตกลงรอบใหม่ในการตั้งเขตปลอดทหารในซีเรียเหนือ
วันที่ 26 ตุลาคม การโจมตีทางอากาศของสหรัฐฆ่าอะบู บักร์ อัลบัฆดาดี ผู้นำ ISIL ในจังหวัดอิดลิบ
รัสเซียและซีเรียเร่งการโจมตีต่อทัพกบฏในอิดลิบ ซึ่งเป็นบริเวณของฝ่ายกบฏบริเวณสุดท้ายในประเทศ กองทัพซีเรียและพันธมิตรเปิดฉากบุกต่อฝ่ายกบฏตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 ถึงมีนาคม 2563 จนสามารถยึดถนน M5 ที่เชื่อมระหว่างกรุงดามัสกัสกับนครอะเลปโปได้
ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2563 เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในประเทศซีเรียซึ่งค่าเงินปอนด์ซีเรียอ่อนตัวลงอย่างมาก วันที่ 11 มิถุนายน นายกรัฐมนตรี Imad Khamis ถูกปลดจากตำแหน่งท่ามกลางการประท้วงต่อต้านรัฐบาลต่อสภาพเศรษฐกิจที่เลวลง นับเป็นภัยต่อความอยู่รอดของรัฐบาลอะซัด มีนักวิเคราะห์บางส่วนเชื่อว่าอะซัดอาจใกล้เสียอำนาจ ขณะที่รัสเซียยังคงขยายอิทธิพลและบทบาททางทหารในประเทศซีเรีย
แหล่งข้อมูลหลายแหล่งเน้นว่าปลายปี 2558 และต้นปี 2559 รัฐบาลซีเรียพึ่งพาอาสาสมัครและทหารอาสาสมัครมากกว่ากองทัพซีเรีย[386][387]
ก่อนการก่อการกำเริบและสงครามอุบัติ มีประมาณการว่ากองทัพซีเรียมีกำลังพลประจำการ 325,000 นาย ซึ่งในจำนวนนี้ 220,000 นายเป็น "ทหารบก" และที่เหลืออยู่ในกองทัพเรือ กองทัพอากาศและกำลังป้องกันภัยทางอากาศ นอกจากนี้ยังมีกองหนุนอีกประมาณ 280,000–300,000 นาย ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2554 มีรายงานการแปรพักตร์ของทหาร ในเดือนกรกฎาคม 2555 การสังเกตการณ์สิทธิมนุษยชนซีเรียประมาณว่าทหารหลายหมื่นนายแปรพักตร์ และข้าราชการตุรกีคนหนึ่งประมาณว่ามีทหารแปรพัตกร์ 60,000 นาย
รัฐบาลซีเรียได้รับการสนับสนุนระดับสูงในบางพื้นที่ในการควบคุม ตามผลสำรวจความเห็นที่จัดโดย บริติชโออาร์บีอินเตอร์เนชันแนล โดยประชากร 73% ในพื้นที่ที่รัฐบาลควบคุมสนับสนุนความพยายามของรัฐบาล[388]
กำลังป้องกันชาติซีเรียตั้งจากทหารอาสาสมัครนิยมรัฐบาล พวกเขาได้รับเงินเดือนและยุทธภัณฑ์จากรัฐบาล[389][390] มีจำนวนประมาณ 100,000 นาย[391][392] กำลังนี้ปฏิบัติหน้าที่ในบทบาททหารราบ โดยสู้รบกับกบฏโดยตรงภาคพื้นและดำเนินปฏิบัติการต่อต้านการก่อความไม่สงบโดยประสานงานกับกองทัพบก ซึ่งจัดการสนับสนุนทางลอจิสติกส์และปืนใหญ่ กำลังนี้มีหน่วยหญิง 500 นายที่เรียก "นางสิงห์แห่งกำลังป้องกันชาติ" (Lionesses of National Defense) ซึ่งควบคุมจุดตรวจ[393] ทหารกำลังป้องกันชาติได้รับอนุญาตให้ฉกชิงทรัพย์จากสมรภูมิและขายของนั้นเอาเงินในที่ที่ถูกตั้งฉายาว่า "ตลาดซุนนี" เช่นเดียวกับทหารบกตามแบบ[389]
แชบบีฮา (Shabiha) เป็นทหารอาสาสมัครนิยมรัฐบาลอย่างไม่เป็นการที่ส่วนใหญ่มาจากชนกลุ่มน้อยอะลาวีของอะซัด นับแต่การก่อการกำเริบ รัฐบาลซีเรียใช้แชบบีฮาสลายการชุมนุมและบังคับใช้กฎหมายในย่านที่กระด้างกระเดื่อง[394] เมื่อการประท้วงบานปลายเป็นการขัดกันด้วยอาวุธ ฝ่ายค้านเริ่มใช้คำว่า แชบบีฮา อธิบายผู้สนับสนุนอะซัดพลเรือนใด ๆ ที่มีส่วนในการปราบปรามการก่อการกำเริบของรัฐบาล[395] ฝายค้านกล่าวหาแชบบีฮาว่าใช้ความรุนแรงเกินต่อผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลและผู้สนับสนุนฝ่ายค้าน[395] ตลอดจนการฉกชิงทรัพย์และการทำลาย[396][397] ในเดือนธันวาคม 2555 สหรัฐกำหนดให้แชบบีฮาเป็นองค์การก่อการร้าย[398]
มีรายงานว่าบัสเซล อัลอะซัด (Bassel al-Assad) สถาปนาแชบบีฮาในคริสต์ทศวรรษ 1980 เพื่อให้รัฐบาลใช้ในยามวิกฤต[399] มีการอธิบายว่าแชบบีฮาเป็น "กำลังกึ่งทหารอะลาวีที่ฉาวโฉ่ ซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำตนเป็นผู้บังคับใช้กฎหมายอย่างไม่เป็นทางการให้ระบอบอะซัด"[400] "มือปืนภักดีต่ออะซัด"[401] และจากข้อมูลของศูนย์อาหรับเพื่อการวิจัยและนโยบายศึกษาในประเทศกาตาร์ ว่า "กึ่งแก๊งอาชญากรที่ประกอบด้วยอัทธพาลที่ใกล้ชิดกับระบอบ"[401] แม้ภาพลักษณ์ของกลุ่มเป็นทหารอาสาสมัครอะลาวี มีรายงานว่าแชบบีฮาที่ปฏิบัติหน้าที่ในอะเลปโปบางส่วนเป็นซุนนี[402] ในปี 2555 รัฐบาลอะซํดสถาปนาทหารอาสาสมัครอย่างเป็นทางการที่จัดระเบียบมากกว่า เรียก ญัยช์อัลชาบี (Jaysh al-Sha'bi) ซึ่งมีการกล่าวหาว่าได้รับความช่วยเหลือจากอิหร่านและฮิซบุลลอฮ์ เช่นเดียวกับแชบบีฮา สมาชิกญัยช์อัลชาบีส่วนใหญ่เป็นอาสาสมัครอะลาวีและชีอะฮ์[403][404]
ทหารอาสาสมัครคริสต์ศาสนิกชนในประเทศซีเรีย (และประเทศอิรักตอนเหนือ) ส่วนใหญ่ประกอบขึ้นจากชาติพันธุ์อัสซีเรีย ซีเรีย-อารัม (Syriac-Aramean) และอาร์มีเนีย รายงานของซีบีเอสหนึ่งแสดงว่าคริสต์ศาสนิกชนในประเทศซีเรียส่วนใหญ่นิยมรัฐบาลโดยอ้างว่าพวกเขาเชื่อว่าความอยู่รอดของพวกเขาเชื่อมโยงกับรัฐบาลโลกวิสัยส่วนใหญ่[405][406] ทหารอาสาสมัครคริสต์ศาสนิกชนต่อสู้อยู่ข้างรัฐบาลซีเรีย[407][408] จากข้อมูลของเวิลด์ทริบูน.คอม (WorldTribune.com) "แหล่งข่าวอ้างว่าคริสต์ศาสนิกชนหลายพันคนเข้าร่วมกองทัพบกซีเรียตลอดจนทหารอาสาสมัครของระบอบ เช่น กำลังป้องกันชาติและคณะกรรมการประชาชน พวกเขาว่า NDF ช่วยจัดระเบียบหน่วยคริสต์ศาสนิกชนเพื่อคุ้มครองชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคอัสซีเรียทางตะวันออกเฉียงเหนือของซีเรีย หน่วยหลักเรียกว่า การต้านทานคริสเตียน (Christian Resistance) กล่าวกันว่าปฏิบัติการในจังหวัดฮอมส์"[409] ชาวอัสซีเรียที่พูดภาษาอารัมตะวันออกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของซีเรียและภาคเหนือของอิรักตั้งทหารอาสาสมัครต่าง ๆ (รวมกำลังป้องกันอัสซีเรีย) เพื่อปกป้องเมืองโบราณ หมู่บ้านและฟาร์มของพวกตนจากผู้ก่อการร้าย ISIS พวกเขามักต่อสู้เคียงคู่กับกลุ่มชาวเคิร์ดและอาร์มีเนีย แต่ไม่เสมอไป[410][411][412]
ในปี 2555 นักรบฮิซบุลลอฮ์ข้ามพรมแดนจากเลบานอนและยึดแปดหมู่บ้านในเขตอัลกุสซัยร (Al-Qusayr) ของซีเรีย อดีตเลขาธิการฮิซบุลลอฮ์ ชิคซุบฮีอัลตุฟัยลี (Subhi al-Tufayli) ยืนยันในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ว่า ฮิซบุลลอฮ์กำลังต่อสู้ให้กองทัพบกซีเรีย[413]
วันที่ 14 พฤษภาคม 2556 มีรายงานว่านักรบฮิซบุลลอฮ์ต่อสู้เคียงคู่กับกองทัพซีเรีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตผู้ว่าการฮอมส์ Hassan Nasrallah เรียกร้องให้ชีอะฮ์และฮิซบุลลอฮ์พิทักษ์เทวสถาน Sayida Zeinab วันที่ 25 พฤษภาคม 2556 นัสรัลละฮ์ประกาศว่าฮิซบุลลอฮ์กำลังต่อสู้ในซีเรียต่อพวกหัวรุนแรงอิสลามและ "สาบานว่ากลุ่มของเขาจะไม่ยอมให้นักรบซีเรียควบคุมดินแดนที่ต่อแดนกับเลบานอน"[414] เขายืนยันว่าฮิซบุลลอฮ์กำลังต่อสู้ในเมืองกุซัยรซึ่งเป็นเมืองยุทธศาสตร์ในซีเรียอยู่ข้างเดียวกับกำลังของอะซัด[91] ในการปราศรัยทางโทรทัศน์ เขากล่าวว่า "หากซีเรียตกอยู่ในมืออเมริกา อิสราเอลและตักฟีรี ประชาชนในภูมิภาคของเราจะเข้าสู่ยุคมืด"[91] จากข้อมูลของนักวิเคราะห์อิสระ เมื่อต้นปี 2557 มีนักรบฮิซบุลลอฮ์เสียชีวิตในความขัดแย้งซีเรียแล้วประมาณ 500 คน[415] วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2559 นักรบฮิซบุลลอฮ์เสียชีวิต 50 คนในการปะทะกับ Jaysh al-Islam ใกล้กับกรุงดามัสกัส นักรบเหล่านี้อยู่ในกำลังรบของกองทัพซีเรีย เรียก กองพลทหารบก 39[416]
ประเทศอิหร่านยังปฏิเสธการมีกำลังรบอยู่ในประเทศซีเรีย โดยยืนยันว่าให้คำแนะนำทางทหารแก่กำลังของอะซัดในการต่อสู้กับกลุ่มก่อการร้าย[417] หลังจากระยะการก่อการกำเริบ ประเทศอิหร่านให้การสนับสนุนทางการเงิน เทคนิคและทางทหาร ซึ่งรวมการฝึกและกำลังรบบ้าง[418][419][420] ประเทศอิหร่านและซีเรียเป็นพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ที่ใกล้ชิด ประเทศอิหร่านมองว่าการอยู่รอดของรัฐบาลซีเรียสำคัญต่อผลประโยชน์ในภูมิภาคของตน[420][421] ผู้นำสูงสุดอิหร่าน อาลี คาเมนี มีรายงานว่าออกปากสนับสนุนรัฐบาลซีเรีย[419]
ราชการความมั่นคงและข่าวกรองของอิหร่านให้คำปรึกษาและช่วยเหลือกองทัพซีเรียเพื่อธำรงการครองอำนาจของบัชชาร อัลอะซัด[420] ความพยายามเหล่านี้ได้แก่ การฝึก การสนับสนุนทางเทคนิค กำลังรบ[418][420] ในเดือนธันวาคม 2556 เชื่อว่าประเทศอิหร่านมีผู้ปฏิบัติงานในประเทศซีเรียประมาณ 10,000 นาย[421] แต่ตามข้อมูลของจูบิน กูดาร์ซี (Jubin Goodarzi) ผู้ช่วยศาสตราจารย์และนักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยเว็บสเตอร์ ประเทศอิหร่านช่วยเหลือระบอบอะซัดด้วยหน่วยและกำลังพลที่วางกำลังจำนวนจำกัด "มากสุดหลายร้อยคน ... และมิใช่หลายพันอย่างที่แหล่งข่าวฝ่ายค้านอ้าง"[422] นักรบฮิซบุลลอฮ์ที่รัฐบาลอิหร่านหนุนหลังมีบทบาทรบโดยตรงตั้งแต่ปี 2555[421][423] ในฤดูร้อนปี 2556 ประเทศอิหร่านและฮิซบุลลอฮ์จัดหาการสนับสนุนในสมรภูมิที่สำคัญแก่อะซํดโดยทำให้รัฐบาลรุกคืบต่อฝ่ายค้าน[423] ในปี 2557 ในเวลาเดียวกับการเจรจาสันติภาพที่เจนีวา 2 ประเทศอิหร่านสนับสนุนประธานาธิบดีอะซัดอย่างเปิดเผย[421][423] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและเศรษฐกิจซีเรียประกาศว่า "รัฐบาลอิหร่านให้เงินกว่า 15,000 ล้านดอลลาร์" แก่ประเทศซีเรีย[424] ผู้บัญชาการกำลังกุดส์ (Quds Force) ของเหล่าพิทักษ์การปฏิวัติอิหร่าน (Iranian Revolutionary Guards Corps) กะเซม ซุลัยมะนี (Qasem Suleimani) รับผิดชอบตำแหน่งรัฐมนตรีที่ประจำตามกระทรวงความมั่นคงและดูแลการติดอาวุธและฝึกนักรบชีอะฮ์นิยมรัฐบาลหลายพันคน[425][426]
ทหารเหล่าพิทักษ์การปฏิวัติอิหร่านอย่างน้อย 328 นาย ซึ่งรวมผู้บัญชาการหลายนาย ถูกฆ่าในสงครามกลางเมืองซีเรียนับแต่เกิดสงคราม[427]
นักรบชีอะฮ์จากประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถานมี "จำนวนมากกว่า" นักรบต่างประเทศซุนนีมาก แม้ได้รับ "ความสนใจน้อยกว่ามาก" จากสื่อ[428] จำนวนชาวอัฟกานิสถานที่ต่อสู้ในประเทศซีเรียในนามของรัฐบาลซีเรียมีประมาณการไว้ "ระหว่าง 10,000 ถึง 12,000 คน" ส่วนจำนวนชาวปากีสถานนั้นไม่ทราบ[428] นักรบหลายคนหรือส่วนใหญ่เป็นผู้ลี้ภัย และประเทศอิหร่านถูกกล่าวหาว่าฉวยประโยชน์จากที่พวกเขาไม่สามารถ "ได้ใบอนุญาตประกอบอาชีพหรือเป็นผู้อยู่อาศัยตามกฎหมายในประเทศอิหร่าน" และใช้การขู่เนรเทศแก่ผู้ที่ไม่ยินยอมอาสาสมัคร[428] นักรบเหล่านี้ยังได้รับค่าจ้างค่อนข้างสูง และบอกกับนักหนังสือพิมพ์ว่า "รัฐอิสลามเป็นศัตรูร่วมของอิหร่านและอัฟกานิสถาน ... นี่เป็นสงครามศักดิ์สิทธิ์ และว่าพวกเขาปรารถนาพิทักษ์สถานแสวงบุญชีอะฮ์ชายยิดาไซอินับ (Sayyida Zaynab) จากญิฮัดซุนนี"[428]
วันที่ 30 กันยายน 2558 สภาสหพันธรัฐของรัสเซียอนุมัติคำขอของประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีมีร์ ปูติน อย่างเป็นเอกฉันท์อนุญาตให้ใช้กองทัพรัสเซียในซีเรีย[429][430] หลังจากคำขอความช่วยเหลือทางทหารต่อกลุ่มกบฏและญิฮัดอย่างเป็นทางการของรัฐบาลซีเรีย[431][432] วันเดียวกัน พลเอก เซอร์เกย์ คูราเลนโกของรัสเซีย ซึ่งเป็นผู้แทนของรัสเซีย ณ ศูนย์สารสนเทศร่วมในกรุงแบกแดดมายังสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐในกรุงแบกแดดและขอให้กำลังสหรัฐในพื้นที่เป้าหมายใด ๆ ออกทันที[433] ชั่วโมงต่อมา อากาศยานรัสเซียที่อยู่ในดินแดนที่รัฐบาลครองเริ่มการโจมตีทางอากาศโดยดูเหมือนต่อเป้าหมายฝ่ายกบฏ[434]
ก่อนหน้าปฏิบัติการเหล่านี้ การเข้ามีส่วนของรัสเซียในสงครามกลางเมืองซีเรียส่วนใหญ่เป็นการจัดหากำลังบำรุงแก่กองทัพบกซีเรีย[435] ข้าราชการรัสเซียรับรองวัตถุประสงค์ของพวกตนว่า เพื่อช่วยรัฐบาลซีเรียยึดพื้นที่คืนจากกลุ่มค้านต่าง ๆ ซึ่งรวม ISIL และกลุ่มที่สหรัฐหนุนหลังและติดอาวุธ[436] ในการสัมภาษณ์ทางโทรทัศน์ที่แพร่ภาพเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2558 ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีมีร์ ปูติน กล่าวว่า ปฏิบัติการทางทหารมีการเตรียมล่วงหน้าอย่างรอบคอบ เขานิยามเป้าหมายของรัสเซียในซีเรียว่า "สร้างเสถียรภาพอำนาจชอบธรรมในซีเรียและสร้างสภาพสำหรับการประนีประนอมทางการเมือง"[437]
วันที่ 24 พฤศจิกายน 2558 อากาศยานซุคฮอย ซู-24 ของรัสเซียถูกเครื่องบินขับไล่เอฟ-16 ของกองทัพอากาศตุรกียิงตกในเหตุการณ์ที่เชื่อว่าเป็นครั้งแรกที่ประเทศนาโตยิงเครื่องบินรัสเซียตกในรอบครึ่งศตวรรษ[438] รัสเซียตอบโต้โดยประกาศว่าเครื่องบินรบของแนวร่วมที่มีสหรัฐนำที่บินผ่านทางตะวันตกของแม่น้ำยูเฟรตีสจะถูกกำลังต่อสู้อากาศยานรัสเซียติดตามทั้งบนฟ้าและบนบกและถือเป็นเป้าหมาย[439]
ฝ่ายค้านติดอาวุธประกอบด้วยหลายกลุ่มที่ตั้งระหว่างห้วงความขัดแย้งหรือเข้าร่วมจากนอกประเทศ จากข้อมูลของมัวร์ เฮิร์ช (Seymour Hersh) ฝ่ายค้านได้รับเงินสนับสนุนจากซาอุดีอาระเบีย 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี (ปี 2557)[440] ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของซีเรีย กลุ่มแยกฝ่ายค้านหลักคือ แนวร่วมอัลนุสเราะ (al-Nusra Front) ที่เข้ากับอัลกออิดะฮ์ ซึ่งเป็นพันธมิตรกับกลุ่มอิสลามอื่นที่เล็กกว่าหลายกลุ่ม ในจำนวนนี้บางกลุ่มปฏิบัติการภายใต้กลุ่มกองทัพซีเรียเสรี (FSA)[441] ชาติตะวันตกกำหนดให้ FSA เป็นกลุ่มแยกฝ่ายค้านสายกลางซึ่งทำให้กลุ่มได้รับอาวุธทันสมัยและการสนับสนุนทางทหารอื่นจากสหรัฐและประเทศอ่าวบางประเทศภายใต้โครงการที่ซีไอเอดำเนินการ[266][265][442] ซึ่งเพิ่มสมรรถนะการสู้รบรวมของกบฏอิสลาม[443][444] ในทางตะวันออก รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ (ISIL) กลุ่มนักรบญิฮัดที่กำเนิดจากประเทศอิรัก ได้ความได้เปรียบทางทหารอย่างรวดเร็วทั้งในประเทศซีเรียและอิรัก สุดท้าย ISIL กลายมาขัดแย้งกับกบฏอื่น โดยเฉพาะอัลนุสเราะ ซึ่งผู้นำกลุ่มไม่ต้องการสวามิภักดิ์ต่อ ISIL ในเดือนกรกฎาคม 2557 ISIL ควบคุมหนึ่งในสามของดินแดนประเทศซีเรีย และการผลิตน้ำมันแลัแก๊สส่วนใหญ่ ฉะนั้นจึงสถาปนาตนเป็นกำลังต่อต้านรัฐบาลหลัก[445] ในปี 2558 กาตาร์ ซาอุดีอาระเบียและตุรกีหนุนหลังกองทัพการพิชิตดินแดน (Army of Conquest) อย่างเปิดเผย ซึ่งเป็นกลุ่มกบฏรวมที่มีรายงานว่ารวมแนวร่วมอัลนุสเราะที่เชื่อมโยงกับอัลกออิดะฮ์และแนวร่วมซะละฟีอีกกลุ่มหนึ่ง ชื่อ อะห์รัรอัชชาม (Ahrar ash-Sham) และฟัยลักอัลชาม (Faylaq Al-Sham) กลุ่มกบฏที่เชื่อมโยงกับแนวร่วมภราดรภาพมุสลิม (Muslim Brotherhood)[446][447][448] นอกจากนี้ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทหารอาสาสมัครเคิร์ดอย่างหน่วยคุ้มครองประชาชน (YPG) จับอาวุธขึ้นต่อสู้กับทั้งกลุ่มแยกอิสลามกบฏ[449]และผู้จงรักภักดีต่อรัฐบาล[450]
วันที่ 11 พฤศจิกายน 2555 ในกรุงโดฮา สภาแห่งชาติและกำลังฝ่ายค้านอื่นรวมกันเป็นแนวร่วมกำลังปฏิวัติและฝ่ายค้านซีเรียแห่งชาติ (National Coalition for Syrian Revolutionary and Opposition Forces)[451] วันรุ่งขึ้น หลายรัฐอ่าวเปอร์เซียรับรองให้เป็นรัฐบาลซีเรียโดยชอบ ผู้แทนสภาผู้นำของแนวร่วมฯ มีหญิงและผู้แทนของชนกลุ่มน้อยศาสนาและชาติพันธุ์ซึ่งรวมอะละวีด้วย มีรายงานว่าสภาทหารรวมกองทัพซีเรียเสรีด้วย[452] เป้าหมายหลักของแนวร่วมแห่งชาติฯ คือ แทนรัฐบาลบัชชาร อัลอะซัดและ "สัญลักษณ์และเสาการสนับสนุนของมัน" "รื้อราชการความมั่นคง" สร้างเอกภาพและสนับสนุนกองทัพซีเรียเสรี ปฏิเสธการพูดคุยเจรจากับรัฐบาลอัลอะซัด และ "นำตัวผู้รับผิดชอบการฆ่าชาวซีเรีย ทำลาย [ซีเรีย] และไล่ที่ [ชาวซีเรีย] มาลงโทษ"[453]
มีการประกาศตั้งกองทัพซีเรียเสรีเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2554 โดยนายทหารกองทัพบกซีเรียที่แปรพักตร์กลุ่มหนึ่ง ในวิดีทัศน์ นายทหารเรียกร้องให้นายทหารและทหารชาวซีเรียแปรพักตร์เพื่อคุ้มครองผู้ประท้วงพลเรือนจากความรุนแรงโดยรัฐและมีผลเปลี่ยนแปลงรัฐบาล[454] ในเดือนธันวาคม 2554 ประมาณการจำนวนผู้แปรพักตร์ FSA มีตั้งแต่ 1,000 ถึงกว่า 25,000 คน FSA เดิมมีสำนักงานใหญ่ในประเทศตุรกี ย้ายสำนักงานใหญ่สู่ภาคเหนือของซีเรียในเดือนกันยายน 2555 และเป็นเสมือนองค์การรวม ๆ มากกว่าสายการบังคับบัญชาตามเดิม
ในเดือนมีนาคม 2555 ผู้สื่อข่าวเดอะนิวยอร์กไทมส์ เป็นพยานการเข้าตีแนวรถถังซีเรียหุ้มเกราะของ FSA ในซะระกิบ (Saraqib) และทราบว่า FSA มีทหารและอดีตนายทหารที่สามารถและได้รับการฝึก มีการจัดระเบียบอยู่ระดับหนึ่ง แต่ไม่มีอาวุธที่จะต่อสู้อย่างจริงจัง[455]
ในเดือนเมษายน 2556 สหรัฐประกาศว่าจะส่งความช่วยเหลือไม่ถึงชีวิตต่อกบฏซีเรีย 123 ล้านดอลลาร์สหรัฐผ่านพลเอกที่แปรพักตร์ ซะลิม อิดริส (Salim Idriss) ผู้นำ FSA[456] ต่อมาเขายอมรับว่า "กบฏ" แตกเป็นเสี่ยงและขาดทักษะทางทหารที่จำเป็นเพื่อโค่นรัฐบาลประธานาธิบดีบัชชาร อัลอะซัด อิดริสกล่าวว่าเขากำลังสร้างโครงสร้างบังคับบัญชาทั่วประเทศ แต่การขาดการสนับสนุนทางวัตถุทำให้ความพยายามนั้นไม่เป็นผล เขายอมรับว่าปฏิบัติการร่วมกับกลุ่มอิสลาม อะห์รัรอัชชาม แต่ปฏิเสธความร่วมมือใด ๆ กับกลุ่มอิสลาม แนวร่วมอัลนุสเราะ[456]
อะบู ยูซัฟ (Abu Yusaf) ผู้บัญชาการคนหนึ่งของรัฐอิสลาม กล่าวในเดือนสิงหาคม 2557 ว่าสมาชิก FSA หลายคนที่นายทหารสหรัฐ ตุรกีและอาหรับฝึกแท้จริงแล้วกำลังเข้าร่วมกับไอเอส[457] ซึ่งในทางตรงข้ามกับข้ออ้างของผู้บัญชาการนายนี้ ในเดือนกันยายน 2557 กองทัพซีเรียเสรีกำลังเข้าร่วมพันธมิตรและแนวร่วมกับทหารอาสาสมัครเคิร์ดซึ่งรวม YPG ซึ่งต่อสู้กับไอเอส[458][459]
ต้นเดือนตุลาคม 2558 ไม่นานหลังรัสเซียเริ่มแทรกแซงทางทหารในซีเรีย โรเบิร์ต ฟิสก์ประเมินว่าการดำรงอยู่ของ FSA เป็นกลลวง เป็นข้อเท็จจริงที่ข้าราชการสหรัฐรับทราบ โดยกบฏ FSA แทบทั้งหมดที่สหรัฐฝึกแปรพักตร์เข้ากับกลุ่มกบฏอื่น[460] และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เซอร์เกย์ ลัฟรอฟ เรียก FSA ว่า "โครงสร้างที่ไม่มีตัวตนแล้ว"[461][462] ภายหลังประกาศว่ารัสเซียพร้อมช่วยเหลือ FSA ด้วยการโจมตีทางอากาศต่อ ISIS[463] อีกฝ่ายหนึ่ง ในเดือนธันวาคม 2558 ตามข้อมูลสถาบันยุทธศึกษาอเมริกัน กลุ่มที่ระบุตัวเป็น FSA ยังมีอยู่รอบอะเลปโปและฮะมาฮ์และในภาคใต้ของซีเรีย และ FSA ยังเป็น "กลุ่มกบฏใหญ่สุดและโลกวิสัยที่สุด"[464]
ในเดือนมีนาคม 2560 FSA ที่ตุรกีหนุนหลังสำเร็จการกวาดล้างรัฐอิสลามจากภาคเหนือของซีเรีย[465] หลังจากนั้นหันไปพยายามยึดแคนทอนอะฟรินจาก YPG
สภาแห่งชาติซีเรียตั้งเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2554 เป็นแนวร่วมกลุ่มต่อต้านรัฐบาลซึ่งมีฐานในประเทศตุรกี สภาแห่งชาติมุ่งยุติการปกครองของอัลอะซัด และสถาปนารัฐประชาธิปไตยสมัยใหม่ SNC มีความเชื่อมโยงกับกองทัพซีเรียเสรี ในเดือนพฤศจิกายน 2555 สภาตกลงรวมกับกลุ่มฝ่ายค้านอีกหลายกลุ่มตั้งเป็นแนวร่วมแห่งชาติซีเรีย SNC มีผู้แทน 22 จาก 60 ที่นั่งในแนวร่วมแห่งชาติซีเรียง[466]
สภาฯ ถอนตัวจากแนวร่วมฯ เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2557 เป็นการประท้วงการตัดสินใจของแนวร่วมในการเข้าประชุมการเจรจาเจนีวา[467]
แนวร่วมอิสลามเป็นการรวมกลุ่มกบฏเจ็ดกลุ่มที่เกี่ยวข้องในสงครามกลางเมืองซีเรีย[26] มีการประกาศเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2556[468] กลุ่มนี้มีนักรบระหว่าง 40,000[469] ถึง 60,000 คน โฆษกนิรนามของกลุ่มแถลงว่า กลุ่มจะไม่มีความสัมพันธ์กับแนวร่วมแห่งชาติซีเรีย[470] แม้สมาชิกกรมการเมืองของกลุ่ม อะห์มัด มุซาแถลงว่า เขาหวังการรับรองจากสภาแห่งชาติซีเรียในความร่วมมือสิ่งที่เขาแนะว่า "สิ่งที่ชาวซีเรียต้องการ พวกเขาต้องการการปฏิวัติและมิใช่วาระการเมืองและต่างชาติ"[471] ซาอุดีอาระเบียหนุนหลังและติดอาวุธกลุ่มนี้อย่างกว้างขวาง[472][473][474]
กฎบัตรของแนวร่วมอิสลามปฏิเสธมโนทัศน์ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนและโลกวิสัย และมุ่งสถาปนารัฐอิสลามที่ปกครองโดยมัยลิสอัชชูรา (Majlis-ash-Shura) และบังคับใช้ชะรีอะฮ์ กลุ่มยอมรับชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์และศาสนาที่อาศัยอยู่ในซีเรีย ขณะที่ยังต้อนรับนักรบต่างด้าวที่เข้าร่วมกำลังต่อต้านอะซัด และปฏิเสธวิธียุติสงครามกลางเมืองนอกเหนือจากทางทหาร[475]
ในเดือนกันยายน 2556 จอห์น เคอร์รี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ แถลงว่ากลุ่มญิฮัดซะละฟีสุดโต่งประกอบเป็น 15–25% ของกำลังกบฏ[476] จากข้อมูลของชาลส์ ลิสเตอร์ กบฏประมาณ 12% เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มที่เชื่อมโยงกับอัลกออิดะฮ์ 18% เป็นของอะห์รัรอัชชาม และ 9% เป็นของศุกูรอัชชาม (Suqour al-Sham Brigade)[477][478] จำนวนนี้ค้านกับกลุ่มสารสนเทศเจนส์ (Jane's Information Group) สิ่งพิมพ์ด้านกลาโหม อ้างว่ากบฏทั้งหมดเกือบครึ่งเข้ากับกลุ่มอิสลาม[479] ศูนย์ศาสนาและภูมิรัฐศาสตร์ คลังสมอง (think-tank) สัญชาติบริติช ซึ่งเชื่อมโยงกับอดีตนายกรัฐมนตรีบริติช โทนี แบลร์ กล่าวว่า กบฏ 60% อาจจำแนกเป็นพวกหัวรุนแรงอิสลาม[480] นักรบต่างด้าวเข้าร่วมความขัดแย้งโดยอยู่ฝ่ายค้านซีเรีย[481]
ศูนย์ระหว่างประเทศเพื่อการศึกษาการทำให้หัวรุนแรงและความรุนแรงทางการเมือง (The International Centre for the Study of Radicalisation and Political Violence) ประมาณว่านักรบต่างด้าว 2,000–5,500 คนไปประเทศซีเรียนับแต่เริ่มการประท้วง โดยประมาณ 7–11% มาจากทวีปยุโรป ศูนย์ฯ ยังประมาณว่าจำนวนนักรบต่าวด้าวมีไม่เกิน 10% ของกองทัพฝ่ายค้าน[482] อีกการประมาณหนึ่งกะจำนวนนักรบญิฮัดต่างด้าวไว้ 15,000 คนเมื่อต้นปี 2557[483] คณะกรรมการยุโรปแสดงความกังวลว่า นักรบบางส่วนอาจใช้ทักษะที่ได้ในประเทศซีเรียกลับมาก่อการร้ายในทวีปยุโรปในอนาคต[484]
ในเดือนตุลาคม 2555 กลุ่มศาสนาอิรักหลายกลุ่มเข้าร่วมความขัดแย้งในซีเรียทั้งสองฝ่าย ซุนนีหัวรุนแรงจากประเทศอิรักเดินทางไปประเทศซีเรียเพื่อต่อสู้กับประธานาธิบดีบัชชาร อัลอะซัดและรัฐบาลซีเรีย[485] นอกจากนี้ ชีอะฮ์จากประเทศอิรัก ในจังหวัดบาบิลและดิยาลา เดินทางไปกรุงดามัสกัสจากกรุงเตหะราน หรือจากนะญัฟ ประเทศอิรัก นครศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามชีอะฮ์ เพื่อพิทักษ์ซัยยิดะห์ซัยนับ (Sayyida Zeinab) มัสยิดสำคัญและแท่นบูชาของนิกายชีอะฮ์ในกรุงดามัสกัส[485]
ในเดือนกันยายน 2556 ผู้นำกองพลน้อยกบฏที่ทรงอำนาจ 13 คนปฏิเสธแนวร่วมแห่งชาติซีเรีย และเรียกร้องให้กฎหมายชะรีอะฮ์เป็น "บ่อเกิดของกฎหมายแหล่งเดียว" กลุ่มกบฏที่ลงนามมีแนวร่วมอัลนุสเราะ อะห์รัรอัชชามและอัลเตาฮีดรวมอยู่ด้วย[486]
แนวร่วมอัลนุสเราะซึ่งเชื่อมโยงกับอัลกออิดะฮ์[487] เป็นกลุ่มญีฮัดใหญ่สุดในประเทศซีเรีย มักถือว่าเป็นส่วนที่ก้าวร้าวและรุนแรงที่สุดของฝ่ายค้าน[488] กลุ่มนี้ก่อเหตุระเบิดฆ่าตัวตายแล้วกว่า 50 ครั้ง ซึ่งรวมเหตุระเบิดที่มีผู้เสียชีวิตหลายครั้งในกรุงดามัสกัสในปี 2554 และ 2555 รัฐบาลซีเรียและรัฐบาลสหรัฐกำหนดให้เป็นองค์การก่อการร้ายในเดือนธันวาคม 2555[92] จากข้อมูลของหน่วยข่าวกรองสหรัฐ รัฐบาลตุรกีสนับสนุนกลุ่มนี้มาหลายปีแล้ว[440] ในเดือนเมษายน 2556 ผู้นำรัฐอิสลามอิรักออกแถลงการณ์เสียงประกาศว่าแนวร่วมอัลนุสเราะเป็นสาขาของตนในประเทศซีเรีย[489] ผู้นำอัลนุสเราะ อะบู โมฮัมมัด อัลโกลานี (Abu Mohammad al-Golani) กล่าวว่า กลุ่มจะไม่รวมกับรัฐอิสลามอิรักแต่จะยังสวามิภักดิ์ต่ออัยมัน อัซเซาะวาฮิรี ผู้นำอัลกออิดะฮ์[490] กำลังคนโดยประมาณของแนวร่วมอัลนุสเราะอยู่ประมาณ 6,000–10,000 คน ซึ่งรวมนักรบต่างด้าวจำนวนมาก[491]
ความสัมพันธ์ระหว่างแนวร่วมอัลนุสเราะและฝ่ายค้านซีเรียพื้นเมืองตึงเครียด แม้อัลนุสเราะต่อสู้ร่วมกับ FSA ในหลายยุทธการ และนักรบ FSA บางส่วนแปรพักตร์ไปแนวร่วมอัลนุสเราะ[492] มุมมองศาสนาเข้มงวดของมูญาฮิดีนและเจตนาบังคับกฎหมายชะรีอะฮ์รบกวนชาวซีเรียจำนวนมาก[493] ผู้บัญชาการกบฏบางนายกล่าวหานักรบญีฮัดว่า "ขโมยการปฏิวัติ" ปล้นโรงงานซีเรียและแสดงอขันติทางศาสนา[494] แนวร่วมอัลนุสเราะถูกกล่าวหาว่าปฏิบัติไม่ดีต่อชนกลุ่มน้อยศาสนาและชาติพันธุ์นับแต่ก่อตั้ง[495]
ชาวเคิร์ดซึ่งส่วนใหญ่เป็นมุสลิมซุนนี และกลุ่มน้อยยะซีดีส (Yezidis) ขนาดเล็กประกอบเป็น 10% ของประชากรซีเรียเมื่อเริ่มการก่อการกำเริบในปี 2554 พวกเขาถูกเลือกปฏิบัติและละเลยหลายทศวรรษ ขาดสิทธิพลเมือง วัฒนธรรม เศรษฐกิจและสังคมพื้นฐาน[496] เมื่อการประท้วงเริ่ม สุดท้ายรัฐบาลอะซัดให้ความเป็นพลเมืองแก่ชาวเคิร์ดไร้สัญชาติประมาณ 200,000 คน ในความพยายามเพื่อหยุดการค้านของชาวเคิร์ดที่อาจเกิดขึ้น[497] การให้สิทธินี้ประกอบกับการสนับสนุนฝ่ายค้านของตุรกีและการมีผู้แทนน้อยเกินในสภาแห่งชาติซีเรีย ส่งผลให้มีชาวเคิร์ดเข้าร่วมสงครามกลางเมืองเป็นจำนวนน้อยกว่าอาหรับซุนนีซีเรีย[497] ผลคือ ความรุนแรงและการปราบปรามของรัฐในพื้นที่เคิร์ดรุนแรงน้อยลง[497] ในแง่ของซีเรียหลังอะซัด มีรายงานว่าชาวเคิร์ดปรารถนาอัตตาณัติระดับหนึ่งในรัฐที่กระจายอำนาจปกครอง[498] เมื่อสงครามกลางเมืองเริ่ม พรรคการเมืองเคิร์ดส่วนใหญ่จัดระเบียบตนเองเป็นคณะกรรมการประสานงานแห่งชาติเพื่อการเปลี่ยนแปลงประชาธิปไตย (NCC) โดยถือท่าทีสายกลางมากกว่าต่อรัฐบาลอะซัด ทว่า ในเดือนตุลาคม 2554 ทุกพรรคยกเว้นพรรคสหภาพประชาธิปไตย (PYD) ออกจาก NCC ไปตั้งองค์การรวมของตนเอง คือ สภาแห่งชาติเคิร์ด
หน่วยป้องกันประชาชนเคิร์ดซีเรีย (YPG) เข้าสู่สงครามกลางเมืองซีเรียครั้งแรกเป็นคู่สงครามในเดือนกรกฎาคม 2555 โดยยึดเมืองโคบานีซึ่งจนถึงเวลานั้นอยู่ในการควบคุมของรัฐบาลอะซัดซีเรีย กำลังประชาธิปไตยซีเรียก่อตั้งในเดือนธันวาคม 2558 นำโดยหน่วยป้องกันประชาชน (YPG) เคิร์ดเป็นหลัก ประมาณการขนาดมีตั้งแต่ 55,000[499] ถึง 80,000 คน[500] ส่วนใหญ่เป็นเคิร์ด แต่นักรบประมาณ 40% มิใช่เคิร์ด สภาทหารซีเรีย เช่นเดียวกับทหารอาสาสมัครคริสต์ศาสนิกชนหลายกุล่มเดิมก่อตั้งเพื่อคุ้มครองหมู่บ้านคริสต์ศาสนิกชน แต่เข้าร่วมกำลังเคิร์ดเพื่อยึดอัลฮะซะกะฮ์จาก ISIS ในปลายปี 2558[501] กำลังคุ้มครองแผ่นดินระหว่างสองแม่น้ำหญิง (Female Protection Forces of the Land Between the Two Rivers) เป็นกำลังหญิงล้วนนักรบอัสซีเรียในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของซีเรีย ซึ่งต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กับหน่วยอื่น ๆ[502]
ความขัดแย้งระหว่างหน่วยป้องกันประชาชนเคร์ด (YPG) และกลุ่มอิสลามอย่างแนวร่วมอัลนุสเราะบานปลายตั้งแต่กลุ่มชาวเคิร์ดขับฝ่ายอิสลามออกจากเมืองชายแดนรัสอัลอัยน์ (Ras al-Ain)[503]
วันที่ 17 มีนาคม 2559 สภาประชาธิปไตยซีเรีย ฝ่ายการเมืองของ SDF ประกาศการสถาปนาสหพันธรัฐอัตตาณัติในซีเรียเหนือ[504] สภาประชาธิปไตยซีเรียได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมสันติภาพเจนีวาระหว่างประเทศในเดือนมีนาคม 2559 แต่ปฏิเสธคำเชิญ
รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ (ISIL) หรือรัฐอิสลามอิรักและซีเรีย (ISIS) ได้เปรียบทางทหารอย่างรวดเร็วในซีเรียตอนเหนือเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน 2556 และในกลางปี 2557 ควบคุมส่วนใหญ่ของภูมิภาคนั้น ขณะที่ผู้สังเกตการณ์สิทธิมนุษยชนซีเรียอธิบายว่าเป็น "กลุ่มแข็งแกร่งที่สุด"[505] กลุ่มกำหนดกฎหมายชะรีอะฮ์เข้มงวดเหนือดินแดนที่ตนควบคุม จนถึงปี 2557 กลุ่มสวามิภักดิ์ต่ออัลกออิดะฮ์ ซึ่งมีนักรบชาวอิรัก อะบู บักร์ อัลบัฆดาดี และมีนักรบโดยประมาณ 7,000 คนในประเทศซีเรีย ซึ่งมีผู้ที่มิใช่ชาวซีเรียหลายคน ถูกยกย่องว่าทุจริตน้อยกว่ากลุ่มทหารอาสาสมัครอื่นแต่ถูกวิจารณ์ว่าละเมิดสิทธิมนุษยชน[506] และไม่มีขันติต่อกลุ่มทหารอาสาสมัคร นักหนังสือพิมพ์หรือคนงานช่วยเหลือต่างประเทศ ซึ่งสมาชิกถูกขับไล่ กักขัง[507]หรือประหารชีวิต ไมเคิล ไวส์ (Michael Weiss) เขียนว่า ISIL ไม่ถูกรัฐบาลซีเรียมุ่งเป้า "ด้วยความกระตือรือร้นอย่างเดียวกัน" กับกลุ่มแยกกบฏอื่น[425]
ในฤดูร้อน 2557 ISIL ควบคุมหนึ่งในสามของประเทศซีเรีย สถาปนาตนเป็นกำลังครอบงำของฝ่ายค้านซีเรีย พิชิตยับฮัตอัลนุสเราะ (Jabhat al-Nusra) ในเขตผู้ว่าราชการเดอีร์เอซซอร์ (Deir Ezzor Governorate) และอ้างสิทธิควบคุมเหนือการผลิตน้ำมันและแก๊สส่วนใหญ่ของประเทศซีเรีย[508]
รัฐบาลซีเรียไม่เริ่มต่อสู้กับ ISIL จนเดือนมิถุนายน 2557 แม้มีอยู่ในประเทศซีเรียตั้งแต่เดือนเมษายน 2556 จากข้อมูลของข้าราชการเคิร์ดผู้หนึ่ง[509]
ISIL สามารถเกณฑ์นักรบได้กว่า 6,300 คนในเดือนกรกฎาคม 2557 เดือนเดียว[510] ในเดือนกันยายน 2557 มีรายงานว่า กบฏซีเรียบางส่วนลงนามความตกลง "ไม่รุกราน" กับ ISIL ในชานกรุงดามัสกัส โดยอ้างความไร้สามารถจัดการกับทั้งการโจมตีของ ISIL และกองทัพซีเรียได้พร้อมกัน[511] ทว่า กบฏซีเรียบางส่วนประณามข่าวสนธิสัญญา "ไม่รุกราน" ISIL ยังวางระเบิดในพื้นที่นครโบราณพัลไมรา นครซึ่งมีประชากร 50,000 คน พัลไมรานับเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก เพราะเป็นที่ของซากปรักโรมันโบราณที่กว้างใหญ่และรักษาดีที่สุดแห่งหนึ่งในโลก[512]
ประเทศจำนวนหนึ่ง รวมทั้งสมาชิกนาโต้หลายประเทศ เข้าร่วมกำลังเฉพาะกิจร่วมผสม (Combined Joint Task Force) โดยหลักเพื่อต่อสู้กับ ISIL และสนับสนุนกลุ่มกบฏที่ถูกมองว่าสายกลางและเป็นมิตรต่อชาติตะวันตกอย่างกองทัพซีเรียเสรี ประเทศที่ดำเนินการโจมตีทางอากาศในประเทศซีเรียมีสหรัฐ ออสเตรเลีย บาห์เรน แคนาดา ฝรั่งเศส จอร์แดน เนเธอร์แลนด์ ซาอุดีอาระเบีย ตุรกี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และสหราชอาณาจักร[513] สมาชิกบางประเทศเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งนอกเหนือจากการสู้รบกับ ISIL คือ ประเทศตุรกีถูกกล่าวหาว่าต่อสู้กับกำลังเคิร์ดในประเทศซีเรียและอิรัก รวมทั้งการประสานงานด้านข่าวกรองกับ ISIL ในบางกรณี[514][515] ข้อสรุปของการประเมินที่เป็นความลับสูงที่สำนักข่าวกรองกลาโหม (DIA) ดำเนินการและเสนาธิการร่วมในปี 2556 มีว่า ประเทศตุรกีเปลี่ยนโครงการอาวุธลับของสหรัฐเพื่อสนับสนุนกบฏสายกลางซึ่งไม่มีอยู่แล้วเป็นโครงการจัดหาการสนับสนุนทางเทคนิคและลอจิสติกส์แบบไม่เลือกแก่ฝ่ายค้านทั้งหมด ซึ่งรวมยับฮัตอัลนุสเราะและรัฐอิสลาม[440]
ทั้งรัฐบาลซีเรียและฝ่ายค้านได้รับการสนับสนุนทั้งทางทหารและการทูตจากต่างประเทศซึ่งนำให้ความขัดแย้งนี้ถูกขนานนามว่า สงครามตัวแทน[516] ภาคีหลักที่สนับสนุนรัฐบาลซีเรีย ได้แก่ ประเทศรัสเซีย อิหร่านและฮิซบุลลอฮ์ ทั้งสองประทเศพัวพันในสงครามทั้งทางการเมืองและลอจิสติกส์โดยจัดหายุทธภัณฑ์ การฝึกกำลังพลและกำลังรบ รัฐบาลซีเรียยังได้รับอาวุธจากประเทศรัสเซียและการสนับสนุนข่าวกรองทางสัญญาณโดยตรงจากหน่วยอำนวยการข่าวกรองหลัก (GRU)[517] นอกเหนือไปจากการสนับสนุนทางการเมืองอย่างสำคัญจากรัสเซีย[518]
องค์กรฝ่ายค้านหลักของซีเรีย หรือแนวร่วมซีเรีย ได้รับการสนับสนุนทางการเมือง ลอจิสติกส์และทางทหารจากสหรัฐ บริเตนและฝรั่งเศส[519] กบฏซีเรียบางส่วนได้รับการฝึกจากซีไอเอที่ฐานทัพในประเทศกาตาร์ จอร์แดนและซาอุดีอาระเบีย[520] ภายใต้โครงการทิมเบอร์ซิกามอร์ (Timber Sycamore) และความเคลื่อนไหวซ่อนเร้นอื่น เจ้าหน้าที่ซีไอเอและทหารปฏิบัติการพิเศษของสหรัฐฝึกและติดอาวุธนักรบฝ่ายกบฏเกือบ 10,000 คนเป็นมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐตั้งแต่ปี 2555[521] ฝ่ายค้านซีเรียยังได้รับการสนับสนุนทางลอจิสติกส์และการเมืองจากรัฐซุนนี ที่สำคัญคือ ประเทศตุรกี กาตาร์และซาอุดีอาระเบีย ทว่ารัฐผู้สนับสนุนหลักทั้งสามมิได้ส่งกำลังพัวพันโดยตรงในสงคราม แม้ประเทศตุรกีมีอุบัติการณ์ชายแดนกับกองทัพซีเรีย เดอะไฟแนนเชียลไทมส์และดิอินดีเพนเดนต์รายงานว่าประเทศกาตาร์ให้เงินทุนกบฏซีเรียมากถึง 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[522] มีรายงานว่าประเทศกาตาร์เสนอข้อตกลงลี้ภัยประมาณ 50,000 ดอลลาร์สหสรัฐต่อปีแก่ผู้แปรพักตร์และครอบครัว[522] ประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นกลุ่มหลักที่ให้เงินสนับสนุนและติดอาวุธฝ่ายกบฏ[523] ในปี 2557 ฝ่ายข่าวกรองสหรัฐประมาณการว่าฝ่ายค้านได้รับเงินทุนสนับสนุนจากซาอุดีอาระเบียปีละ 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การกำหนด FSA เป็นกลุ่มแยกฝ่ายค้านสายกลางโดยตะวันตกทำให้ FSA ได้รับอาวุธทันสมัยและการสนับสนุนอื่นจากสหรัฐ ตุรกีและประเทศอ่าวบางประเทศซึ่งเพิ่มสมรรถนะการสู้รบรวมของกบฏอิสลามิสต์[443][444]
สถานีโทรทัศน์ฝรั่งเศส ฟรานซ์ 24 รายงานว่ารัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ ซึ่งมีนักรบญิฮัดต่างด้าวประมาณ 3,000 คน[524] "ได้รับการบริจาคเอกชนจากรัฐอ่าว"[525] มีการประมาณว่า ISIL ขายน้ำมันเป็นมูลค่าระหว่าง 1–4 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อวันแก่ผู้ซื้อชาวตุรกีเป็นหลัก ระหว่างอย่างน้อยหกเดือนในปี 2556 ซึ่งช่วยการเติบโตของกลุ่มอย่างมาก[526] รัฐบาลตุรกียังถูกกล่าวหาว่าช่วยเหลือ ISIL โดยเพิกเฉยต่อการขนย้ายอาวุธ นักรบ น้ำมันและโบราณวัตถุที่ถูกปล้นอย่างผิดกฎหมายข้ามชายแดนทางใต้[527] ในปี 2558 ประเทศกาตาร์ ซาอุดีอาระเบียและตุรกีหนุนหลังกองทัพพิชิตดินแดนอย่างเปิดเผย ซึ่งเป็นกลุ่มกบฏรวมซึ่งมีรายงานว่ารวมแนวร่วมอัลนุสเราะซึ่งเกี่ยวข้องกับอัลกออิดะฮ์และแนวร่วมซาลาฟีอีกหนึ่ง เรียก อะห์รัรอัชชาม และฟัยลักอัลชาม แนวร่วมของกลุ่มกบฏที่เชื่อมโยงกับภราดรภาพมุสลิม[446][447] กลุ่มฝ่ายค้านเคิรดซีเรียหลัก PYD มีรายงานว่าได้รับการสนับสนุนทางลอจิสติกส์และการฝึกฝนกำลังพลจากอิรักเคอร์ดิสถาน
อาสาสมัครต่างประเทศเข้าร่วมการพิพาทนี้เพื่อคัดค้านอะซัด ส่วนใหญ่เป็นญิฮัด แต่บางคน เช่น Mahdi al-Harati (อดีตผู้บังคับบัญชาในสงครามกลางเมืองลิเบีย) ร่วมสนับสนุนฝ่ายค้านซีเรีย[528]
ศูนย์การศึกษาการกลายเป็นหัวรุนแรงและความรุนแรงทางการเมืองระหว่างประเทศ (The International Centre for the Study of Radicalisation and Political Violence) ประมาณการว่ามีนักรบต่างประเทศ 2,000–5,500 คนเดินทางไปประเทศซีเรียนับแต่เริ่มต้นการประท้วง ประมาณร้อยละ 7–11 มาจากทวีปยุโรป มีประมาณการว่าจำนวนนักรบต่างประเทศไม่เกินร้อยละ 10 ของกองทัพฝ่ายค้าน[529] ต้นปี 2557 มีประมาณการญิฮัดต่างประเทศไว้ 15,000 คน[483] ในเดือนตุลาคม 2555 กลุ่มศาสนาในอิรักหลายกลุ่มเข้าร่วมความขัดแย้งในประเทศซีเรียทั้งสองฝ่าย ซุนนีหัวรุนแรงจากประเทศอิรักเดินทางเข้าสู่ประเทศซีเรียเพื่อต่อสู้รัฐบาลซีเรีย[485] ในเดือนธันวาคม 2558 กลุ่ม Soufan ประมาณการว่ามีนักรบต่างประเทศรวม 27,000–31,000 คนจาก 86 ประเทศเดินทางไปประเทศซีเรียและอิรักเพื่อเข้าร่วมกับกลุ่มสุดโต่ง[530]
สันนิบาตอาหรับ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรปและอีกหลายประเทศประณามการใช้ความรุนแรงต่อผู้ประท้วง สันนิบาตอาหรับระงับสมาชิกภาพของซีเรียเพราะการตอบสนองต่อวิกฤตการณ์ดังกล่าวของรัฐบาล แต่ให้ที่นั่งแก่แนวร่วมแห่งชาติซีเรียเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2556[531] สันนิบาตอาหรับยังส่งคณะผู้แทนสังเกตการณ์ในเดือนธันวาคม 2554 โดยเป็นส่วนหนึ่งของข้อเสนอการแก้ไขวิกฤตการณ์อย่างสันติ มีความพยายามระงับวิกฤตการณ์อื่นอีก ผ่านการแต่งตั้งโคฟี อันนันเป็นผู้แทนทางการทูตพิเศษ
เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2555 กาชาดสากลประเมินความขัดแย้งซีเรียว่าเป็น "การขัดกันด้วยอาวุธไม่ระหว่างประเทศ" (เป็นศัพท์กฎหมายของสงครามกลางเมือง) ฉะนั้น จึงบังคับใช้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศภายใต้อนุสัญญาเจนีวาต่อซีเรีย สงครามลดระดับลงเป็นการคุมเชิงในต้นปี 2556 โดยฝ่ายกบฏค่อย ๆ ได้พื้นที่ในบางบริเวณ[532][533] ขณะที่ในบางบริเวณ ฝ่ายรัฐบาลก็ค่อย ๆ ได้พื้นที่เช่นกัน[534]
กลุ่มสิทธิมนุษยชนรายงานว่า การละเมิดส่วนใหญ่กระทำโดยกำลังรัฐบาลซีเรีย และการสืบสวนของสหประชาชาติสรุปว่า การละเมิดของรัฐบาลนั้นมีความร้ายแรงและขอบเขตสูงสุด[535][536]
ระหว่างสงคราม มีการริเริ่มสันติภาพระหว่างประเทศหลายครั้งที่สันนิบาตอาหรับ สหประชาชาติและตัวแสดงอื่นจัดการ[537] รัฐบาลซีเรียปฏิเสธความพยายามเจรจากับฝ่ายที่เรียกว่ากลุ่มก่อการร้ายติดอาวุธ[538] วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 ยูเอ็นประกาศเริ่มการเจรจาสันติภาพซีเรียเจนีวาที่ยูเอ็นเป็นตัวกลางอย่างเป็นทางการ[105] ซึ่งกลุ่มสนับสนุนซีเรียนานาชาติ (International Syria Support Group) ในกรุงเวียนนาตกลงกัน วันที่ 3 กุมภาพันธ์ ตัวกลางสันติภาพซีเรียของยูเอ็นระงับการเจรจา[539] วันที่ 14 มีนาคม การเจรจาสันติภาพเจนีวาเริ่มอีกครั้ง รัฐบาลซีเรียยืนกรานว่าการอภิปรายเรื่องประธานาธิบดีบัชชาร อัลอะซัด "เป็นเส้นแดง" ทว่า ประธานาธิบดีซีเรียบัชชาร อัลอะซัดกล่าวว่าเขาหวังว่าการเจรจาสันติภาพในเจนีวาจะยังผลจับต้องได้ และเน้นความจำเป็นของกระบวนการทางการเมืองในประเทศซีเรีย[540]
การเจรจารอบใหม่ระหว่างรัฐบาลาซีเรียและกลุ่มกบฏซีเรียบางกลุ่มได้ข้อสรุปในวันที่ 24 มกราคม 2560 ในกรุงอัสตานา ประเทศคาซัคสถาน โดยรัสเซีย อิหร่านและตุรกีสนับสนุนความตกลงหยุดยิงที่เป็นนายหน้าในปลายเดือนธันวาคม 2559[541] เจ้าหน้าที่รัสเซียอธิบายการเจรจากระบวนการอัสตานาว่าเป็นการเสริมการเจรจากระบวนการเจนีวาที่สหประชาชาตินำ[541] วันที่ 4 พฤษภาคม 2560 ในการประชุมกรุงอัสตานารอบสี่ ผู้แทนรัสเซีย อิหร่านและตุรกีลงนามบันทึกความเข้าใจซึ่งมีการตั้ง "เขตลดขอบเขตสงคราม" ในซีเรีย มีผลวันที่ 6 พฤษภาคม 2560[542][543]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.