Loading AI tools
อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศุภชัย โพธิ์สุ ม.ป.ช. ม.ว.ม. (เกิด 1 มกราคม พ.ศ. 2501) ชื่อเล่น แก้ว เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย[1] อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม เป็นแกนนำกลุ่มเพื่อนเนวิน พรรคภูมิใจไทย
ศุภชัย โพธิ์สุ | |
---|---|
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง | |
ดำรงตำแหน่ง 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 (3 ปี 296 วัน) | |
ก่อนหน้า | วิสุทธิ์ ไชยณรุณ |
ถัดไป | พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 – 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554 (2 ปี 71 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ |
ก่อนหน้า | ชาติชาย พุคยาภรณ์ |
ถัดไป | พรศักดิ์ เจริญประเสริฐ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 มกราคม พ.ศ. 2501 อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ภูมิใจไทย (2551–ปัจจุบัน) |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | คอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (2519–2528) มวลชน (2529–2531) กิจสังคม (2531–2534) ประชาธิปัตย์ (2534–2537) ชาติไทย (2537–2544) ความหวังใหม่ (2544–2545) ไทยรักไทย (2545–2550) พลังประชาชน (2550–2551) |
คู่สมรส | พูนสุข โพธิ์สุ |
บุตร | ศุภพานี โพธิ์สุ |
ศุภชัย โพธิ์สุ เกิดเมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2501 เป็นบุตรของนายดี และ นางปาน โพธิ์สุ ศุภชัยเกิดมาในครอบครัวที่มีฐานะยากจน พ่อแม่ประกอบอาชีพเกษตรกร พำนักอยู่ที่บ้านแค ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม หลังจากนั้น เมื่อเขาอายุ 11 ปี พ่อของเขาได้เสียชีวิตลง เขาต้องอยู่กับแม่พร้อมกับพี่น้อง 7 คน[2]
เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2519 เขาได้ออกไปร่วมการต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย โดยได้รับสมญาว่า สหายแสง หลังจากต่อสู้ได้ 9 ปี ไม่ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงประเทศ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยล่มสลาย เขาจึงออกมามาสอบบรรจุเป็นข้าราชการครูโดยบรรจุสังกัด โรงเรียนบ้านท่าหนามแก้ว[3]ตำบลพะทาย อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ระหว่างปี พ.ศ. 2531 - พ.ศ. 2532
หลังจากนั้น เขาได้ลาออกมาลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งไม่ได้รับเลือก 3 ครั้ง
เขาจึงมาลงสมัครสมาชิกสภาจังหวัดนครพนม และได้รับการเลือกตั้ง ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาจังหวัด 1 สมัย จากนั้นได้มาสมัครผู้แทนราษฎรอีกครั้งหนึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2544 ในนามพรรคความหวังใหม่ จนประสบความสำเร็จได้เป็นสมาชิกผู้แทนราษฏรครั้งแรก ต่อมา เขาได้รับเลือกเป็นสมาชิกผู้แทนราษฏรติดต่อกัน 3 สมัย หลังจากพรรคพลังประชาชนถูกยุบ ได้ออกมาร่วมกับเนวิน ชิดชอบ ได้ก่อตั้งพรรคภูมิใจไทย และได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในปี พ.ศ. 2552 -2554
ในการเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฏร พ.ศ. 2562 เขาได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคภูมิใจไทย เขต 1 จังหวัดนครพนม และได้รับการลงมติจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสภาให้ดำรงตำแหน่งรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง ด้วยคะแนน 256 เสียง[4][5][6]
นอกจากนี้ยังมีชื่อว่า สหายแสง จากการเกิดเหตุวิวาทะกันระหว่างศุภชัย ซึ่งทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุมกับ พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเสรีรวมไทย ที่ยังยืนยันว่าจะอภิปราย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับการถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนการเข้ารับหน้าที่ไม่ครบถ้วน แต่ศุภชัยไม่อนุญาต
นายศุภชัย สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี ศึกษาศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) (บริหารการศึกษา) จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) (รัฐศาสตร์-การเมืองการปกครอง) จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
นายศุภชัย เป็นแกนนำกลุ่มเพื่อนเนวิน ที่ให้การสนับสนุนให้พรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล โดยสนับสนุนให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี หลังจากที่คณะรัฐมนตรีภายใต้การนำของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ต้องพ้นสภาพไปเนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญมีมติยุบพรรคพลังประชาชน เมื่อปลายปี พ.ศ. 2551
นายศุภชัย โพธิ์สุ ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์[7] ภายหลังจากที่พรรคภูมิใจไทยมีมติให้นายชาติชาย พุคยาภรณ์ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรี เพื่อเปิดทางให้นายศุภชัย ดำรงตำแหน่งแทน ในระหว่างดำรงตำแหน่ง นายศุภชัย โพธิ์สุ ได้รับฉายาว่า "พี่แก้วไม่มีวันร้าว"
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 ศุภชัยลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดนครพนม สังกัดพรรคภูมิใจไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับนายยุทธจักร เรืองวรบูรณ์ จากพรรคเพื่อไทย
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 ศุภชัยลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดนครพนม สังกัดพรรคภูมิใจไทยอีกครั้ง และได้รับเลือกตั้งก่อนที่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรจะมีมติเลือกศุภชัยให้ดำรงตำแหน่งรองประธานสภาคนที่ 2 โดยเอาชนะนายแพทย์ประสงค์ บูรณ์พงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเสรีรวมไทย ด้วยคะแนนเสียง 256-239 เสียง[8]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 ศุภชัยลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดนครพนม สังกัดพรรคภูมิใจไทยอีกครั้ง แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน[9]
เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ศุภชัยได้ขึ้นเวทีปราศรัยเปิดตัวผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในนามพรรคภูมิใจไทยในพื้นที่จังหวัดนครพนม โดยมีบางช่วงบางตอนที่เขากล่าวถึงกรณีที่พัฒนา สัพโส อภิปรายไม่ไว้วางใจศักดิ์สยาม ชิดชอบ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในกรณีการจัดสรรงบประมาณลงพื้นที่อย่างไม่เป็นธรรมและงบประมาณกระจุกตัวอยู่เพียงจังหวัดที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคภูมิใจไทย ศุภชัยได้ต่อว่าพัฒนาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพื้นที่จังหวัดสกลนครและจังหวัดอุดรธานีบนเวทีปราศรัยว่า "ไอ้โง่"[10] รวมถึงกล่าวว่าหากจังหวัดสกลนครและจังหวัดอุดรธานึต้องการงบประมาณมากกว่านี้ให้คนในพื้นที่เลือกพรรคภูมิใจไทยในการเลือกตั้งครั้งหน้าจึงจะจัดสรรงบประมาณให้[10]
การปราศรัยของศุภชัยในช่วงเวลาดังกล่าวก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมเป็นจำนวนมาก[10] โดยหลังวันปราศรัย 2 วัน คือเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2565 มีการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนของพรรคเพื่อไทย[11] โดยนอกจากพัฒนา สัพโส แล้ว ยังมี นิยม เวชกามา, อนันต์ ศรีพันธุ์ และ อดิศร เพียงเกษ ที่มาร่วมแถลงด้วย โดยสาระสำคัญเป็นการเรียกร้องกดดันให้ศุภชัยลาออกจากรองประธานสภาผู้แทนราษฎร[12] และกล่าวว่าจะดำเนินคดีตามกฎหมายจนถึงที่สุด[11] ก่อนที่ศุภชัยจะกล่าวขอโทษพัฒนารวมถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและคนในพื้นที่ของจังหวัดทั้งสองในเวลาต่อมา[13]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.