นิยม เวชกามา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นิยม เวชกามา (เกิด 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2494) เป็นนักการเมืองชาวไทย ตําเเหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีประจําสำนักนายกรัฐมนตรี (ชูศักดิ์ ศิรินิล) ในรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร สังกัดพรรคเพื่อไทย
นิยม เวชกามา | |
---|---|
![]() นิยม ในปี พ.ศ. 2562 | |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร | |
ดำรงตำแหน่ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 | |
ก่อนหน้า | เฉลิมชัย อุฬารกุล |
ถัดไป | ชาตรี หล้าพรหม |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2494 อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร |
พรรคการเมือง | พลังประชาชน (2550–2551) เพื่อไทย (2551–ปัจจุบัน) |
ประวัติ
นิยม เวชกามา เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2494 ที่อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เป็นบุตรของนายลี และนางคำผล เวชกามา สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีครุศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยครูสกลนคร ปริญญาตรีนิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ปริญญาโทรัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง และปริญญาเอกพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต(สาขาพุทธจิตวิทยา) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สมรสกับนางนลินี (สกุลเดิม วงศ์กาฬสินธุ์) มีบุตร 4 คน
งานการเมือง
- รับราชการเป็นหัวหน้าสำนักงานประกันภัยจังหวัดสกลนคร สังกัดกระทรวงพาณิชย์
- พ.ศ. 2550 ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นครั้งแรกในสังกัดพรรคพลังประชาชน และได้รับการเลือกตั้งเป็นครั้งแรก ได้คะแนนมาเป็นอันดับที่ 2 ของเขต (มี ส.ส.ได้ 3 คน) ต่อมา พ.ศ. 2554 ลงสมัครและได้รับการเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 สังกัดพรรคเพื่อไทย
- ในรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร ได้รับการเเต่งตั้งเป็นข้าราชการการเมืองตําเเหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีประจําสำนักนายกรัฐมนตรี (ชูศักดิ์ ศิรินิล) ในวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2567
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
นิยม เวชกามา ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดสกลนคร สังกัดพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541) → พรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดสกลนคร สังกัดพรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดสกลนคร สังกัดพรรคเพื่อไทย
การอุปถัมภ์คุ้มครองพระพุทธศาสนา
เป็นนักการเมืองที่มีบทบาทสำคัญในการอุปถัมภ์เชิดชูคุ้มครองพระพุทธศาสนาในการอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรไทยและในรัฐสภาไทยที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาหลักสำคัญของประเทศชาติ[1]
- ร่างพระราชบัญญัติอุปถัมภ์และส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พ.ศ. ....
- ร่างพระราชบัญญัติธนาคารพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ....
- ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการเดินทางไปพุทธสังเวชนียสถาน พ.ศ. ....
- ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมพุทธศาสนิกชนในการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา พ.ศ. ....
- ร่างพระราชบัญญัติสภาองค์กรส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนา พ.ศ. ....
- คณะกรรมาธิการ ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม[2]
- ที่ปรึกษาอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาด้านพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่นๆสภาผู้แทนราษฎรไทย[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2563 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2554 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2545 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[6]
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.