Loading AI tools
วัคซีนเชื้อตายสำหรับโควิด-19 ของบริษัทซิโนฟาร์ม จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
BBIBP-CorV หรือ วัคซีนโควิด-19 ของซิโนฟาร์ม[2] หรือ วัคซีน BIBP[2][3][4] เป็นวัคซีนโควิด-19 ชนิดไวรัสโควิด-19 เชื้อตาย (inactivated) อย่างหนึ่งในสองอย่างที่หน่วยงานของซิโนฟาร์ม คือสถาบันผลิตภัณฑ์ชีวภาพแห่งปักกิ่ง (Beijing Institute of Biological Products) เป็นผู้พัฒนา[5] เนื่องจากหน่วยงานมีชื่อภาษาอังกฤษอีกอย่างหนึ่งว่า Beijing Bio-Institute of Biological Products[6] จึงมีตัวย่อเป็นชื่อวัคซีนสองอย่าง คือ BBIBP และ BIBP แม้จะเป็นวัคซีนเดียวกัน วัคซีนได้ผ่านการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ในประเทศอาร์เจนตินา บาห์เรน โมร็อกโก ปากีสถาน เปรู และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยรวม ๆ มีอาสาสมัครเกิน 60,000 คน[7] วัคซีนใช้เทคโนโลยีเดียวกันกับโคโรนาแว็ก (ซิโนแวค) และโคแว็กซิน (ภารัตไบโอเทค) ซึ่งเป็นวัคซีนไวรัสเชื้อตายที่ได้ขึ้นทะเบียนให้ใช้สำหรับโควิด-19 เช่นกัน[8] ผลิตภัณฑ์มีป้ายชื่อว่า SARS-CoV-2 Vaccine (Vero Cell)[9][10][11] จึงไม่ควรสับสนกับป้ายชื่อของซิโนแวค[12][13] วัคซีนเชื้อตายอีกอย่างที่บริษัทพัฒนาขึ้นมีรหัสว่า WIBP-CorV
ขวดวัคซีนของซิโนฟาร์ม (BBIBP-CorV) | |
รายละเอียดวัคซีน | |
---|---|
โรคที่เป็นข้อบ่งชี้ | SARS-CoV-2 |
ชนิด | เชื้อตาย |
ข้อมูลทางคลินิก | |
ชื่ออื่น | Zhong'aikewei (จีน: 众爱可维), Hayat-Vax |
ช่องทางการรับยา | ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ |
รหัส ATC | |
กฏหมาย | |
สถานะตามกฏหมาย |
|
ตัวบ่งชี้ | |
เลขทะเบียน CAS | |
DrugBank | |
ในเดือนพฤษภาคม 2021 ผลการทดลองระยะที่ 3 ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และบาห์เรนได้ตีพิมพ์อย่างเป็นทางการในวารสารแพทย์ JAMA ซึ่งทบทวนโดยผู้รู้เสมอกัน ผลแสดงว่า วัคซีนมีประสิทธิศักย์ต้านการติดเชื้อแบบมีอาการที่ร้อยละ 78.1 และการติดเชื้อแบบมีอาการรุนแรงเต็มร้อย[14] ก่อนหน้านั้นในเดือนธันวาคม 2020 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ประกาศผลการทดลองในระหว่างที่แสดงประสิทธิศักย์ของวัคซีนที่ร้อยละ 86[15]
แม้วัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ เช่นวัคซีนของไฟเซอร์และของโมเดอร์นา จะมีประสิทธิศักย์สูงกว่าคือเกินร้อยละ 90 แต่การแจกจำหน่ายก็เป็นปัญหาในบางประเทศ เพราะอาจต้องเก็บและขนส่งด้วยตู้แช่แข็งที่มีอุณหภูมิต่ำมาก วัคซีนของซิโนฟาร์มจึงอาจใช้ในประเทศกำลังพัฒนาได้ดีเพราะสามารถเก็บและขนส่งได้ด้วยตู้เย็นแช่ยาปกติ[16]
วัคซีนได้นำไปฉีดให้แก่ประชาชนในประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย[17][18] แอฟริกา[19][20][21] อเมริกาใต้[22][23][24] และยุโรป[25][26][27] บริษัทคาดว่าจะผลิตวัคซีนได้ 1,000 ล้านโดสในปี 2021[28] จนถึงเดือนพฤษภาคม 2021 บริษัทได้จัดส่งวัคซีนประมาณ 200 ล้านโดสแล้ว[29]
ในวันที่ 7 พฤษภาคม 2021 องค์การอนามัยโลกได้ขึ้นทะเบียนให้ใช้ในโปรแกรมโคแวกซ์[30][31] และโคแวกซ์ก็ได้เซ็นสัญญาสั่งซื้อวัคซีน 170 ล้านโดสในกลางเดือนกรกฎาคม[32]
สำหรับประเทศไทย ในปลายเดือนพฤษภาคม 2021 คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ประกาศขึ้นทะเบียนวัคซีนนี้เป็นการฉุกเฉิน[33][34] ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จะเป็นผู้นำเข้าวัคซีนนี้โดยเป็นวัคซีนทางเลือกที่มีค่าใช้จ่ายและไม่ซ้ำกับวัคซีนที่รัฐจัดฉีดให้แก่ประชาชนฟรี หน่วยงานต่าง ๆ สามารถซื้อต่อจากราชวิทยาลัยไปฉีดให้บุคคลเป้าหมายต่าง ๆ ได้[35][36] ในกลางเดือนมิถุนายน ราชวิทยาลัยได้เปิดให้องค์กร/หน่วยงานลงทะเบียนจองวัคซีนโดยมีราคาเข็มละ 888 บาท และรวมค่าขนส่ง ค่าเก็บรักษา กับการประกันผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากวัคซีนแล้ว[37] แล้วต่อมาปลายเดือน จึงเริ่มให้ฉีดวัคซีนพร้อมกันทั่วประเทศ[38] ในกลางเดือนกรกฎาคม ราชวิทยาลัยได้ให้บุคคลธรรมดาลงทะเบียนจองฉีดวัคซีนนี้เป็นรอบแรกจำนวน 40,000 รายโดยมีค่าใช้จ่าย 1,554 บาท (โดสละ 777 บาท) โดยรวมค่าประกันผลข้างเคียงแล้วแต่ไม่รวมค่าบริการของ รพ. ที่ฉีดให้[39][38] ในวันที่ 1 สิงหาคม ราชวิทยาลัยเปิดเผยว่า ได้จัดสรรวัคซีนแล้ว 8.9 ล้านโดสรวมทั้งให้แก่บุคคลธรรมดาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น[40] ในวันที่ 4 ต่อมา จึงได้เปิดให้บุคคลธรรมดาลงทะเบียนจองฉีดวัคซีนนี้เป็นรอบที่ 2 จำนวน 75,000 รายโดยมีค่าใช้จ่ายเท่ากับที่ให้บุคคลธรรมดาจองในรอบแรก[41] ในวันที่ 27 ต่อมา กระทรวงสาธารณสุขเปิดเผยว่า จะได้รับวัคซีนซิโนฟาร์มปีนี้ทั้งหมด 11 ล้านโดส โดย 9 ล้านโดสจะส่งเสร็จสิ้นในเดือนสิงหาคม และอีก 2 ล้านโดสจะมาในเดือนต่อไป[42][43]
วัคซีนใช้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อเดลทอยด์ ฉีดสองเข็มโดยเว้นระยะ และยังไม่มีหลักฐานให้ฉีดเป็นเข็มที่สาม องค์การอนามัยโลกแนะนำให้เว้นระยะ 3-4 สัปดาห์ระหว่างโดส[44]
งานศึกษาสถานการณ์จริงโดยวิธี test-negative analysis[upper-alpha 1] ในประเทศบาห์เรน (14 วันหลังได้โดสที่สอง) ระบุว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพที่ 90% (95% CI, 88–91%) สำหรับผู้หใญ่อายุระหว่าง 18-59 ปี และที่ 91% (87–94%) สำหรับผู้ใหญ่อายุ 60 ปีและยิ่งกว่า[46] แม้จะมั่นใจในประสิทธิศักย์ทั่วไปของวัคซีน แต่ผู้เชี่ยวชาญขององค์การอนามัยโลกก็มั่นใจน้อยเกี่ยวกับความปลอดภัยของวัคซีนสำหรับบุคคลที่มีโรคเกิดร่วมกัน (เช่นโรคประจำตัว) หญิงมีครรภ์ และคนชราเพราะมีอาสาสมัครเช่นนั้นน้อยในงานศึกษา[47]
ในเดือนเมษายน 2021 งานศึกษาที่ศูนย์สาธารณสุขอาบูดาบีในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์พบว่า วัคซีนมีประสิทธิภาพป้องกันการติดโรคที่ต้องเข้า รพ. 93% ป้องกันการเข้าห้องไอซียู 95%
งานศึกษานี้ไม่มีผู้เสียชีวิตเพราะโควิดสำหรับผู้ที่ได้วัคซีนทั้งสองโดส
แต่ก็ไม่ชัดเจนว่ามีอาสาสมัครเป็นจำนวนเท่าไรในงานศึกษา[48]
ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2021 กระทรวงสาธารณสุขอาร์เจนตินารายงานว่าวัคซีนลดการเสียชีวิตประมาณ 62% หลังจากได้โดสแรก และ 84% หลังจากได้โดสที่สอง[49]
วันที่ 22 กรกฎาคม 2021 สถาบันสาธารณสุขแห่ชาติของเปรูรายงานว่า วัคซีนลดการเสียชีวิต 94% โดยเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลของคน 361,000 คน[50]
ในวันที่ 29 กรกฎาคม ผลเบื้องต้นจากงานศึกษาที่ไม่ได้จัดกลุ่มโดยสุ่มระบุว่า ระดับแอนติบอดีที่วัดได้จะลดลงตามอายุ คือ จากประมาณ 90% สำหรับผู้มีอายุน้อยกว่า 50 ปี จนถึง 50% สำหรับผู้มีอายุเกิน 80 ปี ซึ่งแสดงนัยว่า วัคซีนมีประสิทธิภาพน้อยลงสำหรับคนสูงอายุ[51]
[[|thumb| คู่มือวัคซีนเป็นภาษาจีน ]] ในเดือนพฤษภาคม 2021 ผลการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และบาห์เรนที่ทบทวนโดยผู้รู้เสมอกันและตีพิมพ์ในวารสารแพทย์ JAMA แสดงว่าวัคซีนมีประสิทธิศักย์ต่อต้านการติดเชื้อโควิดทั้งแบบไม่แสดงอาการและแบบแสดงอาการ 74% (61–82%) มีประสิทธิศักย์ต่อต้านการติดเชื้อที่แสดงอาการ 78% (95% CI, 65–86%) และต่อต้านการติดเชื้อแบบมีอาการรุนแรงเกือบเต็มร้อย (ไม่พบในกลุ่มที่ได้วัคซีน พบ 2 รายในกรณีที่ได้ยาหลอก) มีอาสาสมัคร 12,726 คนที่ได้วัคซีน และ 12,737 คนที่ได้ยาหลอกในการทดลองนี้[14] ในเดือนธันวาคมปีก่อน กระทรวงสาธารณสุขของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ประกาศผลการวิเคราะห์ในระหว่างการทดลองที่แสดงว่า วัคซีนมีประสิทธิศักย์ 86% ต่อต้านโรคโควิด-19 และมีประสิทธิศักย์เกือบเต็มร้อยในการป้องกันการติดเชื้อที่มีอาการปานกลางและรุนแรง[52]
ในเดือนกุมภาพันธ์ งานศึกษาในแหล็บกับเซรุ่ม 12 ตัวอย่างที่ได้มาจากผู้ที่ฉีดวัคซีนนี้กับวัคซีน ZF2001 ปรากฏว่ายังคงระดับการลบล้างฤทธิ์ไวรัสสายพันธุ์เบตาได้ แม้จะลดลงเมื่อเทียบกับไวรัสดั้งเดิมบ้าง[53] ค่าเฉลี่ยของภูมิคุ้มกัน (geometric mean titers) ของวัคซีนลดลง 1.6 เท่า คือจาก 110.9 เหลือ 70.9 ซึ่งน้อยกว่าของวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอที่ลดลงเป็น 6 เท่า[54] ข้อมูลการทดลองทางคลินิกเบื้องต้นแสดงว่าวัคซีนโนวาแวกซ์และจอนห์สันก็มีประสิทธิภาพการป้องกันโควิดลดลงในประเทศแอฟริกาใต้ที่สายพันธุ์ใหม่นี้ได้ระบาดไปทั่ว[53]
ในเดือนมิถุนายน งานศึกษากับผู้รับวัคซีน 282 คนในศรีลังกา เป็นงานที่ยังไม่ได้ทบทวนโดยผู้รู้เสมอกัน พบว่า[55][56][57]
BBIBP-CorV เป็นวัคซีนเชื้อตายเหมือนกับซิโนแว็คและโคแว็กซิน ซึ่งใช้เทคโนโลยีผลิตวัคซีนเดิมที่มีอยู่แล้วเช่นดังที่พบในวัคซีนโปลิโอเชื้อตาย การผลิตวัคซีนเริ่มต้นที่การเพาะเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ 19nCoV-CDC-Tan-HB02 (HB02) ซึ่งสามารถแพร่ขยายได้อย่างรวดเร็ว[58] โดยเพาะให้ได้เป็นจำนวนมาก ๆ ในวีโรเซลล์ แล้วจึงชุบไวรัสลงในสารประกอบอินทรีย์คือเบตาโพรพิโอแล็กโทน (β-Propiolactone) ซึ่งฆ่าเชื้อโดยเข้าเชื่อมกับยีนของไวรัสแต่ก็ไม่ได้ทำอะไรกับอนุภาคไวรัส ผลิตภัณฑ์ไวรัสที่ได้ก็จะเติมตัวเสริม (adjuvant) ซึ่งเป็นสารประกอบเชิงอะลูมิเนียม คือ อะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์[8][46]
ในอัปเดตเดือนตุลาคม 2020 บริษัทกล่าวว่าอาจผลิตวัคซีนได้เกิน 1,000 ล้านโดสในปี 2021[59]
ในเดือนธันวาคม อียิปต์ประกาศข้อตกลงระหว่างไซโนฟาร์มกับบริษัทอียิปต์เพื่อผลิตวัคซีนในประเทศ[60]
ในเดือนมีนาคม 2021 บริษัท G42 Healthcare ในดูไบได้ตกลงกับไซโนฟาร์มเพื่อผลิตวัคซีนมากจนถึง 200 ล้านโดสต่อปีสำหรับดูไบและประเทศอื่น ๆ ในตะวันออกกลาง โดยจะมีตราสินค้าว่า Hayat-Vax[61]
ในเดือนมีนาคม เซอร์เบียประกาศแผนการผลิตวัคซีน 24 ล้านโดสต่อปีโดยจะเริ่มในเดือนตุลาคม[62]
ในเดือนเมษายน บังกลาเทศได้อนุมัติให้ผลิตวัคซีนนี้ในประเทศ[63]
ในเดือนกรกฎาคม บริษัท Sothema ของโมร็อกโกประกาศว่าจะผลิตวัคซีน 5 ล้านโดสต่อเดือน[64]
ในเดือนเมษายน 2020 จีนได้อนุมัติให้ทำการทดลองทางคลินิกกับวัคซีนโควิด-19 ที่พัฒนาขึ้นโดยสถาบันผลิตภัณฑ์ชีวภาพแห่งปักกิ่ง (Beijing Institute of Biological Products)[65] และสถาบันผลิตภัณฑ์ชีวภาพแห่งอู่ฮั่น (Wuhan Institute of Biological Products) โดยทั้งสองเป็นส่วนของบริษัทไซโนฟาร์ม[66] วัคซีนทั้งสองเป็นวัคซีนที่ใช้ไวรัสโควิด-19 ที่ฆ่าด้วยสารเคมี (chemically inactivated)
ในวันที่ 15 ตุลาคม สถาบันผลิตภัณฑ์ชีวภาพแห่งปักกิ่งได้ตีพิมพ์ผลที่ได้ในงานวิจัยระยะที่ 1 (มีอาสาสมัครผู้ใหญ่ 192 คน) และระยะที่ 2 (448 คน) สำหรับวัคซีน BBIBP-CorV โดยแสดงว่าปลอดภัยและคนไข้อดทนต่อผลต่าง ๆ ได้ดีสำหรับยาทุก ๆ ขนาดที่ใช้ในกลุ่มการทดลองแบ่งโดยอายุเป็น 2 กลุ่ม ผู้รับวัคซีนทั้งหมดเกิดสารภูมิต้านทานต่อไวรัสโควิด-19 (SARS-CoV-2) ในวันที่ 42 การทดลองเหล่านี้รวมผู้สูงอายุกว่า 60 ปี[65]
ในวันที่ 13 สิงหาคม สถาบันผลิตภัณฑ์ชีวภาพแห่งอู่ฮั่นตีพิมพ์ผลการวิเคราะห์ในระหว่าง (interim) การทดลองระยะที่ 1 (ผู้ใหญ่ 96 คน) แลระยะที่ 2 (224 คน) รายงานนี้ได้ให้ข้อสังเกตว่า วัคซีนแบบไวรัสโควิด-19 ที่ฆ่าแล้วมีผลไม่พึงประสงค์ในอัตราต่ำ และแสดงว่าก่อปฏิกิริยาของระบบภูมิต้านทาน (immunogenicity) แต่ความปลอดภัยและประสิทธิศักย์ก็ยังต้องประเมินด้วยการทดลองระยะที่ 3[66] วัคซีนนี้อาจมีคุณสมบัติหลาย ๆ อย่างที่สามารถให้แก่ประชาชนในประเทศกำลังพัฒนาได้ดี เช่น สามารถเก็บและขนส่งได้ด้วยตู้เย็นปกติ เทียบกับวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ เช่น วัคซีนของไฟเซอร์ ซึ่งแม้จะมีประสิทธิศักย์สูงกว่าคือเกินร้อยละ 90 แต่การแจกจำหน่ายก็เป็นปัญหาในบางประเทศ เพราะอาจต้องเก็บและขนส่งด้วยตู้แช่แข็งที่มีอุณหภูมิต่ำมาก[67] บริษัทไฟเซอร์และโมเดอร์นาเป็นผู้พัฒนาหนึ่ง ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีเอ็มอาร์เอ็นเออันใหม่เอี่ยม แต่ผู้ผลิตอื่น ๆ ก็มีประสบการณ์เป็นสิบ ๆ ปีกับเทคโนโลยีแบบไวรัสเชื้อตายเช่นของซิโนฟาร์ม[67]
ในวันที่ 16 กรกฎาคม 2020 ซิโนฟาร์มเริ่มทดลองวัคซีนในระยะที่ 3 กับอาสาสมัคร 31,000 คนในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์โดยร่วมมือกับบริษัท G42 Healthcare ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในเมืองอาบูดาบี[68] ในเดือนสิงหาคม อาสาสมัครทุกคนก็ได้รับวัคซีนโดสแรกแล้ว และจะได้รับโดสที่สองในอีกไม่กี่อาทิตย์ต่อมา[69] ในวันที่ 9 ธันวาคม กระทรวงสาธารณสุข (Ministry of Health and Prevention) ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ประกาศอนุญาตให้ใช้วัคซีนอย่างเป็นทางการ หลังจากผลการวิเคราะห์การทดลองระยะที่ 3 ในระหว่าง (interim) แสดงว่า วัคซีนมีประสิทธิศักย์ร้อยละ 86 ในการต้านโรค[52] วัคซีนมีอัตราสร้างแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ (sero-conversion, neutralizing antibodies) ที่ร้อยละ 99 และมีประสิทธิภาพเต็มร้อยในการป้องกันการเป็นโรคในระดับรุนแรงและปานกลาง[70] ในเดือนมิถุนายนปีต่อมา ซิโนฟาร์มเริ่มทำการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 กับเด็กและวัยรุ่นอายุระหว่าง 3-17 ปีโดยมีอาสาสมัคร 1,800 คนในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[71]
ในวันที่ 2 กันยายน 2020 บริษัทเริ่มทำการทดลองระยะที่ 3 กับอาสาสามัคร 600 คนในเมืองกาซาบล็องกาและราบัต (ทั้งสองในประเทศโมร็อกโก)[72][73] ในเดือนกันยายน ประเทศอียิปต์เริ่มการทดลองระยะที่ 3 ซึ่งจะดำเนินอยู่ปีหนึ่งและรับอาสาสมัคร 6,000 คน[74]
ในเดือนสิงหาคม 2020 ซิโนฟาร์มเริ่มทดลองวัคซีนระยะที่ 3 กับอาสาสมัคร 6,000 คนในประเทศบาห์เรน[75][76] จนถึงเดือนพฤศจิกายน ได้รับอาสาสมัครในการทดลองนี้แล้ว 7,700 คนโดยทั้งหมดได้วัคซีนโดสที่สองแล้ว[77] ในปลายเดือนสิงหาคม บริษัทก็ได้เริ่มการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ในประเทศจอร์แดนกับอาสาสมัคร 500 คนด้วย[78][79]
อนึ่ง บริษัทยังทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยการาจีเพื่อทดสอบวัคซีนกับอาสาสมัคร 3,000 คน[80] ซึ่งถ้าสำเร็จ ปากีสถานจะได้รับวัคซีนต้น ๆ สำหรับประชาชนประมาณ 1/5 ของประเทศ[81] โดยในเดือนพฤศจิกายน รองอธิการบดีของมหาวิทยาลัยได้แจ้งว่า วัคซีนจะมีใช้ในปากีสถานใน 6-8 สัปดาห์[80]
วันที่ 10 กันยายน ซิโนฟาร์มเริ่มทดลองวัคซีนระยะที่ 3 ในประเทศเปรูโดยมีแผนให้วัคซีนแก่คน 6,000 คนที่มีอายุระหว่าง 18-75 ปี[82] ในเดือนตุลาคม นักวิจัยประกาศว่าจะขยายการทดลองเพิ่มอาสาสมัครอีก 6,000 คน[83] ในวันที่ 12 ธันวาคม เปรูหยุดการทดลองวัคซีนชั่วคราวหลังจากมีอาสาสมัครคนหนึ่งอ่อนล้าที่ขาก่อนจะดำเนินการต่อในวันที่ 16[84] ในวันที่ 26 มกราคมปีต่อมา อาสาสมัครที่ได้รับยาหลอกคนหนึ่งในการทดลองได้เสียชีวิตจากปอดบวมเนื่องกับโควิด[85]
ในวันที่ 16 กันยายน 2020 ประเทศอาร์เจนตินาได้เริ่มการทดลองระยะที่ 3 กับอาสาสมัคร 3,000 คน[86]
ในเดือนกรกฎาคม 2020 วัคซีนนี้ได้ขึ้นทะเบียนให้ใช้เป็นการฉุกเฉินในประเทศจีน[88] ในปลายเดือนธันวาคม จีนจึงได้ขึ้นทะเบียนให้ใช้โดยทั่วไป[17]
ในต้นเดือนพฤศจิกายน บาห์เรนขึ้นทะเบียนให้ใช้เป็นการฉุกเฉินสำหรับบุคลากรด่านหน้า[77]
ในกลางเดือนธันวาคม ก็ได้อนุมัติให้ใช้วัคซีนของซิโนฟาร์ม โดยอ้างข้อมูลจากการทดลองระยะที่ 3 ซึ่งแสดงประสิทธิศักย์ในอัตราร้อยละ 86 ซึ่งบาห์เรนมีส่วนร่วมทดลอง[89]
ในต้นเดือนพฤษภาคม 2021 องค์การอนามัยโลกได้ขึ้นทะเบียนให้ใช้เป็นการฉุกเฉินสำหรับโปรแกรมโคแวกซ์[30][31]
ในเดือนมิถุนายน ฟิลิปปินส์ได้ขึ้นทะเบียนให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน[70]
วัน | จำนวน (โดส) | รวม (โดส) | รายเดือน (โดส) | ส่งจริงรายเดือน (โดส) | ส่งจริงรวม (โดส) |
---|---|---|---|---|---|
20 มิ.ย. | 1 ล้าน | 1 ล้าน | 1 ล้าน | 1 ล้าน | 1 ล้าน |
4 ก.ค. | 1 ล้าน | 2 ล้าน | |||
18 ก.ค. | 1 ล้าน | 3 ล้าน | |||
25 ก.ค. | 1 ล้าน | 4 ล้าน | 3 ล้าน | 3 ล้าน | 4 ล้าน |
1 ส.ค. | 1 ล้าน | 5 ล้าน | |||
15 ส.ค. | 1 ล้าน | 6 ล้าน | |||
22 ส.ค. | 2 ล้าน | 8 ล้าน | |||
29 ส.ค. | 2 ล้าน | 10 ล้าน | 6 ล้าน | 5 ล้าน | 9 ล้าน |
ก.ย. | 2 ล้าน | 11 ล้าน | 2 ล้าน |
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนคน | จำนวนโดส | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
องค์กรนิติบุคคล | 2,264,957 | 4,529,914 | เริ่มฉีด 25 มิ.ย. |
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น | 1,965,944 | 3,931,888 | เริ่มฉีด 28 ก.ค. |
บุคคลธรรมดา | 57,034 | 114,068 | เริ่มฉีด 28 ก.ค. |
ประชาชนผู้เปราะบาง และผู้ด้อยโอกาส | 175,523 | 351,047 | |
รวมเป็นวัคซีนที่จัดสรรแล้ว | 8.9 ล้าน | ||
คงเหลือการจัดสรรอีก | 1.1 ล้าน |
สำหรับประเทศไทย ในวันที่ 28 พฤษภาคม 2021 คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ประกาศขึ้นทะเบียนวัคซีนนี้เป็นการฉุกเฉินแล้ว[33][34] ในวันเดียวกัน เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์แจ้งว่า ราชวิทยาลัยจะเป็นผู้นำเข้าวัคซีนนี้ผ่านบริษัทไบโอจีนีเทค โดยเบื้องต้นจะนำเข้า 1 ล้านโดสในเดือนมิถุนายน มีราคาน่าจะไม่เกิน 1,000 บาทต่อโดส (ต้องฉีดสองโดส) ซึ่งรวมค่าประกันผลข้างเคียงแล้วและเป็นราคาไม่หวังกำไร เป็นวัคซีนทางเลือกที่มีค่าใช้จ่ายและไม่ซ้ำกับวัคซีนที่รัฐจัดฉีดให้แก่ประชาชนฟรี หน่วยงานต่าง ๆ สามารถซื้อต่อจากราชวิทยาลัยไปฉีดให้บุคคลเป้าหมายต่าง ๆ ได้ ทั้งนี้ ราชวิทยาลัยได้เลือกวัคซีนนี้เหตุผลหนึ่งก็เพราะได้การรับรองจากองค์การอนามัยโลก จึงทำให้ อย. พิจารณาได้ง่าย[35][36]
ในวันที่ 14 มิถุนายน ราชวิทยาลัยได้เปิดให้องค์กร/หน่วยงานลงทะเบียนจองวัคซีน โดยมีราคาเข็มละ 888 บาท และรวมค่าขนส่ง ค่าเก็บรักษา กับการประกันผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากวัคซีนแล้ว[37] ต่อมาวันที่ 18 ราชวิทยาลัยจึงสรุปยอดว่ามีองค์กรทั้งหมด 17,071 องค์กรและรายชื่อผู้ฉีดวัคซีน 4,873,659 ราย โดยจะจัดสรรวัคซีนให้แก่ 5,199 องค์กร รวม 476,682 ราย ต่อมาวันที่ 23 ราชวิทยาลัยได้จัดสรรวัคซีนเพิ่มเติมให้แก่ 1,238 องค์กร รวม 302,618 ราย แล้วต่อมาวันที่ 25 จึงเริ่มฉีดวัคซีนพร้อมกันทั่วประเทศ[38]
ในวันที่ 9 กรกฎาคม ราชวิทยาลัยได้เปิดให้แพทย์ที่ยังไม่เคยรับวัคซีนป้องกันโควิดลงทะเบียนฉีดวัคซีนฟรี[90] ต่อมาวันที่ 18 ราชวิทยาลัยจึงได้เปิดให้บุคคลธรรมดาลงทะเบียนจองฉีดวัคซีนนี้เป็นรอบแรกจำนวน 40,000 รายโดยมีค่าใช้จ่าย 1,554 บาทสำหรับ 2 โดสโดยรวมค่าประกันผลข้างเคียงแล้วแต่ไม่รวมค่าบริการของ รพ. ที่ฉีดให้[39][38] และได้เริ่มฉีดให้เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคมทั่วประเทศ[40]
ในวันที่ 1 สิงหาคม ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เปิดเผยไทม์ไลน์การนำเข้าวัคซีน 10 ล้านโดสและแผนการจัดสรรและกระจายวัคซีน โดยมีใจความสำคัญรวมทั้ง[40]
ในวันที่ 4 สิงหาคม ราชวิทยาลัยได้เปิดให้บุคคลธรรมดาลงทะเบียนจองฉีดวัคซีนนี้เป็นรอบที่ 2 จำนวน 75,000 ราย ค่าใช้จ่ายสำหรับวัคซีนสองโดสอยู่ที่ 1,554 บาทต่อคน (โดสละ 777 บาท) โดยราชวิทยาลัยจะบริจาคสมทบครึ่งโดสให้กับผู้ด้อยโอกาส[41] ในวันที่ 11 ต่อมา จึงได้เปิดให้บุคคลธรรมดาลงทะเบียนจองฉีดวัคซีนนี้เป็นรอบที่ 3 จำนวน 100,000 รายโดยมีค่าใช้จ่ายเช่นกัน[91] ในวันที่ 27 ต่อมา กระทรวงสาธารณสุขเปิดเผยว่า จะได้รับวัคซีนซิโนฟาร์มปีนี้ทั้งหมด 11 ล้านโดส โดย 9 ล้านโดสจะส่งเสร็จสิ้นในเดือนสิงหาคม และอีก 2 ล้านโดสจะมาในเดือนต่อไป[42][43]
จนถึงเดือนพฤษภาคม 2021 บริษัทได้จัดส่งวัคซีนประมาณ 200 ล้านโดสแล้ว[29] ในเดือนกรกฎาคม กาวีได้สั่งจองให้ส่งวัคซีนแก่โครงการโคแวกซ์ 60 ล้านโดสในไตรมาสที่ 3 และอาจให้ส่งมากถึง 170 ล้านโดสในครึ่งแรกของปี 2022[92][32]
ในต้นเดือนมิถุนายน อัฟกานิสถานได้รับวัคซีนบริจาค 700,000 โดสจากจีน[93]
ในเดือนกรกฎาคม อาร์มีเนียได้อนุมัติให้สั่งซื้อวัคซีน[94]
ในเดือนพฤษภาคม 2021 เพราะความเป็นห่วงเรื่องประสิทธิภาพ บาห์เรนมีแผนฉีดวัคซีนบูสต์เป็นโดสที่สามแก่กลุ่มเสี่ยงบางกลุ่ม[95]
ในเดือนเมษายน บังกลาเทศได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน[96] จนถึงเดือนกรกฎาคม ก็ได้รับวัคซีนแล้ว 5.6 ล้านโดส จากที่จองซื้อ 15 ล้านโดสทั้งหมด[97]
ในเดือนกุมภาพันธ์ บรูไนได้รับวัคซีนที่จีนบริจาคให้เป็นล็อตแรก[98] ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน[99]
ในเดือนกุมภาพันธ์ กัมพูชาได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน[100] แล้วเริ่มฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนในวันที่ 10 กุมภาพันธ์[101] จนถึงเดือนกรกฎาคม ก็ได้รับวัคซีน 5.2 ล้านโดสแล้ว[102]
จนถึงเดือนพฤศจิกายน 2020 คนเกือบล้านคนในประเทศจีนก็ได้รับวัคซีนผ่านโปรแกรมให้ใช้เป็นการฉุกเฉินของจีน[7]
ในเดือนเมษายน อินโดนีเซียขึ้นทะเบียนวัคซีนให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน[103] ในเดือนพฤษภาคม จึงได้รับวัคซีนบริจาค 500,000 โดสจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[104] ในเดือนกรกฎาคม วัคซีน 7.5 ล้านโดสจากที่สั่งซื้อ 15 ล้านโดสได้มาถึงประเทศโดยจะใช้เป็นวัคซีนทางเลือก ที่บริษัทเอกชนสามารถซื้อวัคซีนเพื่อฉีดให้แก่พนักงานของบริษัทโดยไม่มีค่าใช้จ่าย[105]
ในเดือนกุมภาพันธ์ อิหร่านขึ้นทะเบียนวัคซีนให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน[106] ในกลางเดือนเมษายน ก็ได้รับวัคซีน 650,000 แล้วโดส โดย 400,000 โดสเป็นวัคซีนบริจาคจากสภากาชาดจีน[107]
ในเดือนมกราคม อิรักขึ้นทะเบียนวัคซีนให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน[108] ในต้นเดือนมีนาคม ก็ได้รับล็อตแรกเป็นวัคซีนบริจาคจากจีน โดยกระทรวงสาธารณสุขแจ้งว่าจะสั่งซื้ออีก 2 ล้านโดส[109]
ในเดือนมกราคม 2021 จอร์แดนได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน[110] จนถึงเดือนกรกฎาคม ประชาชน 1.37 ล้านคนได้รับวัคซีนโดสแรกและ 833,000 คนได้รับวัคซีนโดสที่สองแล้ว[111]
ในเดือนเมษายน 2021 คาซัคสถานได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน[112] โดยได้สั่งจองวัคซีน 1 ล้านโดส[113]
ในเดือนมีนาคม 2021 ประเทศคีร์กีซสถานได้รับวัคซีนบริจาค 150,000 โดสจากจีน[114] แล้วเริ่มฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนในปลายเดือน[115]
ในเดือนมกราคม 2021 ลาวได้เริ่มฉีดวัคซีนให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ในกรุงเวียงจันทน์[116] แล้วได้รับวัคซีนอีก 300,000 โดสต้นเดือนกุมภาพันธ์[117]
ในเดือนเมษายน เลบานอนได้รับวัคซีนบริจาค 90,000 โดสจากจีน[118][119] หลังจากที่ได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนให้ใช้เป็นการฉุกเฉินเมื่อต้นเดือนมีนาคม[120]
ในเดือนกุมภาพันธ์ มาเก๊าได้รับวัคซีน 100,000 โดสแรกจากที่สั่งไว้ 400,000 โดส[121]
ในเดือนมีนาคม มัลดีฟส์ได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน[122] และปลายเดือนมีนาคม ก็ได้รับวัคซีน 100,000 โดสจากที่ได้รับบริจาคทั้งหมด 200,000 โดสจากจีน[123]
จนถึงเดือนพฤษภาคม มองโกเลียได้รับวัคซีนแล้ว 4 ล้านโดส[124] โดยมีเจ้าหน้าที่ของรัฐในระดับสูงที่ได้รับวัคซีนตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคมแล้ว[125]
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2021 เนปาลได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน[126] ในวันที่ 12 กรกฎาคม สำนักข่าวเอพีรายงานว่า จีนได้บริจาควัคซีนให้แล้ว 1.8 ล้านโดสและจะขายให้อีก 4 ล้านโดส[127]
ในเดือนมกราคม 2021 ปากีสถานขึ้นทะเบียนวัคซีนให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน[128] แล้วเริ่มฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนในต้นเดือนกุมภาพันธ์[129] ประเทศได้ซื้อวัคซีนแล้วโดยอาจมากถึง 23 ล้านโดส[130] จนถึงเดือนกรกฎาคม ก็ได้รับแล้ว 6 ล้านโดสโดย 1 ล้านโดสเป็นวัคซีนบริจาคจากจีน[131]
ในเดือนมีนาคม 2021 ปาเลสไตน์ได้รับวัคซีน 100,000 โดสที่จีนบริจาคให้[132]
ในเดือนเมษายน 2021 ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ได้รับวัคซีนหลังจากที่องค์กรควบคุมอาหารและยาอนุมัติให้ใช้วัคซีนเป็นความกรุณา (compassionate use) จำนวน 10,000 โดสแก่ผู้รักษาความปลอดภัยของเขา[133]
ในเดือนกรกฎาคม 2021 สิงคโปร์เริ่มนำเข้าวัคซีนโดยเป็นวัคซีนทางเลือก (Special Access Route)[134]
ในเดือนเมษายน ซีเรียได้รับวัคซีน 150,000 โดสที่จีนบริจาคให้[135]
ในเดือนมีนาคม ศรีลังกาขึ้นทะเบียนวัคซีนให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน[136] ประเทศได้สั่งวัคซีน 14 ล้านโดสนอกเหนือจากที่ได้รับบริจาคจากจีนแล้ว 1.1 ล้านโดส[137]
ในเดือนเมษายน 2021 เติร์กเมนิสถานได้เริ่มฉีดวัคซีนนี้ให้แก่ครูและบุคลากรทางการแพทย์[138]
ในกลางเดือนกันยายน 2020 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ก็ได้อนุมัติให้ฉีดวัคซีนแก่เจ้าหน้าที่ด้านหน้าหลังจากได้ผลในระหว่างของการทดลองระยะที่ 3[68] หลังจากวิเคราะห์ผลการทดลองในระหว่าง สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ก็ได้อนุมัติให้ใช้วัคซีนนี้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม[52] ในวันที่ 14 ธันวาคม เมืองหลวงคืออาบูดาบีก็เริ่มให้วัคซีนนี้เป็นจำนวนมากแก่ประชาชนโดยให้สมัครใจเอง[139][140] ในเดือนมีนาคม 2021 คนจำนวนน้อยที่มีภูมิต้านทานอ่อนแอ มีโรคประจำตัว หรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงได้รับวัคซีนบูสต์เป็นโดสที่สาม[141] ในเดือนพฤษภาคม เพราะความเป็นห่วงเรื่องประสิทธิภาพ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ก็ได้อนุญาตให้แก่ประชาชนที่ต้องการฉีดวัคซีนบูสต์เป็นโดสที่สามถ้าได้ฉีดวัคซีนครบเกิน 6 เดือนแล้ว[95]
ในเดือนมิถุนายน เวียดนามได้รับวัคซีนบริจาค 500,000 โดสจากจีน[142] แล้วต่อมาอนุมัติให้นำวัคซีนเข้า 5 ล้านโดส[143]
ในเดือนกุมภาพันธ์ แอลจีเรียได้รับวัคซีนบริจาค 200,000 โดสจากจีน[144]
ในเดือนมีนาคม แองโกลาได้รับวัคซีนบริจาค 200,000 โดสจากจีน[145]
ในเดือนเมษายน แคเมอรูนได้รับวัคซีนบริจาค 200,000 โดสจากจีน[146][147]
ในวันที่ 10 ธันวาคม วัคซีน BBIBP-CorV 50,000 โดสแรกได้ส่งมาถึงท่าอากาศยานนานาชาติไคโรตามรัฐมนตรีสาธารณสุข (Ministry of Health and Population) ของอียิปต์ บุคลากรทางการแพทย์ผู้ทำการใน รพ. ที่กักตัวคนไข้และคนไข้ที่มีปัญหาทางไต หัวใจ และโรคเรื้อรังเป็นบุคคลแรก ๆ ผู้จะได้วัคซีน[148] ภายในปลายเดือนธันวาคม อียิปต์จะได้วัคซีนทั้งหมด 500,000 โดส[149] ในเดือนมกราคม อียิปต์ได้ขึ้นทะเบียนวัคซีน[150] แล้วสั่งจองวัคซีน 20 ล้านโดส โดย 1.5 ล้านโดสจะมาถึงภายในเดือนเมษายน[151] ประธานาธิบดีอียิปต์ประกาศว่าจะเริ่มฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนเริ่มที่ปลายเดือนมกราคม[19]
ในเดือนมีนาคม เอธิโอเปียได้รับวัคซีนบริจาค 300,000 โดสจากจีน[152]
ในต้นเดือนกุมภาพันธ์ อิเควทอเรียลกินีได้รับวัคซีนบริจาค 100,000 โดสจากจีน แล้วก็เริ่มฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนกลางเดือน[153]
ในเดือนมีนาคม กาบองได้รับวัคซีนบริจาค 100,000 โดสจากจีนโดยเป็นวัคซีนชนิดที่สองได้ขึ้นทะเบียนให้ใช้ในประเทศ[154]
โมร็อกโกได้สั่งซื้อวัคซีน 40.5 ล้านโดส โดย 8.5 ล้านโดสได้ส่งแล้วภายในเดือนพฤษภาคม[155] และประเทศได้ขึ้นทะเบียนให้ใช้เป็นการฉุกเฉินเมื่อปลายเดือนมกราคม[156]
ในเดือนมีนาคม มอริเตเนียได้รับวัคซีนบริจาค 50,000 โดสจากจีน[157] แล้วเริ่มฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนในปลายเดือน[158]
ในเดือนเมษายน มอริเชียสได้รับวัคซีนบริจาค 100,000 โดสจากจีนแล้วสั่งเพิ่มอีก 500,000 โดส[159][160]
ในเดือนกุมภาพันธ์ โมซัมบิกได้รับวัคซีนบริจาค 200,000 โดสจากจีน[161] โดยจะเริ่มฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนในต้นเดือนมีนาคม[162]
ในเดือนมีนาคม นามิเบียได้รับวัคซีนบริจาค 100,000 โดสจากจีนแล้วประกาศการฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนโดยเริ่มในเขตภูมิภาคบางเขตก่อน[163][164]
ในเดือนมีนาคม ไนเจอร์ได้รับวัคซีนบริจาค 400,000 โดสจากจีนแล้วเริ่มฉีดให้แก่ประชาชนในปลายเดือนมีนาคม[165]
ในเดือนกุมภาพันธ์ เซเนกัลได้รับวัคซีน 200,000 โดสที่ได้ซื้อ[166] แล้วเริ่มฉีดให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ในปลายเดือน[167]
ในเดือนกุมภาพันธ์ เซียร์ราลีโอนได้รับวัคซีนบริจาค 200,000 โดสจากจีน[168] แล้วได้ขึ้นทะเบียนเป็นการฉุกเฉินและฉีดให้แก่ประชาชนในกลางเดือนมีนาคม[169]
ในเดือนมกราคม เซเชลส์เริ่มฉีดวัคซีน 50,000 โดสที่ได้รับบริจาคจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[170][171]
ในเดือนเมษายน โซมาเลียได้รับวัคซีนบริจาค 200,000 โดสจากจีน[172] แล้วเริ่มฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนตั้งแต่วันที่ 14 เมษายน[173][174]
ในเดือนมีนาคม ซูดานได้รับวัคซีนบริจาค 250,000 โดสจากจีน[175][176]
ในเดือนมีนาคม สาธารณรัฐคองโกได้รับวัคซีนบริจาค 100,000 โดสจากจีน ซึ่งจะจัดลำดับฉีดให้แก่ผู้เสี่ยงทางสุขภาพและผู้มีอายุเกิน 50 ปีก่อน[177]
ในเดือนกุมภาพันธ์ ซิมบับเวสั่งซื้อวัคซีน 600,000 โดสนอกเหนือจากที่ได้รับบริจาคจากจีน 200,000 โดส[178] แล้วเริ่มฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนในกลางเดือนกุมภาพันธ์[21] ต่อมาจึงสั่งเพิ่มขึ้นอีก 1.2 ล้านโดส[179]
ในเดือนกุมภาพันธ์ เบลารุสได้รับวัคซีนบริจาค 100,000 โดสจากจีน[180] แล้วเริ่มฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนในกลางเดือนมีนาคม[27]
ในเดือนกรกฎาคม ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาได้สั่งวัคซีน 500,000 โดส[181]
ในเดือนพฤษภาคม ประเทศจอร์เจียได้เริ่มฉีดวัคซีนนี้ให้แก่ประชาชน[182] จนถึงเดือนกรกฎาคม ก็ได้รับวัคซีนแล้ว 1 ล้านโดส[183]
ในเดือนมกราคม ฮังการีก็เป็นประเทศสมาชิกแรกในสหภาพยุโรปที่ขึ้นทะเบียนวัคซีนให้ใช้นี้ โดยสั่งจองวัคซีน 5 ล้านโดส[184] และนายกรัฐมนตรีฮังการีก็ได้เป็นผู้รับวัคซีนเป็นคนแรกเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์[185] 5.2 million doses were delivered to Hungary by May, fulfilling the contract.[186]
ในเดือนมีนาคม มอลโดวาได้รับวัคซีนบริจาค 2,000 โดสจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[187] ซึ่งจะใช้ฉีดให้แก่แพทย์เริ่มในปลายเดือน[188]
ในเดือนพฤษภาคม ประเทศมอนเตเนโกรได้รับวัคซีน 200,000 โดสซึ่งได้เริ่มฉีดให้แก่ประชาชนในต้นเดือน[189]
ในเดือนเมษายน ประเทศนอร์ทมาซิโดเนียได้รับวัคซีน 200,000 โดสแรกจากที่สั่งไว้ 800,000 โดส[190] แล้วเริ่มฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนในต้นเดือนพฤษภาคม[191]
ในวันที่ 19 มกราคม เซอร์เบียได้เริ่มฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนโดยเป็นประเทศแรกในยุโรปที่ขึ้นทะเบียนวัคซีนนี้ จนถึงเดือนเมษายน ก็ได้รับวัคซีน 2.5 ล้านโดสแล้ว[192]
ในเดือนกุมภาพันธ์ สาธารณรัฐโดมินิกันได้สั่งซื้อวัคซีน 768,000 โดส[193]
ในเดือนมีนาคม ประเทศดอมินีกาได้รับวัคซีนบริจาค 20,000 โดสจากจีนแล้วก็เริ่มฉีดให้แก่ประชาชนตั้งแต่ต้นเดือน[194][195]
ในเดือนมีนาคม เม็กซิโกประกาศว่า จะสั่งวัคซีน 12 ล้านโดสหลังจากที่องค์กรของรัฐได้ขึ้นทะเบียนวัคซีน[196]
ในเดือนพฤษภาคม ประเทศตรินิแดดและโตเบโกได้รับวัคซีนบริจาค 100,000 โดสจากจีน ในเดือนกรกฎาคม จึงได้รับอีก 1 ล้านโดสที่สั่งซื้อ จึงรวมกันเป็น 1.1 ล้านโดส[197]
ในเดือนเมษายน ประเทศบาร์เบโดสประกาศว่า จะได้รับวัคซีนบริจาค 30,000 โดสจากจีน[198]
ในเดือนเมษายน หมู่เกาะโซโลมอนได้รับวัคซีนบริจาค 50,000 โดสจากจีน[199]
ในเดือนพฤษภาคม ประเทศปาปัวนิวกินีได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนนี้[200] ในต้นเดือนกรกฎาคม วัคซีนบริจาค 200,000 โดสจากจีนก็ได้มาถึงประเทศ[201]
ในเดือนกุมภาพันธ์ อาร์เจนตินาขึ้นทะเบียนวัคซีนให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน[202] แล้วขยายให้ใช้ในผู้มีอายุเกิน 60 ปีในปลายเดือนมีนาคม[22] จนถึงเดือนมิถุนายน วัคซีนได้มาถึงประเทศแล้ว 4 ล้านโดน โดยยังมีการสั่งเพิ่มอีก 6 ล้านโดส[203]
ในเดือนกุมภาพันธ์ โบลิเวียได้เริ่มฉีดวัคซีนนี้ให้แก่ประชาชน[24] ในเดือนมิถุนายน ก็ได้สั่งซื้อวัคซีนเพิ่มอีก 6 ล้านโดสนอกเหนือจาก 2.7 ล้านโดสที่ได้รับแล้ว[204]
ในเดือนมีนาคม กายอานาได้รับวัคซีนบริจาค 20,000 โดสจากจีน[205] แล้วต่อมาจึงสั่งซื้อเพิ่มอีก 100,000 โดส โดยได้เริ่มฉีดให้แก่ผู้สูงอายุและบุคลากรทางการแพทย์[206]
ในเดือนมกราคม เปรูสั่งซื้อวัคซีน 38 ล้านโดส[207] ขึ้นทะเบียนให้ใช้เป็นการฉุกเฉินในปลายเดือน[208] แล้วเริ่มฉีดให้แก่ประชาชนเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์[23]
ในเดือนมีนาคม เวเนซุเอลาได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน[209] แล้วได้รับวัคซีนบริจาคจากจีนเป็นจำนวน 500,000 โดสในวันที่ 2 เดือนเดียวกัน[210]
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2021 มีการเปิดเผยว่า ประธานาธิบดีคนก่อนของเปรูและนักการเมืองอาวุโสอื่น ๆ ได้รับวัคซีนในเดือนพฤศจิกายน 2020 ก่อนที่วัคซีนจะให้ฉีดแก่บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนทั่วไป เป็นวัคซีนเหลือจากการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ในกรุงลิมากับอาสาสมัคร 12,000 คน[211][212]
ในเดือนพฤษภาคม 2021 ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ โรดรีโก ดูแตร์เตขอโทษประชาชนเพราะได้รับวัคซีนนี้ในขณะที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน ต่อมาเขาจึงระบุว่า จีนควรจะส่งแต่วัคซีนของซิโนแวค ซึ่งเป็นวัคซีนที่ได้นอุมัติแล้ว เขาระบุว่าเขาได้วัคซีนโดยอาศัยมาตราย่อยให้ใช้เพื่อความการุณย์ตามกฎหมาย โดยแพทย์เป็นผู้แนะนำให้ฉีด[213] ต่อมาในเดือนมิถุนายน ประเทศจึงได้ขึ้นทะเบียนวัคซีน[70]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.