ยูเอสแอร์เวย์
อดีตสายการบินสัญชาติสหรัฐ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยูเอสแอร์เวย์ (อังกฤษ: US Airways) เป็นอดีตสายการบินหลักของสหรัฐที่ดำเนิการตั้งปี ค.ศ. 1937 จนกระทั่งการผนวกกิจการเข้ากับอเมริกันแอร์ไลน์ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2015 สายการบินก่อตั้งขึ้นในพิตส์เบิร์กเป็นสายการบินขนส่งไปรษณีย์ด้วยชื่อออลอเมริกันเอวิเอชัน ซึ่งต่อมาจะให้บริการขนส่งผู้โดยสาร ในปี 1953 สายการบินเปลี่ยนชื่อเป็นอัลเลเกนีแอร์ไลน์ และดำเนินการในชื่อดังกล่าวเป็นเวลา 25 ปี ก่อนที่จะมาใช้ชื่อ ยูเอสแอร์ ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1979 จากการบังคับใช้พระราชบัญญัติการยกเลิกกฎระเบียบการบินในสหรัฐ ในทศวรรษต่อมาสายการบินได้เข้าควบคุมกิจการของเพียดมอนต์แอร์ไลน์และแปซิฟิกเซาท์เวสต์แอร์ไลน์ และเป็นหนึ่งในเจ็ดสายการบินดั้งเดิมของสหรัฐ และในปี 1997 สายการบินเปลี่ยนชื่อเป็น ยูเอสแอร์เวย์
![]() | ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
![]() | |||||||
| |||||||
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1937 (88 ปี) (ในชื่อ ออลอเมริกันเอวิเอชัน) | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
เริ่มดำเนินงาน |
| ||||||
เลิกดำเนินงาน |
| ||||||
AOC # | AALA025A[1] | ||||||
ท่าหลัก |
| ||||||
สะสมไมล์ | ดิวิเดนท์ไมล์ | ||||||
พันธมิตรการบิน |
| ||||||
บริษัทลูก |
| ||||||
บริษัทแม่ | ยูเอสแอร์เวย์กรุ๊ป | ||||||
สำนักงานใหญ่ |
| ||||||
บุคลากรหลัก | ดัก พาร์คเกอร์ (CEO)[3] | ||||||
เว็บไซต์ | www.usairways.com (เก็บถาวร 2015-02-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน) |
ยูเอสแอร์เวย์ มีท่าอากาศยานหลักอยู่ที่ชาร์ล็อตต์, ฟิลาเดลเฟีย, ฟีนิกซ์ และลาสเวกัส และยังมีท่าอากาศยานรองอยู่ที่พิตส์เบิร์ก รวมถึงเมืองสำคัญอย่างนิวยอร์ก-ลากวาเดีย, วอชิงตัน-เรแกน และบอสตัน
ยูเอสแอร์เวย์ยังให้บริการในชื่อยูเอสแอร์เวย์ชัตเทิล และยูเอสแอร์เวย์เอ็กซ์เพรส และเมื่อวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 2003 ยูเอสแอร์เวย์กรุ๊ปได้ควบรวมกิจการกับ อเมริกาเวสต์โฮลดิง เจ้าของสายการบินอเมริกาเวสต์แอร์ไลน์ และประกาศตัวเป็นสายการบินต้นทุนต่ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก
จุดหมายปลายทาง
สรุป
มุมมอง
ข้อตกลงการบินร่วม
ตลอดการดำเนินงาน ยูเอสแอร์เวย์ได้มีข้อตกลงการบินร่วมกับสายการบินต่างๆ ดังนี้:[4]
- อีเจียนแอร์ไลน์ (ยกเลิกหลังออกจากเครือข่ายสตาร์อัลไลแอนซ์)
- แอร์เบอร์ลิน[5]
- แอร์ไชนา (ยกเลิกหลังออกจากเครือข่ายสตาร์อัลไลแอนซ์)
- แอร์นิวซีแลนด์ (ยกเลิกหลังออกจากเครือข่ายสตาร์อัลไลแอนซ์)
- ออล นิปปอน แอร์เวย์ (ยกเลิกหลังออกจากเครือข่ายสตาร์อัลไลแอนซ์)
- อเมริกันแอร์ไลน์[6]
- เอเชียนาแอร์ไลน์ (ยกเลิกหลังออกจากเครือข่ายสตาร์อัลไลแอนซ์)
- อาเบียงกา (ยกเลิกหลังออกจากเครือข่ายสตาร์อัลไลแอนซ์)
- บิกสกายแอร์ไลน์ (เลิกดำเนินงานในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 2008)
- บริติชแอร์เวย์[7]
- บรัสเซลส์แอร์ไลน์ (ยกเลิกหลังออกจากเครือข่ายสตาร์อัลไลแอนซ์)
- แคริบเบียนซัน (ceased to exist when the airline shut down on January 31, 2007)
- คอนติเนนตัลแอร์ไลน์ (มีข้อตกลงการบินร่วมกับอเมิรกาเวสต์แอร์ไลน์[8] และยกเลิกในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2002 โดยอ้างถึงยอดขายเที่ยวบินร่วมโค้ดที่ต่ำ; คอนติเนนตัลได้กลับมาทำข้อตกลงการบินร่วมกันอีกครั้งในวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 2009 เมื่อสายการบินเข้าร่วมสตาร์อัลไลแอนซ์ และยกเลิกข้อตกลงในปี 2012 เมื่อคอนติเนนตัลควบรวมกิจการกับยูไนเต็ดแอร์ไลน์)
- โครเอเชียแอร์ไลน์ (ยกเลิกหลังออกจากเครือข่ายสตาร์อัลไลแอนซ์)
- อีวีเอแอร์ (ยกเลิกหลังออกจากเครือข่ายสตาร์อัลไลแอนซ์)
- ฟินน์แอร์[9]
- ฮาวาเอียนแอร์ไลน์ (เฉพาะเส้นทางในหมู่เกาะฮาวาย)
- ไอบีเรีย[10]
- ลุฟท์ฮันซ่า (ยกเลิกหลังออกจากเครือข่ายสตาร์อัลไลแอนซ์)
- ควอนตัส (มีข้อตกลงการบินร่วมกับทั้งยูเอสแอร์เวย์ในช่วงทศวรรษ 1990 และอเมริกาเวสต์แอร์ไลน์ก่อนการควบรวมกิจการ และต่อเนื่องจนถึงหลังการควบรวมกิจการของทั้งสองสายการบิน และยกเลิกในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007 เนื่องจากควอนตัสอยู่ในเครือข่ายวันเวิลด์ที่เป็นคู่แข่งกัน) [ต้องการอ้างอิง]
- กาตาร์แอร์เวย์
- รอยัลจอร์แดเนียน
- เซาท์แอฟริกันแอร์เวส์ (ยกเลิกหลังออกจากเครือข่ายสตาร์อัลไลแอนซ์)
- สแปนแอร์ (ยกเลิกหลังการเลิกดำเนินการของสแปนแอร์ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2012)
- สวิสอินเตอร์แนชนัลแอร์ไลน์ (ยกเลิกหลังออกจากเครือข่ายสตาร์อัลไลแอนซ์)
- ตัมแอร์ไลน์
- ตัปแอร์ปูร์ตูกัล (ยกเลิกหลังออกจากเครือข่ายสตาร์อัลไลแอนซ์)
- ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ (ยกเลิกหลังออกจากเครือข่ายสตาร์อัลไลแอนซ์)
ฝูงบิน
ฝูงบินสุดท้าย
ก่อนการเลิกดำเนินงาน ยูเอสแอร์เวย์มีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[11]
เครื่องบิน | ประจำการ | คำสั่งซื้อ | ผู้โดยสาร | หมายเหตุ | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|
J | F | Y | รวม | ||||
แอร์บัส เอ319-100 | 93 | — | — | 12 | 112 | 124 | โอนย้ายไปยังอเมริกันแอร์ไลน์ |
แอร์บัส เอ320-200 | 60 | — | — | 12 | 138 | 150 | |
แอร์บัส เอ321-200 | 90 | 31 | — | 16 | 171 | 187 | |
แอร์บัส เอ330-200 | 11 | 4 | 20 | — | 238 | 258 | โอนย้ายไปยังอเมริกันแอร์ไลน์และปลดประจำการในปี 2020 |
แอร์บัส เอ330-300 | 9 | — | 28 | — | 263 | 291 | โอนย้ายไปยังอเมริกันแอร์ไลน์และปลดประจำการในปี 2020 |
แอร์บัส เอ350-900 | — | 22[12] | ไม่ทราบ | คำสั่งซื้อโอนย้ายไปยังอเมริกันแอร์ไลน์ แต่ถูกยกเลิกหลังอเมริกันสั่งซื้อโบอิง 787 ดรีมไลเนอร์เพิ่มเติม 47 ลำ | |||
โบอิง 737-400 | 14 | — | — | 12 | 132 | 144 | โอนย้ายไปยังอเมริกันแอร์ไลน์และปลดประจำการในปี 2014 ไม่เคยทำการบินภายใต้ชื่ออเมริกันแอร์ไลน์ |
โบอิง 757-200 | 9 | — | — | 14 | 176 | 190 | โอนย้ายไปยังอเมริกันแอร์ไลน์และปลดประจำการในปี 2020 |
15 | 12 | — | 164 | 176 | |||
โบอิง 767-200อีอาร์ | 10 | — | 18 | — | 186 | 204 | โอนย้ายไปยังอเมริกันแอร์ไลน์และปลดประจำการในปี 2015 ไม่เคยทำการบินภายใต้ชื่ออเมริกันแอร์ไลน์ |
เอ็มบราเออร์ อี190 | 20 | — | — | 11 | 88 | 99 | โอนย้ายไปยังอเมริกันแอร์ไลน์และปลดประจำการในปี 2020 |
รวม | 331 | 57 |
อุบัติเหตุและอุบัติการณ์สำคัญ
สรุป
มุมมอง
เหตุการณ์ต่อไปนี้ เป็นอุบัติเหตุที่เกิดกับยูเอสแอร์เวย์และยูเอสแอร์เท่านั้น ไม่ได้รวมถึงอุบัติเหตุของสายการบินดั้งเดิมของยูเอสแอร์เวย์ หรือสายการบินลูกใดๆ
- 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529 เครื่องบินแมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-9-31 เที่ยวบิน 499 ไถลออกนอกทางวิ่งที่มีหิมะปกคลุมอยู่ ที่อีรี่ เพนซิลเวเนีย มีผู้ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยเพียง 1 คน[13]
- 20 กันยายน พ.ศ. 2532 เครื่องบินโบอิง 737-400 เที่ยวบิน 5050 หางเสือเครื่องบินขัดข้องขณะที่กำลังนำเครื่องขึ้นจากท่าอากาศยานลากวาเดีย นิวยอร์กซิตี จนนักบินต้องยกเลิกเที่ยวบิน แต่เนื่องจากระยะของทางวิ่งที่เหลือไม่เพียงพอที่จะหยุดเครื่องได้ จึงพุ่งลงไปในแม่น้ำอีส มีผู้โดยสาร 2 คนที่เสียชีวิต และอีก 3 คนที่บาดเจ็บสาหัส[14]
- 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 เครื่องบินโบอิง 737-300 เที่ยวบิน 1493 เส้นทางจากท่าอากาศยานนานาชาติซีราคูส แฮนค็อก รัฐนิวยอร์ก ไปยังท่าอากาศยานนานาชาติลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ชนกับเครื่องบินแฟร์ไชล์ด เมโทร 3 ของสกายเวสต์ เที่ยวบิน 5569 ขณะนำเครื่องลงจอดที่ลอสแอนเจลิส จนเกิดการระเบิดลุกไหม้ ผู้โดยสารและลูกเรือทั้ง 12 คนของสกายเวสต์ รวมทั้งผู้โดยสาร 20 คน นักบิน 1 คน และลูกเรือ 1 คน ของยูเอสแอร์เสียชีวิต มีผู้รอดชีวิตเพียง 77 คน[15]
- 22 มีนาคน พ.ศ. 2535 เครื่องบินฟอกเกอร์ 28-4000 เที่ยวบิน 405 เนื่องจากเกิดความล่าช้า เครื่องจึงจอกอยู่ที่หลุดมจอดเป็นเวลานาน ทำให้มีน้ำแข็งเกาะอยู่ตามปีกและลำตัวเครื่อง ขณะนำเครื่องขึ้นจากท่าอากาศยานลากวาเดีย เครื่องจึงพุ่งลงอ่าวฟรัชชิง มีผู้เสียชีวิต 37 คน
- 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 เครื่องบินแมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-9-32 เที่ยวบิน 1016 บินไปยังท่าอากาศยานนานาชาติชาร์ล็อตต์/ดักลาส รัฐนอร์ทแคโรไลนา ซึ่งเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง มีกระแสลมไหลลงพื้นดิน (en:wind shear windshear) ทำให้เครื่องลดระดับลงอย่างรวดเร็ว และชนกับรั้วสนามบิน เครื่องแตกออกเป็น 4 ส่วนใหญ่ๆ เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 37 คน บาดเจ็บสาหัสอีก 16 คน และบาดเจ็บเล็กน้อยอีก 4 คน[16]
- 8 กันยายน พ.ศ. 2537 เครื่องบินโบอิง 737-300 เที่ยวบิน 427 จากท่าอากาศยานนานาชาติโอแฮร์ ไปยังท่าอากาศยานนานาชาติพิตส์เบิร์ก เกิดเหตุหางเสือของเครื่องบินขัดข้อง ทำให้เครื่องพุ่งลงพื้นดิน ผู้โดยสารและลูกเรือทั้ง 132 คนเสียชีวิต[17]
- 16 ตุลาคม พ.ศ. 2546 เครื่องบินแอร์บัส เอ319-100 ขณะขับเครื่องอยู่บนทางวิ่งที่แทมป้า รัฐฟลอริดา ระบบห้ามล้อทำงานขัดข้อง มีเพียงลูกเรือ 1 คนที่บาดเจ็บสาหัส และมีผู้โดยสาร 2 คนที่บาดเจ็บเล็กน้อย
- 15 มกราคม พ.ศ. 2552 เครื่องบินแอร์บัส เอ320-200 เที่ยวบินที่ 1549 ได้ร่อนลงสู่แม่น้ำฮัดสัน หลังจากการร่อนขึ้นจากพื้นดินได้เพียง 6 นาที ขณะที่ไต่สู่ระดับความสูงที่ 3,200 ฟุต (980 ม.) หลังจาก 2 นาทีหลังจากร่อนขึ้นจากพื้นดิน เครื่องบินได้ชนกับฝูงนก ก่อให้เกิดเครื่องยนต์ดับทั้ง 2 เครื่อง ลูกเรือและผู้โดยสารรอดทุกคน [18]
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.