Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นายพันเอก พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์ (2 ธันวาคม พ.ศ. 2426 – 12 สิงหาคม พ.ศ. 2478) มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าออศคาร์นุทิศ อดีตประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์ | |
---|---|
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ | |
ดำรงตำแหน่ง 2 มีนาคม พ.ศ. 2478 – 12 สิงหาคม พ.ศ. 2478 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร |
นายกรัฐมนตรี | พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) |
ประสูติ | 2 ธันวาคม พ.ศ. 2426 |
สิ้นพระชนม์ | 12 สิงหาคม พ.ศ. 2478 (51 ปี) |
หม่อม |
|
พระบุตร |
|
ราชวงศ์ | จักรี |
ราชสกุล | จักรพันธุ์ |
พระบิดา | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ |
พระมารดา | หม่อมราชวงศ์สว่าง จักรพันธุ์ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | สยาม |
แผนก/ | กองทัพบกสยาม |
ชั้นยศ | พันเอก |
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์ มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าออศคาร์นุทิศ จักรพันธุ์ เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ ประสูติแต่หม่อมราชวงศ์สว่าง จักรพันธุ์ (ราชสกุลเดิม ศิริวงศ์) ได้รับพระราชทานพระนามจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามพระนามของสมเด็จพระเจ้าออสการ์ที่ 2 แห่งสวีเดน เพื่อเป็นที่ระลึกในเหตุการณ์ที่เจ้าชายออสการ์ เบอร์นาดอตต์ เคานต์แห่งวิสบอร์ก พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าออสการ์ที่ 2 เสด็จฯ เยือนประเทศไทยในปี พ.ศ. 2427 ซึ่งสมเด็จเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี ได้ถวายการรับเสด็จ และกราบทูลว่า[1]
I have just had a new son,and I shall name him Oscar,and should he have a son he shall be called Gustavus.
วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2441 พระองค์เจ้าออศคาร์นุทิศทรงผนวชเป็นสามเณร ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นพระอุปัชฌาย์ หม่อมเจ้าพระสถาพรพิริพรตเป็นพระศีลาจารย์[2] และผนวชเป็นภิกษุเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2447 ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นพระอุปัชฌาย์ พระญาณวราภรณ์ (ม.ร.ว.ชื่น สุจิตฺโต) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ผนวชแล้วเสด็จไปประทับ ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร[3]
วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานตราตั้งเป็นองคมนตรี ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย[4][5]
วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2471 ได้รับโปรดเกล้าให้เป็นผู้รั้งตำแหน่งราชเลขานุการในพระองค์[6] จนถึงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2472 จึงได้รับโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่งราชเลขานุการในพระองค์[7]
เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2478 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้มีมติเห็นชอบตามกฎมณเฑียรบาล ให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล เป็นพระมหากษัตริย์ สืบพระราชสันตติวงศ์ เป็นพระองค์ที่ 8 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ แต่เนื่องจากขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 9 พรรษา และกำลังศึกษาอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทางรัฐสภาจึงได้กราบทูลเชิญสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ให้ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แต่ได้ทรงปฏิเสธด้วยเหตุผลว่าพระองค์ทรงพระชราภาพมากแล้ว และได้ข้อสรุปว่า ให้มีพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็นคณะบุคคล เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จำนวน 3 คน จนกว่าจะทรงบรรลุนิติภาวะ คือ[8]
พระองค์เจ้าออศคาร์นุทิศ ประทับอยู่ที่วังบริเวณตำบลสนามกระบือ ใกล้คลองรอบกรุง เป็นวังหนึ่งในจำนวน 6 วังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานที่สร้างให้กับพระราชนัดดา 6 พระองค์ ซึ่งเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ ถนนหลานหลวง ในปัจจุบัน [9]
ในระหว่างที่เป็นประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์ทรงเผชิญปัญหาหลายด้าน โดยเฉพาะการปรับลดเงินปีพระบรมวงศานุวงศ์จนทำให้เจ้านายบางพระองค์ไม่พอพระทัย พระองค์จึงมักไม่ได้รับความเคารพจากเจ้านายบางพระองค์ในระหว่างเสด็จในพระราชพิธีต่าง ๆ[10] ส่วนหม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล ทรงบันทึกว่ากรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์ทรงถูกกดดันจากการที่รัฐบาลฟ้องศาลเพื่อริบพระราชทรัพย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมายังมีปัญหาอื่น ๆ ทั้งเรื่องราชการและส่วนพระองค์รุมเร้ามากขึ้นเรื่อย ๆ ประกอบทรงพระประชวรเรื้อรัง มีพระกายซูบผอมดำลงเรื่อย ๆ จนประชวรพระโรคซึมเศร้า ในที่สุดจึงปลงพระชนม์พระองค์เองด้วยการยิงพระแสงปืนเข้าในพระโอษฐ์ สิ้นพระชนม์บนที่บรรทมเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2478[11] โดยกรมตำรวจบันทึกรายงานการไต่สวนว่าสาเหตุมาจากทรง ประสบกับเหตุลำบากพระทัยในการปฏิบัติงานในฐานที่ทรงเป็นผู้จัดการพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของพระปกเกล้าฯ[10]มีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478 ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร[12]
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์ เสกสมรสกับหม่อมจำรัส จักรพันธุ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม ปิยะวัตร; พฤษภาคม พ.ศ. 2427 – กันยายน พ.ศ. 2501) และหม่อมหวน จักรพันธุ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม บุนนาค; มิถุนายน พ.ศ. 2428 – 6 มีนาคม พ.ศ. 2512)[1][13] มีพระโอรสธิดารวม 5 องค์
พงศาวลีของพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.