Remove ads
วันหยุดตามประเพณีจีน จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตรุษจีน (จีนตัวย่อ: 春节; จีนตัวเต็ม: 春節; พินอิน: Chūnjíe ชุนเจี๋ย) เป็นวันหยุดตามประเพณีของจีนที่สำคัญที่สุด ในประเทศจีน ยังมีอีกชื่อหนึ่งว่า "เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ" เพราะฤดูใบไม้ผลิตามปฏิทินจีนเริ่มต้นด้วยวันลีชุน ซึ่งเป็นวันแรกในทางสุริยคติของปีปฏิทินจีน วันดังกล่าวยังเป็นวันสิ้นสุดฤดูหนาว ซึ่งคล้ายกันกับงานเทศกาลของตะวันตก เทศกาลนี้เริ่มต้นในวันที่ 1 เดือน 1 (จีน: 正月, พินอิน: Zhēngyuè) ในปฏิทินจีนโบราณและสิ้นสุดลงในวันที่ 15 ด้วยเทศกาลโคมไฟ คืนก่อนตรุษจีนเป็นวันซึ่งครอบครัวจีนมารวมญาติเพื่อรับประทานอาหารเย็นเป็นประจำทุกปี ซึ่งเรียกว่า ฉูซี่ (จีน: 除夕, พินอิน: Chúxī) หรือ "การผลัดเปลี่ยนยามค่ำคืน" เนื่องจากปฏิทินจีนเป็นแบบสุริยจันทรคติ ตรุษจีนจึงมักเรียกว่า "วันขึ้นปีใหม่จันทรคติ"
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ตรุษจีน | |
---|---|
ชื่ออื่น | เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ วันขึ้นปีใหม่จันทรคติ |
จัดขึ้นโดย | ชาวจีนและชุมชนผู้พูดภาษาจีน |
ประเภท | ศาสนา (ศาสนาจีนพื้นบ้าน ศาสนาพุทธ ลัทธิเต๋า ลัทธิขงจื๊อ และศาสนาคริสต์บางแห่ง), วัฒนธรรม |
การเฉลิมฉลอง | การเชิดสิงโต, การเชิดมังกร, ดอกไม้ไฟ, การพบปะรวมตัวของครอบครัว, การกินเลี้ยงของครอบครัว, การเยี่ยมเพื่อนและญาติ, การให้และรับเงินในซองสีแดง, การแต่งและประดับคำขวัญคู่ ชุนเหลียน |
วันที่ | วันที่ 1 เดือน 1 ตามปฏิทินจีน (ระหว่างวันที่ 21 มกราคมถึง 20 กุมภาพันธ์) |
วันที่ในปี พ.ศ. 2566 | 22 มกราคม |
วันที่ในปี พ.ศ. 2567 | 10 กุมภาพันธ์ |
วันที่ในปี พ.ศ. 2568 | 29 มกราคม |
ความถี่ | ทุกปี |
ส่วนเกี่ยวข้อง | เทศกาลโคมไฟ, ซึ่งการเฉลิมฉลองปีใหม่จีนเสร็จสิ้น ตรุษมองโกล, ตรุษทิเบต, ตรุษญี่ปุ่น, ตรุษเกาหลี, ตรุษญวน |
ตรุษจีน | |||||||||||||||||||||||||||||
"เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ (ปีใหม่จีน)" เขียนในรูปแบบอักษรจีนตัวเต็ม (ด้านบน) และรูปแบบอักษรจีนตัวย่อ (ด้านล่าง) | |||||||||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 春節 | ||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 春节 | ||||||||||||||||||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | "เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ" | ||||||||||||||||||||||||||||
|
ตรุษจีนเป็นงานเฉลิมฉลองที่ยาวที่สุดและสำคัญที่สุดในปฏิทินจีน จุดกำเนิดของตรุษจีนนั้นมีประวัติหลายศตวรรษและมีความสำคัญเพราะตำนานและประเพณีหลายอย่าง ตรุษจีนมีการเฉลิมฉลองกันในหลายประเทศและดินแดนซึ่งมีประชากรจีนอาศัยอยู่มาก อย่างเช่น จีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกง อินโดนีเซีย มาเก๊า มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย รวมทั้งในชุมชนชาวจีนที่อื่น ตรุษจีนถูกมองว่าเป็นวันหยุดสำคัญสำหรับชาวจีนและได้มีอิทธิพลต่อการเฉลิมฉลองการขึ้นปีใหม่จันทรคติของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งรวมทั้งเกาหลี (โซลนาล) ภูฏาน และเวียดนาม
ในประเทศจีน ธรรมเนียมและประเพณีท้องถิ่นเกี่ยวกับการเฉลิมฉลองตรุษจีนนั้นหลากหลายมาก ประชาชนจะเทเงินของตนเพื่อซื้อของขวัญ ของประดับตกแต่ง วัสดุ อาหารและเครื่องนุ่งห่ม นอกจากนี้ยังมีประเพณีว่า ทุกครอบครัวจะทำความสะอาดบ้านอย่างละเอียดลออ เพื่อปัดกวาดโชคร้ายด้วยหวังว่าจะเปิดทางให้โชคดีเข้ามา มีการประดับหน้าต่างและประตูด้วยกระดาษตัดสีแดงและคู่กับธีม "โชคดี", "ความสุข", "ความมั่งคั่ง" และ "ชีวิตยืนยาว" ที่ได้รับความนิยม ในคืนก่อนตรุษจีน อาหารค่ำเป็นการกินเลี้ยงกับครอบครัว อาหารนั้นจะมีเช่น หมู เป็ด ไก่และอาหารอย่างดี (delicacies) รสหวาน ครอบครัวจะปิดท้ายค่ำคืนด้วยประทัด เช้าวันรุ่งขึ้น เด็กจะทักทายบิดามารดาของตนโดยอวยพรพวกท่านให้มีสุขภาพดีและสวัสดีปีใหม่ และได้รับเงินในซองสีแดง ประเพณีตรุษจีนนั้นเพื่อการสมานฉันท์ ลืมความบาดหมางและปรารถนาสันติและความสุขแก่ทุกคนอย่างจริงใจ
แม้ปฏิทินจีนแต่โบราณไม่ใช้ปีตัวเลขต่อเนื่องกัน นอกประเทศจีน ปีจีนจึงมักนับเลขนับแต่รัชสมัยจักรพรรดิเหลือง แต่เนื่องจากมีการกำหนดให้อย่างน้อยสามปีเป็นเลข 1 ที่นักวิชาการใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน จึงทำให้ปี พ.ศ. 2555 เป็น "ปีจีน" 4710, 4709 หรือ 4649
ปี | วันที่ | วันที่ | วันที่ |
---|---|---|---|
ปีชวด | 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 | 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | 25 มกราคม พ.ศ. 2563 |
ปีฉลู | 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 | 26 มกราคม พ.ศ. 2552 | 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 |
ปีขาล | 28 มกราคม พ.ศ. 2541 | 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 | 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 |
ปีเถาะ | 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 | 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 | 22 มกราคม พ.ศ. 2566 |
ปีมะโรง | 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 | 23 มกราคม พ.ศ. 2555 | 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 |
ปีมะเส็ง | 24 มกราคม พ.ศ. 2544 | 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 | 29 มกราคม พ.ศ. 2568 |
ปีมะเมีย | 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 | 31 มกราคม พ.ศ. 2557 | 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2569 |
ปีมะแม | 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 | 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2570 |
ปีวอก | 22 มกราคม พ.ศ. 2547 | 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 | 26 มกราคม พ.ศ. 2571 |
ปีระกา | 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 | 28 มกราคม พ.ศ. 2560 | 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2572 |
ปีจอ | 29 มกราคม พ.ศ. 2549 | 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 | 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2573 |
ปีกุน | 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 | 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 | 23 มกราคม พ.ศ. 2574 |
ปฏิทินสุริยจันทรคติจีนเป็นตัวกำหนดวันที่ของตรุษจีน ปฏิทินดังกล่าวยังใช้ในประเทศซึ่งรับเอาหรือได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมฮั่น ที่โดดเด่น คือ เกาหลี ญี่ปุ่นและเวียดนามเหนือ เช่น อิหร่าน และในประวัติศาสตร์ ดินแดนชนบัลการ์
ในปฏิทินเกรโกเรียน แต่ละปีตรุษจีนมิได้ตรงกัน คือ อยู่ระหว่างวันที่ 21 มกราคม ถึงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ในปฏิทินจีน เหมายันต้องเกิดในเดือนที่ 11 จึงหมายความว่า ตรุษจีนมักตรงกับเดือนดับครั้งที่สองหลังเหมายัน (น้อยครั้งที่เป็นครั้งที่สามหากมีอธิกมาส) ในประเพณีจีนโบราณ ลิบชุนหรือลี่ชุนเป็นวันแรกในทางสุริยคติซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งตรงกับประมาณวันที่ 4 กุมภาพันธ์
มุมมองและกรณีตัวอย่างในบทความนี้อาจไม่ได้แสดงถึงมุมมองที่เป็นสากลของเรื่อง |
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
วันตรุษจีน คณะรัฐมนตรี มีมติให้เป็นวันหยุดราชการประจำปีเฉพาะในพื้นที่จังหวัดปัตตานี, ยะลา, นราธิวาส, ภูเก็ต, สตูล[2] และสงขลา[3]
ในตรุษจีน ชาวจีนจะกล่าวคำอวยพรให้กัน หรือมีการติดป้ายอวยพรไว้ตามสถานที่ต่างๆ คำที่นิยมใช้กัน ได้แก่
年年有余 (จีนกลาง:เหนียนเหนียนโหย่วหยีว) แปลว่า เหลือกินเหลือใช้
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.