Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พลตรี เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นเจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 10 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์
เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ | |
---|---|
เจ้าผู้ครองนครลำพูน | |
ครองราชย์ | 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 - 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486 |
รัชกาล | 32 ปี |
ก่อนหน้า | เจ้าอินทยงยศโชติ |
ถัดไป | ยกเลิกตำแหน่ง |
พระราชสมภพ | 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2418 |
สวรรคต | 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486 (68 ปี) |
คู่อภิเษก | แม่เจ้าขานแก้ว จักรคำขจรศักดิ์ |
พระบุตร | · เจ้าลำเจียก ณ ลำพูน · เจ้าวรรณรา ณ ลำพูน · เจ้าพงศ์ธาดา ณ ลำพูน · เจ้ารัทธาธร ณ ลำพูน · เจ้าประกายคำ ณ ลำพูน · เจ้าสุริยา ณ ลำพูน · เจ้าวรทัศน์ ณ ลำพูน · เจ้าพัฒนา ณ ลำพูน |
ราชสกุล | ณ ลำพูน |
ราชวงศ์ | ทิพย์จักร |
พระบิดา | เจ้าอินทยงยศโชติ |
พระมารดา | แม่เจ้าหม่อมราชวงศ์รถแก้ว (อิศรเสนา) |
เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ มีพระนามเดิมว่า เจ้าน้อยจักรคำ ณ ลำพูน ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 2417 เป็นราชโอรสในเจ้าอินทยงยศโชติ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 9 กับแม่เจ้าหม่อมราชวงศ์รถแก้ว (อิศรเสนา) และเป็นราชนัดดา (หลานปู่) ในเจ้าดาราดิเรกรัตนไพโรจน์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 7 กับแม่เจ้าปิมปา มีราชภคินีและราชขนิษฐา ร่วมราชมารดา 2 พระองค์ มีนามตามลำดับ ดังนี้
เจ้าน้อยจักรคำ ได้ดำรงอิสริยยศเป็น เจ้าบุรีรัตน นครลำพูน และเมื่อเจ้าอินทยงยศโชติ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 9 ถึงแก่พิราลัย ในปี พ.ศ. 2454 จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รั้งตำแหน่ง เจ้าผู้ครองนครลำพูน สืบต่อมาจนถึงเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรตั้งเป็น "เจ้านครลำพูน" มีราชทินนามว่า ... เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ อรรคสัตยาทิคุณ หริภุญไชยรัษฎาธิวาส ประชาราษฎร์บริบาล ธาตุเจติยสถานบูชากร ลำพูนนครเชษฐกุลวงษ์ จำนงภักดีนราธิปก เอกัจโยนกชนาธิบดี เจ้านครลำพูน ...[1]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2469 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ดำเนินนโยบายยกเลิกตำแหน่งเจ้าหลวง หากเจ้าหลวงเมืองใดว่างลงจะไม่โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งขึ้นอีก แต่ก็ยังให้ความสำคัญในการสืบราชสกุล ณ เชียงใหม่ ณ ลำพูน ณ ลำปาง เจ้านายฝ่ายเหนือ ก็ยังคงดำรงสถานะความเป็น "เจ้า" โดยกำเนิดต่อไป
เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เสด็จถึงแก่พิราลัย เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486 (สิริชนมายุ 69 ปี รวมระยะเวลาที่ทรงปกครองเมืองนครลำพูน 32 ปี
เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ทรงมีราชโอรสและราชธิดา รวม 8 พระองค์ อยู่ในราชตระกูล ณ ลำพูน มีพระนามตามลำดับ ดังนี้
เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เมื่อครั้งดำรงอิสริยยศเป็น "เจ้าบุรีรัตน์" ได้ดำเนินการสร้างถนนสายตะวันออกจากประตูท่าขาม ไปยังกิ่งอำเภอแม่ทา และถนนสายจากตัวเมืองลำพูนไปจนถึงฝั่งแม่น้ำปิง ต่อมาเมื่อได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเจ้าผู้ครองนครลำพูน ก็ได้สร้างสาธารณกุศลแก่ประชาชนชาวลำพูนมากมาย อาทิ
เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ได้เห็นความสำคัญของการอากาศยาน จึงได้ดำริให้จัดทำสนามบินประจำจังหวัดขึ้น ในพื้นที่อำเภอปากบ่อง อำเภอเมืองลำพูน มีเนื้อที่ 156 ไร่ 1 งาน โดยเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เป็นผู้ยกที่ดินให้[8]และออกค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อที่ดินเป็นเงินจำนวน 1,176 บาท[9] เมื่อปี พ.ศ. 2466
ในปี 2463 เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ได้ใช้เงินจำนวน 3,000 บาทในการสร้างสโมสรเสือป่าประจำจังหวัดลำพูน และถวายเป็นสมบัติของรัฐบาล[10]
ณ ลำพูน[11] เป็นนามสกุลพระราชทาน ลำดับที่ 866 โดยพระราชทานให้แก่ผู้สืบเชื้อสายจากบรรพบุรุษที่มีนิวาสสถานตั้งอยู่ในที่แห่งนั้นเป็นเวลานานมาก มีผู้คนรู้จัก และนับถือโดยมาก โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการห้ามไม่ให้ผู้ที่ไม่ได้รับพระบรมราชานุญาตใช้คำว่า "ณ" นำหน้าสกุลเป็นอันขาด[12]
สกุล ณ ลำพูน เป็นนามสกุลที่พระราชทานแก่ผู้สืบเชื้อสายพระยาคำฟั่น เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 1 โดยพระราชทานแก่เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 10[13]
พงศาวลีของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.