จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รองศาสตราจารย์ จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา อดีตนักการเมืองและนักวิชาการชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งองคมนตรี กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิของสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา[1] อดีตเลขาธิการพระราชวัง อดีตผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์[2] อดีตเลขาธิการและกรรมการมูลนิธิโครงการหลวง[3][4] นายกสภาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์[5] และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

ข้อมูลเบื้องต้น องคมนตรี, กษัตริย์ ...
จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา
องคมนตรี
เริ่มดำรงตำแหน่ง
11 มีนาคม พ.ศ. 2561
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
เลขาธิการพระราชวัง
ดำรงตำแหน่ง
23 กันยายน พ.ศ. 2559  11 มีนาคม พ.ศ. 2561
(1 ปี 169 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าแก้วขวัญ วัชโรทัย
ถัดไปสถิตย์พงษ์ สุขวิมล
เลขาธิการมูลนิธิโครงการหลวง
ดำรงตำแหน่ง
17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560  11 มิถุนายน พ.ศ. 2561
(206 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ถัดไปปวิตร รุจิเทศ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
19 กันยายน พ.ศ. 2528  5 สิงหาคม พ.ศ. 2529
(320 วัน)
นายกรัฐมนตรีเปรม ติณสูลานนท์
ก่อนหน้าอบ วสุรัตน์
ถัดไปประมวล สภาวสุ
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
11 สิงหาคม พ.ศ. 2529  27 กรกฎาคม พ.ศ. 2530
(350 วัน)
นายกรัฐมนตรีเปรม ติณสูลานนท์
ก่อนหน้าศุลี มหาสันทนะ
ชาญ มนูธรรม
มีชัย ฤชุพันธุ์
กระมล ทองธรรมชาติ
สวัสดิ์ คำประกอบ
ไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์
บัญญัติ บรรทัดฐาน
ถัดไปอรุณ ภานุพงศ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 (82 ปี)
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสอรนุช อิศรางกูร ณ อยุธยา
ปิด

ประวัติ

รศ.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา เกิดวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 เป็นบุตรของ นายจรูญพันธ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา อดีตองคมนตรี กับท่านผู้หญิงอรอวล อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็นศิษย์เก่าโรงเรียนเซนต์คาเบรียล สำเร็จปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์จาก London School of Economics (วิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน) ประเทศอังกฤษ และปริญญาเอกจาก Australian National University ประเทศออสเตรเลีย สมรสกับ ท่านผู้หญิงอรนุช อิศรางกูร ณ อยุธยา นางสนองพระโอษฐ์ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ[6]

การทำงาน

จิรายุ เริ่มต้นทำงานครั้งแรกในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ ต่อมาได้ดำรงตำแหน่ง คณบดี คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ นายจิรายุได้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองครั้งแรกเป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาล พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2524 [7][8] ต่อมาได้ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม สืบแทนนายอบ วสุรัตน์ ซึ่งลาออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2528 [9] และในรัฐบาลถัดมา ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ก่อนจะลาออกจากตำแหน่งเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2530 [10] และได้รับโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จนถึง 11 มีนาคม พ.ศ. 2561[6]ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง องคมนตรี

นอกจากนี้ นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ยังดำรงตำแหน่งเป็น ประธานกรรมการบริษัทและกรรมการกิจการสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนปูนซีเมนต์ไทย กรรมการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย [11] นายกสภาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง [12] กรรมการมูลนิธิเพชรรัตน-สุวัทนา

อดีตกรรมการ และประธานกรรมการสรรหา ค่าตอบแทน และบรรษัทภิบาล[13]ธนาคารไทยพาณิชย์[14]อดีตนายกกรรมการ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

อดีตนายกสมาคมศูนย์วิชาการไทย – ออสเตรเลีย[15]

กรณีเผาโรงงานแทนทาลัม ที่จังหวัดภูเก็ต

ในปี พ.ศ. 2529 ขณะนายจิรายุ ดำรงตำแหน่งเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ (ครม.คณะที่ 43) มีการตั้งโรงงานถลุงแร่แทนทาลัมขึ้น ที่ตำบลรัษฎา อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต เกิดกระแสการต่อต้านโรงงานแทนทาลัมโดยเชื่อว่าจะก่อให้เกิดมลภาวะร้ายแรง กระแสต่อต้านลุกลามจนทำให้เกิดการชุมนุมประท้วง

นายจิรายุ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เดินทางไปจังหวัดภูเก็ตเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชน แต่ได้เกิดเหตุจลาจลขึ้นโดยเจ้าหน้าที่ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2529 มีการเผาทำลายโรงงานแทนทาลัม[16] และลุกลามไปถึงโรงแรมภูเก็ตเมอร์ลินที่ตั้งอยู่ในเมืองและไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง ถูกเผาทำลายเสียหายเกือบ 30 ล้านบาทจนต้องหยุดกิจการ 3 เดือน เนื่องจากมีข่าวลือว่า ดร.จิรายุซึ่งถือเป็นตัวแทนรัฐบาลที่สนับสนุนโรงงานแทนทาลัม มาพำนักอยู่ที่โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน

การถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจโดยผู้อภิปรายอ้างสเตตเมนต์ปลอม

สรุป
มุมมอง

เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2530 นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ขณะดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ (ครม.คณะที่ 44) ถูกฝ่ายค้าน นำโดยนายสมัคร สุนทรเวช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หัวหน้าพรรคประชากรไทย ซึ่งถูกปรับออกจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาลในรัฐบาลก่อนหน้า (ครม.คณะที่ 43) อภิปรายไม่ไว้วางใจ [9] นายสมัครอภิปรายกล่าวหาว่า นายจิรายุรับสินบน โดยนำสำเนาสเตตเมนต์ แสดงการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารเฟิสต์ อินเตอร์สเตตในสหรัฐอเมริกา มาแสดงในสภา และอภิปรายว่ามีชื่อของนายจิรายุ เป็นเจ้าของบัญชีดังกล่าว ซึ่งมีรายการโอนเงินค่าสินบน เป็นจำนวนเงิน 92 ล้านบาท [17] นายจิรายุปฏิเสธว่าคำกล่าวหาของนายสมัครเป็นเท็จ และตนไม่เคยมีบัญชีธนาคารในสหรัฐอเมริกา

ต่อมาจากการตรวจสอบโดย คณะกรรมการวิสามัญตรวจสอบของสภาผู้แทนราษฎร ผ่านสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย พบว่าสเตตเมนต์ที่นายสมัครนำมาแสดงนั้นเป็นของปลอม และนายจิรายุไม่เคยมีบัญชีเงินฝากในธนาคารนั้น อย่างไรก็ตามไม่มีการดำเนินการทางกฎหมายใดๆ กับนายสมัคร เนื่องจากมีกฎหมายให้เอกสิทธิ์คุ้มครอง ส.ส. ในระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจ [18] ต่อมานายสมัครได้ยอมรับว่า ได้นำเอกสารเท็จมาแสดงในการอภิปรายในครั้งนั้นจริง [19]

หลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายจิรายุลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 และได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และรองเลขาธิการสำนักพระราชวัง ตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 และเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2559 ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ให้นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการพระราชวัง ตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2559 [10]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

ลำดับสาแหรก

ข้อมูลเพิ่มเติม พงศาวลีของจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ...
ปิด

อ้างอิง

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.