คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
ประมวล สภาวสุ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
ประมวล สภาวสุ อดีตรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและกระทรวงอุตสาหกรรม เกิดวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470 ที่อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นบุตรของถาวร กับมาโนช สภาวสุ มีพี่น้อง 4 คน เป็นบิดาของ นาย กอรปศักดิ์ สภาวสุ อดีตรองนายกรัฐมนตรี สมรสกับคุณหญิงศรีประพาฬ สภาวสุ มีบุตรธิดารวม 5 คน
Remove ads
นายประมวลเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยาหลายสมัย เข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังระหว่างปี พ.ศ. 2531-2533 ขณะที่เศรษฐกิจไทยร้อนแรงที่สุดในรอบ 20 ปีด้วยอัตราการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 11 การส่งออกเติบโตเป็นประวัติการณ์ โดยสินค้าข้าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 และสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 40 ประเทศไทยสามารถตั้งงบประมาณแผ่นดินแบบสมดุลได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ในปีงบประมาณ 2534
นายประมวล เกษียณตัวเองจากทางการเมืองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 และถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2545 ขณะมีอายุได้ 74 ปี[ต้องการอ้างอิง]
Remove ads
ประวัติการศึกษา และวุฒิกิตติมศักดิ์
- มัธยมศึกษาจาก โรงเรียนวัดบวรนิเวศ
- สอบไล่ได้ตามหลักสูตร ชั้นเตรียมปริญญาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง พ.ศ. 2488 - 2489
- วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ประจำปี 2532
- ปริญญาบัตรกิตติมศักดิ์ของกองทัพเรือ
- ปริญญาบัตรกิตติมศักดิ์ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม
ประวัติการทำงาน
- สมาชิกขบวนการเสรีไทย
- รับราชการ สังกัดกรมสรรพากร
- ผู้จัดการ บริษัท รัชตะ ก่อสร้าง
- ประธานบริษัท ประมวลก่อสร้าง
- กรรมการสภาหอการค้า
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภาลูกเสือแห่งชาติ
- สมาชิกสภาจังหวัดพระนคร (กรุงเทพมหานครเดิม)
- กรรมการบริหารคณะกรรมการลูกเสือแห่งชาติ
- กรรมการสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- กรรมการมูลนิธิเพื่อโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
- รองประธานกรรมการโครงการศูนย์โรคหัวใจในสมเด็จพระบรมราชินีนาถ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล
Remove ads
การดำรงตำแหน่งทางการเมือง
- ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2518
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา การเลือกตั้งเมื่อ วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา การเลือกตั้งเมื่อ วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา การเลือกตั้งเมื่อ วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2526
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา การเลือกตั้งเมื่อ วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529 ถึงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2531
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา การเลือกตั้งเมื่อ กรกฎาคม พ.ศ. 2531
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2531[1] ถึงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2533
- รองนายกรัฐมนตรี[2] อันดับ 1 เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2533 ถึงวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2533
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม[3] เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2533 ถึงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา การเลือกตั้งเมื่อ วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา การเลือกตั้งเมื่อ วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2535
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา การเลือกตั้งเมื่อ วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2530 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2529 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2544 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[6]
- พ.ศ. 2532 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ[7]
- พ.ศ. 2517 –
เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[8]
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ –
เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
Remove ads
อ้างอิง
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads