ศาสตราจารย์พิเศษ อรุณ ภาณุพงศ์ เป็นสมาชิกฝ่ายไทยในศาลประจำอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮก[2] อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และอดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอก เปรม ติณสูลานนท์
อรุณ ภาณุพงศ์ | |
---|---|
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2531 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 มีนาคม พ.ศ. 2465 จังหวัดพัทลุง |
เสียชีวิต | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2564 (99 ปี)[1] กรุงเทพมหานคร |
ประวัติ
ศาสตราจารย์พิเศษ อรุณ ภาณุพงศ์ หรือ ศ.ดร.อรุณ ภาณุพงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2465 (นับแบบใหม่) ที่ตำบลเกาะหมาก อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาธรรมศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2489 ระดับปริญญาโท ด้านกฎหมายระหว่างประเทศ และปริญญาโทด้านเศรษฐศาสตร์ จากประเทศฝรั่งเศส สำเร็จการศึกษาปริญญาเอก ด้านกฎหมาย จากประเทศฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. 2496 ได้รับปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2537
ดร.อรุณ ภาณุพงศ์ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์พิเศษ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2539[3]
นอกจากนั้น ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการกฤษฎีกา ตั้งแต่ พ.ศ. 2525 ถึงปัจจุบัน และดำรงตำแหน่งประธานกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 6,กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ)
การทำงาน
อรุณ ภาณุพงศ์ เข้ารับราชการในสังกัด กระทรวงการต่างประเทศ เคยประจำการที่สถานทูตไทยในประเทศฝรั่งเศส เคยดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำอินโดนีเซีย เอกอัครราชทูตไทยประจำสหภาพโซเวียต เอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา และเอกอัครราชทูตไทยประจำฝรั่งเศส รวมทั้งเป็นปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ครม.41, 42)[4][5] และเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ครม.44)[6] ในรัฐบาลพลเอก เปรม ติณสูลานนท์
ศ.ดร.อรุณ ภาณุพงศ์ เคยปฏิบัติหน้าที่เป็นอาจารย์พิเศษ สอนวิชากฎหมายให้กับนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเคยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2523 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2522 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2529 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[10]
- พ.ศ. 2515 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[11]
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.