Remove ads
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (อังกฤษ: Faculty of Political Science, Ramkhamhaeng University) ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2516 โดยในระยะแรกได้เปิดสอนเป็นสาขารัฐศาสตร์ สังกัดคณะนิติศาสตร์ มาตั้งแต่ พ.ศ. 2515 ปัจจุบันจัดการเรียนการสอนการวิจัยในด้านการปกครอง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และบริหารรัฐกิจ ทั้งแบบตลาดวิชาในระดับปริญญาตรี และแบบบัณฑิตศึกษา ในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ผลิตบัณฑิตที่มีชื่อเสียงมากมาย ทั้งในแวดวงการเมืองการปกครองไทย และในหน่วยงานภาครัฐ
Faculty of Political Science, Ramkhamhaeng University | |
คติพจน์ | ให้การศึกษาทางรัฐศาสตร์อย่างเสมอภาค เป็นธรรม ทั่วถึง และมุ่งสู่สากล |
---|---|
สถาปนา | พ.ศ.2516 |
สังกัดการศึกษา | มหาวิทยาลัยรามคำแหง |
คณบดี | รศ.ดร.ศุภชัย ศุภผล |
ที่อยู่ | คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร |
วารสาร | วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐศาสตร์ วารสารรัฐศาสตร์พิจารณ์ |
เพลง | มาร์ชรัฐศาสตร์รามคำแหง |
สี | สีแดงเข้ม |
มาสคอต | สิงห์ทอง |
เว็บไซต์ | http://www.pol.ru.ac.th |
เมื่อ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ดำเนินการในปี พ.ศ. 2514 คณะรัฐศาสตร์ มีฐานะเป็นภาควิชาหนึ่งในคณะนิติศาสตร์ และจัดตั้งเป็นคณะรัฐศาสตร์ในปี พ.ศ. 2516 โดยมีศาสตราจารย์พิเศษ ดร.จิรโชค วีระสย (บรรพต วีระสัย) มาเป็นผู้ก่อตั้ง และดำรงตำแหน่งคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง คนแรก หลังจากจบการศึกษาสูงสุดทางรัฐศาสตร์จาก มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา โดยได้รับการเชิดชูเกียรติให้เข้าเป็นสมาชิกสมาคมไพ ซิกมา แอลฟา (PI SIGMA ALFA) ซึ่งเป็นสมาคมวิชาการด้านรัฐศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา
ต่อมาคณะฯ ได้ย้ายที่ทำการแยกจากคณะนิติศาสตร์มาเป็นอาคารไม้สองชั้น ติดกับสนามกีฬาหัวหมาก ซึ่งเป็นที่ทำการของคณะมนุษยศาสตร์ ตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคม 2517 และอยู่ในที่ทำการนี้ประมาณ 6 ปี ต่อมาอาคารดังกล่าวเป็นที่ทำการของงานสวัสดิการและรักษาความปลอดภัย กองอาคารสถานที่
ในสมัยที่อาจารย์ สุขุม นวลสกุล เป็นคณบดี คณะรัฐศาสตร์ได้ย้ายที่ตั้งมาอยู่อาคาร 5 ชั้น ซึ่งเป็นที่ทำการถาวรจนถึงปัจจุบัน เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2522 โดยลักษณะตัวอาคารเป็นรูปตัวยูแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนหนึ่งเป็นห้องอาจารย์และสำนักงาน อีกส่วนหนึ่งเป็นสำนักงานบัณฑิตศึกษา ห้องเรียน ห้องสมุด ศูนย์เอกสารทางวิชาการ ศูนย์นวัตกรรมการจัดการภาครัฐและเอกชน ศูนย์ศึกษาเอเชีย ศูนย์ศึกษาเอเชียตะวันออก รวมถึงห้องประชุมทางวิชาการต่างๆ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2550-2552 ได้มีการก่อสร้างอาคารคณะรัฐศาสตร์หลังใหม่ 12 ชั้น 1 หลัง โดยใช้พื้นที่ของอาคาร NB 3 A,B และ NB 10 เดิม ได้ส่งมอบและตรวจรับเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการเรียนการสอน ทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก และสำนักงานในการให้บริการ และการบริหารงานของคณะรัฐศาสตร์
นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คณะฯ มุ่งหมายที่จะสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาด้านรัฐศาสตร์ ส่งเสริมพัฒนาการสู่ความเป็นเลิศด้านการเรียนการสอนและบริการวิชาการ เป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่ประชาชนทั้งในด้าน การเมืองการปกครอง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และบริหารรัฐกิจ
คณะรัฐศาสตร์จัดการเรียนการสอน ระดับปริญญาตรี จำนวน 3 สาขาวิชา ระดับปริญญาโท จำนวน 3 สาขาวิชา และระดับปริญญาเอก จำนวน 2 สาขาวิชา รวมทั้งหมด 8 สาขาวิชาใน 3 หลักสูตร ดังนี้
หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง | |||
---|---|---|---|
ภาควิชา | ระดับปริญญาบัณฑิต | ระดับปริญญามหาบัณฑิต | ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต |
ภาควิชาการปกครอง
ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ภาควิชาบริหารรัฐกิจ |
หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต (ร.บ.) (ภาคปกติ)
หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต (ร.บ.) (ภาคพิเศษ)
|
หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.) (ภาคปกติ)
หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.) (โครงการพิเศษ)
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
|
รายนามคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบันมีดังนี้
ทำเนียบคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง | |
---|---|
รายนามคณบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง |
1. ศ.(พิเศษ) ดร.จิรโชค วีระสย[1] | 25 มกราคม พ.ศ. 2518 - 14 มิถุนายน พ.ศ. 2520 |
2. รศ.สุขุม นวลสกุล[2] | 27 มิถุนายน พ.ศ. 2520 - 30 กันยายน พ.ศ. 2523 |
3. รศ.ศิโรตม์ ภาคสุวรรณ[3] | 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 - 1 มีนาคม พ.ศ. 2526 |
4. รศ.ดร.สุรพล ราชภัณฑารักษ์[4] | 11 มีนาคม พ.ศ. 2526 - 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 |
5. รศ.อัษฎางค์ ปาณิกบุตร[5] | 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2528 - 7 มิถุนายน พ.ศ. 2530 |
6. รศ.วิทยา นภาศิริกุลกิจ[6] | 8 มิถุนายน พ.ศ. 2530 - 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 |
7. รศ.เชษฐ เทพเฉลิม[7] | 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531 - 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 |
8. รศ.สนธิ์ บางยี่ขัน[8] | 1 ธันวาคม พ.ศ. 2533 - 30 กันยายน พ.ศ. 2536 |
9. รศ.เสถียร หอมขจร[9] | 16 ธันวาคม พ.ศ. 2536 - 15 ธันวาคม พ.ศ. 2538 |
10. รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต[10] | 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 - 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 |
11. รศ.พรชัย เทพปัญญา[11] | 8 มิถุนายน พ.ศ. 2541 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2543 |
12. รศ.พรชัย เทพปัญญา (วาระที่ 2) | 17 ตุลาคม พ.ศ. 2543 - 16 ตุลาคม พ.ศ.2547 |
13. ผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์[12] | 16 มกราคม พ.ศ. 2548 - 15 มกราคม พ.ศ. 2552 |
14. ผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ (วาระที่ 2) | 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552 - 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554 |
15. ผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ (รักษาการแทนฯ) | 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 30 เมษายน พ.ศ. 2555 |
16. อ.ดร.มนตรี กวีนัฏธยานนท์ (รักษาการแทนฯ)[13] | 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 - 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 |
17. ผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ (รักษาการแทนฯ) | 3 พฤศจิกายน พ.ศ.2555 - 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 |
18. รศ.ดร.ทิพรัตน์ บุบผะศิริ (รักษาการแทนฯ)[14] | 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 - 27 ตุลาคม พ.ศ. 2556 |
19. ผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ (รักษาการแทนฯ) | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 27 เมษายน พ.ศ. 2557 |
20. รศ.ดร.ทิพรัตน์ บุบผะศิริ (รักษาการแทนฯ) | 28 เมษายน พ.ศ. 2557 - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557 |
21. ผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ (รักษาการแทนฯ) | 1 กันยายน พ.ศ. 2557 - 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 |
22. รศ.อนงค์ทิพย์ เอกแสงศรี[15] | 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 - 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 |
23. ผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ (รักษาการแทนฯ) | 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2562 |
24. ผศ.สาธิน สุนทรพันธุ์[16] | 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 - 30 มิถุนายน พ.ศ.2566 |
25. ผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ (รักษาการแทนฯ) | 1 กรกฎาคม พ.ศ.2566 - 28 ธันวาคม พ.ศ. 2566 |
26. รศ.ดร.ศุภชัย ศุภผล[17] | 2 มกราคม พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.