Loading AI tools
นักการเมืองชาวไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภักดีหาญส์ หิมะทองคำ (เกิด 29 มีนาคม พ.ศ. 2516) อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ธรรมนัส พรหมเผ่า) อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นอดีตสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตวังทองหลาง อดีตพิธีกร และอดีตนักแสดงสังกัดดาราวิดีโอทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7
ภักดีหาญส์ หิมะทองคำ | |
---|---|
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 (2 ปี 104 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | อนุตตมา อมรวิวัฒน์ |
ถัดไป | สรรเสริญ แก้วกำเนิด |
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตวังทองหลาง | |
ดำรงตำแหน่ง 16 มิถุนายน พ.ศ. 2545 – 15 มิถุนายน พ.ศ. 2549 (3 ปี 364 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 29 มีนาคม พ.ศ. 2516 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ไทยรักไทย (2545–2550) พลังประชาชน (2550–2551) เพื่อไทย (2551–2562) ชาติไทยพัฒนา (2562–2565) เศรษฐกิจไทย (2565–2566) พลังประชารัฐ (2566–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | มัณฑนา โห่ศิริ (สมรส 2545) |
บุตร | 3 คน |
การศึกษา | โรงเรียนศรีวิกรม์ โรงเรียนนานาชาติร่วมฤดี มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (บธ.บ.) มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ร.ม.) มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (ร.ด.) |
อาชีพ | นักการเมือง นักแสดง พิธีกร |
ชื่อเล่น | หาญส์ |
อาชีพแสดง | |
ชื่ออื่น | หาญส์ หิมะทองคำ |
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2540–2546 |
ผลงานเด่น | นุวี - มณีเนื้อแท้ (2540) กษม - ลูกตาลลอยแก้ว (2541) |
สังกัด | ดาราวิดีโอ |
ดร.ภักดีหาญส์ หิมะทองคำ เกิดเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2516 โดยมีชื่อในวงการแสดงว่า หาญส์ หิมะทองคำ และมีชื่อเล่นว่า หาญส์
ดร.ภักดีหาญส์ จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนศรีวิกรม์, มัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนนานาชาติร่วมฤดี, ปริญญาตรีจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, ปริญญาโทจากรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และปริญญาเอกจากรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
นายภักดีหาญส์เคยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครในเขตวังทองหลาง และได้รับเลือก ซึ่งในขณะนั้นนายภักดีหาญส์สังกัดพรรคไทยรักไทย ต่อมาหลังจากศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้ยุบพรรคไทยรักไทย นายภักดีหาญส์จึงได้ย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชาชน
ในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย นายภักดีหาญส์ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในเขต 6 (หนองจอก, คลองสามวา, คันนายาว และ บึงกุ่ม) กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคพลังประชาชน[1] แต่ไม่ได้รับเลือก ต่อมานายภักดีหาญส์มีชื่อเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (สหัส บัณฑิตกุล)[2] แต่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เห็นว่าไม่เหมาะสมจึงแต่งตั้ง นางสาวศุภมาส อิศรภักดี อดีต ส.ส.กรุงเทพมหานคร ดำรงตำแหน่งแทน[3]
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 15 สังกัดพรรคเพื่อไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับ ณัฎฐ์ บรรทัดฐาน บุตรชายของ บัญญัติ บรรทัดฐาน สังกัดพรรคประชาธิปัตย์[4] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[5] แทนนางสาวอนุตตมา อมรวิวัฒน์ และพ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 หลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ได้เข้ามาควบคุมอำนาจการบริหารประเทศ
ต่อมา นายภักดีหาญส์ได้ย้ายมาสังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา ลำดับที่ 20[6] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง จากนั้นจึงได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคชาติไทยพัฒนาและย้ายมาสังกัด พรรคเศรษฐกิจไทย[7] และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 เขาได้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตของกรุงเทพมหานคร เขต 13 สังกัดพรรคพลังประชารัฐ[8]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.