เจียง ไคเชก (อักษรโรมัน: Chiang Kai-shek; 31 ตุลาคม ค.ศ. 1887 — 5 เมษายน ค.ศ. 1975) หรือชื่อตามภาษาจีนมาตรฐาน คือ เจี่ยง จงเจิ้ง (蔣中正) หรือ เจี่ยง เจี้ยฉือ (蔣介石) เป็นชาวจีนที่เป็นนักการเมืองฝ่ายชาตินิยม นักปฏิวัติ และผู้นำทหารที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำแห่งสาธารณรัฐจีนในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1928 ถึง ค.ศ. 1975 ครั้งแรกในจีนแผ่นดินใหญ่จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1949 ต่อมาที่เกาะไต้หวันจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรม

ข้อมูลเบื้องต้น ฯพณฯจอมพลสูงสุดเจียง ไคเชกร.ม.ภ., ประธานรัฐบาลจีนชาตินิยม ...
เจียง ไคเชก
蔣中正
蔣介石
เจียง ไคเชกในปี ค.ศ. 1943
ประธานรัฐบาลจีนชาตินิยม
ดำรงตำแหน่ง
10 ตุลาคม 1928  15 ธันวาคม 1931
หัวหน้ารัฐบาลถาน หยานไข่
ซ่ง จื่อเหวิน
ก่อนหน้ากู้ เหวย์จฺวิน (รักษาการ)
ถัดไปหลิน เซิน
ดำรงตำแหน่ง
10 ตุลาคม 1943  20 พฤษภาคม 1948
รักษาการตั้งแต่ 1 สิงหาคม 1943 จนถึง 10 ตุลาคม 1943
หัวหน้ารัฐบาลซ่ง จื่อเหวิน
ก่อนหน้าหลิน เซิน
ถัดไปเขาเอง (ในฐานะประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน)
ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐจีน
ดำรงตำแหน่ง
20 พฤษภาคม 1948  21 มกราคม 1949
หัวหน้ารัฐบาลจาง ฉฺวิน
เวิง เหวินฮ่าว
ซุน เคอ
รองประธานาธิบดีหลี่ จงเหริน
ก่อนหน้าเขาเอง (ในฐานะประธานรัฐบาลจีนชาตินิยม)
ถัดไปหลี่ จงเหริน (รักษาการ)
ดำรงตำแหน่ง
1 มีนาคม 1950  5 เมษายน 1975
หัวหน้ารัฐบาลหยาน ซีชาน
เฉิน เฉิง
ยฺหวี หงจฺวิน
หยาน เจียก้าน
เจี่ยง จิงกั๋ว
รองประธานาธิบดีหลี่ จงเหริน
เฉิน เฉิง
หยาน เจียก้าน
ก่อนหน้าหลี่ จงเหริน (รักษาการ)
ถัดไปหยาน เจียก้าน
นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐจีน
ดำรงตำแหน่ง
4 ธันวาคม 1930  15 ธันวาคม 1931
ประธานาธิบดีตนเอง
ก่อนหน้าซ่ง จื่อเหวิน
ถัดไปเฉิน หมิงชู
ดำรงตำแหน่ง
7 ธันวาคม 1935  1 มกราคม 1938
ประธานาธิบดีหลิน เซิน
ก่อนหน้าวาง จิงเว่ย์
ถัดไปข่ง เสียงซี
ดำรงตำแหน่ง
20 พฤศจิกายน 1939  31 พฤษภาคม 1945
ประธานาธิบดีหลิน เซิน
ก่อนหน้าข่ง เสียงซี
ถัดไปซ่ง จื่อเหวิน
รักษาการนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐจีน
ดำรงตำแหน่ง
1 มีนาคม 1947  18 เมษายน 1947
ประธานาธิบดีเขาเอง
ก่อนหน้าซ่ง จื่อเหวิน
ถัดไปจาง ฉฺวิน
ประธานพรรคก๊กมินตั๋ง
ดำรงตำแหน่ง
12 พฤษภาคม 1936  1 เมษายน 1938
ก่อนหน้าหู ฮั่นหมิน
ดำรงตำแหน่ง
6 กรกฎาคม 1926  11 มีนาคม 1927
ก่อนหน้าจาง เหรินเจี๋ย
ถัดไปอู๋ จื้อฮุย และ หลี่ ฉือเฉิง
ผู้อำนวยการใหญ่พรรคก๊กมินตั๋ง
ดำรงตำแหน่ง
1 เมษายน 1938  5 เมษายน 1975
ก่อนหน้าหู ฮั่นหมิน
ถัดไปเจี่ยง จิงกั๋ว (ในฐานะประธานพรรคก๊กมินตั่ง)
ประธานคณะกรรมการกิจการทหาร
ดำรงตำแหน่ง
15 ธันวาคม 1931  31 พฤษภาคม 1946
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปยกเลิกตำแหน่ง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด31 ตุลาคม ค.ศ. 1887(1887-10-31)
เฟิงหัว เจ้อเจียง จักรวรรดิชิง
เสียชีวิต5 เมษายน ค.ศ. 1975(1975-04-05) (87 ปี)
ไทเป ไต้หวัน สาธารณรัฐจีน
ศาสนาคริสต์โปรเตสแตนต์ (สายเมทอดิสต์)[1]
พรรคการเมืองพรรคก๊กมินตั๋ง
คู่สมรสซ่ง เหม่ย์หลิง
บุตรเจี่ยง จิงกั๋ว
เจี๋ยง เหว่ย์กั๋ว
ศิษย์เก่าโรงเรียนนายร้อยทหารบกแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่น
อาชีพทหาร (จอมพล),
นักการเมือง
รางวัลเครื่องอิสริยาภรณ์เกียรติคุณแห่งชาติ, เครื่องอิสริยาภรณ์ตะวันฉาย ฟ้าใส, ชั้นที่ 1 เครื่องอิสริยาภรณ์คนโทศักดิ์สิทธิ์, ลีเจียนออฟเมอริต
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ สาธารณรัฐจีน
สังกัด กองทัพบก
ประจำการ1911–1975
ยศ จอมพลสูงสุด (特級上將)
ผ่านศึกการปฏิวัติซินไฮ่, การกรีฑาทัพขึ้นเหนือ, สงครามจีน-ธิเบต, กบฎคูมูล, วิกฤติการณ์โซเวียตในซินเจียง, สงครามกลางเมืองจีน, สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง, Kuomintang Islamic Insurgency in China (1950–1958)
ปิด

เขาเกิดในมณฑลเจ๊เกี๋ยง (เจ้อเจียง) เจียงเป็นสมาชิกพรรคก๊กมินตั๋ง (KMT) และเป็นนายทหารระดับยศร้อยโทของดร.ซุน ยัตเซ็นในการปฏิวัติโค่นล้มอำนาจรัฐบาลเป่ย์หยางและรวมชาติจีนให้เป็นหนึ่งเดียวกัน ด้วยความช่วยเหลือจากโซเวียตและคอมมิวนิสต์ (พรรคคอมมิวนิสต์จีน (CPC)) เจียงได้จัดตั้งกองทัพใหม่ให้อยู่ภายใต้รัฐบาลชาตินิยมกวางตุ้งของดร.ซุน และหัวหน้าโรงเรียนการทหารหวงผู่ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน (จากที่เขาขึ้นดำรงตำแหน่งที่เป็นที่รู้จักกันคือ จอมพลสูงสุด) เขานำการกรีฑาทัพขึ้นเหนือ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1926 ถึง 1928 ก่อนที่จะเอาชนะกลุ่มพันธมิตรขุนศึกต่าง ๆ และรวมชาติจีนให้อยู่ภายใต้รัฐบาลชาตินิยมใหม่ ครึ่งทางของการทัพ ความเป็นพันธมิตรของพรรคก๊กมินตั๋งและพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้แตกหักกันและเจียงได้ทำการปราบปรามคอมมิวนิสต์ภายในพรรค ก่อให้เกิดสงครามกลางเมืองกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งในที่สุดเขาได้ประสบความพ่ายแพ้ในปี ค.ศ. 1949

ในฐานะที่เป็นผู้นำแห่งสาธารณรัฐจีนในทศวรรษหนานจิง เจียงพยายามที่จะรักษาความสมดุลที่ยากลำบากระหว่างการปรับปรุงจีนให้มีความทันสมัย ในขณะเดียวกันก็ทุ่มเททรัพยากรเพื่อปกป้องประเทศชาติจากภัยคุกคามจากญี่ปุ่นที่กำลังจะเกิดขึ้น จึงได้พยายามหลีกเลี่ยงการทำสงครามกับญี่ปุ่น ในขณะเดียวกันก็ได้ทำสงครามปราบปรามคอมมิวนิสต์จีนต่อไป เขาได้ถูกจับตัวในอุบัติการณ์ซีอานและจำเป็นต้องจัดตั้งแนวร่วมต่อต้านญี่ปุ่นกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน ภายหลังจากเหตุการณ์สะพานมาร์โค โปโลในปี ค.ศ. 1937 เขาได้ระดมพลทหารจีนสำหรับสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง เป็นเวลาแปดปีที่เขานำสงครามต่อต้านกับศัตรูที่มีความได้เปรียบที่เหนือกว่ามาก ส่วนใหญ่มาจากเมืองหลวงฉงชิ่งในยามสงคราม ในฐานะผู้นำของฝ่ายสัมพันธมิตรที่สำคัญ เจียงได้เข้าพบกับนายกรัฐมนตรีอังกฤษ วินสตัน เชอร์ชิล และประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ ในการประชุมไคโรเพื่อประชุมหารือเกี่ยวกับการยอมจำนนของญี่ปุ่น ไม่นานหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง เขาก็ได้เริ่มทำสงครามกลางเมืองอีกครั้งกับพรรคคอมมิวนิสต์จีนภายใต้การนำโดยเหมา เจ๋อตง ฝ่ายชาตินิยมของเจียงส่วนใหญ่ได้ประสบความพ่ายแพ้ในการรบแตกหักไม่กี่ครั้งในปี ค.ศ. 1948

ในปี ค.ศ. 1949 รัฐบาลและกองทัพของเจียงได้หลบหนีไปยังไต้หวันซึ่งเจียงได้ประกาศบังคับใช้กฎอัยการศึกและปราบปรามผู้ที่มีความคิดเห็นต่างทางการเมืองในช่วงความน่าสะพรึงสีขาว การดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในช่วงการปฏิรูปสังคมและความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ เจียงได้รับชัยชนะการเลือกตั้งถึงห้าครั้งในระยะเวลาหกปีในฐานะประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน และเป็นอธิบดีทั่วไปของพรรคก๊กมินตั๋งจนกระทั่งเขาถึงแก่อสัญกรรม สามปีในวาระที่ห้าในขณะที่เขาดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีและเพียงหนึ่งปีก่อนที่เหมาจะถึงแก่อสัญกรรมเช่นกัน

หนึ่งในประมุขแห่งรัฐที่ไม่ใช่พระมหากษัตริย์ที่ดำรงตำแหน่งที่ยาวนานที่สุดในศตวรรษที่ 20 เจียงเป็นผู้ปกครองที่ไม่ใช่พระมหากษัตริย์ที่ดำรงตำแหน่งที่ยาวนานที่สุดในจีน เป็นเวลายาวนานถึง 46 ปี เช่นเดียวกับเหมา เขาได้ถูกมองว่าเป็นบุคคลที่ได้มีการโต้เถียงมากที่สุด ผู้ที่สนับสนุนเขาต่างได้ยกย่องเขาถึงการมีบทบาทสำคัญในการรวมประเทศจีนให้เป็นหนึ่งและเป็นผู้นำจีนต่อต้านญี่ปุ่น รวมทั้งการต่อต้านการรุกรานของโซเวียต-คอมมิวนิสต์ ผู้กล่าวร้ายและนักวิจารณ์ต่างประณามเขาว่าเป็นเผด็จการที่ด้านหน้าของระบอบลัทธิอำนาจนิยมที่ได้ทำการปราบปรามฝ่ายศัตรูทางการเมืองอย่างไร้ความปราณี

ประวัติ

วัยเด็ก

เจียงไคเชกเกิดที่เมืองเฟิงหัว มณฑลเจ้อเจียง ห่างจากเมืองท่าทางตะวันออกของเมืองหนิงโปไปเป็นระยะทาง 30 ไมล์ ในวัยเด็กเจียงมีชื่อเริ่มแรกว่า "จูไท่" ครอบครัวของเจียงมีฐานะที่ดีได้รับการเคารพนับถือจากผู้คนในเมือง บิดาของเจียง เจียง จ้าวกง () และมารดา หวัง ไคหยู่ () ทั้งคู่เป็นครอบครัวที่ทำการค้าเกลือและใบชา

เจียงมีบุคคลิกที่ซุกซนโกรธง่ายและหัวรั้น ในวัย 3 ขวบ เขาได้ทดลองจวกตะเกียบแหย่ลงลำคอด้วยความอยากรู้อยากเห็นว่าตะเกียบจะลงไปได้ลึกเท่าไหร่ ซึ่งสุดท้ายมันก็ติดค้างและแม่ของเขาได้เรียกให้ผู้คนละแวกบ้านมาช่วยกันเอาตะเกียบออกด้วยความยากลำบาก

ในบันทึกของเจียง เขาเขียนพรรณนาถึงมารดาของเขาในฐานะที่เป็นศูนย์รวมของลัทธิขงจื้อ เพราะมารดาของเขามีอิทธิพลอย่างมากในวัยเด็ก เขาได้เติบโตภายใต้การเลี้ยงดูของมารดา มารดาของเจียงได้อบรมสั่งสอนให้เขาเติบโตมามีความเป็นสุภาพบุรุษอีกทั้งยังสอนถึงหลักคุณธรรมแบบจีนโบราณ เมื่อเจียงสูญเสียบิดาเมื่อเขามีอายุได้ 9 ปี ครอบครัวของเจียงมีเพียงมารดาที่ทำหน้าที่พยุงฐานะของครอบครัว มารดาของเจียงได้ทำงานหนักประหยัดอดออมและเสียสละอย่างมากเพื่อให้เจียงได้เล่าเรียนหนังสือ ในภายหลังเจียงได้ตระหนักมากขึ้นถึงประเด็นครอบครัวของเขาในวัยเด็ก ขณะที่กล่าวคำปราศรัยให้แก่สมาชิกพรรคก๊กมินตั๋งในปี ค.ศ. 1945 ว่า

ในฐานะที่ทุกคนรับรู้ ในตอนที่ข้าพเจ้ายังเป็นเด็กในครอบครัวที่แสนยากลำบาก ปราศจากการดูแลคุ้มครอง หลังบิดาของข้าพเจ้าตาย มารดาของข้าพเจ้าได้เปิดเผยเรื่องราวการเอาเปรียบที่เลวร้ายจากเหล่าเพื่อนบ้านที่ล้วนเห็นแก่ตัวและพวกผู้ดีท้องถิ่นอันธพาล ความพยายามของเธอในการต่อสู้กับเหล่าครอบครัวที่คิดร้ายเหล่านี้คือ การเลี้ยงดูอบรมลูกของเธอให้เติบโตขึ้นมาในสภาพแวดล้อมที่มีจิตวิญญาณในการต่อสู้เพื่อความยุติธรรม ข้าพเจ้ารู้สึกว่าในตลอดช่วงชีวิตวัยเด็ก มารดาของข้าพเจ้าและตัวข้าพเจ้าได้ร่วมต่อสู้ดิ้นรนอย่างปราศจากความช่วยเหลือและโดดเดี่ยว พวกเรานั้นโดดเดี่ยว ไม่มีความช่วยเหลือที่เป็นไปได้ที่พวกเราจะมองเห็น หากแต่การตัดสินใจของพวกเราไม่เคยหวั่นไหวและไม่ทอดทิ้งความหวัง[2]

การศึกษาเล่าเรียน

Thumb
ครอบครัวของเจียงไคเชกในช่วงแรก ประกอบด้วย เจียง ไคเชก (ขวามือ) และภรรยาคนแรกของเขา เหมา ฟูเหมย (ซ้ายมือ) มารดาของเจียง หวัง ไคหยู่ (นั่งตรงกลาง) กำลังอุ้มลูกชายคนแรกของเจียง เจียงจิงกั๋ว

ในช่วงที่เจียงเริ่มเรียน เขามีความสนใจในการสงครามอย่างมาก มีการเล่นเอาไม้มาทำเป็นดาบและอาวุธจำลองเป็นสนามรบหลังเลิกเรียนอยู่เป็นประจำ โรงเรียนประถมของเจียงได้สอนวิชาลัทธิขงจื้อและปรัชญาจีนโบราณ เจียงจึงได้เปลี่ยนชื่อจาก "จูไท่" เป็น ไคเชก (介石) ในสำเนียงแบบเจ้อเจียง หรือ เจี้ยฉือ ในสำเนียงภาษาจีนกลาง ที่แปลว่า หินบริสุทธิ์ เมื่อเจียงอายุได้ 14 ปี มารดาของเจียงได้จัดให้เจียงแต่งงานกับภรรยาชาวชนบทอายุ 19 ปี นามว่า เหมา ฟูเหมย (毛福梅) แต่เจียงกลับไม่ชอบคอและมีความรักกับภรรยาคนแรกคนนี้ เนื่องจากเขาพบว่าถูกบังคับจากมารดาที่ต้องการหาภรรยาให้กับเขาและให้เขายอมรับ เจียงจึงย้ายไปศึกษาในโรงเรียนอีกเมืองหนึ่งและให้ภรรยาของเขาคอยดูแลมารดาที่บ้าน

ในช่วงนี้เองเจียงได้พบและตระหนักถึงสภาพอันน่าเวทนาของบ้านเมืองในขณะนั้นเจียงได้พบว่าปัญหาหลักของประเทศมาจากการปกครองของราชวงศ์ชิงที่เป็นราชวงศ์ของชาวแมนจูซึ่งมาจากดินแดนแมนจูเรียทางตอนเหนือเข้ามาปกครองประเทศจีนเป็นเวลาหลายร้อยปี

ในปี ค.ศ. 1901 การปกครองของราชวงศ์ชิงได้ประสบแต่ความเหลวแหลกมาโดยตลอด ราชสำนักต้องพบภัยล่าอาณานิคมจากประเทศอังกฤษ ราชสำนักเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในสงครามฝิ่นจนถึงภายใต้พระนางซูสีไทเฮา การปกครองยังคงล้มเหลวต่อเนื่อง พระนางไม่สามารถปกป้องประเทศจากการคุกคามจากชาติตะวันตกและญี่ปุ่นที่เริ่มเข้ามาล่าอาณานิคมและยึดครองประเทศจีนเช่นกัน เจียงจึงเริ่มมีแนวคิดอุดมการณ์ที่จะให้ประเทศจีนปกครองโดยชาวจีนและกอบกู้ฟื้นฟูประเทศขึ้น

เจียงได้เรียนหนังสือจบมัธยมเมื่อเขาอายุได้ 17 ปี เจียงวางแผนจะเรียนต่อในโรงเรียนกฎหมายแต่มีเหตุที่ทำให้กลับใจเขาได้พบกับเหล่าคนหนุ่มที่ได้ต่างทะยอยตัดหางเปียยาวแบบแมนจูทิ้ง เนื่องจากในขณะนั้นชาวแมนจูที่เข้ามาปกครองประเทศจีนได้มีประเพณีที่จะต้องบังคับให้ชายทุกคนไว้ผมทรงหางเปียยาว เมื่อเจียงถามคนกลุ่มนั้นเหตุใดจึงตัดหางเปียทิ้ง พวกเขากลับตอบว่า "เพื่อเป็นการต่อต้านความโหดร้ายและฉ้อฉลของราชสำนักชิง" ทำให้เจียงหันมาสนใจกับอาชีพทหารและล้มเลิกในการเรียนต่อในโรงเรียนกฎหมาย

การเข้าเป็นทหาร

Thumb
เจียง ไคเชกขณะเรียนที่โรงเรียนทหารเป่าติ้ง

ก่อนหน้าที่เจียงจะตัดสินใจเข้าเป็นทหารได้เกิดสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่งขึ้น ญี่ปุ่นได้พัฒนาประเทศจนเป็นมหาอำนาจแบบตะวันตกและส่งกองทัพเข้ารุกรานประเทศจีนที่กำลังอ่อนแอ สงครามสิ้นสุดลงด้วยความพ่ายแพ้ของราชสำนักชิง ทำให้จีนต้องถูกบีบบังคับให้ลงนามในสนธิสัญญาชิโมโนเซกิ ความอัปยศดังกล่าวทำให้เจียงเห็นว่าจีนควรเรียนรู้บทเรียนจากสงครามครั้งนี้และควรศึกษาจากความสำเร็จทางการทหารของญี่ปุ่น แม้ว่าเจียงจะไม่ชอบการที่ญี่ปุ่นได้รุกรานและข่มเหงประเทศจีนก็ตาม แต่เขากลับเห็นว่าหากประเทศจีนจะเข้มแข็งได้ต้องเรียนรู้จากศัตรู เขาจึงคิดจำใจไปเรียนทางด้านการทหารที่ญี่ปุ่นและหาวิธีเดินทางไปญี่ปุ่น

เจียงได้ขออนุญาตมารดาของเขาเพื่อไปเรียนโรงเรียนการทหารของญี่ปุ่น ในช่วงแรกเธอคัดค้าน แต่ด้วยความมุมานะและพยายามอ้อนวอนมารดาของเจียงให้คล้อยตามจนในที่สุดมารดาของเขาก็อนุญาตและสนับสนุนทางด้านการเงินไปต่างประเทศ[3] ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1906 เมื่อเจียงเดินทางถึงญี่ปุ่นเขาพยายามสมัครเข้าโรงเรียนทหารทันทีแต่กลับถูกปฏิเสธและเมื่อเงินที่ได้มาเริ่มขัดสนเขาจึงเดินทางกลับประเทศจีน

ในปีเดียวกันเมื่อเจียงเดินทางกลับมา เหมาฝูเหม่ย์ภรรยาของเขาได้ให้กำเนิดบุตรชายแก่เจียงคนแรก เจียงตั้งชื่อลูกชายว่า เจียง จิงกั๋ว ต่อมาเจียงได้เข้าสมัครการฝึกฝนการทหารที่โรงเรียนการทหารเป่าติ้งที่เป็นสถาบันการทหารที่สนับสนุนโดยราชวงศ์ชิง เมื่อเจียงได้เข้ารับการฝึกที่เป่าติ้ง เขาได้ฝึกฝนอย่างขยันหมั่นเพียรและเชื่อฟังคำสั่งผู้บังคับบัญชาตลอดสร้างความประทับใจให้แก่ครูฝึกและเพื่อนทหารเป็นอย่างมาก จนกระทั่งเจียงได้ขึ้นชั้นปี 2 ของโรงเรียนทหาร เขาได้รับคัดเลือกเป็นนักเรียนทุนตัวแทนนักเรียนทหารแลกเปลี่ยนจีน หนึ่งในสี่นายไปศึกษาต่อที่โรงเรียนทหารของญี่ปุ่น[4]

การศึกษาที่ญี่ปุ่น

เหล่านักเรียนแลกเปลี่ยนจากจีนเริ่มเดินทางจากเมืองท่าต้าเหลียนนั่งเรือโดยสารมายังเมืองโกเบของญี่ปุ่นและเดินทางต่อไปยังกรุงโตเกียว เมื่อเจียงเดินทางมาถึงญี่ปุ่นอีกครั้ง เจียงได้เข้าเรียนในสถาบันโตเกียวชินบูกักโคะ[5] ซึ่งเป็นโรงเรียนเตรียมทหารเพื่อเข้าศึกษาต่อในสถาบันการทหารกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นสำหรับนักเรียนแลกเปลี่ยนจากจีนที่จะช่วยสอนเรื่องกิจการทางทหารและสำหรับนักเรียนที่ไม่ได้เป็นนายทหารชั้นประทวน[5]

เมื่อเจียงจบการศึกษาจากสถาบันโตเกียวชินบูกักโคะในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1910 รายงานจากทางญี่ปุ่นระบุว่าคะแนนรวมทั้งหมดของเจียงได้อันดับที่ 55 จากทั้งหมด 62 อีก 8 คนเป็นที่สุดท้าย ถือว่าปานกลางไม่ดีมาก[6]:53–84

หลังจากนั้นเจียงได้เข้าเรียนต่อในสถาบันการทหารกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นที่ได้จัดเอาไว้ให้เหล่านักเรียนทุนแลกจากจีนที่มาศึกษา เจียงได้ถูกคัดเลือกเข้ากองพลที่ 13 แห่งหน่วยเหล่าปืนใหญ่ทะคะดะ ในขณะที่เรียนปืนใหญ่นั้นแม้เพื่อนร่วมชั้นชาวญี่ปุ่นจะดูถูกและกลั่นแกล้งเจียงและนักเรียนจากจีน แต่เจียงกลับอดทนและมุ่งมั่นไม่สนใจการดูถูกใด ๆ เจียงฝึกฝนล้างห้องน้ำ อาบน้ำให้ม้าและอยู่ในสนามรบที่มีอาหารเพียงน้อยนิดทั้งหมดสร้างความประทับใจให้แก่ครูฝึกทหารชาวญี่ปุ่นได้อย่างต่อเนื่อง

ในฐานะนักปฏิวัติ

ระหว่างที่เรียนที่ญี่ปุ่นนี้เองเจียงได้ข่าวการเคลื่อนไหวของดร. ซุน ยัตเซ็น ผู้ซึ่งต้องลี้ภัยหนีการตามล่ามาอยู่ญี่ปุ่นเนื่องจากเป็นผู้นำในขบวนการปฏิวัติเพื่อล้มล้างราชวงศ์ชิงหรือ "ถงเหมิงฮุ่ย" เจียงยังได้พบกับเฉิน ฉี่เหม่ย์ที่เป็นชาวเจ้อเจียงเหมือนกัน เฉินฉี่เหม่ย์ได้ช่วยสอนด้านลัทธิการเมืองให้กับเจียง เขาเปรียบเสมือนเป็นครูที่ดีและต่อมาได้กลายมาเป็นสหายคนสนิทของเจียง ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาในคำปราศรัยของดร.ซุนที่จะปฏิวัติเพื่อล้มล้างการปกครองของราชวงศ์ชิงและก่อตั้งสาธารณรัฐ ปีเดียวกันนั้นเฉิน ฉี่เหม่ย์ได้พาเจียงเข้าร่วมขบวนการถงเหมิงฮุ่ย

เจียงรู้สึกตื่นเต้นและชื่นชมความกล้าหาญของนักปฏิวัติพวกนี้และคิดว่าเขาควรจะถือปืน หัดวางแผน เคลื่อนไหวทางการเมืองเหมือนนักปฏิวัติบ้าง เขาตัดทรงผมหางเปียแบบแมนจูทิ้งในที่สุด ฤดูร้อนในช่วงปิดเทอมปีนั้นเอง เจียงก็กลับเจ้อเจียงมาเยี่ยมแม่ จากนั้นเดินทางไปเซี่ยงไฮ้ เขากับเฉินฉีเหม่ย์รับหน้าที่ปล้นสถานที่ราชการ ช่วยเหลือชาวบ้านที่ถูกทางการกลั่นแกล้งรังแกและลอบสังหารเจ้าหน้าที่ในราชสำนักชิงอยู่หลายครั้ง จนชื่อของเขาก็เข้าไปอยู่ในบัญชีดำของกรมตำรวจ กิจกรรมปล้น-ฆ่าเป็นส่วนหนึ่งของสงครามจรยุทธ์และมันก็ทำให้สังคมแยกไม่ออกว่าใครเป็นพวกปฏิวัติ ใครเป็นพวกโจรนักเลง

การเดินทางกลับประเทศจีน

เข้าร่วมการปฏิวัติซินไฮ่

เจียงสำเร็จการศึกษาจากสถาบันการทหารญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ. 1911 เขาตัดสินใจอุทิศตนเข้าร่วมขบวนการถงเหมิงฮุ่ยเต็มตัว เจียงได้เดินทางกลับไปยังประเทศจีนโดยตั้งใจจะสู้รบเป็นนายทหารปืนใหญ่ เขาทำหน้าที่ในกองกำลังปฏิวัตินำกองทหารในเซี่ยงไฮ้ จนในที่สุดเกิดเหตุการณ์ที่สำคัญคือการลุกฮือต่อต้านราชวงศ์ชิงที่อู่ชางได้ขยายวงกว้างกลายเป็นการปฏิวัติซินไฮ่

เดือนพฤศจิกายน เฉิน ฉีเหม่ย์ใช้กองกำลังอาวุธบุกยึดเซี่ยงไฮ้ เฉินขึ้นมาเป็นจอมพลคุมเซี่ยงไฮ้ได้ เฉินสนิทกับเจียงมาก แต่แทนที่เขาจะแต่งตั้งเจียงเป็นเสนาธิการทหาร เขากลับยกตำแหน่งนี้ให้แก่นักเรียนแลกเปลี่ยนทหารคนอื่นที่สุขุมเยือกเย็นกว่าเจียง ขณะนั้น เฉินเอือมระอากับนิสัยเลวของเจียงเต็มที เจียงทั้งขี้เหล้า เสเพล เจ้าอารมณ์ กระนั้นก็ตามเฉินก็ยังมองว่าเจียงก็ยังมีข้อดีในตัว เขาเป็นคนเก่ง เป็นบุคคลากรที่ควรถนอมไว้ เฉินจึงให้เขาเป็นหัวหน้าหน่วยกล้าตาย พาทหารหมู่หนึ่งบุกเข้าไปช่วยนักปฏิวัติที่ถูกปิดล้อมอยู่ในเมืองหังโจวและเจียงก็ทำสำเร็จ เขากลายเป็นวีรบุรุษในท่ามกลางกองทัพนักปฏิวัติ และเฉินได้แต่งตั้งให้เขาเป็นผู้พันคุมกองร้อยทหารในเจียงซู

เจียงในฐานะเป็นร้อยโทของเฉิน ในช่วงต้นปี ค.ศ. 1912 เกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างเฉินกับ เถา เฉิงกัง ศัตรูทางการเมืองของเฉิน ฉี่เหม่ย์ เมื่อเจียงทราบเรื่องเข้าก็ถึงขั้นอาสากำจัดเถา เฉิงกัง

ในระหว่างพำนักที่เซี่ยงไฮ้

เถา เฉิงกังเป็นสมาชิกผู้มีอิทธิพลของคณะปฏิวัติพันธมิตรถงเหมิงฮุ่ยที่ทรยศทั้งซุนยัตเซ็นและเฉิน ไปตั้งตนเป็นหัวหน้าพรรคซิงหมิงซึ่งเป็นปฏิปักษ์กับ "พรรคปฏิวัติจีน" พรรคใหม่ที่เปลี่ยนมาจากถงเหมิงฮุ่ยของดร.ซุน เจียงถือโอกาสช่วงที่เถา เฉิงกังนอนป่วยอยู่ในโรงพยาบาล เมื่อรอบตัวเถาไม่มีมือปืนคอยคุ้มกัน เจียงฉวยจังหวะใช้ปืนพกยิงลอบสังหารเถาในโรงพยาบาล[7]

เมื่อเจียงสังหารเถาเสร็จ เขาใช้เวลาส่วนใหญ่หนีหลบซ่อนกบดานที่เมืองเซี่ยงไฮ้ ในระหว่างนั้นเขาใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเขียนบทความด้านการทหาร และเขาก็ใช้ชีวิตเที่ยวเตร่สำมะเลเทเมา อีกทั้งยังเจ้าอารมณ์ ดื้อรั้น มีปากเสียงกับผู้คนบ่อยๆ ทำให้เพื่อน ๆ ที่ร่วมงานต่างขยาดและไม่มีผู้อื่นกล้าเข้าใกล้ เจียงรู้สึกโดดเดี่ยวมากขึ้นเรื่อย ๆ เขามักจะเข้าไปขลุกอยู่ในบาร์ ในไนต์คลับ ที่นั่นมีทุกอย่างที่เขาชื่นชอบ ทั้งสุราและสตรีอีกทั้งยังได้พบปะกับเพื่อนที่มีรสนิยมต่างกัน

ด้วยความสนิทสนมกับเฉิน ฉี่เหม่ย์ทำให้เจียงได้เข้าไปมีความสัมพันธ์กับกลุ่มคดีอาญากรรมของเซี่ยงไฮ้ (กลุ่มแก๊งเขียวของตู้ เย่ว์เซิงและหวง จิ่นหลง) เจียงเข้าร่วมกลุ่มแก็งเขียวก่อคดีปล้นฆ่าหลายคดี ทำให้เจียงเริ่มสนิทสนมกับพวกเจ้าพ่อมาเฟีย โดยเฉพาะตู้ เย่ว์เซิง ผู้มีมาดเจ้าพ่ออันเฉียบขาด เขาเป็นมาเฟียที่รักชาติที่มักจะทำร้ายและฆาตรกรรมชาวจีนที่ทำการขายชาติให้กับเหล่าประเทศที่มาแสวงหาผลประโยชน์ในจีน ทำให้ชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่โจษจันกัน ในช่วงเวลาของเจียงในเมืองเซี่ยงไฮ้ ในเขตสัมปทานอังกฤษที่เป็นส่วนหนึ่งของเขตสัมปทานนานาชาติเซี่ยงไฮ้ ที่ซึ่งเหล่าชาติตะวันตกที่เข้ามาแสวงหาอิทธิพลในจีน ตำรวจอังกฤษได้เฝ้าดูเขาและกล่าวโทษเขาด้วยความร้ายกาจต่าง ๆ แต่เจียงไม่เคยถูกจับ ไม่เคยถูกสอบสวนและไม่เคยติดคุก[8]

ต่อต้านยฺเหวียน ชื่อไข่

หลังจากราชวงศ์ชิงล่มสลายลง รัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐจีนที่เพิ่งสถาปนาโดยดร.ซุน ก็เสียอำนาจในการปกครองประเทศให้กับยฺเหวียน ชื่อไข่ที่เข้ามาครอบครองตำแหน่งประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน ยฺเหวียน ชื่อไข่ผู้มีความมักใหญ่ใฝ่สูง ปรารถนาที่จะตั้งตนเป็นฮ่องเต้ เขาควบคุมอำนาจกองกำลังทหาร และส่งมือสังหารไปลอบสังหารคู่แข่งทางการเมืองที่ไม่เห็นด้วยกับเขา ซึ่งก็คือบรรดาแกนนำฝ่ายประชาธิปไตยในพรรคปฏิวัติจีนของดร.ซุน

การกวาดล้างทางการเมืองของยฺเหวียนได้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ยฺเหวียนได้ปลดผู้ว่าราชการมณฑลต่างๆแล้วเอาขุนศึกที่จงรักภักดีเข้าไปทำหน้าที่แทนและเตรียมตั้งตนเป็นฮ่องเต้อีกครั้ง จนวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1913 ภายใต้การกระตุ้นของ ดร.ซุน ยัตเซ็น ได้มีการประกาศต่อต้านยฺเหวียน ชื่อไข่ที่จะรื้อฟื้นระบอบจักรพรรดิขึ้นมาอีกและทำให้พัฒนาการประชาธิปไตยของสาธารณรัฐล่าช้าทำให้การปฏิวัติรอบสองเปิดฉากขึ้น

ในปี ค.ศ. 1913 คณะปฏิวัติได้ทำการปฏิวัติครั้งที่สอง เพื่อขับไล่ยฺเหวียน ชื่อไข่ เจียง ไคเชกได้บุกเข้าไปปลุกระดมเพื่อนๆในค่ายทหารเจียงหนัน แต่พลาดท่าเสียทีเกือบถูกทหารของยฺเหวียนจับได้ เจียงได้หนีไปขอความช่วยเหลือจากตู้ เย่ว์เซิง ได้นักเลงอันธพาลกลุ่มใหญ่มาเป็นทหาร เจียงได้พูดปลุกระดมให้เหล่านักเลงนั้นสู้เพื่อประเทศชาติอย่างห้าวหาญ แต่เนื่องจากกองกำลังของเขาไม่มีระเบียบวินัย สู้รบไม่กี่อึดใจ ก็แตกพ่ายเสียที เจียงหนีเข้าไปในเขตเช่าอังกฤษอีกครั้ง ในเดียวกันกองกำลังของดร.ซุนพ่ายแพ้อย่างไม่เป็นท่า ดร.ซุนต้องลี้ภัยไปญี่ปุ่นอีกครั้ง ปี ค.ศ. 1915 เจียงกับเฉินถูกยฺเหวียน ชื่อไข่ตามล่าอย่างหนักทั้งคู่จึงจำใจหนีไปญี่ปุ่นอีกเช่นกันและคอยหาโอกาสลักลอบเข้าเซี่ยงไฮ้มาเคลื่อนไหวก่อการปฏิวัติอีก

ในปี ค.ศ. 1916 นักฆ่าของยฺเหวียน ชื่อไข่ได้ลักลอบเข้ามาในกองบัญชาการของฝ่ายปฏิวัติและยิงเฉิน ฉี่เหม่ย์ตาย การตายของเฉิน ฉี่เหม่ย์ สร้างความเศร้าโศกเสียใจแก่เจียง ไคเชกเป็นอย่างยิ่ง เฉินเป็นทั้งเพื่อนรัก เจ้านาย ผู้มีพระคุณและพี่น้องร่วมสาบานของเจียง ขณะนั้นเจียงอายุ 30 เขาสุขุมเยือกเย็นมากยิ่งขึ้นความตายของเฉินทำให้เจียงยิ่งตระหนักถึงการใช้ชีวิตอย่างมีสาระและไม่เที่ยวเตร็ดเตร่แบบเมื่อก่อนอีก

ขณะเดียวกันเจียงได้ขึ้นมาสืบทอดตำแหน่งและปฏิบัติการแทนเฉินในฐานะหัวหน้าพรรคปฏิวัติจีนที่เซี่ยงไฮ้ ทำให้เจียงมีบทบาทในพรรคมากขึ้น

การก่อตั้งพรรคก๊กมินตั๋ง

การปฏิบัติการที่กวางตุ้งครั้งแรก

Thumb
เจียง ไคเชก ในช่วงปี ค.ศ. 1920
Thumb
เจียง ไคเชก (ยืนทางซ้าย) และ ดร.ซุน ยัตเซ็น (นั่งทางขวา)

เมื่อยฺเหวียน ชื่อไข่ตั้งต้นเป็นฮ่องเต้ ประชาชนทั่วประเทศต่างพากันต่อต้านคัดค้าน อีกทั้งกลุ่มทหารที่ไม่เห็นด้วยกับการรื้อฟื้นระบอบฮ่องเต้กลับมาจึงทำการต่อสู้นำไปสู่สงครามพิทักษ์ชาติขึ้น ในปี ค.ศ. 1916 ยฺเหวียน ชื่อไข่ได้เสียชีวิตลงระบอบจักรพรรดิที่เขารื้อฟื้นก็สิ้นสุดลง บรรดาแว่นแคว้นจังหวัดต่าง ๆ ได้ประกาศตั้งตนเป็นอิสระไม่ขึ้นกับรัฐบาลกลางอีกต่อไปทำให้ประเทศจีนเข้าสู่ยุคแห่งความแตกแยกหรือยุคขุนศึกในที่สุด ที่กรุงปักกิ่ง รัฐบาลขุนศึกเป่ยหยางได้สืบทอดอำนาจต่อและยังคงบริหารประเทศต่อไป เป็นรัฐบาลประชาธิปไตยจอมปลอมที่มีประธานาธิบดีที่ถูกแต่งตั้งเป็นเพียงหุ่นเชิดให้แก่กองทัพเท่านั้น

ในปี ค.ศ. 1917 ดร.ซุน ยัตเซ็นได้ย้ายไปตั้งฐานที่มั่นปฏิวัติที่เมืองกวางตุ้ง (ปัจจุบันคือเมืองกวางโจว) เนื่องจากเมืองกวางตุ้งมีชัยภูมิที่ดีแต่ทหารของฝ่ายพรรคปฏิวัติจีนมีกำลังพลน้อยทำให้ควบคุมพื้นที่เมืองกวางตุ้งไม่ครอบคลุม บริเวณรอบเมืองมีแต่ทหารที่จงรักภักดีต่อขุนศึกทางเหนือ ระหว่างที่ทำการต่อสู้ ทหารที่มีความสามารถของดร.ซุนถูกฆ่าตายไปหลายคน เพื่อความปลอดภัยบรรดาสมาชิกของพรรคปฏิวัติจีนแนะนำเจียง ไคเชก มาเป็นผู้ช่วยทางการทหารให้กับ ดร.ซุน ท่ามกลางความสิ้นหวัง ดร.ซุนจึงเริ่มมองเห็นความสำคัญของเจียง ไคเชกและมักจะเรียกเจียงเข้ามาปรึกษาปัญหาต่าง ๆ

ในเวลานี้ดร.ซุนยังคงถูกไล่ล่าและไม่มีอาวุธหรือเงินสนับสนุน เจียงแนะนำให้ดร.ซุนจ้างทหารรับจ้างซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนของแก๊งมาเฟีย ทหารพวกนี้จงรักภักดีต่อเจ้านายที่จ่ายเงินให้พวกเขาเท่านั้น ดังนั้นกองทหารของดร.ซุนจึงมีปัญหาเรื่องการเงินแทบตลอดเวลา ดร.ซุนต้องการกองทหารที่มีอุดมการณ์ เป็นทหารปฏิวัติอย่างแท้จริง ไม่ใช่แก๊งมาเฟีย แต่เจียงแย้งว่าเป็นการเปิดโอกาสให้คนอย่างเท่าเทียม ถึงแม้จะเป็นนักเลงมาเฟียก็สามารถช่วยเหลือประเทศชาติได้ และทหารที่มีอุดมการณ์ต้องบ่มเพาะและฝึกขึ้นมา ต้องใช้เวลาและงบประมาณมหาศาล ด้วยเหตุนี้จึงต้องพึ่งทหารรับจ้างไปพลาง ๆ ก่อน ดร.ซุนจึงยอมตกลงด้วย แต่อย่างไรก็ตามกองทัพปฏิวัติก็ถูกตีโต้และต้องลี้ภัยไปเซี่ยงไฮ้อีกรอบ

การปฏิบัติการที่กวางตุ้งครั้งที่สอง

รัฐบาลขุนศึกเป่ยหยางได้สั่งต้องห้ามพรรคคณะปฏิวัติจีน เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1919 ดร.ซุนได้ตั้งพรรคใหม่ ชื่อว่า จงกั๋ว ก๊กมินตั๋ง (จีนตัวย่อ: 中国国民党; จีนตัวเต็ม: 中國國民黨; พินอิน: Zhōngguó guómíndǎng) ซึ่งก็คือ "พรรคก๊กมินตั๋ง" หรือ "จีนคณะชาติ" ขึ้น โดยมีเจียง ไคเชกได้ให้การสนับสนุนพรรคใหม่นี้อย่างแข็งขัน[9]

ในปี ค.ศ. 1920 กองทัพปฏิวัติของดร.ซุนกลับคืนสู่กวางตุ้งด้วยความช่วยเหลือของทหารรับจ้างอีกครั้ง ดร.ซุนได้พยายามสร้างพันธมิตรทางทหารกับขุนศึกเจ้าเมืองและบรรดาเหล่าผู้มีอิทธิพลท้องถิ่นในกวางตุ้ง หลังจากกลับมาที่กวางตุ้งความแตกแยกที่พัฒนาขึ้นระหว่างพรรคของดร.ซุนซึ่งพยายามใช้กองทัพรวมประเทศจีนเข้าด้วยกันภายใต้พรรคก๊กมินตั๋งและเฉิน เจียงหมิง ขุนศึกเจ้าเมืองมณฑลกวางตุ้งที่ต้องการปกครองเมืองกวางตุ้งแบบระบบศักดินาขุนศึกต่อไป จึงได้ทรยศหักหลังและวางแผนลอบสังหารดร.ซุน เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน ค.ศ. 1920 เย่ จู นายพลของเฉินทำการโจมตีทำเนียบประธานาธิบดีกวางตุ้ง[10] ทำให้ดร.ซุนต้องหนีไปที่ลานท่าเรือ[11] และลี้ภัยโดยสารเรือ เอสเอส ไห่ฉี,[12] ภรรยาของดร.ซุนซึ่งหนีไม่ทันและให้ดร.ซุนหลบหนีไปก่อน ได้หลบกระสุนที่ทำเนียบประธานาธิบดีกวางตุ้งและได้หนีรอดตามออกมาได้ ทั้งคู่พบกันที่เรือเอสเอสหยงฟาง ขณะนั้นเจียงไคเชกที่กำลังจัดพิธีงานศพให้แม่ของเขาที่เซี่ยงไฮ้[13] ได้รับโทรเลขด่วนจากดร.ซุน ดังนั้นเจียงจึงพากองกำลังกองหนึ่งกระหืดกระหอบมาจากเซี่ยงไฮ้มาช่วยดร.ซุนที่กวางตุ้ง ขณะนั้นดร.ซุนใช้เรือรบเป็นกองบัญชาการสู้กับพวกกบฎของเฉิน เจียงหมิงอยู่ 50 วันเหตุการณ์ไม่มีทีท่าสงบ จนกระทั่งเจียงไคเชกยกทัพมาถึง เหตุการณ์จึงคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น ขณะที่อยู่บนเรือเจียงเป็นองครักษ์คอยปกป้องคุ้มกันดร.ซุนและได้รับความไว้วางใจเป็นมือขวาในที่สุด

โรงเรียนการทหารหวงผู่

Thumb
ซุน ยัดเซ็น (ยืนอยู่หลังโต๊ะ) และเจียง ไคเช็ค (ยืนบนเวที สวมเครื่องแบบ) ในพิธีเปิดโรงเรียนการทหารหวงผู่ในปี ค.ศ. 1924

เจียงและดร.ซุนแล่นเรือมาถึงเกาะหวงผู่ (ปัจจุบันคือเกาะฉางโจว (长洲岛)) ปี ค.ศ. 1924 ดร.ซุนได้ตั้งโรงเรียนการทหารขึ้น เพื่อบ่มเพาะนักการทหารและนักการเมืองรุ่นใหม่ขึ้นมาเป็นแกนนำในการปฏิวัติ โรงเรียนแห่งนี้ตั้งอยู่บนเกาะหวงผู่ จึงได้ชื่อว่าโรงเรียนการทหารหวงผู่ เจียง ไคเชกได้รับเลือกเป็นอาจารย์ใหญ่ที่ฝึกสอนคนแรกของโรงเรียนทหารแห่งนี้ ช่วงปี ค.ศ. 1920 เจียงสนใจภาษารัสเซีย เขาศึกษาวัฒนธรรมและการทหารของรัสเซียอยู่พักหนึ่ง จากนั้นก็เขียนจดหมายไปคุยกับดร.ซุน ให้ขอความช่วยเหลือจากรัสเซีย การตั้งโรงเรียนดังกล่าวทำ ให้พรรคก๊กมินตั๋งได้ทหารอุดมการณ์เพื่อประเทศชาติอย่างแท้จริง ได้มีการลดจำนวนและเลิกพึ่งพาทหารรับจ้างซึ่งไม่มีอุดมการณ์ไปในที่สุด ดังนั้นกองทัพปฏิวัติที่อ่อนแอของพรรคก๊กมินตั๋งจึงเริ่มแข็งแกร่งมากขึ้นและสามารถยึดเมืองกวางตุ้งคืนมาได้อย่างรวดเร็ว

การศึกษาที่รัสเซีย

ดร.ซุนได้รับความช่วยเหลือจากองค์การคอมมิวนิสต์สากลหรือโคมินเทิร์นและได้ส่งเจียงไปใช้เวลาสามเดือนในมอสโกเพื่อศึกษาระบบการเมืองและการทหารของสหภาพโซเวียต ระหว่างการเดินทางไปรัสเซีย เจียงพบกับเลออน ทรอตสกีและผู้นำโซเวียตคนอื่นๆ เจียงได้พบว่าแนวความคิดของคอมมิวนิสต์ขัดแย้งกับขนบธรรมเนียมวัฒธรรมอันดีงามของจีน เนื่องจากหลักความคิดในลัทธิคอมมิวนิสต์จะเน้นความชิงชัง การต่อสู้ดิ้นรน ส่วนลัทธิขงจื๊อจะเน้นความรัก ความสามัคคีและคุณธรรม ซึ่งทั้งสองความคิดนี้ต่างขัดแย้งกันโดยสิ้นเชิง นั้นทำให้เจียงได้ข้อสรุปอย่างรวดเร็วว่าระบบรัฐบาลของรัสเซียไม่เหมาะกับประเทศจีน เจียงจึงได้มากลับมาแนะนำดร.ซุนให้รับแต่ความช่วยเหลือด้านการทหารไม่ต้องรับความช่วยเหลือทางด้านการเมือง

แต่การที่ดร.ซุนรับความช่วยเหลือทางทหารจากองค์การโคมินเทิร์นทางตัวแทนพรรคคอมมิวนิสต์สากลที่เลนินส่งมาได้ปรับปรุงโครงสร้างพรรค ให้ตัวแทนจากพรรคคอมมิวนิสต์จีนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกพรรคก๊กมินตั๋ง เปิดทางให้เหมา เจ๋อตง สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนเข้ามามีตำแหน่งรัฐมนตรีโฆษณาการ เจียง ไคเชกได้บันทึกลงในบันทึกประจำวันเขาว่า "ดร.ซุนได้ทำผิดพลาดครั้งใหญ่หลวง ทันทีที่พรรคคอมมิวนิสต์ได้ตั้งหลักบนแผ่นดินจีนได้นั้นย่อมเป็นการยากที่ขจัดพวกเขาเหล่านั้นไป"

เจียงไคเชกกลับมาที่กวางตุ้งและในปี ค.ศ. 1924 เขาได้รับแต่งตั้ง ผู้บัญชาการของโรงเรียนการทหารหวงผู่ เจียงขอลาออกจากสำนักงานเป็นเวลาหนึ่งเดือนโดยไม่เห็นด้วยกับการที่ดร.ซุนให้ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับองค์การคอมมิวนิสต์สากล แต่เจียงก็กลับมาตามความต้องการของดร.ซุน ในช่วงปีแรกๆที่โรงเรียนการทหารหวงผู่อนุญาตให้เจียงสามารถปลูกฝังนายทหารหนุ่มที่ซื่อสัตย์ต่อทั้งพรรคก๊กมินตั๋งและตัวเขาเอง

การขึ้นสู่อำนาจ

การแย่งชิงอำนาจกับวาง จิงเว่ย

Thumb
เจียง ไคเชกขณะเข้าร่วมพิธีศพ ดร.ซุน ยัตเซ็น
Thumb
เจียง ไคเชก (ขวา) และ วาง จิงเว่ย (ซ้าย) ค.ศ. 1926

ดร.ซุน ยัตเซ็นได้เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1925,[14] ได้การสร้างสุญญากาศทางการเมืองในพรรคก๊กมินตั๋ง มีการแข่งขันอำนาจบารมีเกิดขึ้นในหมู่บรรดาสมาชิกของพรรคอันได้แก่ วาง จิงเว่ย, เลี่ยว จ้งข่ายและหู ฮั่นหมิน ในเดือนสิงหาคม เลี่ยวถูกลอบสังหารและหูถูกจับเพราะเกี่ยวข้องกับฆาตกร ส่วนวาง จิงเว่ยผู้ซึ่งได้สืบทอดตำแหน่งต่อจากดร.ซุนในฐานะประธานผู้บริหารของรัฐบาลกวางตุ้ง แม้ว่าจะเขาขึ้นครองตำแหน่งแต่ก็ดำรงตำแหน่งได้ไม่นาน เนื่องจากถูกบังคับให้ถูกเนรเทศโดยเจียง ไคเชก โดยการรัฐประหารกวางตุ้ง เรือรบเอสเอสหยงเฟิง ได้ถูกเปลี่ยนชื่อจงซานเพื่อเป็นเกียรติแก่ดร.ซุน ได้ตั้งเป็นอนุสรณ์ที่ฉางโจว[15] วันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1926 ฝ่ายขวาของพรรคก๊กมินตั๋งและกองทัพทั้งหมดรวมถึงทหารจากโรงเรียนหวงผู่เจียงได้พร้อมใจกันเสนอชื่อ เจียง ไคเชกให้รับการตั้งเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน[16]

เจียง ไคเชกรวมแผ่นดิน

Thumb
รัฐบาลชาตินิยมแห่งนานกิง-ปกครองทั่วทั้งประเทศจีนในปี 1930
Thumb
จอมพลสูงสุด เจียงไคเชก, ผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน, ผู้มีบทบาทในชัยชนะการกรีฑาทัพขึ้นเหนือและต่อมาได้เป็นผู้นำของประเทศจีน
Thumb
เหล่าบรรดานายพล ข้าราชการ ต่างรวมเฉลิมฉลองรวมชาติหลังจากตั้งรัฐบาลที่หนานจิง

ในวันที่ 27 กรกฎาคม ในที่สุดเจียงก็ได้เสนอนโยบายรวมชาติอีกครั้ง เพื่อสืบทอดเจตนารมย์ของดร.ซุน ยัตเซ็นที่ต้องการรวมชาติจีน ปราบเหล่าขุนศึก และใช้ระบอบประชาธิปไตยโดยใช้หลักลัทธิไตรราษฎร ที่ผ่านมาต้องประสบความล่าช้าจากการกรีฑาทัพขึ้นเหนือเพื่อปราบเหล่าขุนศึกมาตลอด เมื่อเจียงจึงนำทัพกรีฑาทัพขึ้นเหนือ เพื่อมุ่งเอาชนะขุนศึกภาคเหนือและรวมจีนเข้าด้วยกันภายใต้พรรคก๊กมินตั๋ง

เจียงได้แบ่งกองทัพแยกออกเป็นสามฝ่าย: ทางตะวันตกคือวางจิงเว่ยที่กลับมารับตำแหน่งซึ่งนำกองทัพไปหวู่ฮั่น; ไป๋ ฉงซี นำกองทัพไปทางตะวันออกเพื่อไปที่เซี่ยงไฮ้ เจียงนำทางทัพของตัวเองในเส้นทางสายกลางวางแผนที่จะเข้ายึดหนานจิง ก่อนและนำทัพเข้ายึดปักกิ่งอีกที แต่อย่างไรก็ตามในเดือนมกราคมปีค.ศ. 1927 วาง จิงเว่ยและพันธมิตรฝ่ายซ้ายของพรรคก๊กมินตั๋งของเขาพาเมืองหวู่ฮั่นท่ามกลางการระดมพลและการประโคม วางเป็นพันธมิตรกับพรรคคอมมิวนิสต์จีนและได้รับคำแนะนำจากตัวแทน โซเวียตมิคาอิล โบโรดิน วาง จิงเว่ยได้ประกาศให้รัฐบาลแห่งชาติย้ายไปหวู่ฮั่น หลังจากเข้ายึดเมืองหนานจิงในเดือนมีนาคม (และได้ไปเยือนเซี่ยงไฮ้โดยสังเขปแล้วตอนนี้อยู่ภายใต้การควบคุมของพันธมิตรใกล้ชิดของเขาไป๋ ฉงซี) เจียงหยุดการกรีฑาทัพของเขาและเตรียมพร้อมที่จะหยุดพักอย่างดุเดือดด้วยองค์ประกอบฝ่ายซ้ายของวางซึ่งเขาเชื่อว่าเป็นภัยคุกคามต่อพรรคก๊กมินตั๋ง

เมื่อรัฐบาลขุนศึกเป่ยหยางถูกกองทัพของเจียงปราบอย่างราบคาบ ได้มีการตั้งรัฐบาลแห่งชาติที่จัดตั้งขึ้นที่เมืองหนานจิงหรือ รัฐบาลชาตินิยม (จีนคณะชาติ) ขึ้นและได้รับการสนับสนุนจากพรรคก๊กมินตั๋งสายอนุรักษ์นิยมรวมถึง หู ฮั่นหมิน, การขับไล่คอมมิวนิสต์ของเจียงและที่ปรึกษาโซเวียตของพวกเขานำไปสู่การเริ่มต้นของสงครามกลางเมืองจีน รัฐบาลแห่งชาติของวาง จิงเว่ยอ่อนแอทางทหารและในไม่ช้าก็จบลงด้วยการได้รับการสนับสนุนจากขุนศึกท้องถิ่น (หลี่ ซงเรินจากกวางสี ในที่สุดวางและพรรคฝ่ายซ้ายของเขายอมจำนนต่อเจียงและเข้าร่วมกับเขาในหนานจิง และในสงครามที่ราบภาคกลาง ปักกิ่งถูกยึดคืนเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1928 จากพันธมิตรของขุนศึกเฟิง ยวี่เซียง และ หยัน ซีชาน ในเดือนธันวาคมในดินแดนแมนจูเรีย ขุนพล จางเซวเหลียง ได้ให้คำมั่นสัญญาที่จะจงรักภักดีต่อรัฐบาลของเจียง นอกจากนี้ดินแดนทิเบตก็ยอมรับอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐบาลจีนคณะชาติแต่ขอให้มีรัฐบาลท้องถิ่นปกครองตนเอง ส่วนมองโกเลียนอกยอมอยู่ภายใต้รัฐบาลจีนคณะชาติแต่ขอมีทั้งรัฐบาลท้องถิ่นและกองทัพของตนเองด้วยเนื่องจากถูกบีบบังคับจากสหภาพโซเวียต ทำให้การรวมกันเป็นหนึ่งเดียวของจีนเสร็จสิ้นและสิ้นสุดยุคขุนศึกอย่างสมบูรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.