Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สภาร่างรัฐธรรมนูญ คือ คณะบุคคลที่ทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญ มักเกิดขึ้นเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวและต้องการให้มีรัฐธรรมนูญฉบับถาวร หรือเป็นกรณีที่ต้องการประสานประโยชน์ ตรงตามความประสงค์ของบุคคลทุกฝ่ายมากที่สุด
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย ที่ร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ ตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490
สภาร่างรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2491 | |
---|---|
ภาพรวม | |
สภานิติบัญญัติ | รัฐสภาไทย |
เขตอำนาจ | ประเทศไทย |
ที่ประชุม | พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต |
รัฐบาล | คณะรัฐมนตรีควง (3 / 4) คณะรัฐมนตรีแปลก (3 / 4) |
สภาร่างรัฐธรรมนูญ | |
สมาชิก | 40 |
นายกรัฐมนตรี | ควง อภัยวงศ์ จอมพลแปลก พิบูลสงคราม |
สภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2491 เป็นสภาร่างรัฐธรรมนูญคณะแรกของประเทศไทย โดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) เพื่อทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ สมาชิกที่มาจากสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทน และสมาชิกที่มาจากผู้ที่ไม่ใช่สมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทน รวมจำนวน 40 คน[1]
สภาร่างรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2502 | |||
---|---|---|---|
ภาพรวม | |||
สภานิติบัญญัติ | รัฐสภาไทย | ||
เขตอำนาจ | ประเทศไทย | ||
ที่ประชุม | พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต | ||
วาระ | 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 – 21 มิถุนายน พ.ศ. 2511 | ||
รัฐบาล | คณะรัฐมนตรีสฤษดิ์ คณะรัฐมนตรีถนอม 2 | ||
สภาร่างรัฐธรรมนูญ | |||
สมาชิก | 240 | ||
ประธานสภา | พลเอก สุทธิ์ สุทธิสารรณกร (2502-2511) ทวี บุณยเกตุ | ||
รองประธานสภา | ทวี บุณยเกตุ (2502-2511) | ||
นายกรัฐมนตรี | สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ถนอม กิตติขจร | ||
สมัยประชุม | |||
|
สภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2502 เป็นสภาร่างรัฐธรรมนูญคณะที่ 2 ของประเทศไทยแต่งตั้งขึ้นตามอำนาจแห่ง ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 เพื่อร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับถาวร
สภาร่างรัฐธรรมนูญมีจำนวนสมาชิกทั้งสิ้น 240 คน[2] เปิดประชุมสภาครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 โดยสมาชิกส่วนมากประกอบไปด้วยทหารและข้าราชการโดยมีพลเอก สุทธิ์ สุทธิสารรณกร นายทหารคนสนิทของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานสภาคนแรก
หลังจากร่างได้ 9 ปีกว่าพลเอกสุทธิ์ก็ได้ถึงแก่อสัญกรรมในปี พ.ศ. 2511 ทวี บุณยเกตุ รองประธานสภาจึงขึ้นเป็นประธานสภาแทน
ในวันที 21 มิถุนายน พ.ศ. 2511 รัฐธรรมนูญฉบับถาวรได้ประกาศใช้สภาร่างรัฐธรรมนูญจึงสิ้นสุดลง
สภาร่างรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2539 | |||
---|---|---|---|
ภาพรวม | |||
สภานิติบัญญัติ | รัฐสภาไทย | ||
เขตอำนาจ | ประเทศไทย | ||
ที่ประชุม | อาคารรัฐสภาไทย | ||
วาระ | 7 มกราคม พ.ศ. 2540 – 15 สิงหาคม พ.ศ. 2540 | ||
การเลือกตั้ง | การเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2539 | ||
รัฐบาล | คณะรัฐมนตรีชวลิต | ||
สภาร่างรัฐธรรมนูญ | |||
สมาชิก | 99 | ||
ประธานสภา | อุทัย พิมพ์ใจชน | ||
รองประธานสภาคนที่ 1 | กระมล ทองธรรมชาติ | ||
รองประธานสภาคนที่ 2 | ยุพา อุดมศักดิ์ | ||
นายกรัฐมนตรี | พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ | ||
สมัยประชุม | |||
|
สภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2539 เป็นสภาที่มีหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2539[3]
โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญชุดนี้ ที่ประชุมรัฐสภาสรุปให้ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 99 คน โดยมีที่มาจากตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้งประชาชนทางอ้อมทั้งหมด 76 จังหวัด และตัวแทนนักวิชาการ เสนอรายชื่อโดยสถาบันการศึกษา จำนวน 23 คน
ส่วนสมาชิกที่เป็นของตัวแทนประชาชนมีที่มา 3 ขั้นตอนดังนี้
โดยสมาชิกที่กล่าวถึงทั้งที่มาจากการเลือกตั้งและตัวแทนนักวิชาการก็คือสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สสร.
โดยก่อนที่จะมีการลงมตินั้น เหลื่อม พันธ์ฤกษ์ ทำหน้าที่ประธานสภาชั่วคราว ในฐานะที่เป็นสมาชิกที่อาวุโสสูงสุด
ลำดับ | รายชื่อ สสร. | ตำแหน่ง[4] |
---|---|---|
1 | อานันท์ ปันยารชุน | ประธานคณะกรรมาธิการ |
2 | เกษม ศิริสัมพันธ์ | รองประธานคณะกรรมาธิการคนที่หนึ่ง |
3 | คณิต ณ นคร | รองประธานคณะกรรมาธิการคนที่สอง |
4 | บวรศักดิ์ อุวรรณโณ | เลขานุการคณะกรรมาธิการ |
5 | พงศ์เทพ เทพกาญจนา | ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมาธิการคนที่หนึ่ง |
6 | สมคิด เลิศไพฑูรย์ | ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมาธิการคนที่สอง |
7 | คณิน บุญสุวรรณ | โฆษกคณะกรรมาธิการ |
8 | โกเมศ ขวัญเมือง | ผู้ช่วยโฆษกคณะกรรมาธิการ |
9 | เขียน ธีรวิทย์ | คณะกรรมาธิการ |
10 | ทองใบ ทองเปาด์ | |
11 | พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร | |
12 | วิสุทธิ์ โพธิแท่น | |
13 | พันเอก สมคิด ศรีสังคม | |
14 | สวัสดิ์ คำประกอบ | |
15 | สุจิต บุญบงการ | |
16 | เสรี สุวรรณภานนท์ | |
17 | เอนก สิทธิประศาสน์ | |
18 | กระมล ทองธรรมชาติ | ประธานคณะกรรมาธิการวิชาการข้อมูล และศึกษาแนวทางการร่างกฎหมาย ประกอบรัฐธรรมนูญ |
19 | เดโช สวนานนท์ | ประธานคณะกรรมาธิการจดหมายเหตุ ตรวจรายงานการประชุมและกิจการสภา |
20 | สมเกียรติ อ่อนวิมล | ประธานคณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์ |
21 | อมร รักษาสัตย์ | ประธานคณะกรรมาธิการรับฟัง ความคิดเห็นและประชาพิจารณ์ |
สภาร่างรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2550 | |
---|---|
ภาพรวม | |
สภานิติบัญญัติ | รัฐสภาไทย |
เขตอำนาจ | ประเทศไทย |
ที่ประชุม | อาคารรัฐสภาไทย |
รัฐบาล | คณะรัฐมนตรีสุรยุทธ์ |
สภาร่างรัฐธรรมนูญ | |
สมาชิก | 100 |
ประธานสภา | นรนิติ เศรษฐบุตร |
รองประธานสภาคนที่ 1 | เดโช สวนานนท์ |
รองประธานสภาคนที่ 2 | เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ |
สภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 เป็นสภาที่มีหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญนี้ ได้รับการสรรหามาจากสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ พ.ศ. 2549 จำนวน 1,982 คน ลงมติคัดเลือกกันเอง เหลือ 200 คน และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ทำการคัดเลือกเหลือ 100 คน แล้วเสร็จตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2549 เพื่อนำรายชื่อขึ้นทูลเกล้า ฯ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 23 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549 เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 โดยพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน คมช. เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ[5]
สัดส่วนของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญชุดนี้ มาจากบุคคลในภาครัฐ 28 คน ภาคเอกชน 27 คน ภาคสังคม 23 คน และภาควิชาการ 22 คน หากจำแนกตามภูมิภาค ประกอบด้วยภาคเหนือ 10 คน ภาคกลาง 68 คน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 12 คน และภาคใต้ 10 คน
สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จะคัดเลือกกันเองให้เหลือ จำนวน 25 คน และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติจะคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิอีก 10 คน รวมเป็น 35 คน เพื่อทำหน้าที่เป็นคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.