กวี สิงหะ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พลเรือเอก กวี สิงหะ เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ และรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และเป็นอดีตผู้บัญชาการทหารเรือไทย
กวี สิงหะ | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 – 19 ธันวาคม พ.ศ. 2524 ดำรงตำแหน่งร่วมกับ
| |
นายกรัฐมนตรี |
|
รัฐมนตรีว่าการ | พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ |
ก่อนหน้า |
|
ถัดไป | พลเรือเอก สมุทร์ สหนาวิน |
สมาชิกวุฒิสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2511 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 | |
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 16 ธันวาคม พ.ศ. 2515 – 16 ธันวาคม พ.ศ. 2516 | |
ผู้บัญชาการทหารเรือ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2521 – 30 กันยายน พ.ศ. 2523 | |
ก่อนหน้า | พลเรือเอก อมร ศิริกายะ |
ถัดไป | พลเรือเอก สมุทร์ สหนาวิน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 18 มิถุนายน พ.ศ. 2463 |
เสียชีวิต | 25 มกราคม พ.ศ. 2531 (67 ปี) |
คู่สมรส | กมลนารี กมลนาวิน |
บุตร | 5 คน |
บุพการี |
|
ศิษย์เก่า | โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ โรงเรียนเสนาธิการผสม วิทยาลัยการทัพเรือ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพเรือไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2484 - 2523 |
ยศ | พลเรือเอก |
ผ่านศึก | |
พล.ร.อ.กวี สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนทวีธาภิเศก และเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2531 มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2531 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร
การทำงาน
พล.ร.อ.กวี สิงหะ รับราชการในสังกัดกองทัพเรือไทย จนได้รับตำแหน่งสูงสุดเป็นผู้บัญชาการทหารเรือ ในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2521 จนถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2523[1][2] ต่อจากพลเรือเอกอมร ศิริกายะ ก่อนจะเกษียณอายุราชการ พล.ร.อ.กวี ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์[3] และรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ในปี พ.ศ. 2523[4]
ในปี พ.ศ. 2511 พล.ร.อ.กวี ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 3[5] และในปี พ.ศ. 2515 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
- พ.ศ. 2517 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2511 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2519 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[8]
- พ.ศ. 2484 –
เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน (ช.ส.)[9]
- พ.ศ. 2505 –
เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[10]
- พ.ศ. 2495 –
เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี (ช.ส.)[11]
- พ.ศ. 2523 –
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[12]
- พ.ศ. 2506 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[13]
เหรียญสหประชาชาติ
สหประชาชาติ :
- พ.ศ. 2495 -
เหรียญสหประชาชาติเกาหลี[14]
- พ.ศ. 2495 -
ต่างประเทศ
เดนมาร์ก :
- พ.ศ. 2497 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร ชั้นที่ 5[15]
- พ.ศ. 2497 -
ฟิลิปปินส์ :
อ้างอิง
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.