Loading AI tools
สายการบินแห่งชาติของประเทศโมร็อกโก จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัวยาแลร์มาร็อก (ฝรั่งเศส: Royal Air Maroc, ออกเสียง: [ʁwajal ɛːʁ maʁɔk]; อาหรับ: الخطوط الملكية المغربية, อักษรโรมัน: al-Khuṭūṭu l-Malakiyyatu l-Maghribiyyah, แปลตรงตัว 'สาย [การบิน] หลวงโมร็อกโก'; กลุ่มภาษาเบอร์เบอร์: ⴰⵎⵓⵏⵉ ⴰⵢⵍⴰⵍ ⴰⴳⵍⴷⴰⵏ ⵏ ⴰⵎⵓⵔⴰⴽⵓⵛ, อักษรโรมัน: Amuni Aylal Ageldan n Amurakuc) เรียกโดยทั่วไปว่า ราม เป็นสายการบินประจำชาติและสายการบินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศโมร็อกโก[1][2] โดยมีฐานการบินที่ท่าอากาศยานนานาชาติมุฮัมมัดที่ 5 รัวยาแลร์มาร็อกให้บริการเที่ยวบินสู่จุดหมายปลายทาง 103 แห่งในแอฟริกา ยุโรป เอเชีย อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ และมีบริการเที่ยวบินพิเศษในช่วงฮัจญ์[3] รัวยาแลร์มาร็อกเป็นสมาชิกของกลุ่มพันธมิตรสายการบินวันเวิลด์และองค์การสายการบินอาหรับ
| |||||||
ก่อตั้ง | กรกฎาคม ค.ศ. 1953 (71 ปี) | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ท่าหลัก | กาซาบล็องกา | ||||||
เมืองสำคัญ | มาร์ราคิช แทงเจียร์ | ||||||
สะสมไมล์ | ซาฟาร์ฟลายเยอร์ | ||||||
พันธมิตรการบิน | วันเวิลด์ | ||||||
บริษัทลูก | รามคาร์โก รามเอกซ์เพรส | ||||||
ขนาดฝูงบิน | 50 | ||||||
จุดหมาย | 89 | ||||||
บริษัทแม่ | รัฐบาลโมร็อกโก | ||||||
สำนักงานใหญ่ | กาซาบล็องกา ประเทศโมร็อกโก | ||||||
บุคลากรหลัก | อับเดลฮามิด อัดดู (ซีอีโอ) | ||||||
พนักงาน | 5,413 | ||||||
เว็บไซต์ | www |
รัวยาแลร์มาร็อก — ก็องปาญนาซิยงนาลเดอทรานส์เปอร์อาเรียง ก่อตั้งขึ้นในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1953 จากการควบรวมกิจการของ ก็องปาญเชอริเฟียนเดอแลร์ (แอร์แอตลาส) ซึ่งก่อตั้งในปี 1946 และ ก็องปาญเชอริเฟียนเดอทรานส์เปอร์อาเรียงแลร์มาร็อก ซึ่งก่อตั้งในปี 1947
เริ่มแรกรามมีเครื่องบินประจำการอยู่ 17 ลำ ประกอบด้วยซูว์-แว็สต์ เบรตาญจำนวน 6 ลำ เคอร์ติส ซี46 คอมมานโดจำนวน 4 ลำ ดักลาส ดีซี-3 จำนวน 5 ลำ และซูว์-แว็สต์ เอสอี.161 ล็องเกอด็อกจำนวน 2 ลำ[5]และมีเพิ่มเส้นทางบินสู่แฟรงก์เฟิร์ต เจนีวา และปารีส[6]
สายการบินเริ่มใช้ชื่อรัวยาแลร์มาร็อก (ราม) ในวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1957[note 1] โดยมีรัฐบาลโมร็อกโกถือหุ้น 67.73% ของสายการบิน[8] เที่ยวบินฮัจญ์เริ่มขึ้นในปีเดียวกัน[6]
ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1958 ฝูงบินของรามเพิ่มขึ้นเป็น 16 ลำ ประกอบด้วยดักลาส ดีซี-4 จำนวนสี่ลำ ดีซี-3 จำนวนสามลำ ซูว์-แว็สต์ เบรตาญจำนวนเจ็ดลำ และเคอร์ติส ซี-46 จำนวนสองลำ ในเดือนพฤษภาคม สายการบินได้สั่งซื้อเครื่องบินซูว์ดาวียาซียงการาแวลจำนวน 2 ลำ[4] ในเดือนกรกฎาคม มีการเปิดตัวเส้นทางบินระยะไกลโดยใช้เครื่องบินล็อคฮีด แอล-749 คอนสเตลเลชัน สี่ลำที่เช่าจากแอร์ฟรานซ์ และได้กลับมาให้บริการเส้นทางชายฝั่งออราน - วัจด้าที่ได้ยกเลิกไปก่อนหน้าในเดือนพฤษภาคม
ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1965 บริษัทมีพนักงาน 758 คน และมีโมฮัมเหม็ด อัล ฟาสซี ดำรงตำแหน่งประธาน ในช่วงเวลานี้รามได้มีจุดหมายปลายทางหลายแห่งทั่วแอฟริกาเหนือ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สเปน และสวิตเซอร์แลนด์ สัดส่วนการถือหุ้นในรามถูกแบ่งระหว่างรัฐบาลโมร็อกโก (64%), แอร์ฟรานซ์ (21%), ก็องปาญเตเนราเลทรานส์แอตแลนติก (7.6%), อาวียาซียง ยา คอมแมร์ซิโอ (5%) และอื่นๆ (2.4%)[9]
ในปี 1969 รัวยาแลร์มาร็อกได้สั่งซื้อเครื่องบินโบอิงเป็นครั้งแรก โดยได้รับมอบโบอิง 727-200 ในปี 1970 ซึ่งจะถูกนำไปให้บริการในวันที่ 15 พฤษภาคมของปีเดียวกัน ในปี 1970 รามได้ก่อตั้งสายการบินลูก รัวยาแลร์อันแตร์ เป็นสายการบินระดับภูมิภาคที่ให้บริการเครื่องบินฟอกเกอร์ เอฟ-27 เฟรนด์ชิปสู่จุดหมายปลายทางภายในประเทศโมร็อกโก โดยเริ่มดำเนินการใน 2 เมษายน ค.ศ. 1997 และภายในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1971 รัวยาแลร์อันแตร์ได้ขยายเส้นทางบินไปมากมายทั้งกาซาบล็องกา แฟ็ส มาร์ราคิช วัจด้า ราบัต แทงเจียร์ ฯลฯ[10]
รัฐบาลโมร็อกโกเป็นเจ้าของรัวยาแลร์มาร็อก ด้วยอัตราการถือหุ้น 53.94% โดยอีก 44.10% ถือผ่านกองทุนฮัสซันที่สองเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และอีก 2% เป็นของนักลงทุนเอกชน รวมถึงแอร์ฟรานซ์และไอบีเรีย
รัวยาแลร์มาร็อกมีสำนักงานใหญ่ในบริเวณท่าอากาศยานกาซาบลองกา-อัลฟาในกาซาบลองกา[11][12] ในปี 2004 สายการบินได้ประกาศว่าจะย้ายสำนักงานใหญ่จากกาซาบลองกาไปยังจังหวัดนูอาเซอร์ ใกล้กับท่าอากาศยานนานาชาติมุฮัมมัดที่ห้า
รัวยาแลร์มาร็อกมีบริษัทลูก ดังนี้:
ผลประกอบการของรัวยาแลร์มาร็อก ในช่วงปี 2008-2018 มีดังนี้:
2008 | 2009 | 2010 | 2011 | 2012 | 2013 | 2014 | 2015 | 2016 | 2017 | 2018 | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
รายได้ (ล้านดิรฮัมโมร็อกโก) | 13,700 | 14,000 | 13,443 | ||||||||
กำไร/ขาดทุนจากการดำเนินงาน (ล้านดิรฮัมโมร็อกโก) | 460 | 168 | −492 | −499 | 718 | 789 | 616 | 522 | |||
กำไร/ขาดทุน สุทธิ (ล้านดิรฮัมโมร็อกโก) | −1,670 | −43 | 184 | 203 | 520 | ||||||
จำนวนพนักงาน (คน) | 5,280 | 5,352 | 5,018 | 3,892 | 2,725 | 2,928 | 3,091 | 2,263 | 2,273 | 2,282 | |
จำนวนผู้โดยสาร (ล้านคน) | 6.1 | 5.8 | 5.6 | 6.2 | 6.1 | 6.7 | 7.4 | 7.3 | |||
อัตราการบรรทุกผู้โดยสาร(%) | 67 | 64 | 69 | 72 | 73 | ||||||
จำนวนอากาศยาน (ณ สิ้นปี) | 53 | 53 | 56 | 56 | 62 | ||||||
หมายเหตุ/อ้างอิง | [24] | [24] | [24] | [24] | [24] | [24] | [25][26] | [27] | [28][29][30] | [31] | [32][33] |
ณ เดือนตุลาคม ค.ศ. 2023 รัวยาแลร์มาร็อกให้บริการเที่ยวบินสู่จุดหมายปลายทาง 103 แห่ง[34]
ณ เดือนมีนาคม ค.ศ. 2024 รัวยาแลร์มาร็อกได้ทำข้อตกลงการบินร่วมกับสายการบินดังต่อไปนี้:[35]
ณ เดือนมีนาคม ค.ศ. 2024 รัวยาแลร์มาร็อกมีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[40][41]
เครื่องบิน | ประจำการ | คำสั่งซื้อ | ผู้โดยสาร | หมายเหตุ | ||
---|---|---|---|---|---|---|
C | Y | รวม | ||||
เอทีอาร์ 72-600 | 6 | — | 12 | 58 | 70 | ดำเนินการโดยรัวยาแลร์มาร็อกเอกซ์เพรส[42][43] |
โบอิง 737-800 | 28 | 1 | 12 | 147 | 159 | เริ่มส่งมอบในปี 2024 |
โบอิง 737 แมกซ์ 8 | 2 | 4 | 12 | 144 | 156[44] | เริ่มส่งมอบในปี 2024 |
โบอิง 787-8 | 5 | — | 18 | 256 | 274 | |
โบอิง 787-9 | 4 | 2[45] | 26 | 276 | 302[46] | |
เอ็มบราเออร์ อี190 | 4 | — | 12 | 84 | 98 | |
ฝูงบินของรัวยาแลร์มาร็อกคาร์โก | ||||||
โบอิง 767-300BCF[47] | 1 | — | สินค้า | |||
รวม | 50 | 7 |
รัวยาแลร์มาร็อกมีอายุฝูงบินเฉลี่ย 12.5 ปี
รัวยาแลร์มาร็อกได้เริ่มใช้โปรแกรมสะสมไมล์ ซาฟาร์ ฟลายเยอร์ (Safar Flyer)[48] ตั้งแต่เดือนมกราคม ค.ศ. 2013 สมาชิกสามารถรับและแลกไมล์เดินทางได้โดยการบินรามโดยตรง หรือกับสายการบินพันธมิตร สมาชิกได้รับสิทธิประโยชน์ในการเข้าพักในโรงแรมและเช่ารถ[49]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.