จอมพล ประภาส จารุเสถียร (25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 – 18 สิงหาคม พ.ศ. 2540) นามเดิม ตุ๊ จารุเสถียร เป็นนายทหารและนักการเมืองชาวไทย ดำรงตำแหน่งจอมพลแห่งกองทัพบกไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในรัฐบาลของ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ และจอมพล ถนอม กิตติขจร อดีตกรรมการคณะกรรมการโอลิมปิกสากล

ข้อมูลเบื้องต้น รองนายกรัฐมนตรี, นายกรัฐมนตรี ...
ประภาส จารุเสถียร
Thumb
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
1 มกราคม พ.ศ. 2501  20 ตุลาคม พ.ศ. 2501
นายกรัฐมนตรีถนอม กิตติขจร
ก่อนหน้าประยูร ยุทธศาสตร์โกศล
ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี
ถัดไปถนอม กิตติขจร
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
ดำรงตำแหน่ง
9 ธันวาคม พ.ศ. 2506  14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
นายกรัฐมนตรีถนอม กิตติขจร
ก่อนหน้าถนอม กิตติขจร
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
ถัดไปสุกิจ นิมมานเหมินทร์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
23 กันยายน พ.ศ. 2500  14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
นายกรัฐมนตรีพจน์ สารสิน
ถนอม กิตติขจร
สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ก่อนหน้าเผ่า ศรียานนท์
ถัดไปกมล วรรณประภา
ผู้บัญชาการทหารบก
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2507  1 ตุลาคม พ.ศ. 2516
ก่อนหน้าถนอม กิตติขจร
ถัดไปกฤษณ์ สีวะรา
รักษาราชการแทนอธิบดีกรมตำรวจ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2515  16 ตุลาคม พ.ศ. 2516
ก่อนหน้าประเสริฐ รุจิรวงศ์
ถัดไปประจวบ สุนทรางกูร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455
จังหวัดอุดรธานี ประเทศสยาม
เสียชีวิต18 สิงหาคม พ.ศ. 2540 (84 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ศาสนาเถรวาท
พรรคการเมืองเสรีมนังคศิลา (2498–2500)
ชาติสังคม (2500–2501)
สหประชาไทย (2511–2514)
คู่สมรสไสว ปานประสิทธิ์
บุตร6 คน; รวมถึง สุภาพร กิตติขจร
บุพการี
ลายมือชื่อThumb
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัดกองทัพบกไทย
ประจำการ2476–2516
ยศ จอมพล
จอมพลเรือ
จอมพลอากาศ
พลตำรวจเอก
บังคับบัญชากองทัพบก และกรมตำรวจ
ปิด

ชีวิตส่วนตัวและการศึกษา

จอมพล ประภาสจบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าและรับราชการเป็นทหารบก เหล่าทหารราบ เขาได้รับการสนับสนุนจากจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เขาได้เลื่อนขั้นสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปี พ.ศ. 2500 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้แต่งตั้งเขาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเขายังดำรงตำแหน่งนี้ต่อไปหลังจากการถึงแก่อสัญกรรมของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในปี พ.ศ. 2506 นายกรัฐมนตรีคนใหม่ คือ จอมพล ถนอม กิตติขจร ซึ่งลูกชายของเขาแต่งงานกับลูกสาวของจอมพล ประภาส จากปี พ.ศ. 2506 ถึง 2516 เขาดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และผู้บัญชาการทหารบกควบคู่กันไป เขาเป็นที่รู้จักในเรื่องธุรกรรมทางการเงินที่ซับซ้อนและการวางกลยุทธ์ทางการเมืองที่แยบยล[1]

การรับราชการ

  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2476 : ได้รับพระราชทานยศเป็น "ร้อยตรี"[2]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2478 : เลื่อนยศเป็น "ร้อยโท"[3]
  • 27 ตุลาคม พ.ศ. 2479 : โอนเป็นตำรวจปรับยศเป็น "ร้อยตำรวจเอก"[4]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2480 : โอนกลับเป็นทหารปรับยศเป็น "ร้อยเอก"[5]
  • 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 : รับพระราชทานยศ "พันโท"[6]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2491 : รับพระราชทานยศเป็น "พันเอก"[7]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2500 : ได้รับพระราชทานยศเป็น"พลโท"[8]
  • 30 ธันวาคม พ.ศ. 2500 : เป็นแม่ทัพกองทัพภาคที่ 1[9]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2502 : ได้รับพระราชทานเป็น "พลเอก"[10]
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2507 : โปรดเกล้าฯ ให้เป็นรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการทหารบก[11]
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2515 : รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจอีกตำแหน่งหนึ่ง[12] และพระราชทานยศให้เป็นพลตำรวจเอก[13]
  • 1 มิถุนายน พ.ศ. 2516 : ได้รับพระราชทานยศจอมพล จอมพลเรือ และจอมพลอากาศ[14]

ตำแหน่งและหน้าที่ราชการพิเศษ

บทบาททางการเมือง

ประภาสมีบทบาทอย่างมากในการเมืองในแต่ละยุค แต่ละสมัย ในฐานะของนายทหาร ตั้งแต่ยังเป็นนายทหารยศ "ร้อยโท" ในเหตุการณ์กบฏบวรเดช พ.ศ. 2476 เป็นผู้ใช้ปืนยิงพระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) เสนาธิการของฝ่ายกบฏ ถึงแก่ชีวิต พระยาศรีสิทธิสงครามนั้นตั้งใจเดินมาเพื่อขอเจรจาด้วย ณ สถานีรถไฟหินลับ จังหวัดสระบุรี ประภาสยังเข้าร่วมในรัฐประหาร พ.ศ. 2490 และปราบกบฏวังหลวง พ.ศ. 2492 เคียงข้างจอมพล ถนอม กิตติขจร มาตลอด[21] [22]

ตั้งแต่ยังมีสถานะเป็นนักเรียนนายร้อยทหารบกชั้นปีที่ 4 ในคราวเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ประภาสก็เป็นหนึ่งในคณะนักเรียนนายร้อยทหารบกจำนวน 111 นายที่บุกวังบางขุนพรหมร่วมกับคณะนายทหารและพลเรือนบางส่วนของคณะราษฎร เพื่อควบคุมสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยและผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และเข้าควบคุมกระทรวงพระคลังมหาสมบัติอีกด้วย[23]

ภายหลังการอสัญกรรมของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ใน พ.ศ. 2506 แล้ว จอมพล ถนอม กิตติขจร จึงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสืบต่อ บทบาทของประภาสเปรียบเสมือนมือขวาคนสำคัญของถนอม โดยเป็นรองนายกรัฐมนตรี แม้ถนอมพูดน้อย มีภาพลักษณ์ของความซื่อสัตย์ ซึ่งทำให้เป็นที่ยอมรับของประชาชนในระยะแรกที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนได้รับฉายาว่า "นายกฯ คนซื่อ" แต่ประภาสกลับไม่ได้รับความไว้วางใจเฉกเช่นถนอม เนื่องจากปัญหาการทุจริตและการใช้อำนาจหน้าที่ไปในทางที่มิชอบหลายประการ ประภาสเป็นเสมือนปากกระบอกเสียงให้แก่ ถนอม เพราะ "พูดเก่ง มีลีลาแพรวพราว และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลทั้งคู่ก็แน่บแน่น" เพราะพันเอก ณรงค์ กิตติขจร บุตรชายของถนอม สมรสกับบุตรสาวของประภาส

ในช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลา มีข้อมูลระบุว่า หลังจากเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชแล้ว ถนอมต้องการลาออก แต่ทั้งประภาสและณรงค์ไม่ยินยอม และพยายามเกลี้ยกล่อมให้ถนอมเปลี่ยนความคิด แต่ท้ายที่สุดถนอมก็ลาออก และทั้ง 3 ก็เดินทางออกนอกประเทศทันที ประภาสไปอยู่ที่ไทเป ประเทศไต้หวัน พร้อมกับณรงค์ บุตรเขย จากนั้น ถนอมหวนกลับคืนมาสู่ประเทศไทยอีกครั้งในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2519 แต่ถูกต่อต้านอย่างหนัก จึงเดินทางกลับ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ก่อนเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลา ไม่นาน[24]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

ลำดับสาแหรก

ข้อมูลเพิ่มเติม พงศาวลีของประภาส จารุเสถียร ...
ปิด

อ้างอิง

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.