จังหวัดแพร่
จังหวัดในภาคเหนือของประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จังหวัดในภาคเหนือของประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แพร่ (ไทยถิ่นเหนือ: ᨻᩯᩖ᩵, แป้) เป็นจังหวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย อดีตนครรัฐอิสระขนาดเล็ก มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบระหว่างภูเขา โดยมีทิวเขาล้อมรอบ และมีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่านคือแม่น้ำยม
จังหวัดแพร่ | |
![]() | |
ชื่อภาษาไทย | |
---|---|
อักษรไทย | แพร่ |
อักษรโรมัน | Phrae |
ชื่อคำเมือง | |
อักษรธรรมล้านนา | ᨻᩯᩖ᩵ |
อักษรไทย | แป้ |
จังหวัดแพร่ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Changwat Phrae |
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง:
| |
คำขวัญ: หม้อห้อมไม้สัก ถิ่นรักพระลอ ช่อแฮศรีเมือง ลือเลื่องแพะเมืองผี คนแพร่นี้ใจงาม | |
![]() แผนที่ประเทศไทย จังหวัดแพร่เน้นสีแดง | |
ประเทศ | ไทย |
การปกครอง | |
• ผู้ว่าราชการ | สมชัย เลิศประสิทธิพันธ์ (ตั้งแต่ พ.ศ. 2567) |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 6,540.000 ตร.กม. (2,525.108 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 31 |
ประชากร (พ.ศ. 2567)[2] | |
• ทั้งหมด | 426,331 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 27 |
• ความหนาแน่น | 65.19 คน/ตร.กม. (168.8 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | อันดับที่ 21 |
รหัส ISO 3166 | TH-54 |
ชื่อไทยอื่น ๆ | แพล, พลนคร, เวียงโกศัย, นครแพร่ |
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด | |
• ต้นไม้ | ยมหิน |
• ดอกไม้ | ยมหิน |
• สัตว์น้ำ | ปลากา |
ศาลากลางจังหวัด | |
• ที่ตั้ง | ถนนไชยบูรณ์ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ 54000 |
• โทรศัพท์ | 0 5452 3422 |
• โทรสาร | 0 5451 1411 |
เว็บไซต์ | http://www.phrae.go.th/ |
![]() |
จากการศึกษาทางโบราณคดีในพื้นที่จังหวัดแพร่ พบร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เช่น ขวานหินกะเทาะ ขวานหินขัด หอกสำริด ที่อำเภอลองและอำเภอวังชิ้น ต่อมา มีการค้นพบแหล่งโบราณคดีแห่งใหม่ในถ้ำที่บ้านนาตอง ตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ พบโครงกระดูกมนุษย์โบราณ ขวานหิน และเครื่องมือหิน จากการตรวจสอบอายุพบว่ามีอายุราว 4,000 ปี [3]
จากการสำรวจด้วยภาพถ่ายทางอากาศ การศึกษาจากเอกสารและคำบอกเล่า รวมทั้งจากการสำรวจภาคสนาม พบที่ตั้งชุมชนโบราณในจังหวัดแพร่ จำนวน 24 แห่ง ชุมชนของคนกลุ่มน้อย จำนวน 4 แห่ง ชุมชนโบราณตั้งอยู่ในอำเภอต่าง ๆ ดังนี้
เมืองแพร่ เป็นเมืองเก่าเมืองหนึ่งในภาคเหนือของประเทศไทย ประวัติการสร้างเมือง ไม่มีจารึกในที่ใดที่หนึ่งโดยเฉพาะ การศึกษาเรื่องราวของเมืองแพร่จึงต้องอาศัยหลักฐานของเมืองอื่น เช่น พงศาวดารโยนก ตำนานเมืองเหนือ ตำนานพระธาตุลำปางหลวง และศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นต้น
จนถึงปี พ.ศ. 2440 ในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้เปลี่ยนการปกครองจากเจ้าผู้ครองนครเป็นมณฑลเทศาภิบาล และโปรดเกล้าให้พระยาไชยบูรณ์มาเป็นข้าหลวงเมืองแพร่คนแรก โดยมีเจ้าผู้ครองนครแพร่ คือ เจ้าพิริยเทพวงษ์ ต่อมาเกิดเหตุการณ์กบฏเงี้ยวในปี พ.ศ. 2445 จึงโปรดเกล้าให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีนำทัพพร้อมหัวเมืองใกล้เคียงเข้าปราบกบฏเงี้ยวที่เมืองแพร่ พระยาไชยบูรณ์ถูกพวกเงี้ยวสังหาร ส่วนเจ้าพิริยเทพวงษ์เกรงพระราชอาญา จึงเสด็จหลี้ภัยการเมืองไปพำนักที่เมืองหลวงพระบาง หลังจากนั้นรัฐบาลสยามจึงยกเลิกตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครแพร่
คนแพร่มักถูกทักทายเชิงล้อเลียนอยู่เสมอว่า เมืองแพร่แห่ระเบิด และมักมีการกล่าวอ้างเลื่อนลอยอีกด้วยว่าคนแพร่ในอดีตไม่รู้จักระเบิดจึงนำระเบิดไปแห่จนเกิดระเบิดขึ้น[4][5] ซึ่งไม่น่าจะเป็นความจริง จึงมีผู้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่ามีความเป็นมาอย่างไร หมายความว่าอย่างใด โดยศึกษาอ้างอิงกับเรื่องราวสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จากคุณสุรินทร์ โสภารัตนานันท์ อดีตเสรีไทย รวมทั้งผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้อีกหลายคน[6]ได้ความว่า
นายหลง มโนมูล ซึ่งเป็นคนงานรถไฟสถานีแก่งหลวง ได้ไปพบซากระเบิด ที่ทิ้งมาจากเครื่องบินของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำระเบิดมาทิ้งเพื่อทำลายสะพานรถไฟข้ามห้วยแม่ต้า เพื่อสกัดการเดินทางของทหารญี่ปุ่น เมื่อคราวสงครามโลกครั้งที่ 2 (ประมาณปี พ.ศ. 2485 – 2488) จึงได้มาบอกนายสมาน หมื่นขัน ทราบ นายสมานฯ จึงไปดูและขอความช่วยเหลือจากคนงานรถไฟ ที่สถานีรถไฟแก่งหลวงที่อยู่ใกล้เคียง ได้แก่ นายชุ่ม ขันแก้ว นายชัยวัฒน์ พึ่งพอง นายพินิจ สุทธิสุข นายย้าย ปัญญาทอง ให้มาช่วยกันขุด และทำการถอดชนวนแล้วใช้เลื่อยตัดเหล็กตัดส่วนหางของลูกระเบิดควักเอาดินระเบิดที่บรรจุอยู่ภายในออก และช่วยกันหามขึ้นล้อ(เกวียน) นำไปพักไว้ที่บ้านแม่ลู่ตำบลบ้านปิน ต่อมานายหลงฯ ได้ไปลากต่อมาจากบ้านแม่ลู่โดยล้อ (เกวียน) ชาวบ้านทราบข่าว จึงแตกตื่นพากันออกมาดูทั้งหมู่บ้าน เดินตามกันเป็นขบวนยาว ติดตามมาตลอดทางจนถึงวัดแม่ลานเหนือ ตำบลห้วยอ้อ ชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียงรอบ ๆ วัด พอทราบข่าวก็ออกมาต้อนรับพร้อมวงฆ้อง – กลองยาว ขบวนที่แห่กันมาจึงเคลื่อนขบวนเข้าวัดทำพิธีถวายให้เป็นสมบัติของวัด เพื่อใช้เป็นระฆังของวัดจนถึงปัจจุบันนี้ ระเบิดลูกที่ 2 นำไปถวายที่วัดศรีดอนคำ ตำบลห้วยอ้อ ส่วนลูกระเบิดลูกที่ 3 นายบุญมา อินปันดีใช้ช้างลากขึ้นมาจากห้วยแม่ต้า แล้วนำมาบรรทุกล้อ (เกวียน) ลากไปถวายที่วัดนาตุ้ม ตำบลบ่อเหล็กลอง ซึ่งเป็นบ้านเดิมของนางจันทร์ ผู้เป็นภรรยา ปัจจุบันลูกระเบิดที่ 1 เก็บไว้ที่วัดแม่ลานเหนือ ตำบลห้วยอ้อ ลูกที่ 2 เก็บไว้ที่วัดศรีดอนคำ ตำบลห้วยอ้อ ลูกที่ 3 เก็บไว้ที่วัดนาตุ้ม ตำบลบ่อเหล็กลอง จังหวัดแพร่[7]
จังหวัดแพร่เป็นจังหวัดภาคเหนือของประเทศไทย ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งเหนือที่ 17.70 ถึง 18.84 องศา กับเส้นแวงที่ 99.58 ถึง 100.32 องศา อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 155 เมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ตามทางหลวงหมายเลข 11 และ 101 ประมาณ 555 กิโลเมตร และทางรถไฟ 550 กิโลเมตร (ถึงสถานีรถไฟเด่นชัย) มีเนื้อที่ประมาณ 6,538.59 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 4,086,625 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.27 ของพื้นที่ประเทศ จัดเป็นพื้นที่จังหวัดขนาดกลาง มีความกว้างประมาณ 59 กิโลเมตร (วัดจากตะวันออกสุดของอำเภอเมืองตะวันตกสุดของอำเภอลอง) มีความยาวประมาณ 118 กิโลเมตร (วัดจากเหนือสุดของอำเภอสอง ใต้สุดของอำเภอวังชิ้น) ปัจจุบัน ที่ตั้งของจังหวัดแพร่นับเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งทางรถยนต์ ที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคเหนือที่ติดต่อไปยังจังหวัดน่าน จังหวัดพะเยา จังหวัดเชียงราย จังหวัดลำปาง จังหวัดลำพูน จังหวัดเชียงใหม่ จึงเรียกได้ว่าจังหวัดแพร่เป็น ประตูสู่ล้านนา[8]
จังหวัดแพร่เป็นจังหวัดที่มีภูเขาล้อมรอบทั้งสี่ทิศ มีภูเขาที่สูงที่สุดอยู่ที่ ดอยช้างผาด่านจากระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยทั่วไปพื้นที่ราบจะมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 120-200 เมตร สำหรับตัวเมืองแพร่มีความสูง 161[9] เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง แม่น้ำยมเป็นลำน้ำที่สำคัญที่สุดของจังหวัดแพร่ต้นกำเนิดจากเทือกเขาผีปันน้ำ อำเภอปง จังหวัดพะเยา
การปกครองแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 78 ตำบล 645 หมู่บ้าน
ที่ | ชื่ออำเภอ | ตัวเมือง | อักษรโรมัน | จำนวนตำบล | จำนวนประชากร[13] | ระยะทางจากตัวจังหวัด |
---|---|---|---|---|---|---|
1. | เมืองแพร่ | ᨾᩮᩬᩥᨦᨻᩯᩖ᩵ | Mueang Phrae | 20 | 121,504 | - |
2. | ร้องกวาง | ᩁᩬ᩶ᨦᨣ᩠ᩅᩣ᩠ᨦ | Rong Kwang | 11 | 50,901 | 30 |
3. | ลอง | ᩃᩬᨦ | Long | 9 | 56,340 | 42 |
4. | สูงเม่น | ᩈᩪᨦᩉᩮ᩠ᨾ᩶ᩁ | Sung Men | 12 | 77,917 | 14 |
5. | เด่นชัย | ᨯᩮ᩠᩵ᨶᨩᩱ᩠ᨿ | Den Chai | 5 | 36,729 | 25 |
6. | สอง | ᩈᩕᩬᨦ | Song | 8 | 51,871 | 50 |
7. | วังชิ้น | ᩅᩢ᩠ᨦᨩᩥ᩠᩶ᨶ | Wang Chin | 7 | 46,932 | 80 |
8. | หนองม่วงไข่ | ᩉ᩠ᨶᩬᨦᨾ᩠ᩅ᩵ᨦᨡᩱ᩵ | Nong Muang Khai | 6 | 18,562 | 24 |
อำเภอเมืองแพร่
|
อำเภอสอง
อำเภอลอง
|
อำเภอสูงเม่น
อำเภอเด่นชัย
อำเภอร้องกวาง
|
อำเภอหนองม่วงไข่
อำเภอวังชิ้น
|
ลำดับ | ชื่อ | ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
- | พระยาราชฤทธานนท์พหลภักดี (ทองอยู่ สุวรรณบาตร) | พ.ศ. 2440–2445 | ตำแหน่งข้าหลวง โดยมีเจ้าพิริยเทพวงษ์ เป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่ |
1 | พระยาศรีสุริยะราชวรานุวัตร (ทองศุข ดิษบุตร) | พ.ศ. 2445–2446 | แต่หลักฐานทางราชการในสมัย ร.5 ระบุว่าเป็น พระยาศรีสุริยะราชวรานุวัตร (โพ เนติโพธิ์) |
2 | พระยาศรีสัชนาไลยบดี (เลี้ยง ศิริปาละกะ)[14][15] | พ.ศ. 2446–2448 | |
3 | พระยาพิริยวิไชย (เวศ)[16] | พ.ศ. 2448–2449 | |
4 | อ.อ. พระยานิกรกิติการ (กั๊ก ศรีเพ็ญ) | พ.ศ. 2449–2458 | |
5 | อ.อ.พระยาสุรินทรภักดี ศรีไผทสมันต์ (สร่าง พุกกณานนท์) | พ.ศ. 2458–2460 | |
6 | อ.อ.พระยายอดเมืองขวาง (ม.ล. อั้น เสนีย์วงศ์) | พ.ศ. 2460–2461 | |
7 | อ.ท.พระยาพิริยะวิชัย (เทียบ สุวรรณิน)[17] | พ.ศ. 2461–2466 | |
8 | ม.อ.ต.พระยารามราชเดช (ม.ร.ว. ปาน นพวงศ์) | พ.ศ. 2466–2467 | |
9 | อ.ท.พระทวาราวดีภิบาล (เชย ชัยระภา) | พ.ศ. 2467–2469 | |
10 | อ.ท.พระยากรุงศรีสวัสดิการ (จำรัส สวัสดิ์-ชูโต) | พ.ศ. 2469–2471 | |
11 | ม.อ.ต.พระยาเพ็ชรพิไสยศรีสวัสดิ์ (แม้น วสันตสิงห์) | พ.ศ. 2471–2478 | |
12 | พระพายัพพิริยะกิจ (เอม ทินทลักษณ์) | พ.ศ. 2478–2479 | |
13 | หลวงวิโรจน์รัฐกิจ (เปรื่อง โรจนกุล) | พ.ศ. 2479–2481 | |
14 | หลวงเกษมประศาสน์ (บุญหยด สุวรรณสวัสดิ์) | พ.ศ. 2481–2484 | |
15 | หลวงศรีนราศัย (ผิว จันทิมาคม) | พ.ศ. 2484–2487 | |
16 | นายพรหม สูตรสุคนธ์ | พ.ศ. 2487–2487 | |
17 | หลวงสรรคประศาสน์ (วิเศษ สรรคประศาสน์) | พ.ศ. 2487–2489 | |
18 | นายสง่า สุขรัตน์ | พ.ศ. 2489–2490 | |
19 | นายจรัส ธารีสาร | พ.ศ. 2490–2493 | |
20 | นายเพ็ชร บูรณะวรศิริ | พ.ศ. 2493–2495 | |
21 | นายชุณห์ นกแก้ว | พ.ศ. 2495–2501 | |
22 | นายพยุง ตันติลิปิกร | พ.ศ. 2501–2502 | |
23 | นายสมบัติ สมบัติทวี | พ.ศ. 2502–2505 | |
24 | นายเครือ สุวรรณสิงห์ | พ.ศ. 2505–2511 | |
25 | นายวิจิตร แจ่มใส | พ.ศ. 2511–2512 | |
26 | นายปฐม สุทธิวาทนฤพุฒิ | พ.ศ. 2512–2519 | |
27 | นายธานี โรจนาลักษณ์ | พ.ศ. 2519–2520 | |
28 | นายสำรวย พึ่งประสิทธิ์ | พ.ศ. 2520–2523 | |
29 | นายชูวงศ์ ฉายะบุตร | พ.ศ. 2523–2524 | |
30 | นาวาเอก จำลอง ประเสริฐยิ่ง ร.น. | พ.ศ. 2524–2524 | |
31 | นายแสวง อินทุสุต | พ.ศ. 2524–2526 | |
32 | นายอนันต์ มีชำนะ | พ.ศ. 2526–2527 | |
33 | นายธวัช รอดพร้อม | พ.ศ. 2527–2532 | |
34 | นายศักดา ลาภเจริญ | พ.ศ. 2532–2534 | |
35 | นายจินต์ วิภาตะกลัศ | พ.ศ. 2534–2536 | |
36 | นายศักดิ์ เตชาชาญ | พ.ศ. 2536–2537 | |
37 | นายทรงวุฒิ งามมีศรี | พ.ศ. 2537–2539 | |
38 | นายนรินทร์ พานิชกิจ | พ.ศ. 2539–2541 | |
39 | นายอนุกุล คุณาวงศ์ | พ.ศ. 2541–2544 | |
40 | นายอมรพันธุ์ นิมานันท์ | พ.ศ. 2544–2546 | |
41 | นายสมศักดิ์ บุญเปลื้อง | พ.ศ. 2546–2547 | |
42 | นายสันทัด จัตุชัย | พ.ศ. 2547–2548 | |
43 | นายอธิคม สุวรรณพงศ์ | พ.ศ. 2548–2550 | |
44 | ว่าที่ร้อยตรี พงษ์ศักดิ์ พลายเวช | พ.ศ. 2550–2552 | |
45 | นายวัลลภ พริ้งพงษ์ | พ.ศ. 2552–2552 | |
46 | นายสมชัย หทยะตันติ | พ.ศ. 2552–2553 | |
47 | นายชวน ศิรินันท์พร | พ.ศ. 2553–2554 | |
48 | นายเกษม วัฒนธรรม | พ.ศ. 2554–2555 | |
49 | นายอภิชาติ โตดิลกเวชช์ | พ.ศ. 2555–2557 | |
50 | นายศักดิ์ สมบุญโต | พ.ศ. 2557–2558 | |
51 | นายพิเชษฐ์ ไพบูลย์ศิริ | พ.ศ. 2558–2559 | |
52 | นายวัฒนา พุฒิชาติ | พ.ศ. 2559–2560 | |
53 | นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ | พ.ศ. 2560–2562 | |
54 | นางกานต์เปรมปรีด์ ชิตานนท์ | พ.ศ. 2562–2563 | |
55 | นายสมหวัง พ่วงบางโพ | พ.ศ. 2563–2565 | |
56 | นายชุติเดช มีจันทร์ | พ.ศ. 2565–2567 | |
57 | นายสมชัย เลิศประสิทธิพันธ์ | พ.ศ. 2567–ปัจจุบัน | |
ถ้ำเอราวัณ
จังหวัดแพร่อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 555 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางสู่จังหวัดแพร่ได้หลายวิธี ทั้งทางรถยนต์ส่วนตัว รถประจำทาง รถไฟ และเครื่องบิน
จังหวัดแพร่มีทางรถไฟตัดผ่านที่อำเภอเด่นชัย อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 24 กิโลเมตร การรถไฟแห่งประเทศไทยให้บริการเดินรถระหว่างอำเภอเด่นชัยและจังหวัดต่างๆ ทั้งเที่ยวขึ้นและเที่ยวล่องทุกวัน
จากกรุงเทพฯ ไปจังหวัดแพร่ สามารถใช้เส้นทางรถยนต์ได้ 3 เส้นทาง ดังนี้
บริษัท ขนส่ง จำกัด และบริษัทเอกชนมีรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศ สายกรุงเทพฯ-แพร่ และกรุงเทพฯ-แพร่-สอง ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต 2) ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวัน บริษัทรถโดยสารที่ให้บริการ มีดังนี้
สายการบินในประเทศ ได้แก่ นกแอร์ (กรุงเทพฯ ดอนเมือง) ทำการบินทุกวัน วันละ 1 เที่ยวบิน
โดยกรุงเทพมหานครได้สถาปนาความสัมพันธ์เป็นเมืองพี่น้องกับจังหวัดแพร่ ภายหลังจากที่กรุงเทพฯได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์เสาชิงช้า โดยได้รับความร่วมมือจากจังหวัดแพร่ในการอนุญาตให้พลีต้นสักทองจำนวน 6 ต้น เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ที่อำเภอเด่นชัย มาทำเป็นเสาชิงช้าต้นใหม่[18]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.