คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
ปานหทัย เสรีรักษ์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
ปานหทัย เสรีรักษ์ (เกิด 11 มกราคม พ.ศ. 2498) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ เขต 1 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2550 ในสังกัดพรรคพลังประชาชน ปัจจุบันสังกัดพรรคเพื่อไทย
ประวัติ
ปานหทัย เสรีรักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2498 เป็นบุตรสาวของดร.เมธา เอื้ออภิญญกุล อดีต ส.ส.แพร่ กับนางธีรวัลย์ หรือแม่เลี้ยงธีรวัลย์ เอื้ออภิญญกุล (สกุลเดิม;กันทาธรรม) มีพี่น้อง 3 คน คือ[1]
- นายเมธี เอื้ออภิญญกุล กรรมการและเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทบ้านปู จำกัด (มหาชน)
- นายองอาจ เอื้ออภิญญกุล กรรมการบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน)
- นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโท เอเชียศึกษา จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน เซนต์หลุยส์ สหรัฐอเมริกา สมรสกับนายทศพร เสรีรักษ์[1][2] อดีต ส.ส.แพร่ สมาชิกบ้านเลขที่ 111 มีบุตร 3 คน
Remove ads
งานการเมือง
นางปานหทัยอยู่ในครอบครัวนักการเมือง[1] โดยทั้งบิดา น้องชาย และสามี ล้วนเป็นนักการเมืองทั้งหมด หลังจากนายทศพร เสรีรักษ์ สามี ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี ร่วมกับบ้านเลขที่ 111 นางปานหทัยจึงลงสมัครรับเลือกตั้งแทน ในปี พ.ศ. 2550[3] และได้รับการเลือกตั้งเป็นครั้งแรกในสังกัดพรรคพลังประชาชน และต่อมาได้รับการเลือกตั้งเป็นครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคเพื่อไทย
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ปานหทัย เสรีรักษ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ
Remove ads
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2554 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2552 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[5]
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads