Loading AI tools
รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นประเภท 2-6-0 ซึ่งมี 164 คัน จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รถจักรไอน้ำโมกุล ซี 56 (อังกฤษ: Japanese National Railway class C56 steam locomotive) หรือ รถจักรไอน้ำ ซี 56 (JNR Class C56; ญี่ปุ่น: C56形) ส่วนใหญ่จะเรียกว่า รถจักรไอน้ำ C56 เป็นรถจักรไอน้ำที่สร้างขึ้นในประเทศญี่ปุ่น สร้างโดยสมาคมอุตสาหกรรมรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2478 - พ.ศ. 2482 ออกแบบและสร้างโดย ฮิเดะโอะ ชิมะ และใช้งานโดยการรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2478 รถจักรไอน้ำรุ่นนี้มีจำนวนรถจักรไอน้ำทั้งหมด 164 คัน[1] หลังจากนั้น จึงนำมาใช้การครั้งแรกในประเทศไทยโดยการรถไฟแห่งประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2488 - พ.ศ. 2489 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2[2] จุดประสงค์หลักของรถจักรไอน้ำในระยะแรกจะใช้โดยประเทศญี่ปุ่นโดยการรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่นก่อนโดยใช้ลากขบวนรถโดยสารและขบวนรถสินค้าในประเทศญี่ปุ่น จวบจนสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพญี่ปุ่นนำรถจักรไอน้ำรุ่นนี้มาดัดแปลงและนำมาใช้การเป็นอาวุธยุทธโธปกรณ์ในเส้นทางทางรถไฟสายมรณะ ในจังหวัดราชบุรีและจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อไปสู่ประเทศพม่าระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง และมีรถจักรไอน้ำที่ใช้งานโดยกองทัพญี่ปุ่นที่ฝั่งพม่า จำนวน 90 คัน ตั้งแต่หมายเลข C56 1 ถึง C56 90[3] และเหลือรถจักรไอน้ำฝั่งประเทศญี่ปุ่น 74 คัน
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
Class C56 | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
C56 160 ใน Steam Special ในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 | |||||||||||||||
| |||||||||||||||
| |||||||||||||||
| |||||||||||||||
|
ปัจจุบัน รถจักรไอน้ำโมกุล C56 ที่ผ่านการใช้งานในประเทศไทยและประเทศพม่าคงเหลืออยู่ 12 คัน แบ่งในในประเทศไทยเหลืออยู่ 11 คัน และคงเหลือล้อขับ 1 คู่ และในประเทศพม่าคงเหลืออยู่ 1 คัน และคงเหลือคันเยื้องศูนย์ 2 ท่อน แบ่งได้ดังนี้
จอดเป็นอนุสรณ์ในประเทศไทย อยู่ 7 คัน คือหมายเลข 702 (C56 4), 714 (C56 16), 719 (C56 23), 728 (C56 36), 733 (C56 41), 738 (C56 47) และ 744 (C56 53)[1][4]
จอดเป็นอนุสรณ์ในประเทศพม่า อยู่ 1 คัน หมายเลขของการรถไฟพม่าคือ C.0522 (C56 56)[1][5]
จัดแสดงล้อขับในประเทศญี่ปุ่น อยู่ 1 คู่ ของหมายเลข 722 (C56 26)[1][6]
จอดเป็นอนุสรณ์ในประเทศญี่ปุ่น อยู่ 1 คัน คือหมายเลข 725 (C56 31)[1][7][8]
ใช้การในประเทศญี่ปุ่น อยู่ 1 คัน คือหมายเลข 735 (C56 44)[1][9][10]
ใช้การในประเทศไทยโดย การรถไฟแห่งประเทศไทย อยู่ 2 คันคือหมายเลข 713 (C56 15) และ หมายเลข 715 (C56 17) ซึ่ง 2 คันนี้ได้รับการบูรณะพร้อมๆกับรถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด หมายเลข 953 และรถจักรไอน้ำญี่ปุ่นมิกาโด หมายเลข 962 รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 824 และรถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 850 ในต้นปี พ.ศ. 2529 ซึ่งรถจักรไอน้ำโมกุล C56 ทั้ง 2 คันนี้ยังคงใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง และเคยทำการเดินขบวนเสด็จ หมายกำหนดการสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จไปยังปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี ในปี พ.ศ. 2529 รวมถึงทำขบวนรถจักรไอน้ำพิเศษนำเที่ยวเป็นเวลาหลายปี ในปัจจุบันรถจักรไอน้ำโมกุล C56 ทั้ง 2 คันนี้ใช้ไม้หมอนรองรางรถไฟเก่ามาตัดเป็นท่อนๆในการใช้เป็นเชื้อเพลิง ในส่วนของหมายเลข 713 (C56 15) ได้มีการเปลี่ยนอะไหล่มาใช้คันเยื้องศูนย์ของ C56 19 (ตัวรถจักรไม่ได้นำมาใช้งานในไทย) และหมายเลข 723 (C56 28) อีกด้วย และรถจักรไอน้ำ C56 จะถูกนำมาใช้ในงานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแคว จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งจะจัดงานในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคมของทุกปี[4][11]
คันเยื้องศูนย์ถูกนำมาใช้สำหรับหมายเลข 713 (C56 15) อยู่ 2 ท่อน คือของ C56 19 (ตัวรถจักรไม่ได้นำมาใช้งานในไทย) และของหมายเลข 723 (C56 28)
รถจักรไอน้ำโมกุล C56 ถูกสร้างขึ้นโดย สมาคมอุตสาหกรรมรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan Association of Railway Industry) ซึ่งในสมาคมจะประกอบไปด้วยบริษัทผู้สร้างหลายบริษัทด้วยกัน ทั้งนี้เมื่อมีคำสั่งให้ผลิตรถจักรไอน้ำโมกุล C56 ทาง สมาคมอุตสาหกรรมรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น จะกระจายคำสั่งการผลิตนี้ให้กับ 5 บริษัทที่รับผิดชอบในการสร้างรถจักรไอน้ำโมกุล C56 ดังนี้
การก่อสร้างทางรถไฟซึ่งดำเนินต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2415 (สมัยเมจิ 5) ได้เปลี่ยนไปสู่สนับสนุนก่อสร้างเส้นทางสายรองที่กระจัดกระจาย ซึ่งความต้องการด้านการขนส่งมีไม่มากท่ามกลางแรงกดดันทางการเมืองเมื่อโอกาสในการพัฒนาเส้นทางสายหลักชัดเจนขึ้น
ในขณะนั้น รถจักรไอน้ำในเส้นทางเหล่านี้เป็นรุ่นเก่าที่ถูกปลดประจำการเส้นทางเนื่องจากไม่สามารถกับความต้องการและความเร็วที่เพิ่มขึ้นในเส้นทางเดินรถ รวมถึงรถจักรนำเข้าต่างๆ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากช่องโหว่ของอุปสรรคระหว่างเส้นทางหลักและเส้นทางรอง รถจักรไอน้ำในเส้นทางหลักมีขนาดใหญ่มากเกินไปที่จะเปลี่ยนไปใช้เส้นทางสายรอง แม้ว่าจะเป็นรุ่นเก่าก็ตาม และการบำรุงรักษาเนื่องจากอายุของหัวรถจักรนำเข้าและความยากลำบากในการยึดชิ้นส่วน คาดว่าจะมีต้นทุนบำรุงรักษาที่เพิ่มขึ้น
ดังนั้นในช่วงต้นยุคโชวะ จึงมีการวางแผนจัดหารถจักรไอน้ำสำหรับเส้นทางสายรองที่มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา และบำรุงรักษาง่ายกว่าเส้นทางสายหลัก
เนื่องจากเดิมทีรถจักรไอน้ำ C56 ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้งานภายในประเทศญี่ปุ่นในช่วงปี พ.ศ. 2478 ซึ่งในเวลานั้นประเทศญี่ปุ่นได้เปลี่ยนมาใช้งานระบบห้ามล้อลมอัดหมดแล้ว รวมถึงได้เปลี่ยนเครื่องพ่วงจากแบบขอและห่วงคานเกลียวมาเป็นแบบอัตโนมัติ จึงต้องเปลี่ยนขอพ่วงแบบอัตโนมัติมาเป็นขอพ่วง ABC แทน ซึ่งมีระดับที่ต่ำกว่าเดิมต้องวางช่องของรังเครื่องพ่วงขึ้นมาใหม่ เมื่อรถจักรไอน้ำ C56 จำนวน 90 คันได้ถูกส่งมาใช้งานในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยเหตุผลที่มีน้ำหนักกดเพลาไม่มากเกินไปนักกับสภาพเส้นทางนี้เพราะในสมัยนั้นรางของประเทศไทยรับน้ำหนักกดเพลาสูงสุดได้แค่เพียง 10.5 ตันเท่านั้น ในขณะที่รถจักร C56 มีน้ำหนักกดเพลาที่ 10.6 ตัน (เคยมีการนำเอารถจักรไอน้ำ C58 มาวิ่งจำนวน 4 คัน แต่ภายหลังได้นำกลับไปเพราะมีน้ำหนักกดเพลาถึง 13.5 ตัน) นอกจากนั้นก็ต้องทำการเปลี่ยนแปลงระบบห้ามล้อที่ใช้สั่งการรถพ่วงจากเดิมที่เป็นห้ามล้อลมอัดมาเป็นระบบห้ามล้อสูญญากาศ โดยติดตั้งเครื่องไล่ลมเข้าไปเพราะในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเวลานั้นยังคงใช้ระบบห้ามล้อสูญญากาศอยู่ ไม่ว่าจะเป็นประเทศไทย , พม่า , กัมพูชาและมาเลเซีย
การรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่นสร้างรถจักร C56 มาเพื่อใช้งานกับรางที่มีความกว้างขนาด 1.067 เมตร ดังนั้นเมื่อนำมาใช้งานกับรางที่มีขนาดความกว้าง 1 เมตรในประเทศไทยจึงต้องทำการปรับล้อเพื่อให้สามารถใช้กับราง 1 เมตรได้ ( วิธีการนั้นไม่ได้ใช้วิธีการอัดแว่นล้อเข้ามาเหมือนกับที่ดำเนินการกับรถโดยสาร JR-West ในปัจจุบันนี้ ) แว่นล้อของรถจักร C56 ยังเป็นของเดิมที่ใช้กับราง 1.067 เมตร แต่ใช้วิธีการสร้างปลอกล้อขึ้นมาใหม่โดยให้มีขนาดความกว้างของพื้นล้อมากกว่าเดิมเพื่อให้เกาะกับรางขนาด 1 เมตรได้ ดังนั้นถ้าใครสังเกตก็จะเห็นว่าพื้นล้อของล้อกำลังรถจักรไอน้ำ C56 หมายเลข 713และ 715 ที่โรงรถจักรธนบุรี รวมทั้งที่จอดตั้งแสดงตามที่ต่างๆในประเทศไทยจะมีพื้นล้อกำลังที่กว้างกว่ารถจักรไอน้ำรุ่นอื่นๆ[12]
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 กรมรถไฟได้ประสบความเสียหายในบริภัณฑ์รถไฟและสิ่งปลูกสร้างเป็นอย่างมาก เมื่อสงครามได้ยุติลง จึงปรากฏว่ากรมรถไฟขาดแคลนรถจักรและล้อเลื่อนที่จะมาใช้การรับใช้ประชาชนตามสถานะเดิมต่อไป ดังนั้นในปี พ.ศ. 2489 ด้วยความเอื้อเฟื้อของสหประชาชาติได้จำหน่ายรถจักรไอน้ำที่เหลือใช้จากสงครามให้แก่กรมรถไฟจำนวน 68 คัน (รุ่นเลขที่ 380-447) เพื่อบรรเทาการขาดแคลนดังกล่าว รถจักรเหล่านี้เป็นชนิดมิกาโด (2-8-2) ซึ่งเรียกกันโดยเฉพาะในวงการของสหประชาชาติว่ารถจักร “แมคอาเธอร์” เป็นรถจักรที่สร้างโดยบริษัทต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา ตามรายการจำเพาะที่กำหนดขึ้นโดยทางการทหารแห่งสหรัฐ
นอกจากนี้ยังได้รับรถจักรที่เหลือใช้จากสงครามของฝ่ายญี่ปุ่น ซึ่งนำมาใช้การในเอเซียอาคเนย์นี้ 50 คัน คือ รถจักรญี่ปุ่น รุ่นเลขที่ 701-746 (C-56) และ รุ่นเลขที่ 761- 764 (C-58)และเป็นรถจักรของการรถไฟสหพันธรัฐมลายู ซึ่งฝ่ายญี่ปุ่นนำมาใช้การในประเทศไทยระหว่างสงครามอีก 18 คัน คือรุ่นเลขที่ 801 (เจ้าของเดิมเรียกว่ารุ่น "P")[13]
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2488 ใช้เป็นขบวนรถโดยสารจากธนบุรี - น้ำตกบนแขวงธนบุรี บนเส้นทางรถไฟสายใต้ มีน้ำหนักเบาที่สามารถผ่านสะพานถ้ำกระแซได้ ส่วนทางรถไฟสายเหนือ ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ และทางรถไฟสายใต้ตั้งแต่แขวงชุมพรลงไปนั้น นิยมเป็นรถจักรสับเปลี่ยนทางนั้นกว่า เพราะมีน้ำหนักมากเล็กน้อย คือ 10.6 ตัน
และต่อมาก็ทำการซ่อมรถจักรไอน้ำโมกุล C56 หมายเลข 713 (C56 15) (C5615) และรถจักรไอน้ำโมกุล C56 หมายเลข 715 (C56 17) (C5617) เพิ่มอีก 2 คันเพื่อทำการเดินขบวนเสด็จ หมายกำหนดการสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จไปยังปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2529 รถจักรไอน้ำทุกคันที่มีการซ่อม ได้ดัดแปลงระบบไฟฟ้า ห้ามล้อ และเครื่องยนต์ของรถจักร Henschel เพื่อต่อพหุ ทำขบวนเป็นขบวนพิเศษนำทางขบวนเสด็จจาก กรุงเทพ – กาญจนบุรี – ท่ากิเลน และไปจอดรอที่ป้ายหยุดรถวังสิงห์ หมายกำหนดการ ใช้รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 824 พหุกับรถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค หมายเลข 850 ลากจูงขบวนเสด็จจาก สถานีหลวงจิตรลดา ไปถึงสถานีกาญจนบุรี โดย นายชำนาญ ล้ำเลิศ เป็น พนักงานขับรถคันนำ เมื่อทำขบวนเสด็จถึงสถานีกาญจนบุรี จอดเทียบให้ผู้ว่าราชการจังหวัด และข้าราชบริพาร ประชาชนเฝ้าเสด็จ และทางการรถไฟฯ ก็ได้ทำการเปลี่ยนหัวรถจักรไอน้ำใหม่โดยนำรถจักรไอน้ำโมกุล C56 หมายเลข 713 (C56 15) (C5615) และรถจักรไอน้ำโมกุล C56 หมายเลข 715 (C56 17) (C5617) ทำขบวนเสด็จต่อจาก สถานีกาญจนบุรี ไป ที่สถานีท่ากิเลน และเสด็จทางรถยนต์พระที่นั่งต่อไปยังปราสาทเมืองสิงห์ ซึ่งอยู่ห่างจากสถานีท่ากิเลนไปทางทิศตะวันตกประมาณ 3.5 กม. พนักงานรถจักรที่หน้าที่ขับรถชื่อนายกุล มณีกุล[14]
ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น รถจักรไอน้ำขนาดใหญ่ไม่สามารถเข้าสู่เส้นทางสายรอง ซึ่งอยู่ต่ำกว่าเส้นทางหลักอย่างเห็นได้ชัด ด้วยเหตุนี้ รถจักรไอน้ำ C12 จึงสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2475 สำหรับเส้นทางระยะใกล้ เป็นรถจักรไอน้ำขนาดเล็ก น้ำหนักเบา เดินหน้าถอยหลังได้สะดวก[15] อย่างไรก็ตาม สำหรับเส้นทางเดินรถที่ค่อนข้างไกลรถจักรไอน้ำ C12 ไม่เหมาะสำหรับการใช้งาน เนื่องจากบรรทุกถ่านหินและน้ำได้น้อย ด้วยเหตุนี้ C56 จึงได้รับการออกแบบใหม่ให้เป็นรุ่นขนาดเล็กโดยถอดถังเก็บน้ำและที่เก็บถ่านหินออกจาก C12 และทั้งสองประเภทมีการออกแบบที่มีชิ้นส่วนทั่วไปจำนวนมาก ดูเหมือนว่าจะขึ้นอยู่กับวิธีการออกแบบของรถจักรแบบ 64 และรถจักรแบบเอ็นดะ 24 แบบที่ออกแบบมาสำหรับสายงานสาขาในเยอรมนี ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกรถจักรไอน้ำ[ต้องการอ้างอิง] รถจักรไอน้ำทั้งสองประเภทมีลักษณที่คล้ายคลึงกันกับ C12 และ C56 ตามลำดับ
ในเวลานั้นมีสถานที่เพียงไม่กี่แห่งที่ติดตั้งสแครช C12 เป็นรถจักรไอน้ำถัง ดังนั้นจึงง่ายต่อการถอยหลัง แต่ C56 เป็นรถจักรไอน้ำที่ได้ปรับแก้ ดังนั้นด้านข้างของหัวรถจักรจึงถูกตัดออกไปเป็นส่วนใหญ่เพื่อให้มองเห็นทัศนวิสัยด้านหลังได้ชัดเจน เพื่อไม่ให้มองเห็นด้านหลังได้ยาก เป็นลักษณะ อย่างไรก็ตาม ไม่เหมือนกับรุ่น C12 ตรงที่ไม่มีล้อตาม และลักษณะการวิ่งขณะถอยหลังลดลงอย่างมาก[16] ด้วยเหตุนี้ รถจักรไอน้ำรุ่นนี้ได้ตกรางจึงเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ดังนั้นจึงกล่าวกันว่าการถอยหลังไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนัก ยกเว้นการสับรางด้วยความเร็วต่ำ[โดยใคร?]
สำหรับการรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น มีการผลิตรถจักร 160 คันระหว่างปี พ.ศ. 2478 (โชวะ 10) ถึง พ.ศ. 2482 (โชวะ 14) ผู้ผลิต ได้แก่ บริษัท คาวาซากิเฮฟวี่อินดรัสทรีส์ จำกัด, บริษัท ฮิตาชิ จำกัด (มหาชน), บริษัท นิปปอน ชาเรียว เซโซะ ไกรชะ จำกัด และ บริษัท มิตซูบิชิเฮฟวีอินดัสทรีส์ จำกัด นอกจากนี้ ยังมีการผลิตรถจักร 4 คันสำหรับรถไฟคาระฟูโตะโชะ และอีกคันสำหรับภาคเอกชน
ปีที่การผลิตและการส่งมอบมีดังนี้
ในปี พ.ศ. 2485 เกาะคาระฟูโตะโชะ อยู่ในภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น รถจักรไอน้ำ 4 คัน (C52 1 - 4 หมายเลขการผลิต 961 - 964) ผลิตโดย บริษัท นิปปอน ชาเรียว เซโซะ ไกรชะ จำกัด เหล่านี้รวมอยู่ในกระทรวงการรถไฟเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2486 (โชวะ 18) เนื่องจากมินามิคาราฟูโตะกลายเป็นทะเล และกลายเป็น C56 161 - 164 หลังจากนั้นในเดือนกันยายน พ.ศ. 2487 C56 103 และ 152 ถูกย้ายจากแผ่นดินใหญ่ไปยังสำนักงานการรถไฟคาระฟูโตะโชะ แต่ในปี พ.ศ. 2488 เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 รถจักรไอน้ำทั้ง 6 คันจึงถูกสหภาพโซเวียตซึ่งครอบครองเกาะคาระฟูโตะโชะเข้ายึดแล้วกลายมาเป็นเกาะซาฮาลิน
รถจักรไอน้ำล็อตนี้ได้รับการเปลี่ยนแปลงจากห้องขับแบบเปิด มาเป็นห้องขับแบบปิดตามข้อกำหนดสำหรับภูมิภาคที่มีอากาศหนาวจัด ในปี พ.ศ. 2490 (โชวะ 22) พนักงานรถไฟชาวญี่ปุ่นที่ยังคงอยู่ในเกาะคาระฟูโตโชะหรือเกาะซาฮาลินที่เป็นทางรถไฟ พนักงานทำสีของโรงรถจักร Yuzhno-Sakhalinsk ตามข้อกำหนดของสหภาพแรงงานโซเวียต ได้มีการตั้งข้อสังเกตว่า แม้ว่าสีตัวถังจะเป็นสีดำ แต่ว่ากันว่าล้อกำลัง เป็นสีแดงและสีอ่อนเป็นสีฟ้าอ่อน นอกจากนี้ยังไม่มีเอกสารเกี่ยวกับการประท้วงหลังพิจารณาไม่ชัดเจน[ต้องการอ้างอิง] และว่ากันว่ายังคงอยู่จนถึงปี พ.ศ. 2503[ต้องการอ้างอิง]
เนื่องจากรถจักรไอน้ำโมกุล C56 ทุกคันถูกตัดเศษเหล็กที่โรงรถจักรทั่วประเทศ สำหรับประเทศไทยได้ปลดประจำการปี พ.ศ. 2520 และประเทศญี่ปุ่นได้ปลดประจำการปี พ.ศ. 2517 แต่ในส่วนของประเทศไทย บางคันได้ตั้งเป็นอนุสรณ์ที่สถานีรถไฟทั่วประเทศ และบางคันได้กลับสู่ประเทศญี่ปุ่นตามลำดับดังนี้
ปัจจุบันรถจักรไอน้ำโมกุล C56 จากประเทศญี่ปุ่นที่ผ่านการใช้งานในประเทศไทยคงเหลืออยู่ 11 คัน และในประเทศพม่าคงเหลืออยู่ 1 คัน รวมทั้งหมด 12 คัน จอดเป็นอนุสรณ์ตามสถานที่ต่างๆทั้งหมด 9 คัน และยังสามารถใช้การได้ทั้งหมด 3 คัน แบ่งได้ดังนี้
รถจักรไอน้ำโมกุล C56 ที่ยังคงเก็บรักษาไว้ในประเทศญี่ปุ่นมีจำนวน 20 คัน[1] ซึ่งจอดเป็นอนุสรณ์อยู่ตามที่ต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่น และบางคันยังคงอยู่ในสภาพใช้การได้ ได้แก่
หมายเลขรถจักร | ป้ายหน้ารถ, ข้างรถ และ หลังรถ | ผู้ผลิต | ปีที่เข้าประจำการ | หมายเลขที่ผลิต | ขนาดความกว้างของรางรถไฟ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|
C56 1 | C561 | Hitachi | พ.ศ. 2478 | 622 | 1.067 เมตร (Cape gauge) | |
C56 2 | C562 | 623 | ||||
C56 3 | C563 | Mitsubishi | 155 | |||
C56 4 | C564 | 156 | ปัจจุบันจอดอยู่ที่ป้ายหยุดรถไฟน้ำตกไทรโยคน้อย, อำเภอไทรโยค, จังหวัดกาญจนบุรี | |||
C56 5 | C565 | 157 | ||||
C56 6 | C566 | Kawasaki | 1551 | |||
C56 7 | C567 | 1552 | ||||
C56 8 | C568 | 1553 | ||||
C56 9 | C569 | 1554 | ||||
C56 10 | C5610 | 1555 | ||||
C56 11 | C5611 | 1556 | ||||
C56 12 | C5612 | Kisha Seizo | 1299 | |||
C56 13 | C5613 | 1300 | ||||
C56 14 | C5614 | 1301 | ||||
C56 15 | C5615 | Hitachi | 628 | ปัจจุบันใช้เป็นระบบลมอัดในการทำขบวนรถ โดยทีมช่าง ณ โรงรถจักรธนบุรี; ใช้ขอพ่วงอัตโนมัติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2478 และ พ.ศ. 2530 | ||
C56 16 | C5616 | 629 | ปัจจุบันจอดอยู่ที่อยู่ที่ด้านหลังอนุสรณ์ปฐมฤกษ์รถไฟหลวงบริเวณสถานีกรุงเทพ, เขตปทุมวัน, กรุงเทพมหานคร | |||
C56 17 | C5617 | Nippon Sharyo | 373 | ปัจจุบันใช้เป็นระบบลมอัดในการทำขบวนรถ โดยทีมช่าง ณ โรงรถจักรธนบุรี; ใช้ขอพ่วงอัตโนมัติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2478 และ พ.ศ. 2530 | ||
C56 18 | C5618 | 374 | ||||
C56 19 | C5619 | 375 | ||||
C56 20 | C5620 | Mitsubishi | 166 | |||
C56 21 | C5621 | 167 | ||||
C56 22 | C5622 | 168 | ||||
C56 23 | C5623 | Kisha Seizo | 1352 | ปัจจุบันจอดอยู่ที่สะพานข้ามแม่น้ำแคว, อำเภอเมืองกาญจนบุรี, จังหวัดกาญจนบุรี | ||
C56 24 | C5624 | 1353 | ||||
C56 25 | C5625 | พ.ศ. 2479 | 1354 | |||
C56 26 | C5626 | 1355 | ||||
C56 27 | C5627 | Nippon Sharyo | 405 | |||
C56 28 | C5628 | 406 | ||||
C56 29 | C5629 | 407 | ||||
C56 30 | C5630 | 408 | ||||
C56 31 | C5631 | 409 | ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่ พิพิธภัณฑ์ยูชูคาน ในส่วนของศาลเจ้ายาซูกูนิ ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น | |||
C56 32 | C5632 | 410 | ||||
C56 33 | C5633 | 411 | ||||
C56 34 | C5634 | 412 | ||||
C56 35 | C5635 | 413 | ||||
C56 36 | C5636 | 414 | ปัจจุบันจอดอยู่ที่สถานีรถไฟนครลำปาง, อำเภอเมืองลำปาง, จังหวัดลำปาง | |||
C56 37 | C5637 | 415 | ||||
C56 38 | C5638 | Mitsubishi | 173 | |||
C56 39 | C5639 | 174 | ||||
C56 40 | C5640 | 175 | ||||
C56 41 | C5641 | 176 | ปัจจุบันอยู่ในโรงงานมักกะสัน ในเขตราชเทวี, กรุงเทพมหานคร | |||
C56 42 | C5642 | 177 | ||||
C56 43 | C5643 | 178 | ||||
C56 44 | C5644 | 179 | ปัจจุบันยังใช้การอยู่ที่โออิกาวาเรลเวย์ ในเมืองโออิกาวา | |||
C56 45 | C5645 | 180 | ||||
C56 46 | C5646 | 181 | ||||
C56 47 | C5647 | 182 | ปัจจุบันจอดอยู่ที่หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน), อำเภอพุทธมณฑล, จังหวัดนครปฐม | |||
C56 48 | C5648 | 183 | ||||
C56 49 | C5649 | Kawasaki | 1699 | |||
C56 50 | C5650 | 1700 | ||||
C56 51 | C5651 | 1701 | ||||
C56 52 | C5652 | 1702 | ||||
C56 53 | C5653 | 1703 | ปัจจุบันจอดอยู่ที่ด้านหน้าของบ้านสวนรถไฟรีสอร์ท บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1269, อำเภอหางดง, จังหวัดเชียงใหม่ | |||
C56 54 | C5654 | 1704 | ||||
C56 55 | C5655 | 1705 | ||||
C56 56 | C5656 | 1706 | ปัจจุบันจอดที่พิพิธภัณฑ์ทางรถไฟสายมรณะ, เมืองตานพยูซะยะ ในประเทศพม่า | |||
C56 57 | C5657 | 1707 | ||||
C56 58 | C5658 | 1708 | ||||
C56 59 | C5659 | Kisha Seizo | 1395 | |||
C56 60 | C5660 | 1396 | ||||
C56 61 | C5661 | 1397 | ||||
C56 62 | C5662 | 1398 | ||||
C56 63 | C5663 | 1399 | ||||
C56 64 | C5664 | 1418 | ||||
C56 65 | C5665 | 1419 | ||||
C56 66 | C5666 | 1420 | ||||
C56 67 | C5667 | 1421 | ||||
C56 68 | C5668 | Hitachi | 737 | |||
C56 69 | C5669 | 738 | ||||
C56 70 | C5670 | 739 | ||||
C56 71 | C5671 | 740 | ||||
C56 72 | C5672 | 741 | ||||
C56 73 | C5673 | 742 | ||||
C56 74 | C5674 | Nippon Sharyo | 416 | |||
C56 75 | C5675 | 417 | ||||
C56 76 | C5676 | 418 | ||||
C56 77 | C5677 | 419 | ||||
C56 78 | C5678 | 420 | ||||
C56 79 | C5679 | Mitsubishi | 189 | |||
C56 80 | C5680 | 190 | ||||
C56 81 | C5681 | 191 | ||||
C56 82 | C5682 | 192 | ||||
C56 83 | C5683 | 193 | ||||
C56 84 | C5684 | 194 | ||||
C56 85 | C5685 | 195 | ||||
C56 86 | C5686 | 196 | ||||
C56 87 | C5687 | 197 | ||||
C56 88 | C5688 | พ.ศ. 2480 | 198 | |||
C56 89 | C5689 | Kawasaki | 1777 | |||
C56 90 | C5690 | 1778 | ||||
C56 91 | C5691 | Hitachi | 825 | |||
C56 92 | C5692 | 826 | ปัจจุบันจอดอยู่ที่ด้านหน้าสถานีรถไฟอิซูมิในจังหวัดคาโงชิมะ | |||
C56 93 | C5693 | 827 | ||||
C56 94 | C5694 | 828 | ปัจจุบันจอดอยู่ที่สวนสาธารณะนิชิในเมืองโอมาจิ จังหวัดนางาโนะ | |||
C56 95 | C5695 | 829 | ||||
C56 96 | C5696 | Nippon Sharyo | 477 | ปัจจุบันจอดอยู่ที่หมู่บ้านมินามิมากิ ในจังหวัดนางาโนะ | ||
C56 97 | C5697 | 478 | ||||
C56 98 | C5698 | 479 | ปัจจุบันจอดอยู่ที่ห้องโถงศตวรรษที่ 19 บริเวณสถานีรถไฟโทรกโกะซางะ ในนครเกียวโต | |||
C56 99 | C5699 | Mitsubishi | 203 | ปัจจับันจอดอยู่ที่ Dacho Dream Eco Land ในเมืองซัตสึมะเซ็นได, จังหวัดคาโงชิมะ | ||
C56 100 | C56100 | 204 | ||||
C56 101 | C56101 | 205 | ปัจจุบันจอดอยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองซากุ, จังหวัดนางาโนะ | |||
C56 102 | C56102 | Hitachi | 863 | |||
C56 103 | C56103 | 864 | ||||
C56 104 | C56104 | 865 | ||||
C56 105 | C56105 | 866 | ||||
C56 106 | C56106 | 867 | ปัจจุบันจอดอยู่ที่สวนสาธารณะ ในเมืองฟูจู, จังหวัดฮิโรชิมะ | |||
C56 107 | C56107 | Mitsubishi | 207 | |||
C56 108 | C56108 | 208 | ปัจจุบันจอดอยู่ที่เมืองอุนนัง, จังหวัดชิมาเนะ | |||
C56 109 | C56109 | 209 | ||||
C56 110 | C56110 | 210 | ปัจจุบันจอดอยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองโซกะ, จังหวัดไซตามะ | |||
C56 111 | C56111 | 211 | ปัจจุบันจอดอยู่ที่โรงเรียนประถมศึกษาในเมืองทาการาซูกะ, จังหวัดเฮียวโงะ | |||
C56 112 | C56112 | Kisha Seizo | 1518 | |||
C56 113 | C56113 | 1519 | ||||
C56 114 | C56114 | 1520 | ||||
C56 115 | C56115 | 1521 | ||||
C56 116 | C56116 | 1522 | ||||
C56 117 | C56117 | 1523 | ||||
C56 118 | C56118 | 1524 | ||||
C56 119 | C56119 | 1525 | ||||
C56 120 | C56120 | Nippon Sharyo | 558 | |||
C56 121 | C56121 | 559 | ||||
C56 122 | C56122 | พ.ศ. 2481 | 560 | |||
C56 123 | C56123 | Mitsubishi | 221 | |||
C56 124 | C56124 | 222 | ปัจจุบันจอดอยู่ที่ศูนย์การประชุมในเมืองอาซูมิโนะ, จังหวัดนางาโนะ | |||
C56 125 | C56125 | 223 | ||||
C56 126 | C56126 | 225 | ปัจจุบันจอดอยู่ที่โรงเรียนประถมโคบูจิซาวะในเมืองโฮกูโตะ, จังหวัดยามานาชิ | |||
C56 127 | C56127 | Hitachi | 970 | |||
C56 128 | C56128 | 971 | ||||
C56 129 | C56129 | 972 | ปัจจุบันจอดอยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองอียามะ, จังหวัดนางาโนะ | |||
C56 130 | C56130 | 973 | ||||
C56 131 | C56131 | 974 | ปัจจุบันจอดอยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองมัตสึเอะ, จังหวัดชิมาเนะ | |||
C56 132 | C56132 | 975 | ||||
C56 133 | C56133 | 976 | ||||
C56 134 | C56134 | 977 | ||||
C56 135 | C56135 | 978 | ปัจจุบันจอดอยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองคาโต, จังหวัดเฮียวโงะ | |||
C56 136 | C56136 | 979 | ||||
C56 137 | C56137 | 980 | ||||
C56 138 | C56138 | 981 | ||||
C56 139 | C56139 | 982 | ปัจจุบันใช้ทำการแสดงในส่วนของทางรถไฟสายคานางาวะริงไกในนครโยโกฮามะ, จังหวัดคานางาวะ | |||
C56 140 | C56140 | 983 | ||||
C56 141 | C56141 | 984 | ||||
C56 142 | C56142 | 985 | ||||
C56 143 | C56143 | 986 | ||||
C56 144 | C56144 | 987 | ปัจจุบันจอดอยู่ที่ปราสาทโคโมโระ เมืองโคโมโระ, จังหวัดนางาโนะ | |||
C56 145 | C56145 | 988 | ||||
C56 146 | C56146 | 989 | ||||
C56 147 | C56147 | Mitsubishi | 229 | |||
C56 148 | C56148 | 230 | ||||
C56 149 | C56149 | 231 | ปัจจุบันอยู่ที่ด้านหน้าสถานีรถไฟคิโยซาโตะ ในเมืองโฮกูโตะ, จังหวัดยามานาชิ | |||
C56 150 | C56150 | 232 | ปัจจุบันจอดอยู่ที่อยู่ที่หมู่บ้านฮากูบะ, จังหวัดนางาโนะ | |||
C56 151 | C56151 | 233 | ||||
C56 152 | C56152 | 234 | ||||
C56 153 | C56153 | 235 | ||||
C56 154 | C56154 | 236 | ||||
C56 155 | C56155 | Kawasaki | พ.ศ. 2482 | 2094 | ||
C56 156 | C56156 | 2095 | ||||
C56 157 | C56157 | 2096 | ||||
C56 158 | C56158 | 2097 | ||||
C56 159 | C56159 | 2098 | ||||
C56 160 | C56160 | 2099 | ปัจจุบันยังใช้การอยู่ที่พิพิธภัณฑ์รถไฟเกียวโต โดยเจอาร์-เวสต์ |
หมายเลข รฟท. | หมายเลข JNR | ป้ายหน้ารถ, ข้างรถ และ หลังรถ | ผู้ผลิต | ปีที่เข้าประจำการ | หมายเลขที่ผลิต | ขนาดความกว้างรางรถไฟ | เชื้อเพลิง | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
701 | C56 3 | C563 | Mitsubishi | พ.ศ. 2488 | 155 | 1.000 เมตร (Metre gauge) | ฟืน | |
702 | C56 4 | C564 | 156 | ปัจจุบันจอดอยู่ที่ป้ายหยุดรถไฟน้ำตกไทรโยคน้อย, อำเภอไทรโยค, จังหวัดกาญจนบุรี | ||||
703 | C56 5 | C565 | 157 | |||||
704 | C56 6 | C566 | Kawasaki | 1551 | ||||
705 | C56 7 | C567 | 1552 | |||||
706 | C56 8 | C568 | 1553 | |||||
707 | C56 9 | C569 | 1554 | |||||
708 | C56 10 | C5610 | 1555 | |||||
709 | C56 11 | C5611 | 1556 | |||||
710 | C56 12 | C5612 | Kisha Seizo | 1299 | ||||
711 | C56 13 | C5613 | 1300 | |||||
712 | C56 14 | C5614 | 1301 | |||||
713 | C56 15 | C5615 | Hitachi | 628 | ปัจจุบันใช้เป็นระบบลมอัดในการทำขบวนรถ โดยทีมช่าง ณ โรงรถจักรธนบุรี; ใช้ขอพ่วงอัตโนมัติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 | |||
714 | C56 16 | C5616 | 629 | ปัจจุบันจอดอยู่ที่อยู่ที่ด้านหลังอนุสรณ์ปฐมฤกษ์รถไฟหลวงบริเวณสถานีกรุงเทพ, เขตปทุมวัน, กรุงเทพมหานคร | ||||
715 | C56 17 | C5617 | Nippon Sharyo | 373 | ปัจจุบันใช้เป็นระบบลมอัดในการทำขบวนรถ โดยทีมช่าง ณ โรงรถจักรธนบุรี; ใช้ขอพ่วงอัตโนมัติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 | |||
716 | C56 18 | C5618 | 374 | |||||
717 | C56 20 | C5620 | Mitsubishi | 166 | ||||
718 | C56 21 | C5621 | 167 | |||||
719 | C56 23 | C5623 | Kisha Seizo | 1352 | ปัจจุบันจอดอยู่ที่สะพานข้ามแม่น้ำแคว, อำเภอเมืองกาญจนบุรี, จังหวัดกาญจนบุรี | |||
720 | C56 24 | C5624 | 1353 | |||||
721 | C56 25 | C5625 | พ.ศ. 2489 | 1354 | ||||
722 | C56 26 | C5626 | 1355 | |||||
723 | C56 28 | C5628 | Nippon Sharyo | 406 | ||||
724 | C56 30 | C5630 | 409 | |||||
725 | C56 31 | C5631 | 410 | ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่ พิพิธภัณฑ์ยูชูคาน ในส่วนของศาลเจ้ายาซูกูนิ ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น | ||||
726 | C56 32 | C5632 | 411 | |||||
727 | C56 34 | C5634 | 413 | |||||
728 | C56 36 | C5636 | 414 | ปัจจุบันจอดอยู่ที่สถานีรถไฟนครลำปาง, อำเภอเมืองลำปาง, จังหวัดลำปาง | ||||
729 | C56 37 | C5637 | 415 | |||||
730 | C56 38 | C5638 | Mitsubishi | 173 | ||||
731 | C56 39 | C5639 | 174 | |||||
732 | C56 40 | C5640 | 175 | |||||
733 | C56 41 | C5641 | 176 | ปัจจุบันอยู่ในโรงงานมักกะสัน ในเขตราชเทวี, กรุงเทพมหานคร | ||||
734 | C56 43 | C5643 | 178 | |||||
735 | C56 44 | C5644 | 179 | 1.000 เมตร (Metre gauge) (อดีต); 1.067 เมตร (Cape gauge) (ปัจจุบัน) | ฟืน (อดีต); ถ่านหิน (ปัจจุบัน) | ปัจจุบันยังใช้การอยู่ที่โอกินาวะเรลเวย์ ในโอกินาวะ | ||
736 | C56 45 | C5645 | 180 | 1.000 เมตร (Metre gauge) | ฟืน | |||
737 | C56 46 | C5646 | 181 | |||||
738 | C56 47 | C5647 | 182 | ปัจจุบันจอดอยู่ที่หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน), อำเภอพุทธมณฑล, จังหวัดนครปฐม | ||||
739 | C56 48 | C5648 | 183 | |||||
740 | C56 49 | C5649 | Kawasaki | 1699 | ||||
741 | C56 50 | C5650 | 1700 | |||||
742 | C56 51 | C5651 | 1701 | |||||
743 | C56 52 | C5652 | 1702 | |||||
744 | C56 53 | C5653 | 1703 | ปัจจุบันจอดอยู่ที่ด้านหน้าของบ้านสวนรถไฟรีสอร์ท บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1269, อำเภอหางดง, จังหวัดเชียงใหม่ | ||||
745 | C56 54 | C5654 | 1704 | |||||
746 | C56 55 | C5655 | 1705 |
หมายเลขรถไฟคาระฟูโตะโชะ | หมายเลข JNR | ป้ายหน้ารถ, ข้างรถ และ หลังรถของคาระฟูโตะโชะ | ป้ายหน้ารถ, ข้างรถ และ หลังรถของ JNR | ผู้ผลิต | ปีที่เข้าประจำการ | หมายเลขที่ผลิต | ขนาดความกว้างรางรถไฟ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
C52 1 | C56 161 | C521 | C56161 | Nippon Sharyo | พ.ศ. 2482 | 961 | 1.067 เมตร (Cape gauge) | |
C52 2 | C56 162 | C522 | C56162 | 962 | ||||
C52 3 | C56 163 | C523 | C56163 | 963 | ||||
C52 4 | C56 164 | C524 | C56164 | 964 |
รถจักรไอน้ำโมกุล C56 หมายเลข 735 เดิมนั้น กองทัพญี่ปุ่นได้ตั้งชื่อรหัสรถจักร คือ C56 44 ใช้ในทางรถไฟสายมรณะ หลังสงครามครั้งที่ 2 ยุติลง รถจักรไอน้ำคันนี้ ได้ประจำการที่แขวงชุมพร จังหวัดชุมพร หลังการรถไฟแห่งประเทศไทยได้เลิกใช้รถจักรไอน้ำทั้งหมดที่ลากจูงรถโดยสารและรถสินค้าเมื่อปี พ.ศ. 2519-2520 รถจักรไอน้ำคันนั้น คือ รถจักร C56 44 หรือ หมายเลข 735 ตามหมายเลขที่เคยใช้ในการรถไฟแห่งประเทศไทย สังกัดสุดท้ายที่รถจักรคันนี้เคยอยู่ก่อนถูกนำกลับประเทศญี่ปุ่น คือ แขวงชุมพร โดยหลังจากที่การรถไฟได้เลิกการใช้งานรถจักรไอน้ำทุกชนิดในการลากจูงขบวนรถสินค้า,โดยสาร เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2518 - 2525 รถจักรไอน้ำหลายต่อหลายคันก็ได้ถูกจอดทิ้งเอาไว้ตามแขวงต่างๆ บางคันก็ถูกขายเป็นเศษเหล็ก บางคันโชคดีหน่อยทีทางการได้นำไปตั้งแสดงตามสถานี หรือ สถานที่ต่างๆ รวมทั้งบางส่วนที่มีผู้ติดต่อขอซื้อเอาไว้ หนึ่งในนั้นคือ รถจักรไอน้ำ C56 หมายเลข 735 (ไทย) ซึ่งได้ถูกบริษัท Oigawa Railway หรือ Daitetsu ของประเทศญี่ปุ่นซื้อไป จนสุดท้ายรถจักรคันนี้ได้ถูกนำกลับบ้านเกิดในปีพ.ศ. 2522 และเคลื่อนย้ายมาอยู่ที่ Oigawa Railway แห่งนี้และถูกทำสีกลับเป็นแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นโดยใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในการใช้งาน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2550 รถจักรไอน้ำคันนี้ถูกทำสีกลับเป็นแบบสมัยใช้การในประเทศไทย โดยมีอักษร ร.ฟ.ท. อยู่บริเวณรถลำเลียงและหมายเลข 735 อยู่ด้านข้างห้องขับและด้านหน้าของตัวรถเพื่อทำขบวนรถพิเศษฉลองความสัมพันธ์ทางการทูต 120 ปี ไทย - ญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2550 และทำขบวนรถท่องเที่ยวในสีนี้จนถึงปี พ.ศ. 2553 ต่อมาถูกทำสีกลับเป็นแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นอีกครั้ง จนกระทั่งปี พ.ศ. 2558 ถูกทำเป็นสีแดงและตกแต่งภายนอกทุกอย่างให้เหมือนตัวละครรถจักรไอน้ำชื่อ James the Red Engine ในการ์ตูนเรื่อง Thomas & friends และล่าสุดปี พ.ศ. 2559 รถจักรไอน้ำคันนี้ถูกทำสีกลับเป็นแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นและยังคงใช้การจนถึงทุกวันนี้
บริษัทรถไฟโออิกาวาได้ซื้อรถจักรคันนี้กลับไปในปี พ.ศ. 2522 และได้นำมาบูรณะจนสามารถวิ่งใช้การได้อีกครั้ง ต่อมาเกิดปัญหาหม้อน้ำทะลุทำให้ต้องหยุดวิ่งไปชั่วคราว (เคยมีความคิดจะปลดระวางรถคันนี้หลังจากเกิดความเสียหายนี้ด้วย) ภายหลังได้มีการนำเอาหม้อน้ำของรถจักรไอน้ำ C12 ที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว มาใส่ทดแทนของเดิมที่ชำรุด ดังนั้นรถจักรไอน้ำ C56 44 คันนี้จึงมีหม้อน้ำที่ได้รับการเปลี่ยนใหม่จากรถจักรตระกูลเดียวกัน บรรดาอุปกรณ์บางส่วนที่เคยใช้งานในสมัยที่ประจำการอยู่ในประเทศไทย ได้ถูกถอดออกแล้วนำมาแสดงไว้ที่สถานีเซนซุ อยู่ใกล้กับรถจักรไอน้ำ 49616 ที่ได้อธิบายไปก่อนหน้านี้ เป็นในลักษณะกึ่งพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งให้ผู้คนได้ทราบความเป็นมาของรถจักรคันนี้
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.