Loading AI tools
อดีตบริษัทผลิตสื่อบันเทิงไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จีเอ็มเอ็ม ไท ฮับ หรือที่นิยมเรียกตามชื่อย่อว่า จีทีเอช เป็นอดีตบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายภาพยนตร์ไทย ในเครือของ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
ตราสัญลักษณ์สุดท้ายที่ใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2555 ก่อนเลิกกิจการในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 | |
ประเภท | บริษัทจำกัด |
---|---|
อุตสาหกรรม | ภาพยนตร์ โทรทัศน์ |
ก่อนหน้า | จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์ ไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ฮับ โห้ หิ้น ฟิล์ม |
ก่อตั้ง | 29 เมษายน พ.ศ. 2547 |
เลิกกิจการ | 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (11 ปี 246 วัน) |
ถัดไป | จีดีเอช ห้าห้าเก้า ที โมเมนต์ |
สำนักงานใหญ่ | 92/11 ซอยทวีสุข ถนนสุขุมวิท 31 (สวัสดี) แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กทม. |
บุคลากรหลัก | วิสูตร พูลวรลักษณ์ จินา โอสถศิลป์ จิระ มะลิกุล |
ผลิตภัณฑ์ | สื่อภาพยนตร์ โทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ |
บริษัทแม่ | จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ |
บริษัทในเครือ | |
เว็บไซต์ | www |
จีทีเอชเกิดขึ้นหลังจากจีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์, ไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์ และหับโห้หิ้น ฟิล์ม ร่วมกันสร้างภาพยนตร์เรื่อง แฟนฉัน เมื่อปี พ.ศ. 2546 และประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง จึงรวมตัวเป็นบริษัทเดียวกัน ต่อมา ภาพยนตร์ของจีทีเอชได้รับความนิยมชมชอบและทำรายได้ดีแทบทุกเรื่อง เช่น ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ, ห้าแพร่ง, รถไฟฟ้า มาหานะเธอ, กวน มึน โฮ, ลัดดาแลนด์, ATM เออรัก เออเร่อ, พี่มากพระโขนง, คิดถึงวิทยา, ไอฟาย..แต๊งกิ้ว..เลิฟยู้ เป็นต้น
นอกจากภาพยนตร์แล้ว จีทีเอชยังผลิตละคร ซิตคอม และซีรีส์อีกด้วย อาทิ ซิทคอมตระกูลเนื้อคู่, หมวดโอภาส ยอดมือปราบคดีพิศวง, Hormones วัยว้าวุ่น, เพื่อนเฮี้ยน..โรงเรียนหลอน, น้ำตากามเทพ, มาลี เพื่อนรัก..พลังพิสดาร อีกทั้งมีผลงานคอนเสิร์ตและละครเวทีอีกด้วย เช่น Feel Good Music & Movie Concert (ฉลอง 3 ปี จีทีเอช), GTH Day: Play It Forward Concert (ฉลอง 7 ปี จีทีเอช), ละครเวที ลำซิ่งซิงเกอร์, STAR THEQUE GTH 11 ปีแสงคอนเสิร์ต[1]
จีเอ็มเอ็ม ไท หับ หรือ จีทีเอช เกิดจากการร่วมทุนของ 3 บริษัท คือ จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์ หับโห้หิ้น ฟิล์ม (ในเครือแกรมมี่) ของ จิระ มะลิกุล และไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ของ วิสูตร พูลวรลักษณ์ โดยชื่อบริษัทใหม่ มาจากชื่อต้น และอักษรย่อหน้าชื่อของบริษัทร่วมทุนทั้งสาม ด้วยทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาท ได้แก่ G (51%) T (30%) และ H (19%) [2] โดยภายหลังได้เปลี่ยนเป็น G (จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่) ถือหุ้น 51% T (คนในตระกูล พูลวรลักษณ์) ถือไว้อยู่คนละ 6.6% และ H (บริษัท หับโห้หิ้น บางกอก จำกัด และ จิระ มะลิกุล) ถือหุ้น 13.9% และ 1.3% ตามลำดับ [3]
ผลงานสร้างภาพยนตร์มีความหลากหลาย ตั้งแต่ ภาพยนตร์รัก ภาพยนตร์ผี ภาพยนตร์ตลก ได้รับความนิยมชมชอบและทำรายได้ดีแทบทุกเรื่อง อาทิ เพื่อนสนิท รายได้ 80 ล้านบาท สี่แพร่ง รายได้ 85 ล้านบาท ห้าแพร่ง รายได้ 114 ล้านบาท รถไฟฟ้า มาหานะเธอ รายได้ 147 ล้านบาท กวน มึน โฮ รายได้ 125 ล้านบาท ลัดดาแลนด์ รายได้ 117 ล้านบาท ATM เออรัก เออเร่อ รายได้ 152.5 ล้านบาท พี่มาก..พระโขนง รายได้ 598.96 ล้านบาท (รายได้รวม 1,000 ล้านบาทจากทั่วประเทศ) คิดถึงวิทยา รายได้ 101 ล้านบาท ไอฟาย..แต๊งกิ้ว..เลิฟยู้ รายได้ 335 ล้านบาท ฟรีแลนซ์..ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอ รายได้ 86.7 ล้านบาท เมย์ไหน..ไฟแรงเฟร่อ รายได้ 74.12 ล้านบาท ฯลฯ
ทางด้านการส่งเสริมการตลาด ทางบริษัท ได้นำสินค้าเข้าไปโฆษณาแฝงในภาพยนตร์และละครอย่างเช่น ผู้สนับสนุนการสร้างคือ บริษัท เอพีฮอนด้า เจ้าของผลิตภัณฑ์รถจักรยานยนต์ฮอนด้า ในภาพยนตร์เรื่อง รถไฟฟ้า มาหานะเธอ ให้เหมยลี่มีกิจการที่บ้านเป็นผู้แทนจำหน่ายฮอนด้า [4] ก่อนหน้านี้บริษัทเคยให้การสนับสนุนในทำนองนี้กับภาพยนตร์และซิตคอมหลายเรื่อง เช่น สายล่อฟ้า [5] ปิดเทอมใหญ่ หัวใจว้าวุ่น[6] และเป็นต่อ[7][8]
จีทีเอชยังเคยให้บริการบัตรเดบิตกับธนาคารกสิกรไทย ในชื่อว่า GTH is me [9] (ปัจจุบัน ยกเลิกการให้บริการแล้ว) และมีช่องโทรทัศน์เป็นของตัวเอง ในชื่อว่า "จีทีเอชออนแอร์"
จีทีเอชยังเคยร่วมมือกับเซนโตซา สปู๊คแทคคูล่าห์ ซึ่งเป็นเทศกาลฮาโลวีนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเอเชีย ได้นำธีมของภาพยนตร์สยองขวัญของค่ายไปทำเป็นบ้านผีสิงเป็นธีมภาพยนตร์และเป็นธีมหลักของเทศกาล
หลังจากมีข่าวลือเรื่องความขัดแย้งและแนวทางในการบริหาร ในที่สุดในช่วงบ่ายของวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ได้มีการแถลงยุติการดำเนินงานของบริษัท เหตุผลเนื่องมาจากกลุ่มผู้ก่อตั้งมีเป้าหมายและความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันในการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งการยุติของบริษัทจะเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จะเป็นผู้ดูแลสิทธิ์ในส่วนของผลงานที่ผลิตในนาม จีเอ็มเอ็ม ไท หับ ในส่วนของนักแสดงและพนักงานให้เป็นไปตามความสมัครใจของแต่ละบุคคล[10][11] โดยทางจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และหับ โห้ หิ้น ได้แยกกันมาเปิดบริษัทใหม่ภายใต้ชื่อ จีดีเอช ห้าห้าเก้า ซึ่งได้เปิดตัวชื่อเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม ปีเดียวกัน ในขณะที่ทางไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ได้หันไปประกาศความร่วมมือกับกลุ่มโมโน และเปิดบริษัทใหม่คือ ที โมเมนต์ เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559 หลังจีดีเอชดำเนินงานได้ 22 วัน
ประธานกรรมการ | |
---|---|
จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ | ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม |
บมจ.จีเอ็มเอ็ม มีเดีย | สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา |
จีเอ็มเอ็ม ไท หับ | วิสูตร พูลวรลักษณ์ |
กรรมการ จีเอ็มเอ็ม ไท หับ | |
จินา โอสถศิลป์ |
|
|
|
|
ปี พ.ศ. | เรื่อง | วันเข้าฉาย | ผู้กำกับ | นักแสดง | ร่วมทุนสร้างระหว่าง | รายได้สูงสุด |
---|---|---|---|---|---|---|
2543 | สตรีเหล็ก | 3 มีนาคม | ยงยุทธ ทองกองทุน | เจษฎาภรณ์ ผลดี สิริธนา หงส์โสภณ สหภาพ วีระฆามินทร์ ชัยชาญ นิ่มพูลสวัสดิ์ โจโจ้ ไมอ๊อกชิ | ไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์ หับโห้หิ้น ฟิล์ม |
98.70 ล้านบาท |
2545 | 15 ค่ำ เดือน 11 | 11 ตุลาคม | จิระ มะลิกุล | อนุชิต สพันธุ์พงษ์ นพดล ดวงพร | จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์ หับโห้หิ้น ฟิล์ม |
55 ล้านบาท |
2546 | สตรีเหล็ก 2 | 7 มีนาคม | ยงยุทธ ทองกองทุน | เจษฎาภรณ์ ผลดี สิริธนา หงส์โสภณ สหภาพ วีระฆามินทร์ ชัยชาญ นิ่มพูลสวัสดิ์ โจโจ้ ไมอ๊อกชิ | ไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์ หับโห้หิ้น ฟิล์ม |
71.1 ล้านบาท |
แฟนฉัน | 3 ตุลาคม | คมกฤษ ตรีวิมล ทรงยศ สุขมากอนันต์ วิทยา ทองอยู่ยง นิธิวัฒน์ ธราธร อดิสรณ์ ตรีสิริเกษม วิชชา โกจิ๋ว |
ชาลี ไตรรัตน์ โฟกัส จีระกุล เฉลิมพล ทิฆัมพรธีรวงศ์ | จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์ ไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์ หับโห้หิ้น ฟิล์ม 365 ฟิล์ม |
137.30 ล้านบาท 300 ล้านบาท (ทั่วประเทศ) | |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.