Remove ads
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เพื่อนสนิท เป็นภาพยนตร์ไทย กำกับโดย คมกฤษ ตรีวิมล โดยได้รับแรงบันดาลใจจากบทประพันธ์เรื่อง กล่องไปรษณีย์สีแดง เนื้อเรื่องกล่าวถึง เรื่องราวของเพื่อนสนิท สอง นักศึกษา คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ไข่ย้อย และ ดากานดา ที่ตกหลุมรักเพื่อนสนิทโดยไม่รู้ตัว จนกระทั่งวันหนึ่งที่มีคนอื่นได้เข้ามาจีบเพื่อนของตัวเอง จึงได้รู้ตัวว่าได้หลงรักเพื่อนตัวเองเข้าแล้ว เรื่องราวของเพื่อนสนิทดำเนินไป สองช่วงเวลาสลับกัน ระหว่างเนื้อเรื่องของหมู (ไข่ย้อย) เดินทางไปเกาะพะงัน ภายหลังจบการศึกษา ซึ่งได้รับบาดเจ็บ และรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลเกาะพะงัน ที่ซึ่งเจอ นุ้ย นางพยาบาลสาวสวย และขณะเดียวกัน ก็เป็นเรื่องราวที่หมู นึกถึงเรื่องราวในช่วงที่เรียนอยู่ ซึ่งเป็น เรื่องราวของ ไข่ย้อย และ ดากานดา ภาพยนตร์เรื่องนี้ กำกับโดย คมกฤษ ตรีวิมล และเข้าฉาย เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2548
เพื่อนสนิท | |
---|---|
ภาพใบปิดภาพยนตร์ | |
กำกับ | คมกฤษ ตรีวิมล |
เขียนบท | เค้าโครงบทประพันธ์ กล่องไปรษณีย์สีแดง ของ อภิชาติ เพชรลีลา |
บทภาพยนตร์ | นิธิศ ณพิชญสุทิน |
อำนวยการสร้าง | ประเสริฐ วิวัฒนานนท์พงษ์ จิระ มะลิกุล ยงยุทธ ทองกองทุน เช่นชนนี สุนทรศารทูล |
นักแสดงนำ | |
กำกับภาพ | ปราเมศร์ ชาญกระแส |
ตัดต่อ | วิชชา โกจิ๋ว |
ดนตรีประกอบ | หัวลำโพง ริดดิม |
บริษัทผู้สร้าง | |
ผู้จัดจำหน่าย | จีทีเอช |
วันฉาย | 6 ตุลาคม พ.ศ. 2548 |
ความยาว | 127.0 นาที |
ภาษา | ไทย |
ทำเงิน | 80 ล้านบาท |
ข้อมูลจาก IMDb | |
ข้อมูลจากฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย | |
ข้อมูลจากสยามโซน |
ภาพยนตร์เรื่องนี้ ไม่ได้รับอนุญาตให้ถ่ายทำในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยเนื้อหาที่กล่าวถึงมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ส่วนใหญ่ ถ่ายทำในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตภาคพายัพ
ปี | รายการ | รางวัล/สาขา | ผู้ได้รับการเสนอชื่อ | ผล |
---|---|---|---|---|
พ.ศ. 2549 | รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 15 | ผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม | ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์ | เสนอชื่อเข้าชิง |
ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม | ศิรพันธ์ วัฒนจินดา | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | นิธิศ ณพิชญสุทิน | ชนะ | ||
ลำดับภาพยอดเยี่ยม | วิชชา โกจิ๋ว | ชนะ | ||
พ.ศ. 2549 | รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 14 | รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | GTH | เสนอชื่อเข้าชิง |
รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | คมกฤษ ตรีวิมล | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม | ศิรพันธ์ วัฒนจินดา | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม | มณีรัตน์ คำอ้วน | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม | ปาณสรา พิมพ์ปรุ | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | นิธิศ ณพิชญสุทิน | ชนะ | ||
กำกับภาพยอดเยี่ยม | ปราเมศร์ ชาญกระแส | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ลำดับภาพยอดเยี่ยม | วิชชา โกจิ๋ว | ชนะ | ||
ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม | หัวลำโพง ริดดิม | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม | - | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
พ.ศ. 2549 | รางวัลสตาร์เอนเตอเทนเมนท์ ครั้งที่ 4 | ผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม | ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์ | เสนอชื่อเข้าชิง |
ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม | ศิรพันธ์ วัฒนจินดา | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม | มณีรัตน์ คำอ้วน | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม | ปาณสรา พิมพ์ปรุ | ชนะ | ||
ลำดับภาพยอดเยี่ยม | วิชชา โกจิ๋ว | ชนะ | ||
เพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | ช่างไม่รู้เลย | ชนะ | ||
พ.ศ. 2549 | รางวัลเฉลิมไทย ครั้งที่ 3 | รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | GTH | ชนะ |
รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | คมกฤษ ตรีวิมล | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม | ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์ | ชนะ | ||
ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม | ศิรพันธ์ วัฒนจินดา | ชนะ | ||
ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม | ปาณสรา พิมพ์ปรุ | ชนะ | ||
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | นิธิศ ณพิชญสุทิน | ชนะ | ||
เพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | ช่างไม่รู้เลย | ชนะ | ||
พ.ศ. 2549 | รางวัลสตาร์พิคส์ ครั้งที่ 3 | รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | GTH | ชนะ |
รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | คมกฤษ ตรีวิมล | ชนะ | ||
ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม | มณีรัตน์ คำอ้วน | ชนะ | ||
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | นิธิศ ณพิชญสุทิน | ชนะ | ||
ลำดับภาพยอดเยี่ยม | วิชชา โกจิ๋ว | ชนะ | ||
พ.ศ. 2549 | รางวัลคมชัดลึก ครั้งที่ 3 | ผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม | ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์ | ชนะ |
ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม | มณีรัตน์ คำอ้วน | ชนะ | ||
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | นิธิศ ณพิชญสุทิน | ชนะ | ||
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.