Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บริษัท เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป จำกัด (อังกฤษ: Heliconia H-Group Company Limited) เป็นบริษัทผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ในประเทศไทย เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มบริษัท เอช กรุ๊ป ก่อตั้งบริษัทขึ้นเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2551 โดยมีกิติกร เพ็ญโรจน์ เป็นผู้ก่อตั้ง ผู้ถือหุ้นใหญ่สัดส่วน 100% และดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้วยตนเอง มีชื่อเสียงจากการผลิตรายการทำอาหารที่ได้รับความนิยม เช่น เชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย, มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์, ท็อปเชฟไทยแลนด์, เฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ และ Bid Coin Chef สุดยอดเชฟหักเหลี่ยมโหด เป็นต้น
ชื่อท้องถิ่น | Heliconia H-Group Company Limited |
---|---|
ชื่อเดิม | บริษัท เฮลิโคเนีย เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (8 ธ.ค. 2551 - 2 เม.ย. 2558) |
ประเภท | บริษัทจำกัด |
อุตสาหกรรม | การบันเทิง |
ก่อตั้ง | 8 ธันวาคม พ.ศ. 2551 |
ผู้ก่อตั้ง | กิติกร เพ็ญโรจน์ |
สำนักงานใหญ่ | 86/1,86/4 ซอยสุขุมวิท 39 (พร้อมพงษ์) ถนนสุขุมวิท แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา, , |
บุคลากรหลัก | กิติกร เพ็ญโรจน์ (CEO) |
ผลิตภัณฑ์ | |
เจ้าของ | กิติกร เพ็ญโรจน์ |
แผนก |
|
บริษัทในเครือ |
|
เว็บไซต์ | www |
เมื่อปี พ.ศ. 2551 กิติกร เพ็ญโรจน์ ได้ลาออกจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการของบริษัท ทรู แฟนเทเชีย จำกัด ซึ่งเป็นค่ายเพลงที่บริหารศิลปินจากทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย ในเครือทรูวิชั่นส์ และก่อตั้ง บริษัท เฮลิโคเนีย เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (อังกฤษ: Heliconia Entertainment Co., Ltd.) โดยจดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม[1] จากนั้นเฮลิโคเนียได้เข้าซื้อหุ้นของ บริษัท บีอีซี-เทโร เอ็กซ์ซิบิชั่นส์ จำกัด ซึ่งเดิมก่อตั้งโดยบริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) (ชื่อในขณะนั้น) เป็นบริษัทจัดอีเวนต์และงานแสดงสินค้า จำนวน 40% เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2552 แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท แฮฟเอกู๊ดดรีม จำกัด (อังกฤษ: Have A Good Dream Co., Ltd.)[2] และเริ่มผลิตรายการประกวดร้องเพลงออกมาในนามแฮฟเอกู๊ดดรีมจำนวน 2 รายการ[3] คือ สุภาพบุรุษบอยแบนด์ ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ซึ่งถือเป็นรายการแรกของแฮฟเอกู๊ดดรีม และ The Trainer ปั้นฝันสนั่นเวที ทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี หลังจากนั้นจึงต่อยอดการดำเนินธุรกิจออกมาสู่การบริหารจัดการศิลปินเป็นหลัก[4]
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2555 เฮลิโคเนียได้ซื้อลิขสิทธิ์รายการ ยุทธการกระทะเหล็ก จากประเทศญี่ปุ่น มาผลิตในประเทศไทย ในชื่อรายการ เชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย เป็นรายการแข่งขันทำอาหารรายการแรกของกลุ่มบริษัทฯ, รายการซื้อลิขสิทธิ์จากต่างประเทศรายการแรกของกลุ่มบริษัทฯ[5], รายการแรกที่ผลิตในนาม เฮลิโคเนีย เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ และรายการแรกที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7[6] ต่อมาเมื่อวันที่ 1 กันยายน บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ได้ขายหุ้นสามัญของบริษัท แฮฟเอกู๊ดดรีม จำกัด ที่เหลืออยู่ทั้ง 60% ให้แก่เฮลิโคเนียทั้งหมด ด้วยมูลค่าเงินลงทุน 2,000,000 บาท ส่งผลให้แฮฟเอกู๊ดดรีมพ้นจากการเป็นบริษัทในเครือบีอีซี-เทโร ไปโดยปริยาย[7] แต่ยังคงใช้ชื่อบริษัทนี้ผลิตรายการโทรทัศน์ที่ออกอากาศทางโมเดิร์นไนน์ทีวีและโมโน 29 เช่นเดิม
ต่อมาเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556[1] เฮลิโคเนียได้ก่อตั้ง บริษัท กู๊ดดรีมส์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (อังกฤษ: Good Dreams Entertainment Co., Ltd.) ขึ้นเป็นบริษัทย่อย เพื่อประกอบธุรกิจภัตตาคาร และในปีเดียวกัน เฮลิโคเนียได้รับรางวัลแรกคือรางวัลนาฏราช ครั้งที่ 4 สาขารางวัลรายการเกมโชว์ยอดเยี่ยม จากรายการเชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย[8]
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2558 เฮลิโคเนียได้ปรับโครงสร้างองค์กรและภาพลักษณ์ธุรกิจเพื่อความสะดวกในการบริหาร โดยจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อบริษัทในเครือ ด้วยการเติมชื่อ "เอช กรุ๊ป" (H-Group) ต่อท้ายในชื่อบริษัทในเครือทั้งหมด 3 บริษัท ดังนี้
ในปีเดียวกัน เฮลิโคเนียโดย ไอรอนเชฟ เอช กรุ๊ป ได้เปิดภัตตาคารแห่งแรกของกลุ่มบริษัท และเป็นภัตตาคารในเครือเชฟกระทะเหล็ก (Iron Chef Restaurant) แห่งแรกของโลก ในชื่อ "ไอรอนเชฟ เทเบิล" (Iron Chef Table) ตั้งอยู่ภายในโครงการ The Taste Thonglor บริเวณซอยทองหล่อ 11 เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2558[9] และในปีถัดมา (พ.ศ. 2559) ได้เปิดภัตตาคารอาหารเอเชียแนวผสมผสาน ในชื่อ "ไอรอนเชฟ คาเฟ่" (Iron Chef Café) ตั้งอยู่ภายในศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล อีสต์วิลล์ เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2559
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2560 เฮลิโคเนียได้ซื้อลิขสิทธิ์รายการ มาสเตอร์เชฟ จากสหราชอาณาจักร มาผลิตในประเทศไทย ในชื่อรายการ มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ โดยใช้เงินลงทุนประมาณกว่า 70,000,000 บาท[10] ซึ่งในจำนวนนี้เน้นลงทุนที่สตูดิโอเป็นหลักเป็นจำนวนประมาณ 20,000,000 ล้านบาท เพื่อให้รายการมีคุณภาพมากที่สุด[11] ส่งผลให้รายการนี้ในซีซันที่ 1 เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทการทำอาหารที่มีเรตติ้งมากที่สุดในประเทศไทย ที่ 7.5[12] โดยภายหลังได้จัดตั้งแผนกจำหน่ายสินค้าที่ระลึกจากรายการนี้ในชื่อ แฮพ เอ กู๊ด ไบท์ (Have A Good Bite)
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2561 เฮลิโคเนีย โดย ไอรอนเชฟ เอช กรุ๊ป ได้ปรับโฉมภัตตาคารไอรอนเชฟ เทเบิล ให้เป็นภัตตาคารอาหารจีนร่วมสมัย ในชื่อ "ไอรอนเชฟ ดรากอน" (Iron Chef Dragon) เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 22 มีนาคม[13]
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2563 เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป ได้รับการเสนอเข้าชิงรางวัลเอมมีระดับนานาชาติ (International Emmy Awards) ครั้งที่ 48 ประเภทรายการบันเทิงไร้สคริปต์ (Non-Scripted Entertainment) จากรายการมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 3 ถือเป็นรายการที่ 5 ของประเทศไทย ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลนี้ เป็นรายการที่ 4 ของประเทศไทยที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงในประเภทนี้ และเป็นรายการโทรทัศน์ไทยรายการแรกของผู้ผลิตอื่นนอกจากเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง[14]
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2565 เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป ได้บรรลุข้อตกลงซื้อลิขสิทธิ์รายการแข่งขันทำอาหารอีก 2 รายการ มาผลิตในประเทศไทย คือ ท็อปเชฟไทยแลนด์ (ได้รับลิขสิทธิ์แทน เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์) จากเอ็นบีซียูนิเวอร์แซลของสหรัฐ[15] และ เฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ จากไอทีวีสตูดิโอส์ของสหราชอาณาจักร[16]
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2566 เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป ได้จัดเทศกาลอาหารขึ้นเป็นครั้งแรก ในชื่อ เฮลิโคเนีย ฟู้ด เฟสติวัล (Heliconia Food Festival) โดยนำเชฟจากรายการแข่งขันทำอาหารในเครือเฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป มาเปิดบูธทำอาหารให้นักท่องเที่ยวมาร่วมรับประทาน[17] ต่อมาในปลายปีเดียวกัน เฮลิโคเนียได้จัดตั้งบริษัทย่อยอีก 2 บริษัท คือ บริษัท เฮลิโคเนีย มิวสิค เอช กรุ๊ป จำกัด (อังกฤษ: Heliconia Music H-Group Co., Ltd.) ประกอบธุรกิจค่ายเพลง เฮลิโคเนีย มิวสิค (Heliconia Music) และ บริษัท ฟู้ด คอมปานี เอช กรุ๊ป จำกัด (อังกฤษ: Food Company H-Group Co., Ltd.) ประกอบธุรกิจจัดเลี้ยง นอกจากนี้ยังได้เริ่มนำรายการ Bid Coin Chef สุดยอดเชฟหักเหลี่ยมโหด ไปแสดงเป็น Showcase ในต่างประเทศ และมีหลายประเทศเตรียมเจรจาซื้อลิขสิทธิ์ไปผลิตต่อในประเทศของตน ทำให้เป็นรายการแรกของเฮลิโคเนียที่จำหน่ายลิขสิทธิ์ออกสู่ต่างประเทศ[18]
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2567 เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป ได้เปิดค่ายเพลง เฮลิโคเนีย มิวสิค อย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นการกลับมาทำค่ายเพลงอีกครั้งในรอบ 10 ปีของกิติกร ภายใต้คอนเซ็ปต์ "Base on True Story" โดยมีศิลปินคนแรก คือ ณลีนา เพ็ญโรจน์ ลูกสาวของกิติกร และมีผลงานเพลงแรกของค่ายเป็นเพลงสากลที่ณลีนาแต่งเอง ชื่อว่า "One Way Losing Game"[19] รวมถึงเปิดบริการซื้อสินค้าจากบ้านในชื่อ เฮลิโคเนีย ช็อป (Heliconia Shop) เพื่อจำหน่ายสินค้าจากรายการในเครือ โดยสินค้าที่เฮลิโคเนีย ช็อป วางจำหน่ายในปัจจุบัน คือ น้ำพริกนรก, น้ำพริกตาแดง ภายใต้ตราสินค้าเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ และ ผ้ากันเปื้อน จากรายการมาสเตอร์เชฟจูเนียร์ไทยแลนด์
กลุ่มบริษัท เอช กรุ๊ป มีบริษัททั้งหมด 5 บริษัท ดังนี้
นอกจากนี้ ยังมีแผนกจำหน่ายสินค้าอีก 2 แผนก คือ แฮพ เอ กู๊ด ไบท์ จำหน่ายสินค้าที่ระลึกจากรายการต่าง ๆ และ เฮลิโคเนีย ช็อป จำหน่ายสินค้าภายใต้แบรนด์ของรายการต่าง ๆ
เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป ผลิตรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์ วาไรตีโชว์ เรียลลิตีโชว์ ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ โดยในปัจจุบันกำลังออกอากาศอยู่ 4 รายการ รายชื่อของรายการโทรทัศน์ทั้งหมดของเฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป จะแบ่งออกเป็นรายการที่ผลิตในนามเฮลิโคเนีย และรายการที่ผลิตในนามแฮฟเอกู๊ดดรีม ทั้งนี้ รายการโทรทัศน์ที่กำลังจะออกอากาศในอนาคตเน้น "ตัวเอน" และรายการโทรทัศน์ที่กำลังออกอากาศอยู่ในปัจจุบันเน้น "ตัวหนา"
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.