Loading AI tools
รายการแข่งขันทำอาหารเพื่อค้นหาเชฟกระทะเหล็กคนใหม่ของไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศึกค้นหาเชฟกระทะเหล็ก (อังกฤษ: The Next Iron Chef Thailand) เป็นรายการเรียลลิตีโชว์แข่งขันการทำอาหารเต็มรูปแบบที่ต่อยอดความสำเร็จจากรายการเชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย (อังกฤษ: Iron Chef Thailand) โดยเชฟมืออาชีพที่เป็นผู้ชนะในแต่ละฤดูกาลจะได้ลงนามในสัญญาปฏิบัติหน้าที่เชฟกระทะเหล็กคนใหม่ในรายการเชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย ผลิตโดย บริษัท เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป จำกัด เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2562 ทางช่อง 7HD[1]
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ศึกค้นหาเชฟกระทะเหล็ก | |
---|---|
The Next Iron Chef | |
ประเภท | เรียลลิตีโชว์แข่งขันการทำอาหาร |
ผู้กำกับศิลป์ | กฤตพร แย้มสุข |
พิธีกร | นภัสกร มิตรธีรโรจน์ ไดอาน่า จงจินตนาการ |
บรรยายโดย | ณัฐพงษ์ สมรรคเสวี |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ไทย |
ภาษาต้นฉบับ | ไทย |
จำนวนฤดูกาล | 2 |
จำนวนตอน | 24 |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการผลิต | กิติกร เพ็ญโรจน์ |
ผู้อำนวยการสร้าง | นครินทร์ เศรษฐิศักดิ์โก |
สถานที่ถ่ายทำ | มงคลสตูดิโอ (ฤดูกาลที่ 1 - 2) |
ผู้ลำดับภาพ | กิติศักดิ์ ศิลปะ |
กล้อง | หลายกล้อง |
ความยาวตอน | 1 ชั่วโมง 30 นาที (ฤดูกาลที่ 1) 1 ชั่วโมง 45 นาที (ฤดูกาลที่ 2) |
บริษัทผู้ผลิต | เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | ช่อง 7HD |
ออกอากาศ | 23 มิถุนายน พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน |
การแสดงที่เกี่ยวข้อง | |
ยุทธการกระทะเหล็ก เชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย เชฟกระทะเหล็ก ศึกวันล้างตา เชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย โรงเรียนกระทะเหล็ก เชฟกระทะเด็ก เชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย สุดยอดเซเลบริตี้เชฟ เชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย |
ศึกค้นหาเชฟกระทะเหล็ก ในแต่ละตอนจะมีการแข่งขันทั้งหมด 2 โจทย์ ดังนี้
เชฟจะต้องทำอาหาร 1 จานจากวัตถุดิบปริศนาที่ทางรายการกำหนดให้ โดยก่อนเริ่มการแข่งขัน หรือระหว่างการแข่งขัน ผู้ชนะในโจทย์ความคิดสร้างสรรค์และการจัดการเวลา (Bidding Battle) ของตอนก่อนหน้า จะได้รับสิทธิพิเศษ หรือไม่ก็สามารถเลือกเชฟ 3 คน ที่จะต้องทำอาหารภายใต้กติกาพิเศษหรือใช้วัตถุดิบปริศนามาทำเพิ่ม หลังจากทำอาหารเสร็จสิ้น คณะกรรมการจะใช้เกณฑ์การตัดสินเรื่องความอร่อย ความคิดสร้างสรรค์ และการชูวัตถุดิบหลัก เพื่อคัดเลือกอาหารจำนวน 2 จานที่แย่ที่สุด ซึ่งจะต้องไปแข่งขันต่อในโจทย์ความคิดสร้างสรรค์และการจัดการเวลา (Bidding Battle) และเลือกจานที่ดีที่สุดอีก 1 จาน โดยเชฟที่เป็นผู้ชนะในรอบนี้จะได้สิทธิพิเศษในการเลือกเชฟอีก 2 คนเพื่อไปแข่งกับเชฟที่ทำอาหารได้แย่ที่สุด 2 คนดังกล่าว ในรอบความคิดสร้างสรรค์และการจัดการเวลา[2]
เชฟที่ทำอาหารในโจทย์วัตถุดิบปริศนาได้แย่ที่สุด 2 คน และเชฟอีก 2 คนที่ถูกผู้ชนะจากโจทย์วัตถุดิบปริศนาเลือกให้มาแข่งขันต่อ จะต้องประมูลสิ่งของในการทำอาหาร โดยแลกกับเวลาในการทำอาหารซึ่งมีเวลามากที่สุดที่ 75 นาที โดยจะประมูลครั้งละ 1 อย่าง เชฟที่ประมูลโดยใช้เวลาที่ต้องการใช้ทำอาหารน้อยที่สุดจะได้สิ่งของที่ประมูลได้ ส่วนเชฟที่แพ้การประมูลจะต้องทำอาหารในโจทย์กล่องสุดท้าย ตามเวลาที่ทางรายการกำหนด ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 30 นาที หลังจากเสร็จสิ้นการประมูลแล้ว เชฟทั้ง 4 คนจะต้องทำอาหารตามกติกาที่กำหนดให้ภายในเวลาที่ใช้จากการประมูลจำนวน 2 จาน เชฟที่ประมูลได้เวลาในการทำอาหารมากกว่าจะได้เริ่มทำอาหารก่อนเชฟที่ประมูลได้เวลาในการทำอาหารน้อยกว่า และเชฟที่ทำอาหารได้ดีที่สุดในรอบนี้จะเป็นผู้ชนะและได้รับสิทธิพิเศษในโจทย์วัตถุดิบปริศนาของตอนถัดไป ส่วนเชฟที่ทำอาหารผิดพลาดที่สุดจะต้องออกจากการแข่งขัน
กรรมการ | ฤดูกาลที่ | |
---|---|---|
1 | 2 | |
สมศักดิ์ รารองคำ | ✔ | |
หม่อมหลวงภาสันต์ สวัสดิวัตน์ | ✔ | |
มนตรี วิโรจน์เวชภัณฑ์ | ✔ | |
พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย | ✔ | |
ณัฐวุฒิ ธรรมพันธุ์ | ✔ |
กรรมการ | ฤดูกาลที่มา | ตอนที่มา |
---|---|---|
ลลนา พานิช | 1 | ฤดูกาลที่ 1 -> 1, 8, 9, 12 |
ธนินธร จันทรวรรณ | 1 | ฤดูกาลที่ 1 -> 1 |
หม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุล | 1 | ฤดูกาลที่ 1 -> 6 |
อนันต์โรจน์ ทังสุพานิช | 1 | ฤดูกาลที่ 1 -> 8, 12 |
เนตรอำไพ สาระโกเศศ | 1 | ฤดูกาลที่ 1 -> 8, 12 |
Martin Blunos | 1 | ฤดูกาลที่ 1 -> 8 |
เกริกพล มัสยวาณิช | 1 | ฤดูกาลที่ 1 -> 12 |
ฤดูกาล | ออกอากาศครั้งแรก | ออกอากาศรอบชิงชนะเลิศ | ผู้ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | ผู้เข้าแข่งขัน (เรียงตามลำดับคนออก) | จำนวนผู้แข่งขัน | จำนวนตอน |
---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | 23 มิถุนายน พ.ศ. 2562 | 15 กันยายน พ.ศ. 2562 | ณัฐวุฒิ ธรรมพันธุ์ | พฤกษ์ สัมพันธวรบุตร [*] | ชาโนชญ์ มาตะพาบ, ภัทรวรินทร์ ทิมกุล (ถอนตัว), ธฤต ตั้งทรงศิริศักดิ์, ภาวิตา แซ่เจ้า, บรรณ บริบูรณ์, นรี บุณยเกียรติ, สุพัตรา สารสิทธิ์, วายุภักษุ์ ม่วงจร, ณัฐพงศ์ หน่อชูเวช, สหรัฐ แตงไทย, ธนภัทร สุยาว, Anthony C.S. Bish, สราวุธ เนียรวิฑูรย์ | 15 | 12 |
2 | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2563 | 25 ตุลาคม พ.ศ. 2563 | ธีรภัทร ตียาสุนทรานนท์ | กันต์ยรัตน์ เพียรพอดีตน, ราชวัติ วิเชียรรัตน์ | สมิตา ธนะโสภณ, ขวัญชนก ศรีธาวัชร (ถอนตัว), สุทธิเกียรติ คงคติธรรม, ภูวเดช เตชจิรัฐกาล, ธีรกัญญา ตั้งสุวรรณรังษี, พงษ์ธร หินราชา, ปิยะชาติ พุทธวงษ์, โชติพัฒน์ ใหลสุวรรณ์, โมน ธีระธาดา, จารึก ศรีอรุณ, ปวีณ์นุช ยอดปรีชาวิจิตร, Teo Zheng 'Enoch' Yi |
^ ผู้ที่ไม่ใช่ผู้ชนะที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเชฟกระทะเหล็ก
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.