คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์
รายการเรียลลิตีโชว์แข่งขันทำอาหาร จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
มาสเตอร์เชฟ ประเทศไทย (อังกฤษ: MasterChef Thailand) เป็นรายการเรียลลิตีโชว์การแข่งขันทำอาหาร โดย บริษัท เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป จำกัด ซื้อลิขสิทธิ์จากกลุ่มเอนเดโมลชายน์ (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มแบนิเจย์) มาผลิตในรูปแบบของประเทศไทย ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2560 ทางช่อง 7HD โดยเปิดรับสมัครผู้เข้าแข่งขันที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จากทุกอาชีพและทุกภาคของประเทศไทยร่วมเข้าแข่งขัน[1][2] (แต่ตั้งแต่ฤดูกาลที่ 5 เป็นต้นมา ได้เพิ่มเงื่อนไขโดยกำหนดให้ผู้สมัครไม่เคยเป็นเชฟ และไม่เคยเรียนหลักสูตรการทำอาหารเกิน 3 เดือน หรือ 180 ชั่วโมง) ดำเนินรายการโดย ปิยธิดา มิตรธีรโรจน์ (คุณป๊อก) และมีกรรมการคือ หม่อมหลวงภาสันต์ สวัสดิวัตน์ (อิงค์), หม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุล (เชฟป้อม) และ พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย (เชฟเอียน)
![]() | ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
Remove ads
Remove ads
พิธีกรและกรรมการ
ฤดูกาลปกติ
มาสเตอร์เชฟจูเนียร์
มาสเตอร์เชฟเซเลบริตี้
มาสเตอร์เชฟ: เดอะ โพรเฟสชันนัลส์
Remove ads
รูปแบบรายการ
สรุป
มุมมอง
รอบคัดเลือก (Auditions)
กติกาซีซันที่ 1
ในซีซันที่ 1 รอบ 100 คนสุดท้าย ทางรายการจะให้ผู้เข้าแข่งขันเตรียมอาหารเป็นเวลา 1 ชั่วโมง หลังจากนั้น ทางรายการจะให้ผู้เข้าแข่งขันทำอาหารที่เตรียมไว้พร้อมนำเสนอต่อหน้าคณะกรรมการเป็นเวลา 5 นาที เมื่อหมดเวลาคณะกรรมการจะชิมและตัดสิน โดยใช้เสียงจากกรรมการ 2 ใน 3 เสียง หรือเอกฉันท์เป็นที่สิ้นสุด หาก 2 ใน 3 เสียงให้ไม่ผ่าน ผู้เข้าแข่งขันคนนั้นจะตกรอบทันที แต่ในทางกลับกัน หาก 2 ใน 3 เสียงให้ผ่าน ผู้เข้าแข่งขันคนนั้นจะได้รับผ้ากันเปื้อนของรายการเพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่า ผู้เข้าแข่งขันคนนั้นเข้าสู่รอบต่อไปทันที
รอบที่สอง เป็นการทดสอบทักษะพื้นฐานในการทำอาหาร โดยในซีซันที่ 1 นั้นจะเป็นการทดสอบการหั่นขิง โดยจะมีการคัดเลือกผู้เข้าแข่งขันจำนวนหนึ่งเพื่อเข้าสู่การแข่งขันในรอบต่อไป และในรอบต่อไปจะให้ผู้เข้าแข่งขันทำอาหาร 1 จาน โดยที่ทางรายการจะกำหนดวัตถุดิบหลักและระยะเวลาในการทำอาหารให้ผู้เข้าแข่งขัน และผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกวัตถุดิบอื่นเพื่อใช้ประกอบอาหารได้ภายในเวลา 3 นาที หลังจากนั้นกรรมการจะตัดสินและประกาศผู้เข้าแข่งขันที่จะได้ผ่านเข้าสู่การแข่งขันรอบต่อไปที่มาสเตอร์เชฟคิทเชน
กติกาซีซันที่ 2 และ 3
ในซีซันที่ 2 ผู้เข้าแข่งขันที่เข้ามาในรอบนี้มีทั้งหมด 30 คน จะต้องแสดงทักษะในการทำอาหารผ่านโจทย์ทดสอบ 2 รอบ ด้วยโจทย์วัตถุดิบหลักที่กำหนด ในแต่ละรอบจะมีผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขัน 5 คน จนเหลือ 20 คนสุดท้าย และจะได้รับผ้ากั้นเปื้อนเพื่อเป็นผู้เข้าแข่งขันตัวจริงต่อไป คล้ายกับในซีซันที่ 3 แต่ในรอบแรกจะมีผู้เข้าแข่งขันที่ได้รับผ้ากันเปื้อนและผ่านเข้ารอบทันที 15 คน และจะเหลือผู้เข้าแข่งขันที่ต้องแข่งต่อในรอบที่สองจำนวน 10 คน เพื่อหาว่าใครเป็นเจ้าของผ้ากันเปื้อน 5 ผืนที่เหลือ
กติกาซีซันที่ 4
ในซีซันที่ 4 รอบคัดเลือกรอบสุดท้าย ผู้เข้าแข่งขันจะถูกแบ่งกลุ่มตามความถนัดของตัวเอง กลุ่มละ 3 - 5 คน ในแต่ละรอบจะมีโจทย์วัตถุดิบหลัก 1 อย่าง เพื่อทำอาหาร 1 เมนูในเวลา 45 - 60 นาที โดยแต่ละกลุ่มมีผู้แข่งขันได้รับผ้ากันเปื้อนและผ่านเข้ารอบจำนวนเท่าใดก็ได้ หรือไม่มีผู้เข้าแข่งขันผ่านเข้ารอบเลยก็ได้ ในรอบนี้มีผู้เข้าแข่งขันจำนวน 24 คน และมีผ้ากันเปื้อนทั้งหมด 16 ผืน ดังนั้น หากแข่งขันครบแล้วและยังมีผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านเข้ารอบไม่ครบทุกคน ผู้ที่ตกรอบบางคนจะได้รับสิทธิ์ในการแข่งขันรอบแก้ตัวเพื่อหาผู้ที่ผ่านเข้ารอบเพิ่มเติม
กติกาซีซันที่ 5
ในซีซันที่ 5 รอบคัดเลือกรอบสุดท้าย ผู้เข้าแข่งขันที่เข้ามาในรอบนี้มีทั้งหมด 60 คน จะได้รับผ้ากันเปื้อนสีส้มเพื่อทำการแข่งขันในรอบนี้ โดยโจทย์การแข่งขัน คือ การแสดงทักษะขั้นพื้นฐานในการทำอาหารไทย จำนวน 2 รอบ โดยในรอบแรก คือ การทอดไข่ดาว และรอบที่สอง คือ การตำพริกแกงตามสีของสเตชัน ผู้เข้าแข่งขันที่ไม่สามารถทำได้ตามโจทย์จะตกรอบทันที โดยกรรมการจะเข้าไปกระชากผ้ากันเปื้อนของผู้เข้าแข่งขันออก จนเหลือผู้ที่สามารถตำพริกแกงได้ตรงตามโจทย์ จะได้เป็นผู้เข้าแข่งขันตัวจริง และรับผ้ากันเปื้อนสีขาว
รอบคัดเลือกรอบนี้ ทางรายการได้มอบโอกาสที่สองแก่ผู้ที่ตกรอบบางคน ให้กลับเข้าแข่งขันอีกครั้ง ผ่านการแข่งขันสองรอบ ได้แก้ ภารกิจแบบทีม และบททดสอบความคิดสร้างสรรค์ ในรอบภารกิจแบบทีม จะต้องเลือกทีมและหัวหน้าทีมกันเอง โจทย์การแข่งขัน คือ การทำอาหารคาวและอาหารหวานจำนวนมากจากวัตถุดิบที่กำหนด ทีมที่ชนะจะได้รับสิทธิ์เลือกผู้เข้าแข่งขันบางคนรับผ้ากันเปื้อนและเข้ารอบทันที ส่วนผู้เข้าแข่งขันที่เหลือจะต้องแข่งขันต่อกับทีมที่แพ้ในรอบทดสอบความคิดสร้างสรรค์เพื่อชิงผ้ากันเปื้อนที่เหลือ
กติกาซีซันที่ 6
ในซีซันที่ 6 รอบคัดเลือกรอบสุดท้าย ผู้เข้าแข่งขันที่เข้ามาในรอบนี้มีทั้งหมด 30 คน จะแบ่งออกเป็น 4 รอบ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องแสดงศักยภาพในการทำอาหารไทยผ่านโจทย์ต่าง ๆ ผู้ที่ทำได้ดีที่สุดจะได้รับผ้ากันเปื้อนเพื่อผ่านเข้ารอบต่อไป ส่วนผู้เข้าแข่งขันอื่นจะต้องแข่งขันกันต่อโดยไม่มีการคัดออกระหว่างการแข่งขันจนกว่าจะจบรอบที่ 4
รอบกล่องปริศนา (Mystery Box)
ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำอาหาร 1 จานจากวัตถุดิบในกล่องปริศนาและวัตถุดิบเสริมที่จัดเตรียมไว้ให้เท่านั้น โดยคณะกรรมการจะทำการคัดเลือกอาหารจำนวน 3 จานที่ดีที่สุดมาชิมอีกครั้งที่โต๊ะของกรรมการและเลือกจานที่ดีที่สุดจาก 3 จานดังกล่าวเพียง 1 จานเท่านั้น โดยผู้เข้าแข่งขันที่เป็นผู้ชนะในรอบนี้จะได้รับสิทธิพิเศษแตกต่างกันออกไปในแต่ละรอบ และจะไม่มีการคัดออกใด ๆ ในรอบนี้ ยกเว้นในบางรอบที่อาจมีการคัดออกในรอบนี้โดยกรรมการจะแจ้งให้ทราบทุกครั้งหากมีการคัดออกในรอบนี้ ในบางครั้ง หากมีการคัดออก จะคัดเลือกอาหารในกลุ่มที่แย่ที่สุดมาชิมอีกครั้งเพื่อหาผู้ที่ถูกคัดออก
รอบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ (Invention Test)
ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำอาหาร 1 จานจากโจทย์และวัตถุดิบหลักที่กำหนดให้และต้องทำให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด โดยผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกวัตถุดิบที่จำเป็นต้องใช้ภายในเวลา 3 - 5 นาทีจากห้องจัดเก็บอาหาร (Food Pantry) ของมาสเตอร์เชฟ เมื่อหมดเวลาแล้วผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะต้องนำจานอาหารของตนเองมาเสิร์ฟที่โต๊ะของกรรมการตามลำดับการเรียกชื่อของพิธีกร ผู้เข้าแข่งขัน 2 คนที่ทำอาหารได้ดีที่สุดจะได้เป็นหัวหน้าทีมในการแข่งขันรอบการแข่งขันแบบทีมต่อไป ส่วนผู้เข้าแข่งขันที่ทำอาหารได้แย่ที่สุดจะถูกคัดออกจากการแข่งขัน
รอบการแข่งขันแบบทีม (Team Challenge)
ผู้เข้าแข่งขันที่เป็นหัวหน้าทีมจะมีสิทธิเลือกผู้เข้าแข่งขันคนอื่นเข้าสู่ทีม โดยผู้ชนะอันดับ 1 จากรอบทดสอบความคิดสร้างสรรค์จะได้สิทธิในการเลือกสมาชิกทีมก่อน และมีสิทธิที่จะเลือกผู้เข้าแข่งขันคนสุดท้ายที่ยังไม่ได้ถูกเลือกเข้าสู่ทีมให้กับอีกทีมหนึ่ง หรือเลือกที่จะเก็บไว้ในทีมตัวเองก็ได้ ในรอบนี้ทั้ง 2 ทีมจะต้องทำอาหารให้กับผู้ลงคะแนนที่ทางรายการเชิญมาในสถานการณ์และวัตถุดิบหลักที่แตกต่างกันในแต่ละรอบ โดยผลแพ้หรือชนะนั้นจะมาจากการที่ผู้ลงคะแนนเลือกที่จะให้คะแนนทีมใดทีมหนึ่งเป็นจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ลงคะแนนทั้งหมด โดยทีมที่ชนะจะได้ผ่านเข้าสู่รอบต่อไปทันที ส่วนทีมที่แพ้นั้นจะต้องแข่งขันในรอบทดสอบความละเอียดและแม่นยำอีกครั้งเพื่อหาผู้เข้าแข่งขันที่ต้องออกจากการแข่งขันต่อไป
รอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ (Pressure Test)
ทีมที่แพ้ในรอบการแข่งขันแบบทีมจะต้องมาแข่งขันในรอบทดสอบความละเอียดและแม่นยำอีกครั้ง เพื่อหาผู้ที่ต้องออกจากแข่งขันอย่างน้อย 1 คน ในบางรอบหัวหน้าของทีมที่แพ้ หรือหัวหน้าทีมของทีมที่ชนะในการแข่งขันในรอบการแข่งขันแบบทีมสามารถเลือกผู้เข้าแข่งขันหรือตัวเองเพื่อผ่านเข้าสู่รอบต่อไปได้โดยไม่ต้องแข่งขันในรอบทดสอบความละเอียดและแม่นยำ ส่วนผู้เข้าแข่งขันที่ทำอาหารได้แย่ที่สุดจะถูกคัดออกจากการแข่งขัน
รอบกำจัดคนออก (Elimination Test)
ในซีซันที่ 4 ตอนที่ 5 และเซเลบริตี้ ซีซัน 2 ตอนที่ 6 เป็นรอบที่ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำอาหารให้ตรงตามต้นฉบับจากเมนูโจทย์ที่ผู้ชนะในรอบกล่องปริศนากำหนดให้ มีเวลาในการแข่งขัน 60 นาที ผู้เข้าแข่งขันที่ทำอาหารได้แย่ที่สุดจะถูกคัดออกจากการแข่งขัน
ในซีซันที่ 5 ตอนที่ 10 ทีมที่แพ้ในรอบการแข่งขันแบบทีม จะต้องเข้ามาแข่งขันในรอบกำจัดคนออกร่วมกับผู้ที่ไม่ได้ถูกเลือกให้เข้าทีม เพื่อหาผู้ที่ออกจากการแข่งขันอย่างน้อย 1 คน โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องแข่งกันทำอาหารให้สมบูรณ์ที่สุดและเร็วที่สุด โดยตัดสินจาก การชูวัตถุดิบ รสชาติของอาหาร ความคิดสร้างสรรค์ และการจัดการเวลา ถ้าผู้เข้าแข่งขันคนใดทำอาหารเสร็จเป็นคนแรก และวิ่งไปกดปุ่มยุติการแข่งขัน ถือว่า การแข่งขันจะสิ้นสุดลงทันที และมีเวลาให้ผู้เข้าแข่งขันคนอื่น ๆ จัดจานอาหารให้เสร็จสมบูรณ์ภายใน 2 นาที ผู้เข้าแข่งขันที่ทำอาหารได้แย่ที่สุดจะถูกคัดออกจากการแข่งขัน
รอบพิเศษ (Special Round)
มักเกิดขึ้นเป็นบางกรณี เช่น การเปลี่ยนรอบกล่องปริศนา เป็นกล่องดำ และจะต้องมีผู้ถูกคัดออกจากการแข่งขันหรือเปลี่ยนกล่องปริศนาเป็นรอบ "โอกาสครั้งที่สอง" ให้สำหรับผู้เข้าแข่งขันที่ตกรอบไปแล้วได้รับโอกาสแข่งขันและกลับเข้าสู่การแข่งขันอีกครั้งหนึ่ง
Remove ads
ฤดูกาล
สรุป
มุมมอง
ฤดูกาลปกติ
มาสเตอร์เชฟจูเนียร์
มาสเตอร์เชฟเซเลบริตี้
มาสเตอร์เชฟ: เดอะ โพรเฟสชันนัลส์
Remove ads
รางวัล
Remove ads
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads