Remove ads
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Win Win WAR Thailand สุดยอดนักธุรกิจแบ่งปัน เป็นรายการโทรทัศน์ไทยประเภทเรียลลิตีโชว์การแข่งขันนำเสนอธุรกิจของผู้ประกอบการสังคม ที่สร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งตัวธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สร้างสรรค์รายการโดย ซี อาเซียน ผลิตโดย บริษัท เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป จำกัด เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2561 ทางช่องอมรินทร์ทีวี โดยออกอากาศมาแล้วทั้งหมด 9 ฤดูกาล แบ่งเป็นฤดูกาลปกติ 6 ฤดูกาล และรุ่นเด็ก (Win Win WAR Thailand OTOP Junior) อีก 3 ฤดูกาล
Win Win WAR Thailand สุดยอดนักธุรกิจแบ่งปัน | |
---|---|
ประเภท | เรียลลิตีโชว์นำเสนอธุรกิจ |
สร้างโดย | ซี อาเซียน |
พิธีกร | |
กรรมการ |
|
บรรยายโดย | ปิยะ วิมุกตายน |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ประเทศไทย |
ภาษาต้นฉบับ | ภาษาไทย |
จำนวนฤดูกาล | 6 |
จำนวนตอน | 58 (ณ วันที่ 29 กันยายน 2567 ) |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการผลิต | กิติกร เพ็ญโรจน์ |
สถานที่ถ่ายทำ |
|
กล้อง | หลายกล้อง |
ความยาวตอน | 60 นาที |
บริษัทผู้ผลิต | เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | อมรินทร์ทีวี |
ออกอากาศ | 29 กันยายน 2561 – ปัจจุบัน |
การแสดงที่เกี่ยวข้อง | |
Win Win WAR Thailand OTOP Junior สุดยอดนักธุรกิจแบ่งปันรุ่นเยาว์ |
Win Win WAR Thailand สุดยอดนักธุรกิจแบ่งปัน เป็นรายการเรียลลิตีโชว์ที่ศูนย์ซี อาเซียน โดยบริษัท ซี เอ ซี จำกัด ในเครือไทยเบฟเวอเรจ สร้างขึ้น[1] และบริษัท เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป จำกัด นำมาผลิตเป็นรายการโทรทัศน์ โดยมีที่มาจากการที่ซี อาเซียน นำกระแสนิยมเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) และแนวคิดของธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business) มาพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก โดยจัดตั้งวิสาหกิจเพื่อสังคมในทุกจังหวัด จึงต่อยอดเป็นรายการนี้ขึ้น[2] เพื่อเชื่อมโยงบุคลากรรุ่นใหม่ภายในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ให้เกิดการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ[3]
Win Win WAR Thailand สุดยอดนักธุรกิจแบ่งปัน เปิดรับสมัครเยาวชนและนักธุรกิจที่มีอายุไม่เกิน 35 ปี ที่เป็นผู้ประกอบการสังคม (Social Entrepreneur) ที่สนใจ หรือมีแนวคิดในการทำธุรกิจที่ช่วยแก้ไขปัญหาหรือยกระดับสังคม[4] เข้ามาแข่งขันในรายการ เพื่อนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ หรือบริการของตน ที่มีลักษณะดังนี้
ผู้ชนะในแต่ละฤดูกาลจะได้รับรางวัลเงินสดมูลค่า 2,000,000 บาท และได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญสำหรับการพัฒนาธุรกิจต่อไป[2]
การแข่งขันในแต่ละฤดูกาลมีรูปแบบดังนี้
ใน 2 ฤดูกาลแรก แบ่งการแข่งขันออกเป็น 3 รอบ ดังนี้
ผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านการคัดเลือกจำนวน 100 ธุรกิจ (ในฤดูกาลที่ 2 มีจำนวน 60 ธุรกิจ) จะต้องนำเสนอแนวคิด รูปแบบ และกลยุทธ์แผนธุรกิจ ให้คณะกรรมการฟัง และตอบคำถามจากคณะกรรมการเกี่ยวกับธุรกิจของตนให้ชัดเจน (ในฤดูกาลที่ 2 มีการจับเวลาทั้งการนำเสนอและตอบคำถาม ส่วนละ 3 นาที) จากนั้นคณะกรรมการจะพิจารณาธุรกิจ โดยใช้เกณฑ์การพิจารณาทั้งความเป็นไปได้เกี่ยวกับการเติบโตทางธุรกิจ และผลกระทบต่อสังคม จากนั้นจะกดปุ่มไฟเพื่อตัดสิน โดยหากเห็นว่ามีประโยชน์และผ่านเกณฑ์ข้างต้น จะกดปุ่มไฟสีเขียวเพื่อให้ผ่านเข้ารอบ แต่หากไม่ผ่านเกณฑ์ จะกดปุ่มไฟสีแดง ในรอบนี้จะคัดเลือกผู้เข้าแข่งขันให้เหลือจำนวน 20 ธุรกิจที่จะเข้าสู่รอบ Market Test โดย
ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 20 ธุรกิจ จะแบ่งออกเป็นทีมต่าง ๆ (ฤดูกาลที่ 1 แบ่งตามกรรมการที่ปรึกษา จำนวน 5 ทีม ทีมละ 4 ธุรกิจ, ฤดูกาลที่ 2 แบ่งตามหมวดธุรกิจ จำนวน 4 ทีม ทีมละ 5 ธุรกิจ) โดยจะต้องนำเสนอผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (Prototype) ที่พัฒนาขึ้นภายใต้การให้คำปรึกษาของกรรมการที่ปรึกษา เพื่อทดลองตลาด โดยมีคณะกรรมการร่วม ซึ่งเป็นนักศึกษาและอาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จำนวน 100 คน มาร่วมทดลองใช้ผลิตภัณฑ์จริง และตอบคำถามจากทั้งคณะกรรมการหลักและคณะกรรมการร่วม จากนั้นจะพิจารณาให้คะแนน โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้
ทีมที่ได้คะแนนรวมมากที่สุดในของแต่ละสัปดาห์ จะผ่านเข้าสู่รอบ Market Launch โดยในรอบนี้จะคัดเลือกให้เหลือจำนวน 5 ธุรกิจ
รอบนี้เป็นการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ผู้เข้าแข่งขัน 5 ธุรกิจสุดท้าย จะต้องเปิดตัวผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปของตน ซึ่งผ่านการพัฒนาอย่างครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว ให้คณะกรรมการหลัก คณะกรรมการร่วม และผู้ชมได้รับชม โดยคะแนนจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 50% ดังนี้
ทีมที่ได้คะแนนรวมมากที่สุดในรอบนี้ จะเป็นผู้ชนะเลิศประจำฤดูกาล
ในฤดูกาลนี้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็นการแข่งขันทางออนไลน์ โดยใช้ชื่อว่า Win Win WAR Thailand Special Online Edition เนื่องจากจัดขึ้นในช่วงการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย และเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มอื่น ๆ เช่น กลุ่มคนรุ่นใหม่ และกลุ่มเป้าหมายในวงกว้าง โดยมีการคัดเลือกผู้เข้าแข่งขันให้เหลือจำนวน 40 ธุรกิจ ที่จะได้นำเสนอแนวคิด รูปแบบ และกลยุทธ์แผนธุรกิจ และตอบคำถามจากคณะกรรมการ เพื่อคัดเลือกเหลือจำนวน 12 ธุรกิจ จากนั้นจะนำเสนอทั้ง 12 ธุรกิจลงบนสื่อสังคมช่องทางต่าง ๆ และเปิดให้ผู้ชมโหวตผ่านช่องทางเฟซบุ๊กของรายการ โดยคะแนนโหวตจากผู้ชมจะเป็น 60% และนำมารวมกับคะแนนจากคณะกรรมการในรอบชิงชนะเลิศอีก 40% ทีมที่ได้คะแนนรวมมากที่สุดจะเป็นผู้ชนะเลิศ[6] โดยมีการเผยแพร่การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศและประกาศผลเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564
ตั้งแต่ฤดูกาลที่ 4 ได้ปรับรูปแบบรายการใหม่ทั้งหมด โดยแบ่งเป็น 2 รอบ ดังนี้
ผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านการคัดเลือกจำนวน 45 ธุรกิจ (ตั้งแต่ฤดูกาลที่ 5 ลดเหลือจำนวน 36 ธุรกิจ) จะได้รับคะแนนตั้งต้น 2,000,000 คะแนน ตามจำนวนมูลค่าเงินรางวัลสำหรับผู้ชนะเลิศ มีเวลา 3 นาที ในการนำเสนอแผนธุรกิจ หลังจากนำเสนอจบแล้ว จะจับเวลา 10 วินาทีให้คณะกรรมการร่วมพิจารณากดลดคะแนน คนละ 5,000 คะแนน หากเห็นว่าธุรกิจดังกล่าวไม่น่าสนใจ รวมคะแนนที่สามารถถูกลดลงจากคณะกรรมการร่วมได้มากที่สุด 500,000 คะแนน จากนั้น คณะกรรมการหลักทั้ง 3 คน จะถามคำถาม ผู้เข้าแข่งขันมีเวลาตอบคำถามละ 1 นาที (ตั้งแต่ฤดูกาลที่ 5 เพิ่มเวลาเป็นคำถามละ 1 นาที 30 วินาที) หลังจากนั้นคณะกรรมการหลักทั้ง 3 คน จะพิจารณาให้คะแนนในคำถามนั้น ๆ โดยพิจารณาจากคำตอบ ดังนี้
ในรอบนี้แบ่งการแข่งขันออกเป็น 9 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 ธุรกิจ และทีมที่รักษาคะแนนได้สูงที่สุดจำนวน 5 ธุรกิจ จะผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ
ในรอบนี้ ผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านเข้ารอบจะต้องตอบคำถามจากคณะกรรมการ คำถามละ 2 นาที โดยคะแนนที่สะสมก่อนหน้าจะไม่นำมาคำนวณในรอบนี้ จากนั้นคณะกรรมการจะตัดสินผู้ชนะเลิศ โดยรูปแบบการตอบคำถามในแต่ละฤดูกาล เป็นดังนี้
พิธีกร | ฤดูกาล | |||||
---|---|---|---|---|---|---|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
วิลลี่ แมคอินทอช | ✔ | |||||
ไดอาน่า จงจินตนาการ | ✔ | |||||
กรรมการ | ฤดูกาล | |||||
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
ต้องใจ ธนะชานันท์ | ✔ | |||||
เจรมัย พิทักษ์วงศ์ | ✔ | |||||
สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ | ✔ | |||||
ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ | ✔ | |||||
กฤษติกา คงสมพงษ์ | ✔ | |||||
กุลพงษ์ บุนนาค | ✔ | |||||
หม่อมหลวงดิศปนัดดา ดิศกุล | ✔ |
ฤดูกาล | ตอนแรก | รอบชิงชนะเลิศ | จำนวนตอน | ธุรกิจในรอบชิงชนะเลิศ | ||
---|---|---|---|---|---|---|
ผู้ชนะเลิศ | รางวัลพิเศษ | ธุรกิจอื่น ๆ | ||||
ฤดูกาลที่ 1 | 29 กันยายน พ.ศ. 2561 | 15 ธันวาคม พ.ศ. 2561 | 12 | W1 – Able innovation |
|
|
ฤดูกาลที่ 2 | 19 มกราคม พ.ศ. 2563 | 5 เมษายน พ.ศ. 2563 | 12 | W2 – Buddy Home Care |
|
|
ฤดูกาลที่ 3 (Special Online Edition) |
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564 | 3 | W009 – แนวร่วมปฏิวัติขยะสุพรรณบุรี |
|
|
ฤดูกาลที่ 4 | 13 สิงหาคม พ.ศ. 2565 | 22 ตุลาคม พ.ศ. 2565 | 11 | Defire | — |
|
ฤดูกาลที่ 5 | 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2566 | 10 | SATI App |
| |
ฤดูกาลที่ 6 | 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 | 29 กันยายน พ.ศ. 2567 | 10 | JAIKLA |
|
Win Win WAR Thailand OTOP Junior สุดยอดนักธุรกิจแบ่งปันรุ่นเยาว์ | |
---|---|
ประเภท | เรียลลิตีโชว์นำเสนอธุรกิจสำหรับเด็ก |
สร้างโดย | ซี อาเซียน |
พัฒนาโดย | กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย |
พิธีกร | |
กรรมการ |
|
บรรยายโดย | ณัฐพงษ์ สมรรคเสวี |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ประเทศไทย |
ภาษาต้นฉบับ | ภาษาไทย |
จำนวนฤดูกาล | 3 |
จำนวนตอน | 20 |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการผลิต | กิติกร เพ็ญโรจน์ |
สถานที่ถ่ายทำ |
|
กล้อง | หลายกล้อง |
ความยาวตอน | 60 นาที |
บริษัทผู้ผลิต | เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | อมรินทร์ทีวี |
ออกอากาศ | 20 พฤศจิกายน 2565 – ปัจจุบัน |
การแสดงที่เกี่ยวข้อง | |
Win Win WAR Thailand สุดยอดนักธุรกิจแบ่งปัน |
Win Win WAR Thailand OTOP Junior สุดยอดนักธุรกิจแบ่งปันรุ่นเยาว์ เป็นรายการโทรทัศน์ไทยประเภทเรียลลิตีโชว์การแข่งขันนำเสนอธุรกิจเพื่อสังคมสำหรับเด็ก จัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างศูนย์ ซี อาเซียน และกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เป็นการต่อยอดความสำเร็จจากรายการ Win Win WAR Thailand สุดยอดนักธุรกิจแบ่งปัน รวมถึงโครงการ OTOP Junior ที่จัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างกรมการพัฒนาชุมชนและไทยเบฟเวอเรจอยู่แล้วแต่เดิม[7] ผลิตโดย บริษัท เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป จำกัด เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ทางช่องอมรินทร์ทีวี โดยออกอากาศมาแล้วทั้งหมด 3 ฤดูกาล
การแข่งขันแบ่งเป็น 2 รอบ ดังนี้
พิธีกร | ฤดูกาล | ||
---|---|---|---|
1 | 2 | 3 | |
วิลลี่ แมคอินทอช | ✔ | ||
เกียรติศักดิ์ อุดมนาค | ✔ | ||
กรรมการ | ฤดูกาล | ||
1 | 2 | 3 | |
ต้องใจ ธนะชานันท์ | ✔ | ||
เจรมัย พิทักษ์วงศ์ | ✔ | ||
กฤษติกา คงสมพงษ์ | ✔ |
ฤดูกาล | ตอนแรก | รอบชิงชนะเลิศ | จำนวนตอน | ธุรกิจในรอบชิงชนะเลิศ | ||
---|---|---|---|---|---|---|
จำนวนธุรกิจ | ผู้ชนะเลิศ | ธุรกิจอื่น ๆ | ||||
1 | 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 | 22 มกราคม พ.ศ. 2566 | 10 | 11 | เกลือเมืองบ่อ |
|
2 | 8 ตุลาคม พ.ศ. 2566 | 10 ธันวาคม พ.ศ. 2566 | 10 | 13 | สานรัก สานใจ |
|
3 | 6 ตุลาคม พ.ศ. 2567 | 15 ธันวาคม พ.ศ. 2567 | 10 | 10 | รอประกาศ |
ปี | รางวัล | สาขา | รายการ/ฤดูกาล | ผล | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|
พ.ศ. 2562 | รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 33 | รายการเกมโชว์ดีเด่น | Win Win WAR Thailand ฤดูกาลที่ 1 | ได้รับรางวัล | [8] |
พ.ศ. 2564 | รางวัลทีวีสีขาว ครั้งที่ 2 | รายการส่งเสริมการศึกษาหรือเทคโนโลยีดีเด่น | Win Win WAR Thailand ฤดูกาลที่ 2 | ได้รับรางวัล | [9] |
พ.ศ. 2566 | รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 37 | รายการส่งเสริมเยาวชนดีเด่น | Win Win WAR Thailand OTOP Junior ฤดูกาลที่ 1 | ได้รับรางวัล | [10] |
พ.ศ. 2567 | Pantip Television Awards ครั้งที่ 3 | รายการเยาวชนยอดเยี่ยม | Win Win WAR Thailand OTOP Junior ฤดูกาลที่ 2 | เสนอชื่อเข้าชิง | [11] |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.