Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หม่อมหลวงบัว กิติยากร (ราชสกุลเดิม สนิทวงศ์; 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452 − 19 กันยายน พ.ศ. 2542) หรือชื่อในการแสดงว่า ประทุม ชิดเชื้อ[1] เป็นธิดาของเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) กับท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) เป็นหม่อมในพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ และเป็นพระชนนีในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และพระอัยยิกาฝ่ายพระชนนีในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
บัว กิติยากร | |
---|---|
เกิด | หม่อมหลวงบัว 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452 |
เสียชีวิต | 19 กันยายน พ.ศ. 2542 (89 ปี) โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
คู่สมรส | พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ (พ.ศ. 2471−2496) |
บุตร | หม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ กิติยากร หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ท่านผู้หญิงบุษบา สธนพงศ์ |
บิดามารดา | เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) ท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) |
ลายมือชื่อ | |
หม่อมหลวงบัว กิติยากร มีนามเดิมว่า หม่อมหลวงบัว สนิทวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452 เป็นธิดาของพลเอก เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) กับท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา)[2] มีพี่น้องร่วมบิดามารดาได้แก่ พลโท หม่อมหลวงจินดา สนิทวงศ์ และท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค ทั้งยังมีพี่น้องร่วมบิดาแต่ต่างมารดาอีก 12 คน[3]
หม่อมหลวงบัวเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนสายปัญญา และโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย[4] ภายหลังได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ เข้าถวายงาน เป็นนางพระกำนัลในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เมื่อ พ.ศ. 2471[5] ในปีนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างภาพยนตร์เงียบขาวดำ ชื่อเรื่อง แหวนวิเศษ และทรงให้หม่อมหลวงบัว รับบทเป็น "นางพรายน้ำ" นางเอกของเรื่อง [5] หม่อมหลวงบัวเคยให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนี้เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2529 ความว่า "ขณะที่แสดงเรื่องนี้อายุประมาณ 17-18 ปี ดำน้ำแต่ละครั้งไม่นาน แต่ดำหลายครั้งกว่าจะถ่ายเสร็จ"[6]
หม่อมหลวงบัวสมรสกับนายพันตรี หม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร (ต่อมาคือ พลเอก พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ) ขณะดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำพระมหาสังข์สำหรับพิธีเสกสมรสเมื่อเวลา 17.00 น. ของวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ทรงเจิมและพระราชทานเงินรับไหว้แก่เจ้าบ่าว 10 ชั่ง เจ้าสาว 5 ชั่ง จากนั้นให้คู่สมรสลงนามในสมุดทะเบียนเฉพาะพระพักตร์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวลงพระปรมาภิไธย พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี แล้วโปรดเกล้าฯ ให้เจ้านายและข้าราชการลงพระนามและลงนามเป็นพยาน[7]
หม่อมหลวงบัวและพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ มีพระโอรส-พระธิดา หนึ่งพระองค์กับสามคนดังนี้ [5]
หม่อมหลวงบัวถึงแก่พิราลัยด้วยอาการนิ่วในถุงน้ำดีเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2542 ณ โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร[14] พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ใช้คำว่าถึงแก่พิราลัยเสมอเจ้าประเทศราชและสมเด็จเจ้าพระยา โดยให้ตั้งศพที่ศาลาสหทัยสมาคมในพระบรมมหาราชวัง และโปรดเกล้าฯ พระราชทานฉัตรโหมดทอง 5 ชั้น และโกศกุดั่นน้อยประกอบเกียรติยศศพ[15] เทียบชั้นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า และพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
เคยมีการคาดการณ์ว่าอาจมีการสถาปนาอัฐิหม่อมหลวงบัว กิติยากรเป็นเจ้านาย ในฐานะพระราชชนนีในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมชได้คัดพระนามถวายไว้ล่วงหน้าว่าสมเด็จพระปทุมาวดี ศรีสิริกิติ์ราชมาตา อย่างไรก็ตามตั้งแต่หม่อมหลวงบัวถึงแก่พิราลัยจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีการสถาปนาแต่อย่างใด[16]
หม่อมหลวงบัว กิติยากร ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[19] ดังนี้
พระนาม/นาม | พระราชสมภพ/เกิด | ถึงแก่อนิจกรรม | อภิเษกสมรส/สมรส | หลาน |
---|---|---|---|---|
หม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ กิติยากร | 20 กันยายน 2472 | 15 พฤษภาคม 2530 | ท่านผู้หญิงอรุณ กิติยากร ณ อยุธยา | หม่อมหลวงพลายชุมพล กิติยากร หม่อมหลวงสิริณา จิตตาลาน |
หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร | 2 พฤศจิกายน 2473 | 5 พฤษภาคม 2547 | ท่านผู้หญิงพันธุ์สวลี กิติยากร | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ หม่อมหลวงสราลี กิติยากร |
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง | 12 สิงหาคม พ.ศ. 2475 | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร | ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี | |
ท่านผู้หญิงบุษบา สธนพงศ์ | 2 สิงหาคม พ.ศ. 2477 | หม่อมหลวงทวีสันต์ ลดาวัลย์ | ท่านผู้หญิงสุธาวัลย์ เสถียรไทย | |
สุรยุทธ สธนพงศ์ |
ลำดับสาแหรกของหม่อมหลวงบัว กิติยากร | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.