Remove ads
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ท่าอากาศยานนานาชาติกว่างโจวไป๋-ยฺหวิน (อังกฤษ: Guangzhou Baiyun International Airport) (IATA: CAN, ICAO: ZGGG) เป็นท่าอากาศยานหลักของนครกว่างโจว เมืองหลวงของมณฑลกวางตุ้งในประเทศจีน
ท่าอากาศยานนานาชาติกว่างโจวไป๋-ยฺหวิน 广州白云国际机场 กว่างโจว ไป๋-ยฺหวิน กั๋วจี้ จีฉ่าง | |||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ทางเข้าอาคาร 2 | |||||||||||||||||||
ข้อมูลสำคัญ | |||||||||||||||||||
การใช้งาน | พาณิชย์ | ||||||||||||||||||
เจ้าของ | 广州白云国际机场股份有限公司 บ. ท่าอากาศยานนานาชาติกว่างโจวไป๋-ยฺหวิน | ||||||||||||||||||
ผู้ดำเนินงาน | 广东省机场管理集团有限公司 กลุ่มบริษัทจัดการท่าอากาศยานกวางตุ้ง | ||||||||||||||||||
พื้นที่บริการ | กว่างโจว | ||||||||||||||||||
ที่ตั้ง | อำเภอไป๋-ยฺหวิน–อำเภอฮฺวาตู, กว่างโจว | ||||||||||||||||||
ฐานการบิน |
| ||||||||||||||||||
เมืองสำคัญ | |||||||||||||||||||
เหนือระดับน้ำทะเล | 49 ฟุต / 15 เมตร | ||||||||||||||||||
พิกัด | 23°23′33″N 113°17′56″E | ||||||||||||||||||
เว็บไซต์ | GBIA | ||||||||||||||||||
แผนที่ | |||||||||||||||||||
ที่ตั้งในมณฑลกวางตุ้ง | |||||||||||||||||||
ทางวิ่ง | |||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||
สถิติ (2014) | |||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||
แหล่งข้อมูล: สถิติจาก CAAC[1] |
ท่าอากาศยานนานาชาติกว่างโจวไป๋-ยฺหวิน | |||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 广州白云国际机场 | ||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | 廣州白雲國際機場 | ||||||||||
|
ท่าอากาศยานแห่งนี้ตั้งอยู่ในอำเภอไป๋-ยฺหวินและอำเภอฮฺวาตูของนครกว่างโจว เปิดทำการเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2004 เพื่อทดแทนท่าอากาศยานแห่งเก่าที่มีอายุกว่า 72 ปี ท่าอากาศยานแห่งใหม่นี้สร้างขึ้นด้วยงบประมาณกว่า 1.98 หมื่นล้านหยวน มีที่ตั้งห่างจากตัวเมืองกว่างโจวไปทางเหนือราว 27 กิโลเมตร และมีขนาดใหญ่กว่าท่าอากาศยานเดิมถึงเกือบห้าเท่า คำว่า "ไป๋-ยฺหวิน" (白云) นั้นเป็นชื่อของภูเขาที่อยู่ใกล้เคียงท่าอากาศยานแห่งเก่า (ไป๋-ยฺหวินชาน) มีความหมายว่า "เมฆขาว"
ก่อนหน้านี้ท่าอากาศยานแห่งใหม่นี้มีศักยภาพในการรองรับผู้โดยสารได้ 45 ล้านคนต่อปีจากการใช้งานอาคารรับส่งผู้โดยสารที่ 1 เพียงอาคารเดียว ในปี 2555 จึงได้เริ่มโครงการขยายท่าอากาศยานซึ่งรวมถึงอาคารผู้โดยสารหลังที่สองขนาด 658,000 ตารางเมตร และทางวี่งที่สาม แล้วเสร็จในปี 2562 ทำให้ท่าอากาศยานมีศักยภาพในการรองรับผู้โดยสารได้ 80 ล้านคน และปริมาณสินค้า 25 ล้านตันต่อปี
ในปี 2562 จากสถิติการใช้งาน ท่าอากาศยานนานาชาติกว่างโจวไป่-ยฺหวินเป็นท่าอากาศยานที่มีผู้โดยสารพลุกพล่านมากเป็นอันดับ 3 ของประเทศจีน และอันดับ 13 ของโลกโดยมีผู้โดยสาร 73.38 ล้านคน เครือข่ายเส้นทางบินท่าอากาศยานไป๋-ยฺหวินครอบคลุมจุดหมายปลายทางระหว่างประเทศกว่า 220 ปลายทางทั่วโลก รวมถึงระดับภูมิภาคเกือบ 90 ปลายทาง รองรับสายการบินจีนและต่างประเทศเกือบ 80 สายการบิน
สายการบิน | จุดหมายปลายทาง | อาคารผู้โดยสาร/ฝั่ง |
---|---|---|
9 Air | ฉางชุน, ฮาร์บิน, Hailar, Manzhouli, หนานจิง, Urumqi, เวินโจว | ภายในประเทศ A |
Aeroflot | มอสโก-เชเรเมเตียโว | ระหว่างประเทศ |
AirAsia | โกตากีนาบาลู, กัวลาลัมเปอร์ | ระหว่างประเทศ |
Air China | ปักกิ่ง, เฉิงตู, ฉงชิ่ง, Dazhou, Guangyuan, กุ้ยหยาง, หางโจว, Hohhot, Jiuzhaigou, Luzhou, เซี่ยงไฮ้-หงเฉียว, เซี่ยงไฮ้-ผู่ตง, เทียนจิน, Tonghua, Wanzhou, อู่ฮั่น, Yuncheng | ภายในประเทศ A |
Air China operated by Dalian Airlines | ต้าเหลียน | ภายในประเทศ A |
Air France | ปารีส-ชาร์ล เดอ โกล | ระหว่างประเทศ |
Air Madagascar | Antananarivo, กรุงเทพ-สุวรรณภูมิ, Réunion | ระหว่างประเทศ |
All Nippon Airways | โตเกียว-ฮะเนะดะ (begins 25 October 2015),[2] โตเกียว-นะริตะ | ระหว่างประเทศ |
Asiana Airlines | ปูซาน, โซล-อินช็อน | ระหว่างประเทศ |
Beijing Capital Airlines | เฉิงตู, ฉงชิ่ง, Haikou, หางโจว, ลี่เจียง, Sanya | ภายในประเทศ A |
Cambodia Angkor Air | พนมเปญ, เสียมราฐ | ระหว่างประเทศ |
Cebu Pacific | มะนิลา | ระหว่างประเทศ |
Chengdu Airlines | เฉิงตู | ภายในประเทศ B |
China Airlines | ไทเป-เถายฺเหวียน | ระหว่างประเทศ |
China Eastern Airlines | Baoshan, ปักกิ่ง,[3] เฉิงตู, หางโจว, Hefei, Huai'an, Jiayuguan, จี่หนาน, คุนหมิง, Lanzhou, ลี่เจียง, Lincang, Luliang, Mangshi, Nanchang, นานจิง, หนิงปัว, Ordos, ชิงเต่า, เซี่ยงไฮ้-หงเฉียว, เซี่ยงไฮ้-ผู่ตง, Taiyuan, Taizhou, เทียนจิน, Wenshan, Wenzhou, อู่ฮั่น, Wuxi, ซีอาน, Xichang, Xishuangbanna, Yichang, Yinchuan | ภายในประเทศ B |
China Southern Airlines | Anqing, Anshan, Anshun, Baishan, เปาโถว, Beihai, ปักกิ่ง, Bijie, ฉางชุน, Changde, Changsha, Changzhi, ฉางโจว, เฉิงตู, Chizhou, ฉงชิ่ง, ต้าหลี่, ต้าเหลียน, Daqing, Datong, Enshi, แฟรงก์เฟิร์ต1, Fuyang, ฝูโจว, Ganzhou, Guilin, กุ้ยหยาง, Haikou, Handan, หางโจว, ฮาร์บิน, Hefei, Hohhot, Huaihua, Huangshan, Jiamusi, Jieyang, จี่หนาน, Jinggangshan, Jining, Jixi, Kaili,[4] Kashgar, คุนหมิง, Lanzhou, Lhasa, Lianyungang, Libo, ลี่เจียง, Liping, Liuzhou, ลัวหยาง, Meixian, Mianyang, มอสโก-เชเรเมเตียโว1, Mudanjiang, Nanchang, หนานจง, นานจิง, Nanning, นานตง, Nanyang, หนิงปัว, Nyingchi, Qianjiang, ชิงเต่า, Qiqihar, โรม-ฟีอูมีชีโน (begins 16 December 2015),1[5] Sanya, เซี่ยงไฮ้-หงเฉียว, เซี่ยงไฮ้-ผู่ตง, เสิ่นหยาง, ฉือเจียจวง, Taiyuan, เทียนจิน, Tongren, Urumqi, Weihai, Wenzhou, อู่ฮั่น, Wuxi, เซี่ยเหมิน, ซีอาน, Xiangyang, Xingyi, Xining, Xuzhou, Yancheng, Yangzhou, Yantai, Yanji, Yichang, Yinchuan, Yiwu, Yulin, Zhangjiajie, Zhanjiang, เจิ้งโจว, Zunyi | ภายในประเทศ B |
China Southern Airlines | อัมสเตอร์ดัม, ออกแลนด์, กรุงเทพ-สุวรรณภูมิ, บริสเบน, ปูซาน, เชียงใหม่, ไครสต์เชิร์ช (begins 11 December 2015),[6] เดลี, Denpasar/Bali, ธากา, ดูไบ, ฟุกุโอะกะ, ฮานอย, นครโฮจิมินห์, จาการ์ตา-ซูการ์โน-ฮัตตา, เชจู, กาฐมาณฑุ, โกตากีนาบาลู (เริ่ม 1 ธันวาคม 2015),[7] กัวลาลัมเปอร์, ลอนดอน-ฮีทโธรว์, ลอสแอนเจลิส, Malé, มะนิลา, เมลเบิร์น, นะโงะยะ-เซ็นแทรร์ (begins 25 October 2015),[8] ไนโรบี-โจโม เคนยัตตา, นิวยอร์ก-เจเอฟเค, Nha Trang, โอซะกะ-คันไซ, ปารีส-ชาร์ล เดอ โกล, ปีนัง, เพิร์ธ, พนมเปญ, ภูเก็ต, ซานฟรานซิสโก, โซล-อินช็อน, เสียมราฐ, สิงคโปร์, ซิดนีย์, ไทเป-เถายฺเหวียน, โตเกียว-ฮะเนะดะ (begins 25 October 2015),[9] โตเกียว-นะริตะ (ends 24 October 2015),[9] Vancouver, ย่างกุ้ง ฤดูกาล: Cairns, เกาะสมุย, โกตากีนาบาลู, Langkawi, ซัปโปะโระ | ระหว่างประเทศ |
China Southern Airlines operated by Chongqing Airlines | ฉงชิ่ง | ภายในประเทศ B |
China United Airlines | ปักกิ่ง-หนานหยวน, ฉือเจียจวง | ภายในประเทศ B |
Dragonair | ฮ่องกง | ระหว่างประเทศ |
EgyptAir | ไคโร | ระหว่างประเทศ |
Emirates | ดูไบ | ระหว่างประเทศ |
Ethiopian Airlines | Addis Ababa | ระหว่างประเทศ |
EVA Air | เกาสฺยง, ไทเป-เถายฺเหวียน | ระหว่างประเทศ |
Garuda Indonesia | Denpasar/Bali, จาการ์ตา | ระหว่างประเทศ |
Hainan Airlines | Baise, ปักกิ่ง, เฉิงตู, ฉงชิ่ง, ต้าเหลียน, ฝูโจว, กุ้ยหยาง, Haikou, หางโจว, ฮาร์บิน, Hefei, Jinzhou, นานจิง, หนิงปัว, ชิงเต่า, Sanya, เซี่ยงไฮ้-หงเฉียว, เสิ่นหยาง, Taiyuan, Tangshan, เทียนจิน, Urumqi, Weifang, Wenzhou, Wuhai, ซีอาน, Yan'an, Yinchuan, เจิ้งโจว | ภายในประเทศ A |
Hainan Airlines | ไทเป-เถายฺเหวียน | ระหว่างประเทศ |
Hebei Airlines | ฉือเจียจวง | ภายในประเทศ B |
Iraqi Airways | แบกแดด | ระหว่างประเทศ |
Japan Airlines | โตเกียว-ฮะเนะดะ (begins 25 October 2015),[10] โตเกียว-นะริตะ (ends 25 October 2015)[11] | ระหว่างประเทศ |
Juneyao Airlines | ลี่เจียง, เซี่ยงไฮ้-หงเฉียว | ภายในประเทศ A |
Kenya Airways2 | กรุงเทพ-สุวรรณภูมิ, Nairobi-Jomo Kenyatta | ระหว่างประเทศ |
Korean Air | โซล-อินช็อน | ระหว่างประเทศ |
Kunming Airlines | คุนหมิง | ภายในประเทศ A |
Lao Airlines | เวียงจันทน์ | ระหว่างประเทศ |
Loong Air | หางโจว | ภายในประเทศ A |
Mahan Air | เตหะราน | ระหว่างประเทศ |
Malaysia Airlines | กัวลาลัมเปอร์ | ระหว่างประเทศ |
Myanmar Airways International | ย่างกุ้ง | ระหว่างประเทศ |
Okay Airways | เทียนจิน | ภายในประเทศ A |
Orient Thai Airlines | กรุงเทพ-ดอนเมือง | ระหว่างประเทศ |
Philippine Airlines | มะนิลา | ระหว่างประเทศ |
Qatar Airways | โดฮา | ระหว่างประเทศ |
Royal Jordanian3 | Amman-Queen Alia (begins 2 December 2015)[12] | ระหว่างประเทศ |
Saudia | ญิดดะฮ์, ริยาด | ระหว่างประเทศ |
Shaheen Air | ลาฮอร์ (begins 1 November 2015)[13] | ระหว่างประเทศ |
Shandong Airlines | จี่หนาน, ชิงเต่า, Wuyishan, Yantai, เซี่ยเหมิน | ภายในประเทศ A |
Shanghai Airlines | หางโจว, นานจิง, เซี่ยงไฮ้-หงเฉียว, เซี่ยงไฮ้-ผู่ตง, Wenzhou, เซี่ยเหมิน | ภายในประเทศ B |
Shenzhen Airlines | เปาโถว, ฉางชุน, ฉางโจว, เฉิงตู, ต้าเหลียน, Haikou, ฮาร์บิน, Hefei, Hohhot, จี่หนาน, Jingdezhen, คุนหมิง, Lanzhou, Linyi, Nanchang, นานจิง, นานตง, หนิงปัว, ชิงเต่า, Quanzhou, เสิ่นหยาง, Taizhou, เทียนจิน, Wenzhou, อู่ฮั่น, Wuxi, ซีอาน, เซี่ยเหมิน, Xining, Yibin, Yichun(Jiangxi), Yinchuan, Zhoushan | ภายในประเทศ A |
Shenzhen Airlines | ฤดูกาล: กรุงเทพ-สุวรรณภูมิ[14] | ระหว่างประเทศ |
Siam Air | กรุงเทพ-ดอนเมือง | ระหว่างประเทศ |
Sichuan Airlines | เฉิงตู, ฉงชิ่ง, หางโจว, Yinchuan | ภายในประเทศ B |
Sichuan Airlines | เกาะไซปัน | ระหว่างประเทศ |
Singapore Airlines | สิงคโปร์ | ระหว่างประเทศ |
Spring Airlines | เซี่ยงไฮ้-หงเฉียว, ฉือเจียจวง | ภายในประเทศ A |
SriLankan Airlines | กรุงเทพ-สุวรรณภูมิ, โคลัมโบ | ระหว่างประเทศ |
T'way Airlines | เหมาลำ: เชจู | ระหว่างประเทศ |
Thai AirAsia | กรุงเทพ-ดอนเมือง, กระบี่ | ระหว่างประเทศ |
Thai Airways | กรุงเทพ-สุวรรณภูมิ | ระหว่างประเทศ |
Tigerair | สิงคโปร์ | ระหว่างประเทศ |
Turkish Airlines | Istanbul-Atatürk | ระหว่างประเทศ |
Uni Air | Taichung | ระหว่างประเทศ |
Vietnam Airlines | ฮานอย, นครโฮจิมินห์, ดานัง | ระหว่างประเทศ |
West Air | ฉงชิ่ง | ภายในประเทศ A |
เซี่ยเหมิน Air | ฝูโจว, หางโจว, ฉวนโจว, เซี่ยเหมิน | ภายในประเทศ B |
อาคารผู้โดยสาร 1 มีสามองค์ประกอบคือ อาคารผู้โดยสารหลัก อาคารเทียบเครื่องบิน (ฝั่ง) A และ อาคารเทียบเครื่องบิน (ฝั่ง) B
เคาน์เตอร์เช็คอินและร้านค้าปลีกส่วนใหญ่จะอยู่ที่อาคารหลักและมีทางเดินเชื่อมสู่อาคารเทียบเครื่องบินทั้งสองข้าง ภายในอาคารเทียบเครื่องบิน A และ B มีการดำเนินงานแยกเป็นเอกเทศทั้งสองอาคาร คือ จุดตรวจรักษาความปลอดภัย ประตูขึ้นเครื่อง การตรวจคนเข้าเมือง ด่านศุลกากรและกักกัน การรับสัมภาระเดินทาง และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวข้อง
ชั้น | อาคารและการให้บริการ | รายละเอียดของการให้บริการ |
---|---|---|
4F | การบริการวีไอพี | ห้องรับรองผู้โดยสาร VIP ท่าอากาศยานไป๋-ยฺหวิน |
3F | โถงขาออก | การเช็คอินเที่ยวบินภายในประเทศ, การเช็คอินเที่ยวบินระหว่างประเทศ และ ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน
ห้องรับรองผู้โดยสาร VIP แอร์ไชน่า, ห้องรับรองผู้โดยสาร VIP ท่าอากาศยานไป๋-ยฺหวิน |
อาคารเทียบเครื่องบิน
A ขาออก |
สำหรับเที่ยวบินระหว่างประเทศ และ ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน (รวมถึง การตรวจความปลอดภัยก่อนขึ้นเครื่อง ศุลกากรและกักกัน การตรวจคนเข้าเมือง)
ร้านค้าปลอดภาษี, ห้องรับรองผู้โดยสาร VIP, ประตูขึ้นเครื่องระหว่างประเทศ และ ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน (ประตู A101-A123) | |
สำหรับเที่ยวบินภายในประเทศ (รวมถึง การตรวจความปลอดภัยก่อนขึ้นเครื่อง)
ห้องรับรองผู้โดยสาร VIP, ร้านค้า, ประตูขึ้นเครื่องภายในประเทศ (A124-A133) | ||
อาคารเทียบเครื่องบิน
B ขาออก |
สำหรับเที่ยวบินภายในประเทศ (รวมถึง การตรวจความปลอดภัยก่อนขึ้นเครื่อง)
ห้องรับรองผู้โดยสาร VIP, ร้านค้า, ประตูขึ้นเครื่องภายในประเทศ (B201-B235) | |
2F | โถงขาเข้า และ
การเปลี่ยนเครื่องต่อ |
ประตูขาเข้าเที่ยวบินภายในประเทศ ประตูขาเข้าเที่ยวบินระหว่างประเทศ และ ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน
พื้นที่การตรวจคนเข้าเมืองของเที่ยวบินระหว่างประเทศ |
1F | โถงขาเข้า | การเช็คอินเที่ยวบินภายในประเทศ
พื้นที่เชิงพาณิชย์ ลานจอดรถ |
ประตูขึ้นเครื่องหลุมจอดระยะไกล
(เข้าถึงได้เฉพาะจากชั้น 3F เท่านั้น) |
ประตูขึ้นเครื่องเที่ยวบินระหว่างประเทศ และ ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน (A01-A12) | |
ประตูขึ้นเครื่องเที่ยวบินภายในประเทศหลุมจอดระยะไกล (A13-A18) ต่อด้วยรถรับส่งขึ้นเครื่อง | ||
ประตูขึ้นเครื่องเที่ยวบินภายในประเทศหลุมจอดระยะไกล (B01-B18) ต่อด้วยรถรับส่งขึ้นเครื่อง | ||
อาคารเทียบเครื่องบิน
A ขาเข้า |
พื้นที่รับกระเป๋าสัมภาระสำหรับเที่ยวบินภายในประเทศ, พื้นที่รับกระเป๋าสัมภาระสำหรับเที่ยวบินระหว่างประเทศ และ ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน
การรักษาความปลอดภัย ศุลกากรและกักกัน การตรวจคนเข้าเมือง สำหรับเที่ยวบินระหว่างประเทศ และ ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน | |
อาคารเทียบเครื่องบิน
B ขาเข้า |
พื้นที่รับกระเป๋าสัมภาระสำหรับเที่ยวบินภายในประเทศ | |
-1F | พื้นที่สาธารณะชั้นใต้ดิน | ระเบียงท้องฟ้าและทะเล (เพื่อไปยังอาคารเทียบเครื่องบิน A)
อุโมงค์กาลเวลา (เพื่อไปยังอาคารเทียบเครื่องบิน B) สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินใต้สนามบิน และ อาคารจอดรถ |
อาคารผู้โดยสาร 2 เปิดเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2561 โดยมีพื้นที่กว่า 658,000 ตารางเมตร ทำให้เป็นหนึ่งในอาคารท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดในโลก เมื่อาคารผู้โดยสาร 2 ดำเนินการอย่างเป็นทางการปกติแล้วจะเป็นท่าอากาศยานหลักของ ไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์ นอกจากนี้สายการบินส่วนใหญ่ในพันธมิตรทางการบิน SkyTeam จะเข้าใช้งานในอาคาร 2 ด้วยเช่นกัน
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.