สกายทีม (อังกฤษ: Skyteam) เป็นหนึ่งในสามเครือข่ายพันธมิตรสายการบินหลักของโลก ก่อตั้งเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2000 เป็นพันธมิตรสายการบินกลุ่มสุดท้ายที่ก่อตั้งขึ้นจากทั้งสามกลุ่มหลัก ตามหลังสตาร์อัลไลแอนซ์และวันเวิลด์ โดยในปี 2024 กลุ่มพันธมิตรให้บริการผู้โดยสารกว่า 624 ล้านคน[1] เป็นเครือข่ายพันธมิตรที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสอง[4][5][6] ณ เดือนตุลาคม ค.ศ. 2024 สกายทีมมีสายการบินสมาชิก 19 แห่งจากทั่วโลก และดำเนินการด้วยคำขวัญ ดูแลคุณได้มากกว่า (Caring more about you) นอกจากนี้หลุ่มพันธมิตรยังมีการจัดตั้งเครือข่ายพันธมิตรสำหรับสายการบินขนส่งสินค้าในชื่อ สกายทีมคาร์โก ซึ่งสมาชิกทั้ง 10 สายการบินเป็นสายการบินลูกของสมาชิกสกายทีม กลุ่มพันธมิตรมีสำนักงานใหญ่ในอัมสเติลเวน ประเทศเนเธอร์แลนด์[3]

ข้อมูลเบื้องต้น ก่อตั้ง, สายการบินสมาชิก ...
สกายทีม
Thumb
ก่อตั้ง22 มิถุนายน ค.ศ. 2000 (24 ปี)
สายการบินสมาชิก19
ท่าอากาศยานปลายทาง1,150+[1]
ประเทศปลายทาง175
ปริมาณผู้โดยสาร (ล้าน)630[2]
ขนาดฝูงบิน3,054
สำนักงานใหญ่อัมสเติลเวน เนเธอร์แลนด์[3]
ผู้บริหาร
  • อันเดรส โกเนซา (ประธาน)
  • ปาทริค รูซ์ (ซีอีโอ)
คำขวัญดูแลคุณได้มากกว่า (Caring more about you)[1]
เว็บไซต์www.skyteam.com
ปิด

ณ ปี 2024 สกายทีมบินไปยังจุดหมายปลายทางมากกว่า 1,000 แห่งในกว่า 160 ประเทศ และให้บริการเที่ยวบินมากกว่า 13,600 เที่ยวบินต่อวัน[1] กลุ่มพันธมิตรและสมาชิกมีห้องรับรอง 750 แห่งทั่วโลก

ประวัติ

สรุป
มุมมอง

การก่อตั้งและช่วงแรก

เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 2000 ตัวแทนของสายการบินเดลตาแอร์ไลน์ อาเอโรเมฆิโก แอร์ฟรานซ์ และโคเรียนแอร์ ได้จัดการประชุมในนครนิวยอร์กเพื่อก่อตั้งพันธมิตรสายการบินที่สาม[7] สายการบินเหล่านี้ได้กลายมาเป็นสี่สมาชิกแรกก่อตั้งสกายทีม โดยภายหลังการก่อตั้งกลุ่มพันธมิตรได้ให้บริการเที่ยวบิน 6,402 เที่ยวบินต่อวันสู่จุดหมายปลายทาง 451 แห่งใน 98 ประเทศทั่วโลก ในปีเดือนกันยายน ค.ศ. 2000 กลุ่มพันธมิตรได้จัดตั้งพันธมิตรขนส่งสินค้าที่เรียกว่า สกายทีมคาร์โก โดยมีอาเอโรเมกซ์เปรส แอร์ฟรานซ์คาร์โก เดลตาแอร์ดลจิสติก และโคเรียนแอร์คาร์โกเป็นสมาชิกแรกก่อตั้ง[7] ในเดือนถัดมา แชแอ็สอาเช็กแอร์ไลน์ ได้แสดงเจตจำนงในการเข้าร่วมกลุ่มพันธมิตร โดยมีแผนที่จะได้รับสถานภาพสมาชิกในเดือนเมษายนของปีถัดไป[8]

ในวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 2001 แชแอ็สอาเช็กแอร์ไลน์ได้เข้าร่วมสกายทีม เป็นสายการบินแรกที่เข้าร่วมพันธมิตรหลังการก่อตั้ง[9] และต่อมาอาลีตาเลียได้เข้าร่วมกลุ่มพันธมิตรเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคมของปีเดียวกัน[10] โดยสถานภาพการเป็นสมาชิกจะมีผลในวันที่ 1 พฤศจิกายนของปีนั้น[11] ในการจัดตั้งกลุ่มสายการบินกับแอร์ฟรานซ์ ทำให้เคแอลเอ็ม สายการบินประจำชาติเนเธอร์แลนด์ยื่นขอเป็นสมาชิกของสกายทีมในวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 2001[12] ในปี 2003 เดลตาแอร์ไลน์ได้ทดแทนเดลตาเอกซ์เพรส สายการบินลูก ด้วยซองในานะสมาชิกในเครือของสายการบิน[13][14] ในปีเดียวกันนั้นสกายทีมยังได้เปิดตัวเว็บไซต์ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ ซึ่งเน้นไปที่การให้ข้อมูลแก่ผู้โดยสารมากขึ้น เพิ่มการโต้ตอบ และสื่ออื่นๆ[15]

ค.ศ. 2004: การขยายตัวครั้งใหญ่ครั้งแรก

Thumb
ซุคฮอย ซูเปอร์เจ็ต 100 ของแอโรฟลอตที่มอสโก–เชเรเมเตียโว

ในวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 2004 แอโรฟลอตได้ทำบันทึกความเข้าใจกับสกายทีมในเครมลินเกี่ยวกับความตั้งใจในการเข้าร่วมเป็นสมาชิก ภายหลังการยื่นสมัครเป็นสมาชิกในช่วงต้นปี[16][17] สกายทีมได้แสดงความเห็นว่าแอโรฟลอตไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานของกลุ่มพันธมิตร แต่เครือข่ายฐานการบินขนาดใหญ่ของสายการบินทำให้แอโรฟลอตมีความเหมาะสมต่อเครือข่ายพันธมิตร ซึ่งสามารถชดเชยข้อบกพร่องได้[18]

เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์ สายการบินที่ใหญ่ที่สุดของสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ลงนามข้อตกลงเบื้องต้นในกว่างโจวในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกเต็มตัว[19] หยาน จื้อชิง ประธานของไชนาเซาเทิร์น กล่าวว่า "การลงนามข้อตกลงครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในอนาคตของสายการบินในการปรับตัวให้เข้ากับความต้องการในการพัฒนาและเปิดรับต่อสังคมนานาชาติ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศและความสามารถในการแข่งขันในระดับโลกของสายการบินให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น"

ในวันที่ 13 กันยายน คอนติเนนตัลแอร์ไลน์ เคแอลเอ็มและนอร์ทเวสต์แอร์ไลน์เข้าร่วมสกายทีม[20][21] การเข้าร่วมพร้อมกันนี้ถือเป็นการขยายตัวครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์พันธมิตรสายการบิน ซึ่งทำให้สกายทีมแซงหน้าวันเวิลด์เป็นพันธมิตรสายการบินที่ใหญ่เป็นอันดับสอง โดยให้บริการแก่ลูกค้ามากกว่า 341 ล้านคนด้วยเที่ยวบิน 14,320 เที่ยวบินต่อวันไปยังจุดหมายปลายทาง 658 แห่งใน 130 ประเทศ[20]

ค.ศ. 2005–2006

แม้แชแอ็สอาเช็กแอร์ไลน์จะให้คำมั่นในการช่วยให้มาเลฟฮังกาเรียนแอร์ไลน์เป็นสมาชิกที่เกี่ยวข้องกับสกายทีม แต่มาเลฟได้เลือกที่จะเข้าร่วมวันเวิลด์แทนในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม ไม่กี่วันต่อมาสกายทีมได้ประกาศรับสมาชิกใหม่ 4 ราย โดยจะเข้าร่วมในปี 2006 ได้แก่ แอร์ยูโรปา (ได้รับการสนับสนุนจากแอร์ฟรานซ์) โกปาแอร์ไลน์ (ได้รับการสนับสนุนและเป็นเจ้าของบางส่วนโดยคอนติเนนตัลแอร์ไลน์) เคนยาแอร์เวย์ (ได้รับการสนับสนุนและเป็นเจ้าของบางส่วนโดยเคแอลเอ็ม) และตารอม (ได้รับการสนับสนุนจากอาลีตาเลีย)[22] เคนยาแอร์เวย์และแอร์ยูโรปาใช้โปรแกรมสะสมไมล์ ฟลายอิงบลูเดียวกันกับแอร์ฟรานซ์–เคแอลเอ็ม[23]

แอโรฟลอตเข้าร่วมสกายทีมในวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 2006[24] ภายหลังขั้นตอนนาน 23 เดือนที่เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2004 (2004-05)[25] โดยนับเป็นสายการบินสัญชาติรัสเซียแห่งแรกที่มีความสัมพันธ์กับเครือข่ายพันธมิตรสายการบินนานาชาติใดๆ[26][27] แอโรฟลอตได้ยกระดับมาตรฐานการดำเนินงาน โดยผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ ในปีเดียวกันนั้นเดลตาได้ควบรวมกิจการของซองเข้ากับสายการบินแม่[28] ในเดือนมิถุนายน ได้มีการประกาศว่าปูร์ตูกาเลียแอร์ไลน์จะเป็นผู้สมัครเป็นสมาชิกที่เกี่ยวข้องของสกายทีม[29] แต่ในเดือนพฤศจิกายนตัปแอร์ปูร์ตูกัล ซึ่งเป็นสมาชิกของสตาร์อัลไลแอนซ์ได้เข้าซื้อหุ้นส่วน 99.81% ในสายการบิน ส่งผลให้ต้องยกเลิกการสมัครนั้นไป[30]

ค.ศ. 2007: การขยายตัว

เมื่อวันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 2007 แอร์ยูโรปา โกปาแอร์ไลน์[nb 1] และเคนยาแอร์เวย์เข้าร่วมสกายทีมโดยเป็นสมาชิกที่เกี่ยวข้อง[31] ซึ่งเปิดตัวเพื่อรองรับสายการบินในภูมิภาคที่เป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่ตั้งใจจะเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับเครือข่าย[32][33] ในปีเดียวกันไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์ได้เข้าร่วมสกายทีมในวันที่ 15 พฤศจิกายน โดยเป็นสมาชิกลำดับที่ 11 และเป็นสมาชิกแรกในจีน[34][35]

ค.ศ. 2008–2009: การออกจากเครือข่ายของสมาชิกและความคิดริเริ่มใหม่

Thumb
โบอิง 777-200อีอาร์ของอาลีตาเลียที่ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะในปี 2019

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2008 (2008-06)[36] ภายหลังการผนวกกิจการของคอนติเนนตัลแอร์ไลน์เข้าสู่ยูไนเต็ดแอร์ไลน์[37] ทั้งคอนติเนนตัลและโกปาแอร์ไลน์ประกาศแผนที่จะออกจากสกายทีมและเข้าร่วมสตาร์อัลไลแอนซ์หลังเที่ยวบินสุดท้ายของคอนติเนนตัลกับสกายทีมในวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 2009[38][39][40] และทั้งสองสายการบินได้ออกจากเครือข่ายสกายทีมในวันตามที่ประกาศไว้ในเบื้องต้น[41][42] โดยคอนติเนนตัลเข้าร่วมสตาร์อัลไลแอนซ์ในสามวันต่อมา[43] ในเวลานั้น มีข่าวลือว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นการเคลื่อนไหวครั้งแรกของคอนติเนนตัลในการควบรวมกิจการกับยูไนเต็ด[44]

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2009 (2009-04) กลุ่มพันธมิตรได้ทำข้อตกลงเบื้องต้นกับเวียดนามแอร์ไลน์ในการที่สายการบินจะเข้าร่วมสกายทีมในปี 2010[45] และในปีเดียวกันนั้น อาลีตาเลีย-ลิเนเออาเอเรเออิตาลียานีได้เปลี่ยนชื่อเป็นอาลีตาเลีย[46] และกลุ่มพันธมิตรได้ประกาศแผนริเริ่มที่จะมุ่งสู่การบริหารจัดการแบบรวมศูนย์ที่ตั้งอยู่ในอัมสเตอร์ดัม[47] นอกจากนี้แล้วยังได้แต่งตั้งกรรมการผู้จัดการคนใหม่ คือ มารี-โฌแซ็ฟ มาเล พร้อมทั้งระบุไทม์ไลน์สำหรับการเปิดตัวสิ่งอำนวยความสะดวกร่วมกันที่ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์และเปิดตัวลวดลายอากาศยานใหม่[47]

ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2009 (2009-09) โอลิมปิกแอร์ได้ทำข้อตกลงการบินโดยใช้รหัสเที่ยวบินร่วมกันกับเดลตาแอร์ไลน์ โดยข้อตกลงนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการในการเข้าร่วมสกายทีมของโอลิมปิกแอร์และการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับคู่กิจการร่วมค้าของเดลตา แอร์ฟรานซ์–เคแอลเอ็ม[48][49][50][51] อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ได้ถูกตัดขาดในปี 2013 หลังจากที่อีเจียนแอร์ไลน์ ซึ่งเป็นสมาชิกสตาร์อัลไลแอนซ์ได้เข้าซื้อกิจการของสายการบิน

ค.ศ. 2010: วาระครบรอบ 10 ปี

ในวันที่ 1 มกราคม นอร์ทเวสต์แอร์ไลน์ได้ผนวกกิจการเข้ากับเดลตาแอร์ไลน์[52] ต่อมาในวันที่ 9 มีนาคม ไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์ได้ประกาศแผนการเข้าร่วมสกายทีมคาร์โก[53][54][55] โดยคาดว่าจะได้รับการอนุมัติสมาชิกภาพในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน ทำให้สายการบินนี้เป็นสายการบินจีนรายแรกที่จะเข้าร่วมพันธมิตรขนส่งสินค้าทางอากาศระดับโลก[53] เมื่อวันที่ 16 เมษายน ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ได้ประกาศความตั้งใจที่จะเข้าร่วมสกายทีม โดยคาดว่าจะเข้าร่วมอย่างเต็มรูปแบบในช่วงกลางปี ​​2011[56][57] ประกาศดังกล่าวมีขึ้นในเวลาไม่นานหลังจากสายการบินได้ควบรวมกิจการกับช่างไห่แอร์ไลน์ ซึ่งเป็นสมาชิกของสตาร์อัลไลแอนซ์

Thumb
แอร์บัส เอ350-900 ของเวียดนามแอร์ไลน์ที่ท่าอากาศยานนานาชาติเถา-ยฺเหวียน

เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน เวียดนามแอร์ไลน์ได้เข้าเป็นสมาชิกเต็มตัวหลังจากพิธีเข้าร่วมที่จัดขึ้นในฮานอย[58][59] โดยนับเป็นสมาชิกรายแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีอิทธิพลจากสตาร์อัลไลแอนซ์มาก ทั้งการบินไทยและสิงคโปร์แอร์ไลน์ที่เป็นสมาชิก เวียดนามแอร์ไลน์เพิ่มจุดหมายปลายทางพิเศษอีก 20 แห่งในเครือข่าย เป็นการเสริมความแข็งแกร่งให้กับสกายทีมในภูมิภาคนี้[58]

Thumb
โบอิง 737-700 ของตารอมขณะขึ้นบินจากท่าอากาศยานสคิปโฮลในปี 2014

เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ซีอีโอและประธานของสายการบินสมาชิกทั้ง 13 แห่งได้มารวมตัวกันในนครนิวยอร์กเพื่อเฉลิมฉลองวันครบรอบ 10 ปีของกลุ่มพันธมิตร[60] ในช่วงทศวรรษแรกของการดำเนินงาน กลุ่มพันธมิตรสายการบินที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกมีสมาชิกเพิ่มขึ้นมากกว่าสามเท่า เที่ยวบินเพิ่มขึ้นสองเท่า และเส้นทางบินไปยังจุดหมายปลายทางเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่า[61] ในวันเดียวกันนั้น สกายทีมได้ยกสถานะสมาชิกของแอร์ยูโรปา เคนยาแอร์เวย์ และตารอม จากสมาชิกระดับรองเป็นสมาชิกเต็มรูปแบบ[62] ในระหว่างงานดังกล่าว คณะกรรมการได้ระบุแผนการในการคัดเลือกสมาชิกจากละตินอเมริกา อเมริกาใต้ และอินเดีย[61] สามวันต่อมา ตารอมได้เป็นสมาชิกสกายทีมรายที่ 13 อย่างเป็นทางการ[63] เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลอง สกายทีมได้เสนอส่วนลดค่าโดยสารรอบโลก[64] และโปรโมชั่นอื่นๆ หลังจากครบรอบ 10 ปี สกายทีมตั้งใจที่จะยกระดับประสบการณ์การเดินทางของลูกค้าและกระชับความร่วมมือระหว่างสมาชิกเพื่อเสริมการขยายบริการไปยังภูมิภาคที่ยังไม่มีสมาชิก[65]

Thumb
เอทีอาร์ 42-500 ของเช็กแอร์ไลน์ที่ท่าอากาศยานวาตส์ลัฟ ฮาแว็ลในปี 2010

ในช่วงปีที่ผ่านมา เดลตาแอร์ไลน์ได้เสนอเงิน 1.02 พันล้านดอลลาร์สหรัฐให้กับเจแปนแอร์ไลน์ หลังจากที่สายการบินแห่งเอเชียแห่งนี้ได้ยื่นฟ้องล้มละลายเนื่องจากมีหนี้จำนวน 26 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[66]พร้อมกันนั้นก็พยายามโน้มน้าวให้สมาชิกวันเวิลด์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียให้เปลี่ยนไปเข้าร่วมสกายทีม[67] เดลตาและอเมริกันแอร์ไลน์แสดงความต้องการให้เจเอแอลเข้าร่วมพันธมิตรสายการบินของตน ซึ่งก็จะเป็นผลประโยชน์จากข้อตกลงโอเพนสกายระหว่างสหรัฐและญี่ปุ่น ในท้ายที่สุดเจแปนแอร์ไลน์เลือกที่จะยังคงอยู่ที่วันเวิลด์โดยอ้างว่าการโอนไปยังสกายทีมจะสร้างความสับสนให้กับผู้โดยสาร และอาจไม่ได้รับเอกสิทธิ์คุ้มครองการผูกขาดจากหน่วยงานกำกับดูแลของสหรัฐ[68]

สกายทีมได้รับใบสมัครสมาชิกเต็มรูปแบบใบที่สองภายในเวลาห้าเดือน ไชนาแอร์ไลน์ สายการบินประจำชาติและสายการบินที่ใหญ่ที่สุดของไต้หวัน ได้ประกาศเริ่มกระบวนการเข้าร่วมเครือข่ายอย่างเป็นทางการในช่วงกลางเดือนกันยายน[69][70][71] เมื่อเข้าร่วมแล้ว เครือข่ายเส้นทางของสายการบินจะเป็นการเสริมเครือข่ายของไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์และไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ ทำให้ทั้งสามสายการบินสามารถร่วมมือกันได้ ในเดือนถัดมา อาเอโรลิเนอัสอาร์เฆนตินัสได้ลงนามในข้อตกลงเพื่อเริ่มกระบวนการอย่างเป็นทางการในการเป็นสมาชิกสกายทีมแห่งแรกในอเมริกาใต้ โดยมีกำหนดเข้าร่วมในปี 2012[72][73][74]

เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ช่างไห่แอร์ไลน์ได้ออกจากเครือข่ายสตาร์อัลไลแอนซ์เพื่อเข้าร่วมกับสกายทีมในอนาคตภายใต้ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ บริษัทแม่ ซึ่งจะเป็นสมาชิกของสกายทีมในอนาคตเช่นเดียวกัน ส่งผลให้สกายทีมมีสถานะที่แข็งแกร่งขึ้นในสาธารณรัฐประชาชนจีนและพื้นที่โดยรอบ และส่งผลให้เป็นพันธมิตรอันดับหนึ่งในภูมิภาค[75] การูดาอินโดนีเซียเริ่มกระบวนการในการเข้าเป็นสมาชิกในวันที่ 23 พฤศจิกายน และมีแผนที่จะเข้าร่วมในปี 2012[76] เมื่อเข้าร่วมแล้ว สายการบินดังกล่าวได้กลายเป็นสายการบินที่สองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เข้าร่วมสกายทีม ท้าทายอิทธิพลจากสตาร์อัลไลแอนซ์ในภูมิภาค จากการบินไทยและสิงคโปร์แอร์ไลน์

ค.ศ. 2011–2014: การขยายตัวครั้งใหญ่ครั้งที่สอง

Thumb
เซี่ยเหมินแอร์ไลน์เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสกายทีมในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2012[77]

เมื่อวันที่ 10 มกราคม ค.ศ. 2011 ซาอุดีอาระเบียนแอร์ไลน์ได้ลงนามข้อตกลงเข้าร่วมสกายทีมในปี 2012[78] ต่อมาในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ มิดเดิลอีสต์แอร์ไลน์ได้ยืนยันที่จะเข้าร่วมเครือข่าย[79][80] ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 (2011-02) เดลตาและแอร์ฟรานซ์–เคแอลเอ็มได้ให้โกลด์แมน แซคส์เป็นที่ปรึกษาในการเสนอซื้อหุ้น 51% ของเซอร์ริชาร์ด แบรนสัน ในเวอร์จินแอตแลนติก ซึ่งอาจนำไปสู่การที่สายการบินดังกล่าวเข้าร่วมเครือข่ายและเป็นขยายฐานที่มั่นของสกายทีมในลอนดอน นอกจากนี้คู่แข่งอย่างสตาร์อัลไลแอนซ์และสายการบินเอทิฮัด ก็ยังพิจารณาทางเลือกอื่น ๆ ในการแข่งขันกับสกายทีมผ่านเวอร์จินแอตแลนติกอีกเช่นกัน[81] ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ เข้าร่วมสกายทีมในวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 2011 พร้อมกันกับช่างไห่แอร์ไลน์ เป็นสมาชิกลำดับที่ 14[82][83] ต่อมาในวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 2011 ไชนาแอร์ไลน์ได้เข้าร่วมพันธมิตร[84] ในเดือนพฤศจิกายนของปีเดียวกันนั้น เซี่ยเหมินแอร์ไลน์ได้แสดงความตั้งใจที่จะรวมเข้าเป็นสมาชิกแบบเต็มตัวภายในสิ้นปี 2012[85] โดยได้รับการสนับสนุนจากไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์[86]

Thumb
แอร์บัส เอ330-300 ของเซาเดียขณะขับเคลื่อนบนทางวิ่งที่ท่าอากาศยานอาทาทืร์ค

เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 ซาอุดีอาระเบียนแอร์ไลน์เข้าร่วมสกายทีม นับเป็นสายการบินแรกที่เข้าร่วมพันธมิตรในปี 2012 เป็นสายการบินแรกที่มีฐานอยู่ในตะวันออกกลาง และเป็นสมาชิกลำดับที่ 16[87][88] ในวันเดียวกันนั้นซาอุดีอาระเบียนแอร์ไลน์ได้เปลี่ยนชื่อเป็นเซาเดีย[89] ในหนึ่งเดือนต่อมา มิดเดิลอีสต์แอร์ไลน์เข้าร่วมสกายทีมเป็นสมาชิกลำดับที่ 17 ในวันที่ 28 มิถุนายน[90][91] เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 2012 อาเอโรลิเนอัสอาร์เฆนตินัสเป็นสายการบินแรกของอเมริกาใต้และสายการบินที่สองของละตินอเมริกาที่เข้าร่วมสกายทีม[92][93] โดยเป็นสมาชิกลำดับที่ 18[94] เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012 เซี่ยเหมินแอร์ไลน์เข้าร่วมสกายทีมเป็นสมาชิกรายที่ 4 ในจีนแผ่นดินใหญ่[77] และเป็นลำดับที่ 19 ของเครือข่าย[95][96][97] เมื่อช่วงปลายปี 2013 หนังสือพิมพ์รัสเซีย คอมเมรซันต์ ได้ตีพิมพ์บทความที่ระบุว่า แอโรฟลอตกำลังพิจารณาออกจากเครือข่ายเนื่องจากมีความขัดแย้งกับเดลตาในเรื่องราคาสำหรับเส้นทางบินบางเส้นทางไปยังอเมริกาเหนือ นอกจากนี้รายงานยังระบุด้วยว่าสายการบินของรัสเซียกำลังพิจารณาเข้าร่วม สตาร์อัลไลแอนซ์[98] เพื่อประเมินสิทธิประโยชน์ของการเป็นสมาชิกสกายทีม จึงได้มีการดำเนินการศึกษาวิจัยในเดือนกรกฎาคม จากนั้น คณะกรรมการแอโรฟลอตก็ยืนยันตำแหน่งของตนภายในกลุ่มพันธมิตรอีกครั้งในเดือนกันยายน ค.ศ. 2013 (2013-09)[99]

เมื่อวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 2014 การูดาอินโดนีเซียได้เข้าร่วมสกายทีม เป็นสมาชิกลำดับที่ 20[100][101][102] เดิมการูดามีแผนที่จะได้รับสถานะสมาชิกสกายทีมในปี 2012 แต่กระบวนการเข้าร่วมใช้เวลานานถึง 40 เดือนจึงจะเสร็จสมบูรณ์[103]

ค.ศ. 2015–ปัจจุบัน: การขยายตัวครั้งใหญ่ครั้งที่สาม

เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2018 ไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์ได้ออกจากเครือข่าย[104]

เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 2019 อินเตอร์แนชนัลแอร์ไลน์กรุ๊ป (ไอเอจี) ประกาศว่าได้ตกลงเงื่อนไขในการเข้าซื้อแอร์ยูโรปาแล้ว และสายการบินจะออกจากสกายทีมหากข้อตกลงดังกล่าวประสบความสำเร็จ[ต้องการอ้างอิง] ด้วยการระบาดทั่วของโควิด-19 และข้อกังวลด้านการต่อต้านการผูกขาดทำให้การขายล่าช้า การเจรจาได้เริ่มต้นขึ้นอีกครั้งในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2022 เมื่อไอเอจีตกลงที่จะให้เงินกู้ 100 ล้านยูโรที่แปลงสภาพเป็นหุ้น 20% แก่สายการบิน[105] ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2023 การเจรจาได้สิ้นสุดลง โดยไอเอจีตกลงที่จะซื้อหุ้นที่เหลือ 80% ในแอร์ยูโรปาในราคา 400 ล้านยูโร ซึ่งบริษัทวางแผนที่จะดำเนิการภายใต้ชื่อเดิมแนกออกมา แต่จะได้รับการบริหารจัดการโดยไอบีเรีย การเข้าซื้อนี้ขึ้นอยู่กับการอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแลของยุโรป[106][107][108] ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2014 ไอเอจีได้ยกเลิกข้อตกลงหลังจากเห็นว่าแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อแก้ไขเงื่อนไขต่อต้านการผูกขาดของสหภาพยุโรปมีภาระมากเกินไปจนไม่สามารถทำให้ข้อตกลงดังกล่าวสามารถดำเนินการได้[109]

เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 2021 อาลีตาเลียได้เลิกดำเนิงานและออกจาเครือข่าย[110] โดยสายการบินที่เข้ามาทดแทนอย่างอิตาแอร์เวย์ ได้เข้าร่วมสกายทีมในวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 2021[111][112] ในปี 2023 ภายหลังการยืนยันการเข้าซื้อหุ้น 41% ในอิตาแอร์เวย์โดยลุฟท์ฮันซ่า สายการบินได้ยืนยันว่าจะเข้าซื้ออิตาแอร์เวย์ทั้งหมดภายในปี 2028 และให้สายการบินออกจากสกายทีมและเข้าร่วมสตาร์อัลไลแอนซ์แทน คณะกรรมาธิการยุโรปได้อนุมัติให้เครือลุฟท์ฮันซ่าซื้อหุ้น 41% ในอิตาแอร์เวย์เมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2024[113][114][115][116][117][118] อิตาจะออกจากสกายทีมและเข้าร่วมสตาร์อัลไลแอนซ์ในปี 2026 หรือ 2027[119]

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2022 เดลตาแอร์ไลน์และเคแอลเอ็มได้ประกาศระงับข้อตกลงการบินโดยใช้รหัสเที่ยวบินร่วมกับแอโรฟลอตอันเกี่ยวข้องกับการรุกรานยูเครนโดยรัสเซียในปี 2022[120][121] ต่อมาในวันที่ 27 เมษายน สกายทีมได้ประกาศระวับการเป็นสมาชิกของแอโรฟลอต[122]

เมื่อวันที่ 2 มีนาคม ค.ศ. 2023 เวอร์จินแอตแลนติกได้เข้าร่วมสกายทีม นับเป็นสมาชิกลำดับที่ 19 และเป็นสายการบินแห่งแรกในสหราชอาณาจักรในเครือข่าย[123][124]

เมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 2024 สแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ซิสเต็ม สมาชิกแรกก่อตั้งสตาร์อัลไลแอนซ์ ได้ออกจากเครือข่ายเพื่อเข้าร่วมสกายทีมภายหลังการเข้าซื้อหุ้นส่วนน้อยของแอร์ฟรานซ์–เคแอลเอ็ม[125][126][127] ในวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 2024 เช็กแอร์ไลน์จะยุติการดำเนินการจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินงาน ส่งผลให้สายการบินต้องออกจากเครือข่ายหลังจากเที่ยวบินสุดท้ายไปยังปารีส[128][129][130]

ในเดือนกันยายนและตุลาคม ค.ศ. 2024 ผู้ให้บริการรถไฟความเร็วสูง ยูโรสตาร์และเตรนิตาลิอาได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจเพื่อเข้าร่วมกับสกายทีมในฐานะสมาชิกขนส่งระหว่างรูปแบบ ความร่วมมือนี้จะช่วยให้สามารถบูรณาการการขนส่งผู้โดยสารแบบผสมผสาน (การขนส่งทางอากาศ-ราง) ในสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และเนเธอร์แลนด์ได้[131][132][133][134]

เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 2024 เช็กแอร์ไลน์ได้ออกจากเครือข่ายและเลิกดำเนินหลังการปรับเปลี่ยนกิจการองค์กร โดยเที่ยวบินสุดท้ายได้เดินทางจากปารีสสู่ปรากในช่วงเย็นของวันนั้น[135][136][130]

สมาชิกและสมาชิกในเครือ

สรุป
มุมมอง
Thumb
Thumb
Thumb
Thumb
อาเอโรเมฆิโก แอร์ฟรานซ์ เดลตาแอร์ไลน์ และโคเรียนแอร์ สายการบินผู้ร่วมก่อตั้งสกายทีม

สายการบินสมาชิกและสมาชิกในเครือปัจจุบัน

ณ เดือนกันยายน ค.ศ. 2024 มีสายการบินเป็นสมาชิกของสกายทีมดังนี้:[137]

ข้อมูลเพิ่มเติม สมาชิก, วันที่เข้าร่วม ...
สมาชิก วันที่เข้าร่วม สมาชิกในเครือ
อาร์เจนตินา อาเอโรลิเนอัสอาร์เฆนตินัส 29 สิงหาคม 2012[93]
เม็กซิโก อาเอโรเมฆิโก[A] 22 มิถุนายน 2000
สเปน แอร์ยูโรปา 4 กันยายน 2007[31]
ฝรั่งเศส แอร์ฟรานซ์[A][nb 2] 22 มิถุนายน 2000
ไต้หวัน ไชนาแอร์ไลน์ 28 กันยายน 2011[84]
จีน ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ 21 มิถุนายน 2011[83] จีน ช่างไห่แอร์ไลน์[83]
สหรัฐอเมริกา เดลตาแอร์ไลน์[A] 22 มิถุนายน 2000
อินโดนีเซีย การูดาอินโดนีเซีย 5 มีนาคม 2014[100]
อิตาลี อิตาแอร์เวย์ 29 ตุลาคม 2021[111]
เคนยา เคนยาแอร์เวย์ 4 กันยายน 2007[31]
เนเธอร์แลนด์ เคแอลเอ็ม[nb 2] 13 กันยายน 2004
เกาหลีใต้ โคเรียนแอร์[A] 22 มิถุนายน 2000
เลบานอน มิดเดิลอีสต์แอร์ไลน์ 28 มิถุนายน 2012[90]
ซาอุดีอาระเบีย เซาเดีย 29 พฤษภาคม 2012[88]
เดนมาร์กนอร์เวย์สวีเดน สแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ซิสเต็ม 1 กันยายน 2024[126] สาธารณรัฐไอร์แลนด์ เอสเอเอสคอนเน็ก
สวีเดน เอสเอเอสลิงก์
โรมาเนีย ตารอม 25 มิถุนายน 2010[63]
เวียดนาม เวียดนามแอร์ไลน์ 10 มิถุนายน 2010[58]
สหราชอาณาจักร เวอร์จินแอตแลนติก 2 มีนาคม 2023[138]
จีน เซี่ยเหมินแอร์ 21 พฤศจิกายน 2012[97]
ปิด

Aสายการบินแรกก่อตั้ง

สายการบินสมาชิกและสมาชิกในเครือที่ถูกระงับ

ข้อมูลเพิ่มเติม สมาชิก, วันที่เข้าร่วม ...
สมาชิก วันที่เข้าร่วม วันที่ถูกระงับ สมาชิกในเครือ
รัสเซีย แอโรฟลอต 14 เมษายน 2006[24] 28 เมษายน 2022[122]
ปิด

สมาชิกในอดีต

สายการบินสมาชิกและสมาชิกในเครือในอดีต

ข้อมูลเพิ่มเติม อดีตสมาชิก, วันที่เข้าร่วม ...
อดีตสมาชิก วันที่เข้าร่วม วันที่ออก สมาชิกในเครือ หมายเหตุ
อิตาลี อาลีตาเลีย 27 กรกฎาคม 2001[139] 15 ตุลาคม 2021 อิตาลี อาลีตาเลียซิตีไลเนอร์[140]
จีน ไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์ 15 พฤศจิกายน 2007[35] 31 ธันวาคม 2018[141][142]
สหรัฐอเมริกา คอนติเนนตัลแอร์ไลน์ 13 กันยายน 2004[143] 24 ตุลาคม 2009 ผนวกกิจการเข้ากับยูไนเต็ดแอร์ไลน์ ซึ่งเป็นสมาชิกของสตาร์อัลไลแอนซ์ในวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 2012
เช็กเกีย เช็กแอร์ไลน์ 25 มีนาคม 2001[9] 26 ตุลาคม 2024 [144]
สหรัฐอเมริกา นอร์ทเวสต์แอร์ไลน์ 13 กันยายน 2004[145] 31 มกราคม 2010 ผนวกกิจการเข้ากับเดลตาแอร์ไลน์ในวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 2010
ปิด

อดีตสมาชิกในเครือของสมาชิกปัจจุบัน

ข้อมูลเพิ่มเติม อดีตสมาชิกในเครือ, ปีที่เข้าร่วม ...
อดีตสมาชิกในเครือ ปีที่เข้าร่วม ปีที่ออก สมาชิก
เม็กซิโก อาเอโรลิโตรัล[nb 3] 2000 2007 เม็กซิโก อาเอโรเมฆิโก
เม็กซิโก อาเอโรเมฆิโกตราเบล[nb 4] 2008 2011 เม็กซิโก อาเอโรเมฆิโก
ฝรั่งเศส บริตแอร์ 2000 2013 ฝรั่งเศส แอร์ฟรานซ์
สหรัฐอเมริกา คอมแอร์ 2000 2012 สหรัฐอเมริกา เดลตาแอร์ไลน์
สหรัฐอเมริกา เดลตาเอกซ์เพรส[nb 5] 2000 2003 สหรัฐอเมริกา เดลตาแอร์ไลน์
รัสเซีย โดโบรลิออต 2013 2014 รัสเซีย แอโรฟลอต
ฝรั่งเศส รีเจียนัล 2001 2013 ฝรั่งเศส แอร์ฟรานซ์
สหรัฐอเมริกา ซองแอร์ไลน์[nb 6] 2003 2006 สหรัฐอเมริกา เดลตาแอร์ไลน์
ปิด

สมาชิกที่เกี่ยวข้องในอดีต

ข้อมูลเพิ่มเติม อดีตสมาชิกที่เกี่ยวข้อง, วันที่เข้าร่วม ...
อดีตสมาชิกที่เกี่ยวข้อง วันที่เข้าร่วม วันที่ออก สมาชิกในเครือ
ปานามา โกปาแอร์ไลน์ 4 กันยายน 2007[31] 24 ตุลาคม 2009[146][147][nb 7]
ปิด

สกายทีมคาร์โก

สกายทีมคาร์โกเป็นแผนกขนส่งสินค้าของสกายทีม ณ เดือนเมษายน ค.ศ. 2024 เครือข่ายมีสมาชิก 9 รายจากกลุ่มพันธมิตรขนส่งสินค้าโดยสาร ได้แก่อาเอโรลิเนอัสอาร์เฆนตินัสการ์โก อาเอโรเมฆิโกการ์โก แอร์ฟรานซ์–เคแอลเอ็มคาร์โก (รวมแอร์ฟรานซ์คาร์โกและเคแอลเอ็มคาร์โก) ไชนาคาร์โกแอร์ไลน์ เช็กแอร์ไลน์คาร์โก เดลตาคาร์โก อิตาแอร์เวย์คาร์โก โคเรียนแอร์คาร์โก และเซาเดียคาร์โก[150] อาเอโรลิเนอัสอาร์เฆนตินัสการ์โก หน่วยที่ดำเนินขนส่งอากาศยานของอาเอโรลิเนอัสอาร์เฆนตินัส เข้าร่วมเครือข่ายในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2013 (2013-11)[151] เซาเดียคาร์โกเข้าร่วมเครือข่ายในวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 2019[152]

ดูเพิ่ม

หมายเหตุ

  1. ไม่รวมสายการบินลูก อาเอโรเรปูบลิกา[22]
  2. แอร์ฟรานซ์และเคแอลเอ็มดำเนินการภายใต้บริษัทโฮลดิ้งเดียวกันในชื่อแอร์ฟรานซ์–เคแอลเอ็ม
  3. สายการบินในเครือแรกก่อตั้ง; เปลี่ยนชื่อเป็นอาเอโรเมฆิโกโกเนกต์
  4. อดีตสายการบินลูกที่ดำเนินการเที่ยวบินเช่าเหมาลำ โดยการดำเนินงานถูกควบรวมเข้ากับอาเอโรเมฆิโก
  5. สายการบินในเครือแรกก่อตั้ง; ถูกทดแทนด้วยซองแอร์ไลน์
  6. เลิกดำเนินงานในปี 2006 โดยการดำเนินงานถูกควบรวมกลับเข้าสู่เดลตา
  7. เข้าร่วมสตาร์อัลไลแอนซ์ในช่วงกลางปี 2012[148][149]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.