Loading AI tools
อักษรละติน จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
A (ตัวใหญ่: A, ตัวเล็ก: a) คืออักษร และ สระตัวแรก ในอักษรละติน มีชื่อในภาษาอังกฤษว่า เอ ในขณะที่หลายภาษาเช่น ภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอิตาลี เรียกตามชื่อเดิมของอักษรนี้คือ อา /a/, /aː/ รูปพหูพจน์เขียนเป็น A's, As, as, หรือ a's[1] อักษร A มีพัฒนาการมาตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณโดยมีหลักฐานในอักษรภาพไฮโรกลิฟฟิก และมีการหยิบยืมไปใช้โดยวัฒนธรรมอื่นจนกระทั่งปัจจุบัน โดยยังคงไว้ซึ่งจุดเด่นนั่นคือ A เป็นตัวอักษรแรกของชุดตัวอักษรในภาษาเสมอ ใช้แทนเสียงสระ อา เอ หรือ แอ ที่ประกอบกับเสียงพยัญชนะ หรือใช้แทนเสียงสระอย่างเดียวก็ได้ นอกจากนั้นอักษร A ก็มีการเติมเครื่องหมายและถูกดัดแปลงไปหลายรูปแบบเพื่อการนำไปใช้เป็นอักขรวิธีในภาษาหนึ่ง ๆ
อักษร A มีจุดเริ่มต้นมาจากอักษรภาพ (pictogram) จากรูปหัวของวัวในไฮโรกลิฟ หรืออักษรในยุคสำริด[2]
ในช่วงประมาณ 1600 ปีก่อนคริสตกาล อักษร A ของอักษรฟินิเชียได้พัฒนาเป็นรูปแบบเชิงเส้น ซึ่งเป็นพื้นฐานของรูปแบบการเขียน A ในเวลาต่อมา ชื่อของอักษรนี้มีชื่อเหมือนกับ "อะลิฟ" ในอักษรอาหรับ หรือ "อะเลฟ" ในอักษรฮีบรู
เมื่อถึงยุคกรีซโบราณ ชาวกรีกก็ได้รับเอาอักษรฟินิเชียมาดัดแปลง และเนื่องจากชาวกรีกไม่มีการใช้เสียงกัก เส้นเสียง (glottal stop) อ /ʔ/ เหมือนภาษาฟินิเชียหรือภาษากลุ่มเซมิติกอื่น ๆ ดังนั้นชาวกรีกจึงใช้อักษรนี้แทนเสียงสระ อา /a/ และเรียกชื่อใหม่เป็นแอลฟา (alpha) ในจารึกเริ่มแรกหลังจากยุคมืดของกรีซ (Greek Dark Ages) จนถึงศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล อักษร A เขียนโดยตะแคงด้านหนึ่งราบลงไปกับเส้นบรรทัดคล้ายอักษรฟินิเชีย แต่ในภายหลังอักษรกรีกได้พัฒนาให้คล้ายกับอักษรในปัจจุบัน
Blackletter A | Uncial A | Another Capital A |
Modern Roman A | Modern Italic A | Modern Script A |
ชาวอีทรัสคันได้นำอักษรกรีกไปใช้ในดินแดนคาบสมุทรอิตาลีและยังคงไว้ซึ่งรูปอักษร ต่อมาชาวโรมันนำเอาอักษรอีทรัสคันไปเขียนภาษาละติน ส่งผลให้อักษรนี้ยังคงมีใช้อยู่ในอักษรละตินสมัยใหม่และใช้เขียนภาษาต่าง ๆ ในปัจจุบันรวมทั้งภาษาอังกฤษ
อักษรนี้มีอักษรตัวเล็กสองแบบ แบบหนึ่งประกอบด้วยห่วงคล้ายวงกลมและเส้นตั้งหนึ่งขีด (ɑ) เรียกว่า "ละตินแอลฟา" มักพบในการเขียนด้วยลายมือ ในขณะที่สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ใช้อีกแบบหนึ่งซึ่งประกอบด้วยห่วงคล้ายวงกลมและเส้นโค้งที่คลุมด้านบน (a) อักษรทั้งสองแบบต่างก็พัฒนามาจากอักษรตัวใหญ่ตัวเดียวกัน โดยเชื่อมขาข้างซ้ายเข้ากับเส้นขวางตรงกลางให้เป็นห่วงอันเดียว (ดูภาพ Unicial A) แบบอักษรจำนวนมากได้ทำให้ขาข้างขวาตั้งตรง ซึ่งอักษรบางแบบก็ทำให้เซริฟที่อยู่บนขาข้างขวากลายเป็นเส้นโค้งไป ทำให้รูปแบบนี้ใช้สำหรับการพิมพ์ ส่วนอีกรูปแบบหนึ่งก็ใช้สำหรับการเขียนด้วยลายมือ
อักษร A ถูกใช้แทนเสียงสระซึ่งแตกต่างกันออกไปในแต่ละภาษา อาทิ เสียงสระ อา /a/, อา-ออ /ɑ/ (ปากกว้างกว่า อา) , เอ /eɪ/, หรือ แอ /æ/ และเพื่อแยกแยะเสียงเหล่านี้ บางภาษาได้กำหนดให้เติมเครื่องหมายเสริมสัทอักษร (diacritics) ลงไปบนอักษร เช่น Á À Å เป็นต้น ส่วนในสัทอักษรสากลก็มีสัญลักษณ์จำนวนหนึ่งที่มาจากอักษร A ในรูปแบบต่าง ๆ แทนเสียงสระที่นอกเหนือจากที่กล่าวมา
อักษร A เป็นอักษรที่ถูกใช้บ่อยเป็นอันดับสามในภาษาอังกฤษ และเป็นอันดับสองในภาษาสเปนและภาษาฝรั่งเศส ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วจำนวนอักษร A ในหนังสือภาษาอังกฤษคิดเป็น 8.2% ของตัวอักษรทั้งหมด ในขณะที่ภาษาสเปนและภาษาฝรั่งเศสเท่ากับ 6.2% และ 4% ตามลำดับ[3]
วัฒนธรรมของการใช้อักษร A มักจะถูกตีความว่าเป็นอันดับแรกสุด หรือดีที่สุด เช่นการให้เกรดในสถานศึกษา เกรด A หมายถึงได้คะแนนดีที่สุด เป็นต้น มักใช้จัดลำดับความสำคัญซึ่ง A หมายถึงสำคัญที่สุด ดังเช่นการจัดลำดับหัวข้อโดยใช้อักษรละติน หัวข้อ (A) จะขึ้นต้นก่อนเสมอตามลำดับตัวอักษร[4] การศึกษาในปี พ.ศ. 2553 ของสมาคมจิตวิทยาอังกฤษ ได้ข้อสรุปว่า การที่นักเรียนเห็นตัวอักษร A ก่อนหน้าการสอบจะเป็นการเพิ่มผลการสอบของนักเรียนได้[5]
นอกเหนือไปจากนี้อักษร A ที่ไม่ได้ใช้ตีความในทางดังกล่าว สามารถยกตัวอย่างได้ดังนี้
รหัสแอสกีของ A และ a คือ 65 (0x41) และ 97 (0x61) ตามลำดับ รหัสเอบซีดิกคือ 193 (0xC1) กับ 129 (0x81) ตามลำดับ ส่วนรหัสยูนิโคดสามารถแจกแจงได้ดังนี้ [6]
อักษรตัวใหญ่ | อักษรตัวเล็ก | ||||
---|---|---|---|---|---|
อักขระ | โคดเพจ | ความหมาย | อักขระ | โคดเพจ | ความหมาย |
A | U+0041 | อักษรละติน A ตัวใหญ่ | a | U+0061 | อักษรละติน A ตัวเล็ก |
À | U+00C0 | อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมเกรฟ (grave) | à | U+00E0 | อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมเกรฟ |
Á | U+00C1 | อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมอะคิวต์ (acute) | á | U+00E1 | อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมอะคิวต์ |
 | U+00C2 | อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมเซอร์คัมเฟลกซ์ (circumflex) | â | U+00E2 | อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมเซอร์คัมเฟลกซ์ |
à | U+00C3 | อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมทิลเดอ (tilde) | ã | U+00E3 | อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมทิลเดอ |
Ä | U+00C4 | อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมไดเอเรซิส (diaeresis) | ä | U+00E4 | อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมไดเอเรซิส |
Å | U+00C5 | อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมริง (ring) ด้านบน | å | U+00E5 | อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมริงด้านบน |
Ā | U+0100 | อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมแมครอน (macron) | ā | U+0101 | อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมแมครอน |
Ă | U+0102 | อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมบรีฟ (breve) | ă | U+0103 | อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมบรีฟ |
Ą | U+0104 | อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมออกอแนก (ogonek) | ą | U+0105 | อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมออกอแนก |
Ǎ | U+01CD | อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมแครอน (caron) | ǎ | U+01CE | อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมแครอน |
Ǟ | U+01DE | อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมไดเอเรซิสและแมครอน | ǟ | U+01DF | อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมไดเอเรซิสและแมครอน |
Ǡ | U+01E0 | อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมดอต (dot) ด้านบนและแมครอน | ǡ | U+01E1 | อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมดอตด้านบนและแมครอน |
Ǻ | U+01FA | อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมริงด้านบนและอะคิวต์ | ǻ | U+01FB | อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมริงด้านบนและอะคิวต์ |
Ȁ | U+0200 | อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมดับเบิลเกรฟ (double grave) | ȁ | U+0201 | อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมดับเบิลเกรฟ |
Ȃ | U+0202 | อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมบรีฟกลับหัว | ȃ | U+0203 | อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมบรีฟกลับหัว |
Ȧ | U+0226 | อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมดอตด้านบน | ȧ | U+0227 | อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมดอตด้านบน |
Ⱥ | U+023A | อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมขีดเฉียงทับ | ⱥ | U+2C65 | อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมขีดเฉียงทับ |
◌ͣ | U+0363 | ตัวผสาน อักษรละติน A ตัวเล็ก | |||
Ɐ | U+2C6F | อักษรละติน A ตัวใหญ่ กลับหัว | ɐ | U+0250 | อักษรละติน A ตัวเล็ก กลับหัว |
ᴀ | U+1D00 | อักษรละติน A ตัวใหญ่ ขนาดเล็ก | |||
ᴬ | U+1D2C | ตัวดัดแปร อักษรละติน A ตัวใหญ่ | ᵃ | U+1D43 | ตัวดัดแปร อักษรละติน A ตัวเล็ก |
ᵄ | U+1D44 | ตัวดัดแปร อักษรละติน A ตัวเล็ก กลับหัว | |||
ᶏ | U+1D8F | อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมฮุกปลายลิ้นม้วน (retroflex hook) | |||
Ḁ | U+1E00 | อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมริงด้านล่าง | ḁ | U+1E01 | อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมริงด้านล่าง |
ẚ | U+1E9A | อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมริงครึ่งขวา † | |||
Ạ | U+1EA0 | อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมดอตด้านล่าง | ạ | U+1EA1 | อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมดอตด้านล่าง |
Ả | U+1EA2 | อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมฮุก (hook) ด้านบน | ả | U+1EA3 | อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมฮุกด้านบน |
Ấ | U+1EA4 | อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมเซอร์คัมเฟลกซ์และอะคิวต์ | ấ | U+1EA5 | อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมเซอร์คัมเฟลกซ์และอะคิวต์ |
Ầ | U+1EA6 | อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมเซอร์คัมเฟลกซ์และเกรฟ | ầ | U+1EA7 | อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมเซอร์คัมเฟลกซ์และเกรฟ |
Ẩ | U+1EA8 | อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมเซอร์คัมเฟลกซ์และฮุกด้านบน | ẩ | U+1EA9 | อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมเซอร์คัมเฟลกซ์และฮุกด้านบน |
Ẫ | U+1EAA | อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมเซอร์คัมเฟลกซ์และทิลเดอ | ẫ | U+1EAB | อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมเซอร์คัมเฟลกซ์และทิลเดอ |
Ậ | U+1EAC | อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมเซอร์คัมเฟลกซ์และดอตด้านล่าง | ậ | U+1EAD | อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมเซอร์คัมเฟลกซ์และดอตด้านล่าง |
Ắ | U+1EAE | อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมบรีฟและอะคิวต์ | ắ | U+1EAF | อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมบรีฟและอะคิวต์ |
Ằ | U+1EB0 | อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมบรีฟและเกรฟ | ằ | U+1EB1 | อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมบรีฟและเกรฟ |
Ẳ | U+1EB2 | อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมบรีฟและฮุกด้านบน | ẳ | U+1EB3 | อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมบรีฟและฮุกด้านบน |
Ẵ | U+1EB4 | อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมบรีฟและทิลเดอ | ẵ | U+1EB5 | อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมบรีฟและทิลเดอ |
Ặ | U+1EB6 | อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมบรีฟและดอตด้านล่าง | ặ | U+1EB7 | อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมบรีฟและดอตด้านล่าง |
ₐ | U+2090 | อักษรละติน A ตัวเล็ก ตัวห้อย | |||
A | U+FF21 | อักษรละติน A ตัวใหญ่ เต็มความกว้าง | a | U+FF41 | อักษรละติน A ตัวเล็ก เต็มความกว้าง |
† ตามมาตรฐานยูนิโคด อักษรนี้ไม่มีรูปอักษรตัวใหญ่ แต่ฟังก์ชันการแปลงเป็นอักษรตัวใหญ่ในภาษาจาวา ได้แปลงอักษรนี้ ẚ ไปเป็น Aʾ ซึ่งประกอบขึ้นจากอักขระสองตัว [7] นอกจากนั้นสัญลักษณ์ครึ่งวงกลมก็ถูกย้ายให้ค่อนไปทางขวาในยูนิโคดรุ่น 5.1.0 หลังจากที่เคยปรับให้อยู่ตรงกลางมาตั้งแต่รุ่น 3.0 [8]
อักษรตัวใหญ่ | อักษรตัวเล็ก | ||||
---|---|---|---|---|---|
อักขระ | โคดเพจ | ความหมาย | อักขระ | โคดเพจ | ความหมาย |
Ɑ | U+2C6D | อักษรละติน Alpha ตัวใหญ่ | ɑ | U+0251 | อักษรละติน Alpha ตัวเล็ก |
Ɒ | U+2C70 | อักษรละติน Alpha ตัวใหญ่ กลับหัว | ɒ | U+0252 | อักษรละติน Alpha ตัวเล็ก กลับหัว |
ᵅ | U+1D45 | ตัวดัดแปร อักษรละติน Alpha ตัวเล็ก | |||
ᶐ | U+1D90 | อักษรละติน Alpha ตัวเล็ก เติมฮุกปลายลิ้นม้วน (retroflex hook) | |||
ᶛ | U+1D9B | ตัวดัดแปร อักษรละติน Alpha ตัวเล็ก กลับหัว |
อักษรตัวใหญ่ | อักษรตัวเล็ก | ||||
---|---|---|---|---|---|
อักขระ | โคดเพจ | ความหมาย | อักขระ | โคดเพจ | ความหมาย |
Æ | U+00C6 | อักษรละติน AE ตัวใหญ่ | æ | U+00E6 | อักษรละติน AE ตัวเล็ก |
Ǣ | U+01E2 | อักษรละติน AE ตัวใหญ่ เติมแมครอน | ǣ | U+01E3 | อักษรละติน AE ตัวเล็ก เติมแมครอน |
Ǽ | U+01FC | อักษรละติน AE ตัวใหญ่ เติมอะคิวต์ | ǽ | U+01FD | อักษรละติน AE ตัวเล็ก เติมอะคิวต์ |
ᴁ | U+1D01 | อักษรละติน AE ตัวใหญ่ ขนาดเล็ก | |||
ᴂ | U+1D02 | อักษรละติน AE ตัวเล็ก กลับหัว | |||
ᴭ | U+1D2D | ตัวดัดแปร อักษรละติน AE ตัวใหญ่ | |||
ᵆ | U+1D46 | ตัวดัดแปร อักษรละติน AE ตัวเล็ก กลับหัว | |||
Ꜳ | U+A732 | อักษรละติน AA ตัวใหญ่ | ꜳ | U+A733 | อักษรละติน AA ตัวเล็ก |
Ꜵ | U+A734 | อักษรละติน AO ตัวใหญ่ | ꜵ | U+A735 | อักษรละติน AO ตัวเล็ก |
Ꜷ | U+A736 | อักษรละติน AU ตัวใหญ่ | ꜷ | U+A737 | อักษรละติน AU ตัวเล็ก |
Ꜹ | U+A738 | อักษรละติน AV ตัวใหญ่ | ꜹ | U+A739 | อักษรละติน AV ตัวเล็ก |
Ꜻ | U+A73A | อักษรละติน AV ตัวใหญ่ เติมขีดแนวนอน | ꜻ | U+A73B | อักษรละติน AV ตัวเล็ก เติมขีดแนวนอน |
Ꜽ | U+A73C | อักษรละติน AY ตัวใหญ่ | ꜽ | U+A73D | อักษรละติน AY ตัวเล็ก |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.