Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน (อังกฤษ: ASEAN Football Federation Championship) หรือ อาเซียน มิตซูบิชิ อิเล็กทริค คัพ (ASEAN Mitsubishi Electric Cup) หรือเรียกย่อกันว่า อาเซียนคัพ เป็นการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดขึ้นโดย สหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน (ASEAN Football Federation) หรือ เอเอฟเอฟ (AFF) เริ่มการแข่งขันครั้งแรกในปี ค.ศ. 1996 ภายใต้ชื่อ ไทเกอร์คัพ (Tiger Cup) เนื่องจากมีผู้สนับสนุนหลักคือ เบียร์ไทเกอร์ จากประเทศสิงคโปร์ ภายหลังในปี ค.ศ. 2007 เบียร์ไทเกอร์ได้ยกเลิกการสนับสนุน จึงเปลี่ยนชื่อเป็น อาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ แต่เปลี่ยนชื่อได้ 1 ปี ซูซูกิ ก็เข้ามาเป็นผู้สนับสนุนใหม่ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ (AFF Suzuki Cup) สืบมาจนถึงปี ค.ศ. 2022 มิตซูบิชิ อิเล็กทริค จึงเข้ามาเป็นผู้สนับสนุนใหม่แทน และเปลี่ยนชื่อเป็น เอเอฟเอฟ มิตซูบิชิ อิเล็กทริค คัพ (AFF Mitsubishi Electric Cup) และใช้ชื่อนี้เพียงครั้งเดียวก่อนเปลี่ยนเป็น อาเซียน มิตซูบิชิ อิเล็กทริค คัพ มาจนถึงปัจจุบัน การแข่งขันจะจัดขึ้นในทุก ๆ 2 ปี ยกเว้นปี 2007 และปี 2020
ผู้จัด | เอเอฟเอฟ |
---|---|
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2539 |
ภูมิภาค | เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
จำนวนทีม | 10 (รอบสุดท้าย) 12 (ทีมที่มีสิทธิ์เข้าร่วม) |
ทีมชนะเลิศปัจจุบัน | ไทย (ชนะเลิศครั้งที่ 7) |
ทีมที่ประสบความสำเร็จที่สุด | ไทย (ชนะเลิศ 7 ครั้ง) |
เว็บไซต์ | aseanutdfc.com |
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2024 | |
การแข่งขัน |
ผู้ชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียนทั้ง 14 ครั้งนั้นมีทีมชนะเลิศเพียง 4 ชาติคือ ไทย 7 ครั้ง สิงคโปร์ 4 ครั้ง เวียดนาม 2 ครั้ง และมาเลเซีย 1 ครั้ง โดยไทยและสิงคโปร์ เป็น 2 ทีมที่สามารถป้องกันแชมป์ได้ โดยไทยสามารถป้องกันแชมป์ได้ในปี 2002 2016 และ 2022 ส่วนสิงคโปร์ป้องกันแชมป์ได้ในปี 2007
การแข่งขันรายการนี้ ถือเป็นหนึ่งรายการที่มีผู้คนรับชมและติดตามมากที่สุดในภูมิภาค รายการนี้ยังได้รับการยอมรับว่าเป็นการแข่งขันนานาชาติระดับ "A" โดยฟีฟ่า และยังมีการคิดคะแนนอันดับโลกฟีฟ่า ตั้งแต่ปี 1996[1] และมีแผนในอนาคตในการนำทีมที่ชนะจากรายการนี้ ไปแข่งขันในรายการฟุตบอลชิงถ้วย เอเอฟเอฟ–อีเอเอฟเอฟ ร่วมกับทีมที่ชนะจากรายการฟุตบอลชิงแชมป์เอเชียตะวันออก
อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ออสเตรเลีย เข้าร่วมเอเอฟเอฟ ตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม 2013 ออสเตรเลียก็ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขันชิงแชมป์อาเซียนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงเบื้องต้น[2]
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียนครั้งแรก เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2539 โดยมีสมาชิกผู้ก่อตั้งสหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน 6 ประเทศประกอบด้วย ไทย บรูไน ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ร่วมกับอีก 4 ประเทศรับเชิญในภูมิภาคที่ไม่เป็นสมาชิกในขณะนั้นคือ กัมพูชา เมียนมา ลาว และเวียดนาม โดยในรอบชิงชนะเลิศไทยกลายเป็นแชมป์ชาติแรกของรายการเมื่อสามารถเอาชนะมาเลเซีย 1–0 ในนัดชิงชนะเลิศที่สิงคโปร์[3] ในยุคแรกประเทศที่อยู่ใน 4 อันดับแรก จะผ่านเข้ารอบสุดท้ายโดยอัตโนมัติ ส่วนที่เหลือจะต้องไปเล่นในรอบคัดเลือกก่อน
ในครั้งแรก รายการใช้ชื่อว่า ไทเกอร์คัพ (Tiger Cup) หลังจากที่เบียร์ไทเกอร์จากสิงคโปร์สนับสนุนการแข่งขันตั้งแต่เปิดตัวในปี 1996 จนถึงปี 2004 จนถอนตัวไปในปี 2007 รายการจึงใช้ชื่อว่า เอเอฟเอฟ แชมเปียนชิพ (AFF Championship) ในปี 2008 บริษัทรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่น ซูซูกิ ซื้อลิขสิทธิ์การตั้งชื่อการแข่งขัน และการแข่งขันได้รับการตั้งชื่อว่า เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ (AFF Suzuki Cup) จนถึงปี 2020[4] ในปี 2022 ได้ประกาศข้อตกลงการสนับสนุนชื่อใหม่กับบริษัทญี่ปุ่นอย่างมิตซูบิชิ อิเล็กทริค และการแข่งขันได้รับการตั้งชื่อว่า เอเอฟเอฟ มิตซูบิชิ อิเล็กทริค คัพ (AFF Mitsubishi Electric Cup)[5] จนมาในปี 2024 ทาง เอเอฟเอฟ และมิตซูบิชิ อิเล็กทริค ซึ่งเป็นพันธมิตรหลักของการแข่งขันชิงแชมป์เปิดตัวโลโก้ใหม่และอัตลักษณ์ของรายการแบบใหม่ ในฐานะส่วนหนึ่งของการรีแบรนด์การแข่งขันชั้นนำของภูมิภาคซึ่งเดิมเรียกว่าและเปลี่ยนชื่อเป็น อาเซียน มิตซูบิชิ อิเล็กทริค คัพ (ASEAN Mitsubishi Electric Cup)[6]
ปี | ผู้สนับสนุน | ชื่อการแข่งขัน |
---|---|---|
1996-2004 | เบียร์ไทเกอร์ | ไทเกอร์คัพ |
2007 | ไม่มีชื่อผู้สนับสนุน | เอเอฟเอฟ แชมเปียนชิพ |
2008-2020 | ซูซูกิ | เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ[7] |
2022 | มิตซูบิชิ อิเล็กทริค | เอเอฟเอฟ มิตซูบิชิ อิเล็กทริค คัพ[8] |
2024-ปัจจุบัน | อาเซียน มิตซูบิชิ อิเล็กทริค คัพ[9] |
ตั้งแต่ปี 2004 การแข่งขันรอบแพ้คัดออกจะเล่นแบบสองนัดในรูปแบบเหย้าและเยือน ตั้งแต่ปี 2007 จะไม่มีการแข่งขันรอบชิงที่สาม ผู้เข้ารอบรองชนะเลิศจะแสดงรายการตามลำดับตัวอักษร กฎประตูทีมเยือนถูกนำมาใช้กับรอบแพ้คัดออกตั้งแต่ปี 2010 ยกเว้นในปี 2020 เนื่องจากการแข่งขันทั้งหมดจัดขึ้นในสนามกลางที่สิงคโปร์
ตั้งแต่ปี 2018 เป็นต้นมา ได้มีการนำรูปแบบใหม่มาใช้ โดยทีมที่มีอันดับสูงสุดเก้าทีมจะผ่านเข้ารอบโดยอัตโนมัติ ในขณะที่ทีมอันดับ 10 และ 11 จะเล่นในรอบคัดเลือกแบบสองนัด เมื่อได้ครบ 10 ทีมแล้ว ทั้ง 10 ทีมแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มละ 5 ทีมและเล่นในระบบพบกันหมด ทีมที่อยู่สองอันดับแรกของแต่ละกลุ่มจะได้เข้าไปเล่นรอบรองชนะเลิศ แล้วทั้ง 4 ทีมจะจับคู่ไขว้กัน และเล่นในระบบเหย้าเยือน ประตูรวมใครมากกว่าจะเข้ารอบชิงชนะเลิศ หากรวมกันแล้วเสมอประตูเยือนใครมากกว่าจะเข้ารอบชิงชนะเลิศ หากยังเสมอกันอีกจะต้องดวลจุดโทษตัดสินจนกว่าจะได้ทีมที่เข้าไปเล่นในรอบชิงชนะเลิศ และในรอบชิงชนะเลิศก็ยังคงเล่นในระบบเหย้าเยือน ประตูรวมใครมากกว่าจะเป็นแชมป์ของรายการ หากรวมกันแล้วเสมอประตูเยือนใครมากกว่าจะเป็นแชมป์ และหากยังเสมอกันอีกจะต้องดวลจุดโทษตัดสินจนกว่าจะได้ทีมที่เป็นแชมป์[10]
ปี | เจ้าภาพ | นัดชิงชนะเลิศ | นัดชิงอันดับ 3 | จำนวนทีม | จำนวนนัดที่เล่น | จำนวนประตูที่ทำในการแข่งขัน | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ชนะเลิศ | ผลการแข่งขัน | รองชนะเลิศ | อันดับที่ 3 | ผลการแข่งขัน | อันดับที่ 4 | ||||||||
1996 | สิงคโปร์ | ไทย |
1–0 | มาเลเซีย |
เวียดนาม |
3–2 | อินโดนีเซีย |
10 | 24 | 93 | |||
1998 | เวียดนาม | สิงคโปร์ |
1–0 | เวียดนาม |
อินโดนีเซีย |
3–3 (ต่อเวลา) (ดวลลูกโทษ 5–4) |
ไทย |
8 | 16 | 55 | |||
2000 | ไทย | ไทย |
4–1 | อินโดนีเซีย |
มาเลเซีย |
3–0 | เวียดนาม |
9 | 20 | 67 | |||
2002 | อินโดนีเซีย สิงคโปร์ |
ไทย |
2–2 เวลาปกติ (4–2) ดวลลูกโทษ |
อินโดนีเซีย |
เวียดนาม |
2–1 | มาเลเซีย |
9 | 20 | 92 | |||
ปี | เจ้าภาพรอบแบ่งกลุ่ม | นัดชิงชนะเลิศ | รอบรองชนะเลิศอันดับ 3 หรือ แพ้รอบรองชนะเลิศ | จำนวนทีม | จำนวนนัดที่เล่น | จำนวนประตูที่ทำในการแข่งขัน | |||||||
ชนะเลิศ | ผลการแข่งขัน | รองชนะเลิศ | อันดับที่ 3 | ผลการแข่งขัน | อันดับที่ 4 | ||||||||
2004 | มาเลเซีย เวียดนาม |
สิงคโปร์ |
3–1 2–1 |
อินโดนีเซีย |
มาเลเซีย |
2–1 | พม่า |
10 | 27 | 113 | |||
ผลการแข่งขันรวม 5–2 | |||||||||||||
2007 | สิงคโปร์ ไทย |
สิงคโปร์ |
2–1 1–1 |
ไทย |
มาเลเซีย และ เวียดนาม | 8 | 18 | 50 | |||||
ผลการแข่งขันรวม 3–2 | |||||||||||||
2008 | อินโดนีเซีย ไทย |
เวียดนาม |
2–1 1–1 |
ไทย |
อินโดนีเซีย และ สิงคโปร์ | 8 | 18 | 56 | |||||
ผลการแข่งขันรวม 3–2 | |||||||||||||
2010 | อินโดนีเซีย เวียดนาม |
มาเลเซีย |
3–0 1–2 |
อินโดนีเซีย |
ฟิลิปปินส์ และ เวียดนาม | 8 | 18 | 51 | |||||
ผลการแข่งขันรวม 4–2 | |||||||||||||
2012 | มาเลเซีย ไทย |
สิงคโปร์ |
3–1 0–1 |
ไทย |
มาเลเซีย และ ฟิลิปปินส์ | 8 | 18 | 48 | |||||
ผลการแข่งขันรวม 3–2 | |||||||||||||
2014 | สิงคโปร์ เวียดนาม |
ไทย |
2–0 2–3 |
มาเลเซีย |
ฟิลิปปินส์ และ เวียดนาม | 8 | 18 | 65 | |||||
ผลการแข่งขันรวม 4–3 | |||||||||||||
2016 | พม่า ฟิลิปปินส์ |
ไทย |
1–2 2–0 |
อินโดนีเซีย |
พม่า และ เวียดนาม | 8 | 18 | 50 | |||||
ผลการแข่งขันรวม 3–2 | |||||||||||||
2018 | อาเซียน | เวียดนาม |
2–2 1–0 |
มาเลเซีย |
ฟิลิปปินส์ และ ไทย | 10 | 26 | 80 | |||||
ผลการแข่งขันรวม 3–2 | |||||||||||||
2020[a] | สิงคโปร์[b] | ไทย[c] |
4–0 2–2 |
อินโดนีเซีย[c] |
สิงคโปร์ และ เวียดนาม | 10 | 26 | 88 | |||||
ผลการแข่งขันรวม 6–2 | |||||||||||||
2022 | อาเซียน | ไทย |
2–2 1–0 |
เวียดนาม |
อินโดนีเซีย และ มาเลเซีย | 10 | 26 | 90 | |||||
ผลการแข่งขันรวม 3–2 | |||||||||||||
2024 | อาเซียน | 10 | |||||||||||
หมายเหตุ
ทีม | ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | อันดับที่สาม / รอบรองชนะเลิศ | อันดับที่สี่ | รวม 4 |
---|---|---|---|---|---|
ไทย | 7 (1996, 2000, 2002, 2014, 2016, 2020, 2022) | 3 (2007, 2008, 2012) | 1 (2018) | 1 (1998) | 12 |
สิงคโปร์ | 4 (1998, 2004, 2007, 2012) | - | 2 (2008, 2020) | - | 6 |
เวียดนาม | 2 (2008, 2018) | 2 (1998, 2022) | 7 (1996, 2002, 2007, 2010, 2014, 2016, 2020) | 1 (2000) | 12 |
มาเลเซีย | 1 (2010) | 3 (1996, 2014, 2018) | 5 (2000, 2004, 2007, 2012, 2022) | 1 (2002) | 10 |
อินโดนีเซีย | - | 6 (2000, 2002, 2004, 2010, 2016, 2020) | 3 (1998, 2008, 2022) | 1 (1996) | 10 |
ฟิลิปปินส์ | - | - | 4 (2010, 2012, 2014, 2018) | - | 4 |
พม่า | - | - | 1 (2016) | 1 (2004) | 2 |
รวม | 14 | 14 | 21 | 5 | 52 |
ทีม | 1996 (10) |
1998 (8) |
2000 (9) |
2002 (9) |
2004 (10) |
2007 (8) |
2008 (8) |
2010 (8) |
2012 (8) |
2014 (8) |
2016 (8) |
2018 (10) |
2020 (10) |
2022 (10) |
รวม |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ออสเตรเลีย[note 1] | ไม่ใช่สมาชิก เอเอฟเอฟ | × | × | × | × | × | 0 | ||||||||
บรูไน | GS | • | × | × | × | • | • | × | • | • | • | • | × | GS | 2 |
กัมพูชา | GS | • | GS | GS | GS | • | GS | • | • | • | GS | GS | GS | GS | 9 |
อินโดนีเซีย | 4th | 3rd | 2nd | 2nd | 2nd | GS | SF | 2nd | GS | GS | 2nd | GS | 2nd | SF | 14 |
ลาว | GS | GS | GS | GS | GS | GS | GS | GS | GS | GS | • | GS | GS | GS | 13 |
มาเลเซีย | 2nd | GS | 3rd | 4th | 3rd | SF | GS | 1st | SF | 2nd | GS | 2nd | GS | SF | 14 |
พม่า | GS | GS | GS | GS | 4th | GS | GS | GS | GS | GS | SF | GS | GS | GS | 14 |
ฟิลิปปินส์ | GS | GS | GS | GS | GS | GS | • | SF | SF | SF | GS | SF | GS | GS | 13 |
สิงคโปร์ | GS | 1st | GS | GS | 1st | 1st | SF | GS | 1st | GS | GS | GS | SF | GS | 14 |
ไทย | 1st | 4th | 1st | 1st | GS | 2nd | 2nd | GS | 2nd | 1st | 1st | SF | 1st | 1st | 14 |
ติมอร์-เลสเต | ส่วนหนึ่งของอินโดนีเซีย | × | GS | • | • | • | • | • | • | GS | GS | • | 3 | ||
เวียดนาม | 3rd | 2nd | 4th | 3rd | GS | SF | 1st | SF | GS | SF | SF | 1st | SF | 2nd | 14 |
|
|
หมายเหตุ
ปี | ผู้เล่นทรงคุณค่า | ผู้ทำประตูสูงสุด | ประตู | ผู้เล่นเยาวชนประจำรายการ | รางวัลแฟร์เพลย์ |
---|---|---|---|---|---|
Zainal Abidin Hassan | เนติพงษ์ ศรีทองอินทร์ | 7 | N/A (มอบครั้งแรกปี 2020) |
บรูไน | |
Nguyễn Hồng Sơn | มโย ไลง์ วีน | 4 | ไม่ได้รับรางวัล | ||
เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง | Gendut Doni Christiawan | 5 | มาเลเซีย | ||
วรวุฒิ ศรีมะฆะ | |||||
เทิดศักดิ์ ใจมั่น | Bambang Pamungkas | 8 | ไม่ได้รับรางวัล | ||
Lionel Lewis | Ilham Jaya Kesuma | 7 | |||
โนห์ อลัม ชาห์ | โนห์ อลัม ชาห์ | 10 | |||
Dương Hồng Sơn | Budi Sudarsono | 4 | ไทย | ||
Agu Casmir | |||||
ธีรศิลป์ แดงดา | |||||
Firman Utina | Safee Sali | 5 | ฟิลิปปินส์ | ||
Shahril Ishak | ธีรศิลป์ แดงดา | 5 | มาเลเซีย | ||
ชนาธิป สรงกระสินธ์ | Safiq Rahim | 6 | เวียดนาม | ||
ชนาธิป สรงกระสินธ์ | ธีรศิลป์ แดงดา | 6 | ไทย | ||
เหงียน กวาง หาย | อดิศักดิ์ ไกรษร | 8 | มาเลเซีย | ||
ชนาธิป สรงกระสินธ์ | ธีรศิลป์ แดงดา | 4 | ปราตามา อาร์ฮัน | อินโดนีเซีย | |
ชนาธิป สรงกระสินธ์ | |||||
Bienvenido Marañón | |||||
Safawi Rasid | |||||
2022 | ธีราทร บุญมาทัน | ธีรศิลป์ แดงดา เหงียน เตี๋ยน ลิญ |
6 | มาร์เซลิโน เฟอร์ดินัน | มาเลเซีย |
ปี | ทีม | ผู้ฝึกสอน |
---|---|---|
1996 | ไทย | ธวัชชัย สัจจกุล |
1998 | สิงคโปร์ | Barry Whitbread |
2000 | ไทย | ปีเตอร์ วิธ |
2002 | ไทย | |
2004 | สิงคโปร์ | Radojko Avramović |
2007 | สิงคโปร์ | |
2008 | เวียดนาม | Henrique Calisto |
2010 | มาเลเซีย | K. Rajagopal |
2012 | สิงคโปร์ | Radojko Avramović |
2014 | ไทย | เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง |
2016 | ไทย | |
2018 | เวียดนาม | พัก ฮัง-ซอ |
2020 | ไทย | อาเลชังดรี ปอลกิง |
2022 | ไทย |
อันดับ | ทีม | เข้าร่วม | เล่น | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ประตูได้ | ประตูเสีย | ผลต่าง | คะแนน | ผลงานที่ดีที่สุด |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ไทย | 14 | 85 | 54 | 21 | 10 | 195 | 68 | +127 | 183 | ชนะเลิศ (1996, 2000, 2002, 2014, 2016, 2020, 2022) |
2 | เวียดนาม | 14 | 79 | 41 | 22 | 16 | 161 | 77 | +84 | 145 | ชนะเลิศ (2008, 2018) |
3 | อินโดนีเซีย | 14 | 76 | 37 | 18 | 21 | 182 | 107 | +75 | 129 | รองชนะเลิศ (2000, 2002, 2004, 2010, 2016, 2020) |
4 | มาเลเซีย | 14 | 75 | 34 | 15 | 26 | 129 | 88 | +41 | 117 | ชนะเลิศ (2010) |
5 | สิงคโปร์ | 14 | 66 | 33 | 16 | 17 | 118 | 68 | +50 | 115 | ชนะเลิศ (1998, 2004, 2007, 2012) |
6 | พม่า | 14 | 52 | 15 | 11 | 26 | 78 | 110 | -32 | 56 | รอบรองชนะเลิศ (2004, 2016) |
7 | ฟิลิปปินส์ | 13 | 53 | 11 | 9 | 33 | 55 | 115 | –60 | 42 | รอบรองชนะเลิศ (2010, 2012, 2014, 2018) |
8 | กัมพูชา | 9 | 34 | 6 | 0 | 28 | 39 | 110 | –71 | 18 | รอบแบ่งกลุ่ม (8 ครั้ง) |
9 | ลาว | 13 | 45 | 2 | 6 | 37 | 32 | 170 | –138 | 12 | รอบแบ่งกลุ่ม (12 ครั้ง) |
10 | บรูไน | 2 | 8 | 1 | 0 | 7 | 3 | 37 | –34 | 3 | รอบแบ่งกลุ่ม (1996) |
11 | ติมอร์-เลสเต | 4 | 12 | 0 | 0 | 12 | 6 | 50 | –44 | 0 | รอบแบ่งกลุ่ม (2004, 2018, 2020) |
อันดับ | ผู้เล่น | ประตู |
---|---|---|
1 | ธีรศิลป์ แดงดา | 25 |
2 | โนห์ อลัม ชาห์ | 17 |
3 | วรวุฒิ ศรีมะฆะ | 15 |
เล กง วิญ | ||
5 | Lê Huỳnh Đức | 14 |
6 | Kurniawan Dwi Yulianto | 13 |
อดิศักดิ์ ไกรษร | ||
8 | Bambang Pamungkas | 12 |
เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง | ||
10 | Agu Casmir | 11 |
ปี | ชื่อลูกฟุตบอลอย่างเป็นทางการ | ผู้ผลิต |
---|---|---|
1996 | Adidas Questra | อาดิดาส |
1998 | Adidas Tricolore | อาดิดาส |
2000 | Adidas Tricolore | อาดิดาส |
2002 | Adidas Fevernova | อาดิดาส |
2004 | Adidas Roteiro | อาดิดาส |
2007 | Nike Total 90 Aerow II (Yellow winter) | ไนกี้ |
2008 | Nike Total 90 Omni (Yellow winter) | ไนกี้ |
2010 | Nike Total 90 Tracer (Yellow winter) | ไนกี้ |
2012 | Nike Maxim (Yellow winter) | ไนกี้ |
2014 | Mitre Delta V12S | ไมเตอร์ |
2016 | Mitre Delta Fluo Hyperseam (Yellow winter) | ไมเตอร์ |
2018 | Grand Sport Primero Mundo X Star | แกรนด์สปอร์ต |
2020 | Warrix Asean Pulse | วอริกซ์ |
2022 | Warrix Bersatu | วอริกซ์ |
2024 | Adidas Tiro Pro | อาดิดาส |
ผู้สนับสนุนในปัจจุบัน | |||
---|---|---|---|
พันธมิตรที่ปรากฎในชื่อการแข่งขัน | พันธมิตรการนำเสนอ | ผู้จัดอย่างเป็นทางการ | ผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการ |
|
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.