Remove ads
นักฟุตบอลชายชาวไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธีรศิลป์ แดงดา (ชื่อเล่น มุ้ย; เกิดวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2531) เป็นนักฟุตบอลกองหน้าทีมชาติไทย ปัจจุบันเล่นให้กับบีจี ปทุม ยูไนเต็ด ในไทยลีก ก่อนหน้านี้ธีรศิลป์เคยลงเตะให้กับซานเฟรซ ฮิโรชิมะ และ ชิมิซุ เอส-พัลส์ ในเจลีกของประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังเคยลงเล่นกับอูเด อัลเมริอา ในลาลิกาของสเปน
ข้อมูลส่วนตัว | ||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อเต็ม | ธีรศิลป์ แดงดา | |||||||||||||||||||||||||||||||
วันเกิด | 6 มิถุนายน พ.ศ. 2531 | |||||||||||||||||||||||||||||||
สถานที่เกิด | กรุงเทพมหานคร,ประเทศไทย | |||||||||||||||||||||||||||||||
ส่วนสูง | 1.82 m (5 ft 11 1⁄2 in)[1] | |||||||||||||||||||||||||||||||
ตำแหน่ง | กองหน้า / ปีก | |||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลสโมสร | ||||||||||||||||||||||||||||||||
สโมสรปัจจุบัน | บีจี ปทุม ยูไนเต็ด | |||||||||||||||||||||||||||||||
หมายเลข | 10 | |||||||||||||||||||||||||||||||
สโมสรเยาวชน | ||||||||||||||||||||||||||||||||
2003–2004 | โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี | |||||||||||||||||||||||||||||||
สโมสรอาชีพ* | ||||||||||||||||||||||||||||||||
ปี | ทีม | ลงเล่น | (ประตู) | |||||||||||||||||||||||||||||
2005 | แอร์ฟอร์ซ เซ็นทรัล | 6 | (3) | |||||||||||||||||||||||||||||
2006 | ราชประชา | 18 | (9) | |||||||||||||||||||||||||||||
2007 | เมืองทอง ยูไนเต็ด | 15 | (7) | |||||||||||||||||||||||||||||
2007–2008 | แมนเชสเตอร์ซิตี | 0 | (0) | |||||||||||||||||||||||||||||
2008 | → กราสฮอปเปอร์ซูริก 2 (ยืมตัว) | 6 | (2) | |||||||||||||||||||||||||||||
2009 | ราชประชา | 10 | (6) | |||||||||||||||||||||||||||||
2009–2020 | เมืองทอง ยูไนเต็ด | 266 | (117) | |||||||||||||||||||||||||||||
2014–2015 | → อูเด อัลเมริอา (ยืมตัว) | 6 | (1) | |||||||||||||||||||||||||||||
2018 | → ซานเฟรซ ฮิโระชิมะ (ยืมตัว) | 32 | (6) | |||||||||||||||||||||||||||||
2020 | ชิมิซุ เอส-พัลส์ | 24 | (3) | |||||||||||||||||||||||||||||
2020– | บีจี ปทุม ยูไนเต็ด | 59 | (23) | |||||||||||||||||||||||||||||
ทีมชาติ‡ | ||||||||||||||||||||||||||||||||
2002–2004 | ไทย อายุไม่เกิน 17 ปี | 11 | (7) | |||||||||||||||||||||||||||||
2005–2006 | ไทย อายุไม่เกิน 19 ปี | 7 | (9) | |||||||||||||||||||||||||||||
2006–2010 | ไทย อายุไม่เกิน 23 ปี | 13 | (3) | |||||||||||||||||||||||||||||
2009– | ไทย | 127 | (64) | |||||||||||||||||||||||||||||
เกียรติประวัติ
| ||||||||||||||||||||||||||||||||
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 3 เมษายน 2024 ‡ ข้อมูลการลงเล่นและประตูให้แก่ทีมชาติล่าสุด ณ วันที่ 21 พฤศจิกายน 2023 |
ธีรศิลป์ แดงดา เกิดที่จังหวัดสุรินทร์ มีบิดาชื่อ พ.อ.อ.ประสิทธิ์ แดงดา กับมารดาชื่อกาญจนา ซึ่งเป็นชาวจังหวัดสุรินทร์ และธีรศิลป์มีน้องสาวหนึ่งคนชื่อ ธนีกาญจน์ แดงดา ซึ่งเป็นนักกีฬาฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย ทั้งนี้ ธีรศิลป์สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี โดยเขาได้เป็นหนึ่งในนักฟุตบอลเยาวชนของโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรีด้วย ซึ่งได้รับคำชมจากเพื่อนร่วมรุ่นและผู้ฝึกสอนของโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรีว่าเป็นนักฟุตบอลที่เก่งและสามารถเคลื่อนไหวไปกับลูกบอลได้อย่างรวดเร็ว
ธีรศิลป์ เริ่มเล่นฟุตบอลกับสโมสรฟุตบอลโรงเรียนจ่าอากาศ ใน ไทยลีกดิวิชั่น 1 ฤดูกาล 2547/48 ในวัยแค่ 17 ปี ซึ่งเขาไม่ค่อยมีโอกาสลงเล่นมากนัก แต่ก็สามารถทำประตูได้ 3 ประตูจากการลงเล่นแค่ 6 นัด ซึ่งในขณะนั้นยังเล่นในตำแหน่ง กองกลางตัวรุก
ปี พ.ศ. 2549 ธีรศิลป์ย้ายไปเล่นให้กับราชประชา เอฟซี ในฟุตบอลถ้วยพระราชทานประเภท ข และตกรอบแบ่งกลุ่ม โดยธีรศิลป์ได้ลงเล่นในตำแหน่งกองหน้ามากขึ้น และสามารถทำประตูได้ถึง 9 ประตู จากการลงเล่น 18 นัด รวมทั้งจ่ายให้เพื่อนทำประตูถึง 5 ครั้ง
ฤดูกาล 2550 ธีรศิลป์ถูกยืมตัวมาเล่นให้กับโรงเรียนจ่าอากาศอีกครั้งในช่วงครึ่งฤดูกาลแรก
จากนั้นช่วงครึ่งฤดูกาล (เลก 2) ธีรศิลป์ได้ย้ายลงมาเล่นให้สโมสรเมืองทองฯ ยูไนเต็ดในไทยลีกดิวิชั่น 2 ปี พ.ศ. 2550และเป็นนักฟุตบอลที่มีส่วนในการนำเมืองทองเป็นแชมป์ไทยลีกดิวิชั่น 2 ซึ่งผู้จัดการทีมของเมืองทองในขณะนั้นคือ โรเบิร์ต โปรคูเรอร์ ได้กล่าวเอ่ยชมว่า "ธีรศิลป์เริ่มมีทักษะและการเล่นที่ดีมากขึ้นจนมีหลายทีมทั้งในประเทศและนอกประเทศสนใจอยากได้ธีรศิลป์ได้ร่วมทีม ซึ่งตัวผมและสตาฟโค้ชทุกคนยังเชื่อมั่นได้เลยว่าเด็กคนนี้มีอนาคตที่สดใสแน่นอน" ซึ่งในฤดูกาลนี้ธีรศิลป์ได้ลงเล่น 15 นัด ทำประตูได้ 7 ประตู จ่ายให้เพื่อนทำประตูได้ 2 ครั้ง
ในปี พ.ศ. 2552 ธีรศิลป์ได้กลับมาเซ็นสัญญาย้ายมาร่วมทีมเมืองทอง ยูไนเต็ด ที่ในขณะนั้น โค้ชแต๊ก อรรถพล บุษปาคม เป็นผู้ฝึกสอน โดยย้ายแบบไม่มีค่าตัว หลังจากเคยเล่นให้สโมสรนี้มาแล้วในระดับดิวิชั่น 2 และได้ลงสนามในไทยพรีเมียร์ลีกเป็นนัดแรกเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2552 ในเกมส์ที่เปิดบ้านชนะการท่าเรือไทย 3-0 ซึ่งเขาเป็นคนยิงประตูแรกให้ทีมขึ้นนำ และนัดนี้ถือเป็นการลงเล่นในลีกสูงสุดของไทยเป็นครั้งแรกของเจ้าตัวด้วยซึ่งเขาสามารถนำสโมสรคว้าแชมป์ไทยพรีเมียร์ลีก เป็นสมัยแรกของสโมสร ซึ่งนอกจากธีรศิลป์แล้วยังมีนักเตะที่เป็นกำลังหลักสำคัญในการช่วยสโมสรคว้าแชมป์คือ ดักโน เซียกา ซึ่งเป็นดาวยิงสูงสุดของสโมสรในฤดูกาลนั้นที่ทำไป 10 ประตู, ซูมาโฮโร ยายา, สุริยา ดอมไธสง และในฤดูกาลนี้ธีรศิลป์ยิงได้ 7 ประตู
ในฤดูกาลนี้ธีรศิลป์ได้ลงเล่นเป็นตัวจริงมากขึ้นถึงแม้จะติดเกมส์ของทีมชาติและมีอาการบาดเจ็บทั้งเกมส์ในลีก,ทีมชาติ และเกมส์ชิงแชมป์สโมสรเอเชียอย่าง เอเอฟซีคัพ แต่เขาก็ยังเป็นกำลังหลักสำคัญของสโมสรในการคว้าแชมป์ไทยพรีเมียร์ลีก ซึ่งเป็นครั้งที่ 2 ของสโมสรเทียบเท่า บีอีซี เทโรศาสน ธนาคารกรุงไทย และแอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ด นอกจากนั้นเขายังยิงได้ในรายการเอเอฟซีคัพ รอบสิบหกทีมสุดท้ายสุดท้ายที่สโมสรเจอกับอัล รายยัน สโมสรฟุตบอลจากประเทศกาตาร์ แต่ก็ต้องตกรอบในรอบแปดทีมสุดท้ายในนัดทีเจอกับอัล อิตติฮัด จากซีเรีย ไปด้วยผล 2-1
เมื่อหลังจบศึกการเล่น ฟุตบอลโลก 2014 รอบคัดเลือกในโซนเอเชีย ให้กับทีมชาติไทย ธีรศิลป์ได้กลับมาช่วยต้นสังกัดอีกครั้ง ซึ่งในฤดูกาลนี้สโมสรเมืองทองได้สร้างความยิ่งใหญ่ในวงการฟุตบอลไทยอีกครั้งด้วยการซื้อร็อบบี ฟาวเลอร์ อดีตกองหน้าตัวเก่งของสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล และ คริสเตียน ควาคู มาช่วยธีรศิลป์ในการเพิ่มเกมส์รุกให้มีความหลากหลายมากขึ้น ซึ่งในฤดูกาลนี้ธีรศิลป์นำทีมไปเล่นในรายการ เอเอฟซีคัพ (ซึ่งตกรอบมาจาก เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 2554 รอบคัดเลือก) โดยเมืองทองอยู่กลุ่มเดียวกับ สโมสรฟุตบอลทัมปิเนสโรเวอร์, ฮานอย ทีแอนด์ที และวีบี สปอร์ต คลับ ธีรศิลป์ได้ยิงประตูในรอบแบ่งกลุ่ม 2 ลูก ในนัดที่เมืองทองเปิดบ้านเอาชนะ ฮานอย ทีแอนด์ที ไป 4-0 (ยิง 2 ประตูเดียวในนัดนี้) และเมืองทองก็เป็นแชมป์กลุ่มแล้วทะลุมาในรอบ 16 ทีมสุดท้ายเจอกับอัล อะห์เอ็ด และธีรศิลป์สามารถยิงประตูได้ในนัดนี้ แต่ก็ต้องตกรอบในรอบ 8 ทีมสุดท้ายในนัดที่เจอกับ คูเวต เอสซี ซึ่งแพ้ไป 1-0 และใน ไทยพรีเมียร์ลีก ซึ่งในฤดูกาลนี้ธีรศิลป์ยิงได้ 13 ประตู และทำแฮตทริกได้ 1 ครั้งในนัดที่พบกับบางกองกล๊าสที่เมืองทองชนะด้วยผล 6-2
ก่อนที่ ไทยพรีเมียร์ลีก 2555 จะเปิดฤดูกาลสโมสรเมืองทองได้ซื้อนักเตะโควตาต่างชาติเข้ามาช่วยธีรศิลป์ในการทำเกมส์รุกในแดนกองหน้า หลังจากที่ฤดูกาลที่แล้วไม่ค่อยประสบความสำเร็จอย่างที่ควร โดยซื้อนักเตะอย่าง มารีโอ ยูโรฟสกี, อัดนัน บาราคัท, เปาลู รังเฌล ประตูแรกที่ธีรศิลป์ยิงได้ในไทยลีกนัดแรกคือเกมส์ที่เมืองทองเปิดบ้านเอาชนะ สโมสรฟุตบอลการท่าเรือไทย ไป 5-1 ธีรศิลป์ยังทำแฮตทริกได้ในนัดที่เมืองทองบุกไปเอาชนะบีบีซียู เอฟซี ได้ 1-8 ส่วนใน ไทยคม เอฟเอคัพ 2555 รอบก่อนรองชนะเลิศที่เมืองทองเจอกับอาร์มี่ ยูไนเต็ด ซึ่งธีรศิลป์ก็ยิงไป 1 ประตู แต่ก็แพ้ด้วยผล 3-2 และในโตโยต้า ลีกคัพ 2555 ธีรศิลป์จะยิงประตูไม่ได้แต่ก็ช่วยจ่ายให้เพื่อนทำประตู 2 ครั้ง และเมื่อจบการแข่งขัน ไทยพรีเมียร์ลีก 2555 เมืองทองยูไนเต็ดเป็นแชมป์ไทยพรีเมียร์ลีกสมัยที่ 3 ซึ่งสามารถสร้างสถิติไม่แพ้สโมสรใดในฤดูกาลนี้ ซึ่งธีรศิลป์ก็ได้รับรางวัลดาวซัลโวร่วมกับ คลีตัน โอลิเวียรา ซิลวา นักฟุตบอลชาวบราซิลของบีอีซี เทโรศาสน ด้วยการทำประตูไป 24 ประตู และยังได้รับรางวัล กองหน้ายอดเยี่ยมประจำปี พ.ศ. 2555 ของไทยพรีเมียร์ลีก เป็นสมัยแรกของเจ้าตัว
หลังจบศึก ไทยพรีเมียร์ลีก 2555 ไปประมาณ 1 เดือน ธีรศิลป์ได้กลับไปอยู่ที่จังหวัดสุรินทร์ร่วมกับครอบครัว ซึ่งในช่วงนั้นมีข่าวลือเกี่ยวกับการย้ายตัวของธีรศิลป์มากมายทั้งจะย้ายไปอยู่ในลีกฟุตบอลเกาหลี,ออสเตรเลีย และสโมสรฟุตบอลเฆตาเฟ จาก ลาลิกาสเปน ได้ยื่นข้อเสนอเป็นเงิน 10 ล้านบาทมาให้สโมสรเมืองทองแต่ก็ได้รับการปฏิเสธไป แต่ก็มีข่าวที่ทำให้แฟนบอลชาวไทยดีใจกันทั้งประเทศคือ สโมสรฟุตบอลอัตเลติโกเดมาดริด จากลาลิกาสเปน ซึ่งเป็นสโมสรพันธมิตรกับเมืองทองได้เชิญธีรศิลป์เข้าไปร่วมทดสอบการเล่นกับสโมสรเป็นเวลา 1 เดือน ที่ ประเทศสเปนและพร้อมจัดที่พักกับรถรับส่ง ซึ่งทั้งทางธีรศิลป์และสโมสรเมืองทองได้ตอบตกลงกับทางอัตเลติโกเดมาดริดและมีกำหนดการไปร่วมฝึกซ้อม ในวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556 และหลังจากนั้นธีรศิลป์ได้ถูกเรียกในนาม ฟุตบอลทีมชาติไทย เพื่อไปแข่งขัน เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2012 ที่ประเทศไทยและประเทศมาเลเซียเป็นเจ้าภาพร่วม
ในฤดูกาล 2556 ธีรศิลป์เดินทางไปทดสอบฝีเท้ากับสโมสรฟุตบอลอัตเลติโกเดมาดริด ที่ประเทศสเปน พร้อมกับผู้ฝึกสอน อุทัย บุญเหมาะ ที่บินไปอบรมผู้ฝึกสอน และนักเตะเยาวชนของสโมสรฟุตบอลเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด อีก 9 ราย อย่างกษิดิ์เดช เวทยาวงศ์, เสกสิทธิ์ ศรีใส, ตามีซี หะยียูโซะ, กิตติศักดิ์ โฮชิน, ณัฐพล เปี่ยมพลาย, นนทวัฒน์ กลิ่นจำปาศรี, วีระวัฒน์ เกิดปั้น, พิชา อุทรา, พิพรรธพล ทับไทร ก็เดินทางไปเพาะบ่มฝีเท้ากับเจ้ามุ้ยด้วยเช่นเดียวกัน โดยเดินทางไปจากสนามบินสุวรรณภูมิตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2556 [2] และถึงประเทศสเปนเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556 ที่ผ่านมา ท่ามกลางการต้อนรับถึงสนามบินที่สเปนของตัวแทนสโมสรฟุตบอลอัตเลติโกเดมาดริด[3] และธีรศิลป์ก็ได้ลงซ้อมประเดิมทดสอบฝีเท้ากับทีมสำรองชุดเบและชุดเซ[4] โดยได้ไปซ้อมกับนักเตะชื่อดังของสโมสรอัตเลติโกเดมาดริด อาทิ ราดาเมล ฟัลกาโอ, อาร์ดา ทูรัน, เดียโก โกดิน ซึ่งมีผู้ฝึกสอนชุดใหญ่ของสโมสรอย่างดิเอโก ซิเมโอเน เป็นผู้ดูแลและคอยให้คำแนะนำและแท็กติกให้กับธีรศิลป์
หลังจากกลับมาจากประเทศสเปน ธีรศิลป์ได้ลงเล่นให้กับเมืองทองยูไนเต็ดนัดแรกของฤดูกาล 2556 โดยเป็นการแข่งขันในรายการ ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ถ้วย ก พบกับทีมบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ซึ่งผลออกมาเมืองทองแพ้ไป 2-0 ต่อมาในเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 2013 ในนัดเปิดสนามเอสซีจี สเตเดียม พบกับชอนบุกฮุนไดมอเตอร์ จากเคลีกของประเทศเกาหลีใต้ โดยผลเสมอกันไป 2-2 ในการแข่งขันไทยพรีเมียร์ลีก นัดแรกของฤดูกาล 2556 เมืองทองยูไนเต็ดพบกับสโมสรฟุตบอลทหารบก (อาร์มี่ ยูไนเต็ด) ซึ่งธีรศิลป์ยิงลูกแรกให้เมืองทองขึ้นนำ ก่อนที่ผลจะจบด้วยผล 2-1
ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 สโมสรอูเด อัลเมริอา ในลาลิกาของสเปน ได้ยืมตัวธีรศิลป์ไปเล่นในฤดูกาล 2557-2558 เป็นเวลา 1 ฤดูกาล ภายใต้การคุมทีมของฟรันซิสโก คาเบียร์ โรดรีเกซ บิลเชซ กุนซือชาวสเปน พร้อมเงื่อนไขในการซื้อขาดหากทำผลงานได้ดี โดยธีรศิลป์จะได้สวมเสื้อหมายเลข 18 ลงเล่นให้กับอัลเมริอา ในวันที่ 17 กรกฎาคม 2557 ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการกับสโมสรที่สภาว่าการเมืองอัลเมริอา แคว้นอันดาลูซิอา ประเทศสเปน
วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ธีรศิลป์สร้างประวัติศาสตร์โดยการเป็นนักเตะชาวไทยคนแรกที่ได้ลงเล่นในลาลิกา เมื่อถูกเปลี่ยนตัวลงมาแทนเฟร์นันโด โซเรียโน มาร์โกในเกมลาลิกาที่อัลเมริอาเปิดบ้านเสมออัสปัญญ็อล 1-1
ในลาลิกา ธีรศิลป์ไม่ค่อยได้รับโอกาสลงเล่นมากนัก โดยต้องตกเป็นตัวสำรองของโตเมร์ เฮเมด กองหน้าทีมชาติอิสราเอล และมักจะถูกส่งลงมาเล่นในช่วงท้ายเกม
วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2557 ธีรศิลป์ถูกส่งลงสนามในฐานะตัวจริงเป็นนัดแรก ในการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยโกปาเดลเรย์ รอบ 32 ทีมสุดท้าย นัดแรก โดยอัลเมริอาต้องออกไปเยือนเรอัลเบติสที่สนามเบนิโต บิยามาริน ซึ่งเกมส์นี้ถือเป็นดาร์บีแมตช์ของแคว้นอันดาลูซิอาอีกด้วย
การลงเล่นเป็นตัวจริงนัดแรกของธีรศิลป์ เขาสามารถยิงประตูแรกให้ต้นสังกัดได้สำเร็จ เมื่ออิบัน ซันเชซจ่ายบอลมาให้เขาหลุดเดี่ยวเข้าไปยิงประตูผ่านดานี คีเมเนซ ผู้รักษาประตูของเรอัลเบติส เข้าไปให้ทีมบุกมานำ 0-2 ก่อนจะจบลงด้วยชัยชนะ 3 - 4
ในต้นปี พ.ศ. 2558 ธีรศิลป์ได้ยกเลิกสัญญากับอัลเมริอา ทำให้ไม่ครบระยะเวลาสัญญา 1 ปี โดยจะกลับไปเล่นให้กับเมืองทอง ยูไนเต็ด ต้นสังกัดเดิม โดยให้เหตุผลว่าไม่สามารถปรับตัวได้ โดยเฉพาะเรื่องการสื่อสารหรือเรื่องภาษา ทำให้ธีรศิลป์ลงเล่นในลาลิกา 6 นัด ยิงไม่ได้เลยแม้แต่ประตูเดียว แต่ยิงได้ 1 ประตูในรายการโกปาเดลเรย์ จากการลงเล่น 4 นัด[5]
หลังจากธีรศิลป์ ตัดสินใจที่จะกลับเมืองทอง ยูไนเต็ด ในปี พ.ศ. 2558 โดยกลับมาก็ได้เล่นเกมอุ่นเครื่องพบกับทีมธนบุรี ซิตี้ ซึ่งธีรศิลป์สามารถทำประตูได้ แต่พอเริ่มเปิดลีก ไทยพรีเมียร์ลีก ในฤดูกาล 2558 ธีรศิลป์กลับฟอร์มตกอย่างน่าใจหายในช่วงต้น หลังจากนั้นก็คืนฟอร์ม ทำ2ประตูได้ในการแข่งขันโตโยต้า ลีกคัพ พบกับทีม สงขลา ยูไนเต็ด ก่อนจะมาทำประตูแรกในไทยลีกนัดที่เยือน ราชนาวีหลังจากนั้นธีรศิลป์ผลงานดีขึ้น จนกลับมาทำผลงานได้ดีอย่างมาก ส่วนหนึ่งมาจากการที่ ดราแกน ทาลาจิค ให้ธีรศิลป์เล่นในตำแหน่งปีกซ้าย และสร้างสรรค์เกมรุกได้อย่างดี ก่อนจะจบฤดูกาล 2558 ด้วยผลงาน 11ประตู กับ 13 แอสซิตส์ (นับแค่ไทยลีก) ถ้ารวมทุกรายการยิงไป 14ลูก นอกจากนั้นในการแข่งขัน ช้าง เอฟเอคัพ รอบรองชนะเลิศ ธีรศิลป์เป็นคนยิงประตูชัยในช่วงทดเวลาบาดเจ็บในนัดที่ชนะ อาร์มี่ ยูไนเต็ด 2-1 พาทีม เมืองทอง ยูไนเต็ดเข้าชิง ช้าง เอฟเอคัพ ก่อนสุดท้ายจะแพ้ให้ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ในนัดชิงชนะเลิศ
สโมสร | ฤดูกาล | ลีก | ลงเล่น | ประตู | ลงเล่น | ประตู | ลงเล่น | ประตู | ลงเล่น | ประตู | ลงเล่น | ประตู |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สโมสร | ลีก | คัพ | ลีกคัพ | สมาพันธ์ | รวม | |||||||
ไทย | ลีก | เอฟเอคัพ | ลีกคัพ | เอเชีย | รวม | |||||||
กองทัพอากาศ | 2005 | ดิวิชั่น 1 | 6 | 3 | — | — | — | 6 | 3 | |||
ราชประชา | 2006 | ดิวิชั่น 2 | 18 | 9 | — | — | — | 18 | 9 | |||
เมืองทอง ยูไนเต็ด | 2007 | ดิวิชั่น 2 | 15 | 7 | – | – | – | 15 | 7 | |||
อังกฤษ | ลีก | เอฟเอคัพ | ลีกคัพ | ยุโรป | รวม | |||||||
แมนเชสเตอร์ซิตี | 2007–08 | พรีเมียร์ลีก | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | – | 0 | 0 | |
สวิสเซอร์แลนด์ | ลีก | สวิสส์คัพ | ลีกคัพ | ยุโรป | รวม | |||||||
กราสฮอปเปอร์ II | 2007–08 | 1. ลีกคลาสสิค | 6 | 1 | — | — | — | 6 | 1 | |||
ไทย | ลีก | เอฟเอคัพ | ลีกคัพ | เอเชีย | รวม | |||||||
ราชประชา | 2008 | ดิวิชั่น 2 | 8 | 6 | – | – | – | 8 | 6 | |||
เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด | 2009 | ไทยลีก | 25 | 7 | 1 | 0 | – | – | 26 | 7 | ||
2010 | 26 | 7 | 3 | 2 | — | 7 | 1 | 36 | 10 | |||
2011 | 26 | 13 | 5 | 5 | 3 | 1 | 8 | 4 | 42 | 23 | ||
2012 | 29 | 24 | 1 | 1 | 2 | 0 | — | 32 | 25 | |||
2013 | 32 | 16 | 4 | 4 | 2 | 1 | 5 | 0 | 43 | 21 | ||
2014 | 18 | 9 | 1 | 2 | 3 | 1 | 2 | 0 | 24 | 12 | ||
สเปน | ลีก | โกปาเดลเรย์ | ลีกคัพ | ยุโรป | รวม | |||||||
อูเด อัลเมริอา | 2014–15 | ลาลิกา | 6 | 0 | 4 | 1 | — | — | 10 | 1 | ||
ไทย | ลีก | เอฟเอคัพ | ลีกคัพ | เอเชีย | รวม | |||||||
เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด | 2015 | ไทยลีก | 31 | 11 | 6 | 1 | 1 | 2 | — | 38 | 14 | |
2016 | 29 | 11 | 3 | 4 | 4 | 1 | 1 | 0 | 38 | 16 | ||
2017 | 17 | 10 | 0 | 0 | 0 | 0 | 7 | 5 | 24 | 15 | ||
2018 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 2 | 0 | 2 | 0 | ||
ญี่ปุ่น | ลีก | ถ้วยสมเด็จพระจักรพรรดิ | เจลีกคัพ | เอเชีย | รวม | |||||||
ซานเฟรซ ฮิโระชิมะ | 2018 | เจลีก ดิวิชัน 1 | 32 | 6 | 5 | 1 | — | — | 37 | 7 | ||
รวมทั้งหมด | 298 | 137 | 32 | 21 | 22 | 13 | 32 | 10 | 390 | 181 |
# | วันที่ | สถานที่ | พบ | ประตู | ผล | รายการ |
---|---|---|---|---|---|---|
1. | 8 ตุลาคม 2550 | กรุงเทพ, ไทย | มาเก๊า | 1-0 | 7-1 | ฟุตบอลโลก 2010 รอบคัดเลือก |
2. | 16 ตุลาคม 2550 | มาเก๊า, มาเก๊า | มาเก๊า | 2-0 | 6-1 | ฟุตบอลโลก 2010 รอบคัดเลือก |
3. | 20 พฤษภาคม 2551 | กรุงเทพ, ไทย | เนปาล | 1-0 | 7-0 | อุ่นเครื่อง |
4. | 4-0 | |||||
5. | 25 พฤษภาคม 2551 | กรุงเทพ, ไทย | อิรัก | 2-0 | 2-1 | อุ่นเครื่อง |
6. | 16 พฤศจิกายน 2551 | ฮานอย, เวียดนาม | เวียดนาม | 2-1 | 2-2 | ทีแอนด์ที คัพ 2551 |
7. | 10 ธันวาคม 2551 | ภูเก็ต, ไทย | มาเลเซีย | 2-0 | 3-0 | เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2551 |
8. | 10 ธันวาคม 2551 | ภูเก็ต, ไทย | มาเลเซีย | 3-0 | 3-0 | เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2551 |
9. | 16 ธันวาคม 2551 | จาการ์ตา, อินโดนีเซีย | อินโดนีเซีย | 1-0 | 1-0 | เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2551 |
10. | 28 ธันวาคม 2551 | ฮานอย, เวียดนาม | เวียดนาม | 1-0 | 1-1 | เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2551 |
11. | 21 มกราคม 2552 | ภูเก็ต, ไทย | เลบานอน | 1-0 | 2-1 | คิงส์ คัพ 2552 |
12. | 5 กุมภาพันธ์ 2552 | ไซตามะ, ญี่ปุ่น | ซาอุดีอาระเบีย | 2-1 | 2-1 | กระชับมิตร |
13. | 28 มีนาคม 2552 | กรุงเทพ, ไทย | นิวซีแลนด์ | 1-1 | 3-1 | กระชับมิตร |
14. | 3-1 | |||||
15. | 18 กรกฎาคม 2552 | ธันเดอร์โดมสเตเดียม, ปากเกร็ด, ประเทศไทย | ปากีสถาน | 1–0 | 4–0 | เกมกระชับมิตร |
16. | 3–0 | |||||
17. | 14 กรกฎาคม 2554 | บุรีรัมย์, ไทย | พม่า | 1-0 | 1-0 | กระชับมิตร |
18. | 2 กันยายน 2554 | บริสเบน, ออสเตรเลีย | ออสเตรเลีย | 1-0 | 1-2 | ฟุตบอลโลก 2014 รอบคัดเลือก |
19. | 6 กันยายน 2554 | กรุงเทพ, ไทย | โอมาน | 2-0 | 3-0 | ฟุตบอลโลก 2014 รอบคัดเลือก |
20. | 24 กุมภาพันธ์ 2555 | เชียงใหม่, ไทย | มัลดีฟส์ | 3-0 | 3-0 | กระชับมิตร |
21. | 17 พฤศจิกายน 2555 | กรุงเทพ, ไทย | บังกลาเทศ | 2-0 | 5-0 | กระชับมิตร |
22. | 3-0 | |||||
23. | 4-0 | |||||
24. | 27 พฤศจิกายน 2555 | กรุงเทพ, ไทย | พม่า | 1-0 | 4-0 | เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2555 |
25. | 3-0 | |||||
26. | 4-0 | |||||
27. | 9 ธันวาคม 2555 | กัวลาลัมเปอร์, มาเลเซีย | มาเลเซีย | 1-1 | 1-1 | เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2555 (รอบรองชนะเลิศ) |
28. | 13 ธันวาคม 2555 | กรุงเทพ, ไทย | มาเลเซีย | 1-0 | 2-0 | เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2555 (รอบรองชนะเลิศ) |
29. | 15 ตุลาคม 2556 | เตหะราน, อิหร่าน | อิหร่าน | 1-2 | 1-2 | เอเชียน คัพ 2015 รอบคัดเลือก |
30. | 16 มิถุนายน 2558 | ไทเป, ไต้หวัน | จีนไทเป | 1-0 | 2-0 | ฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก |
31. | 2-0 | |||||
32. | 3 กันยายน 2558 | กรุงเทพ, ไทย | อัฟกานิสถาน | 2-0 | 2-0 | กระชับมิตร |
33. | 12 พฤศจิกายน 2558 | กรุงเทพ, ไทย | จีนไทเป | 1-1 | 4-2 | ฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก |
34. | 3 มิถุนายน 2559 | กรุงเทพ, ไทย | ซีเรีย | 1-0 | 2-2 | คิงส์ คัพ 2559 |
35. | 15 พฤศจิกายน 2559 | กรุงเทพ, ไทย | ออสเตรเลีย | 1-1 | 2-2 | ฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก |
36. | 2-1 | |||||
37. | 19 พฤศจิกายน 2559 | บูเกา, ฟิลิปปินส์ | อินโดนีเซีย | 2-0 | 4-2 | เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2559 |
38. | 3-2 | |||||
39. | 4-2 | |||||
40. | 4 ธันวาคม 2559 | ย่างกุ้ง, พม่า | พม่า | 1-0 | 2-0 | เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2559 |
41. | 2-0 | 2-0 | เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2559 | |||
42. | 14 ธันวาคม 2559 | โบกอร์, อินโดนีเซีย | อินโดนีเซีย | 1-0 | 1-2 | เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2559 |
43. | 5 ตุลาคม 2560 | มัณฑะเลย์, พม่า | พม่า | 2-0 | 3-1 | กระชับมิตร |
44. | 8 ตุลาคม 2560 | นนทบุรี, ไทย | เคนยา | 1-0 | 1-0 | กระชับมิตร |
45. | 6 มกราคม 2562 | อาบูดาบี, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ | อินเดีย | 1-1 | 1-4 | เอเชียน คัพ 2019 |
46. | 10 ตุลาคม 2562 | ปทุมธานี, ไทย | สาธารณรัฐคองโก | 1-0 | 1-1 | กระชับมิตร |
47. | 15 ตุลาคม 2562 | ปทุมธานี, ไทย | สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ | 1-0 | 2-1 | ฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก |
48. | 11 ธันวาคม พ.ศ. 2564 | สนามกีฬาแห่งชาติสิงคโปร์ สิงคโปร์ | พม่า | 1–0 | 4–0 | ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2020 |
49. | 2–0 | |||||
50. | 14 ธันวาคม พ.ศ. 2564 | ฟิลิปปินส์ | 1–0 | 2–1 | ||
51. | 2–1 | |||||
52. | 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 | ปทุมธานี, ไทย | บาห์เรน | 1–0 | 1–2 | กระชับมิตร |
53. | 8 มิถุนายน พ.ศ. 2565 | นามังแกน, อุซเบกิสถาน | มัลดีฟส์ | 2–0 | 3–0 | เอเชียนคัพ รอบคัดเลือก |
54. | 11 ธันวาคม พ.ศ. 2565 | ปทุมธานี, ไทย | พม่า | 1–0 | 6–0 | กระชับมิตร |
55. | 5–0 | |||||
56. | 20 ธันวาคม พ.ศ. 2565 | กัวลาลัมเปอร์, มาเลเซีย | บรูไน | 2–0 | 5–0 | ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2022 |
57. | 26 ธันวาคม พ.ศ. 2565 | สนามกีฬาธรรมศาสตร์ รังสิต จังหวัดปทุมธานี, ไทย | ฟิลิปปินส์ | 1–0 | 4–0 | |
58. | 2–0 | |||||
59. | 2 มกราคม พ.ศ. 2566 | สนามกีฬาธรรมศาสตร์ รังสิต จังหวัดปทุมธานี, ไทย | กัมพูชา | 1–0 | 3–1 | |
60. | 3–1 | |||||
61. | 10 มกราคม พ.ศ. 2566 | สนามกีฬาธรรมศาสตร์ รังสิต จังหวัดปทุมธานี, ไทย | มาเลเซีย | 1–0 | 3–0 | |
62. | 16 มิถุนายน พ.ศ. 2566 | National Stadium, Kaohsiung, ประเทศไต้หวัน | จีนไทเป | 1–1 | 2–2 | กระชับมิตร |
63. | 19 มิถุนายน พ.ศ. 2566 | Hong Kong Stadium, So Kon Po, ฮ่องกง | ฮ่องกง | 1–0 | 1–0 | |
64. | 7 กันยายน พ.ศ. 2566 | สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี, จังหวัดเชียงใหม่, ไทย | เลบานอน | 2–1 | 2–1 | คิงส์คัพ 2023 |
หมายเหตุ: 2 ประตู ในการเตะกระชับมิตรกับปากีสถานเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2552 เป็นการเตะแบบไม่เป็นทางการ[6]
ธีรศิลป์ มีบิดาชื่อ พ.อ.อ.ประสิทธิ์ แดงดา[9][10] ซึ่งเป็นชาวจังหวัดสุรินทร์ โดยพ่อของธีรศิลป์ก็เป็นนักฟุตบอลเก่าและมาเป็นนักฟุตบอลอาชีพที่กรุงเทพตั้งแต่วัยหนุ่ม ภายหลังพ่อของธีรศิลป์ได้กลับไปสุรินทร์เปิดรีสอร์ทและธีรศิลป์ก็ได้นำเงินจากการเตะฟุตบอลช่วยพ่อลงทุนด้วย สำหรับที่มาของชื่อ ธีรศิลป์ นั้น พ.อ.อ.ประสิทธิ์ ได้เปิดเผยว่า ที่มาของชื่อเพราะเชื่อในเรื่องนามมงคล และยังได้ยึดถือเอาชื่อของ พล.อ.อ.ธีรศิลป์ คัมภีรญาณนนท์ อดีตผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศ ในสมัยที่ตนเองทำหน้าที่เฮดโค้ชของทีมโรงเรียนจ่าอากาศ และเป็นนักฟุตบอลระดับถ้วย ค ให้กับต้นสังกัดมาตั้ง เพราะเคารพนับถือเป็นการส่วนตัว[11]
และธีรศิลป์ยังมีน้องสาวชื่อธนีกาญจน์ แดงดา ซึ่งเป็นนักฟุตบอลเช่นกัน[12]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.