คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
สโมสรฟุตบอลการท่าเรือ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
สโมสรฟุตบอลการท่าเรือ (อังกฤษ: Port F.C.) เป็นสโมสรฟุตบอลในประเทศไทย โดยได้เข้ามาร่วมเล่นในไทยลีก ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2539 ซึ่งในอดีตสโมสรนี้มีชื่อว่า การท่าเรือแห่งประเทศไทย, การท่าเรือไทย และ สิงห์ท่าเรือ
![]() | ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
Remove ads
Remove ads
ประวัติสโมสร
สรุป
มุมมอง
ยุคก่อนระบบฟุตบอลลีก
สโมสร ก่อตั้งเมื่อปี 2510 ในชื่อ สโมสรการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยเริ่มต้นจากพนักงานการท่าเรือฯ 3 ท่าน คือ อำพล สิงห์สุมาลี, สง่า บังเกิดลาภ และ พี่เดียร์ (นามสมมุติ) โดยในช่วงแรก ส่งทีมร่วมแข่งขันในฟุตบอลระดับเยาวชน และถ้วยน้อย ก่อนที่ในเวลาต่อมา พลตรี ประจวบ สุนทรางกูร ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (ในขณะนั้น) ได้ให้ความสำคัญ และเข้าร่วมดูแลสโมสร โดยมีโค้ชในยุคแรก คือ ทวิช นรเดชานนท์ และ ไพสิต คชเสนี[1]
โดยเริ่มต้นส่งเข้าร่วมการแข่งขัน ถ้วยพระราชทาน ง. โดยชนะเลิศการแข่งขัน 3 สมัยติดต่อกันในปี 2510 - 2512 ทำให้ในปี 2513 จึงได้รับเชิญเข้าร่วมการแข่งขัน ถ้วยพระราชทาน ก. และได้ตำแหน่งชนะเลิศ ตั้งแต่ครั้งแรกที่เข้าร่วมการแข่งขัน[2]
ต่อมาในช่วงปี 2519 ถึง 2522 นับว่าเป็นช่วงที่ดีที่สุดของสโมสร โดยมี น.อ.ลาโภ อิศรางกูร ณ อยุธยา (ร.น.) ซึ่งเป็นผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย ในช่วงนั้นเป็นผู้ให้การสนับสนุนทีมท่าเรืออย่างเต็มกำลัง จนสามารถคว้าตำแหน่งชนะเลิศ ถ้วยพระราชทาน ก. ได้ 3 สมัย และชนะเลิศ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานควีนสคัพ ได้ในปี 2521-2523 (โดยในปี 2520 และ 2522 ได้ตำแหน่งชนะเลิศร่วมกัน)[2] ขณะเดียวกันในการแข่งขันฟุตบอลกีฬาท่าเรือระหว่างประเทศ สโมสรก็ยังสามารถทำผลงานได้ตำแหน่งชนะเลิศ การแข่งขันฟุตบอลกีฬาท่าเรืออาเซียน 4 สมัยอีกด้วย
ต่อมาในปี 2534 สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้มีนโยบายในการที่จะจัดการแข่งขันฟุตบอลอาชีพ โดยให้สโมสรที่ลงทำการแข่งขันในระดับ ถ้วยพระราชทาน ก. เป็นทีมยืนในการแข่งขัน โดย สโมสร ต้องยกเลิกการส่งสโมสรเข้าร่วมแข่งขันใน ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ทุกประเภท เพื่อเข้าร่วมการแข่งขัน ฟุตบอลลีกอาชีพในขณะนั้น (การแข่งขัน ไทยแลนด์เซมิโปรลีก)
ยุคระบบฟุตบอลลีก
ต่อมาในปี 2539 ได้มีการจัดการแข่งขัน ไทยลีก ฤดูกาล 2539/40 ขึ้น โดยเป็นหนึ่งใน 18 สโมสรแรกที่ร่วมทำการแข่งขัน และทำผลงานโดยจบอันดับที่ 11 จาก 18 สโมสร
ต่อมาในปี 2552 หลังจากที่ได้มีการปรับโครงสร้างของลีกให้เป็นมืออาชีพ สโมสร ก็ต้องทำการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลด้วย โดยได้มีการจดทะเบียนในนาม บจก.สโมสรฟุตบอลการท่าเรือไทย โดยมี พิเชษฐ์ มั่นคง เป็นประธานสโมสร และในปีนั้น สโมสรสามารถชนะเลิศการแข่งขัน ไทยแลนด์ เอฟเอคัพ ได้โดยเอาชนะจุดโทษ สโมสรบีอีซี เทโรศาสน 5-4 ซึ่งเป็นการได้ตำแหน่งชนะเลิศครั้งแรกในรอบ 16 ปี โดยความสำเร็จครั้งสุดท้ายคือ ชนะเลิศ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน ควีนสคัพ เมื่อปี 2536
ต่อมาในปี 2555 ได้มีการเปลื่ยนแปลงผู้บริหาร ทำให้มีการเปลื่ยนชื่อสโมสรเป็น สโมสรฟุตบอลสิงห์ท่าเรือ พร้อมกับเปลี่ยนทีมผู้ฝึกสอนและผู้บริหารทั้งหมด และได้ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง เป็นประธานกิตติมศักดิ์ (ในฐานะประธานคณะกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทย) และ ทรง วงศ์วานิช เป็นประธาน สโมสร[3] โดยในปีนั้น สโมสร ซึ่งทำการแข่งขัน ดิวิชั่น 1 2556 ทำผลงานได้อย่างน่าประทับใจ โดยจบด้วยตำแหน่งรองชนะเลิศ ได้สิทธิ์เลื่อนชั้นไปแข่งขันไทยลีกอีกครั้ง

ต่อมาในปี 2557 ทางคณะกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทยได้มีมติ นำสิทธิ์การบริหารคืน หลังจากที่ผู้บริหารชุดเดิม ได้คืนสิทธิ์ให้[4] โดยได้จัดตั้ง บจก.การท่าเรือ เอฟซี เข้ามาบริหารแทน เพื่อแข่งขันใน ไทยลีก 2558 โดยมี พล.ร.อ.อภิชาติ เพ็งศรีทอง เป็นประธานสโมสร และมี สมชาย ชวยบุญชุม เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอน[4] ต่อมาช่วงก่อนเปิดเลกสอง นวลพรรณ ล่ำซำ ผู้จัดการทีม ฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย ได้ร่วมทำสัญญาและเข้ามาบริหารสโมสร จึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น สโมสรฟุตบอลการท่าเรือ เมืองไทยประกันภัย รวมไปถึงเปลี่ยนตราสัญลักษณ์และฉายาใหม่เป็น อาชาท่าเรือ[5] แต่ต่อมาในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน ได้ขอเปลี่ยนชื่อทีมใช้แบบเดิมในชื่อ สโมสรฟุตบอลการท่าเรือ แต่ผลงานของสโมสรกลับไม่ดี โดยตกชั้นในอันดับที่ 17 ของตาราง[6]
ในฤดูกาล 2559 ที่สโมสรลงไปทำการแข่งขันในดิวิชั่น 1 สโมสรก็สามารถเลื่อนชั้นสู่ไทยลีกอีกครั้ง โดยจบด้วยอันดับที่ 3 โดยในปีนั้นมีการเปลื่ยนแปลงตราสโมสร โดยกลับมาใช้รูปสิงห์อีกครั้ง รวมไปถึงการกลับมาใช้ฉายา สิงห์เจ้าท่า อีกครั้ง
- ประวัติสัญลักษณ์ของสโมสร
- 2510 – 2530
- 2531[7] – 2551
- 2552 (ใช้เพียงช่วงสั้นๆ)
- 2556 – 2557
- 2558
- 2559 – ปัจจุบัน
Remove ads
สถิติของสโมสร
ผลงานในแต่ละฤดูกาล
ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | อันดับที่ 3 | เลื่อนชั้น | ตกชั้น |
ผลงานระดับทวีป
สถิติอื่น ๆ
- ชนะในฟุตบอลถ้วยมากที่สุด - เอ็มบีเอฟ อัมพวา 1–22 การท่าเรือ (ช้าง เอฟเอคัพ 2564–65)[9]
Remove ads
เกียรติยศสโมสร
ระดับเอเชีย
- เอเชียนแชมเปียนส์คัพ - รอบก่อนรองชนะเลิศ (ฤดูกาล 1991/92)
- เอเอฟซีคัพ - รอบก่อนรองชนะเลิศ (ฤดูกาล 2010)
- เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก - รองแบ่งกลุ่ม (ฤดูกาล 2021)
บุคลากร
สรุป
มุมมอง
เจ้าหน้าที่สโมสร
ทำเนียบหัวหน้าผู้ฝึกสอน
รายชื่อหัวหน้าผู้ฝึกสอนตั้งแต่ พ.ศ. 2539 ถึงปัจจุบัน
ดาวยศ ดารา 2539–2544
นิวัฒน์ ศรีสวัสดิ์ 2545–2550
สมชาติ ยิ้มศิริ 2551
ไพบูลย์ เลิศวิมลรัตน์ 2552
สะสม พบประเสริฐ 2552–2554
ธงชัย สุขโกกี 2554–2555
ปิยะกุล แก้วน้ำค้าง 2555
อดุลย์ ลือกิจนา 2555
วรกรณ์ วิจารณ์ณรงค์ 2555
ดุสิต เฉลิมแสน 2555–2557
สมชาย ชวยบุญชุม 2557–2558
ไพบูลย์ เลิศวิมลรัตน์ 2558
แกรี สตีเวนส์ 2558
สมชาย ทรัพย์เพิ่ม 2558
มาซาฮิโระ วาดะ 2558–2559
จเด็จ มีลาภ 2559–2560
เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง 2560
จเด็จ มีลาภ 2560–2562
โชคทวี พรหมรัตน์ 2562–2563
จเด็จ มีลาภ 2563
สระราวุฒิ ตรีพันธ์ 2563–2564
ดุสิต เฉลิมแสน 2564
สระราวุฒิ ตรีพันธ์รักษาการ 2564–2565
วีรยุทธ์ บินอับดุลเลาะมานรักษาการ 2565
จเด็จ มีลาภ 2565
สก็อตต์ คูเปอร์ 2565
แมตต์ ฮอลแลนด์รักษาการ 2565–2566
โชคทวี พรหมรัตน์ และ สุรพงษ์ คงเทพ 2566
รังสรรค์ วิวัฒน์ชัยโชค 2566–2568
Remove ads
ผู้เล่น
ผู้เล่นชุดปัจจุบัน
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
ผู้เล่นชุดรุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
Remove ads
สโมสรพันธมิตร
พันธมิตรต่างประเทศ
พันธมิตรในประเทศ
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads