คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกอีลิท
การแข่งขันฟุตบอลประจำปีของสโมสรฟุตบอลในทวีปเอเชีย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกอีลิท (อังกฤษ: AFC Champions League Elite) เป็นการแข่งขันฟุตบอลสโมสรประจำปีจัดโดยสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (เอเอฟซี) แข่งขันระหว่างสโมสรฟุตบอลจากลีกสูงสุดในเอเชีย และถือเป็นการแข่งขันระดับสโมสรที่ทรงเกียรติที่สุดในการแข่งขันฟุตบอลเอเชีย โดยแข่งขันระหว่างแชมป์ลีกสูงสุดของแต่ละประเทศ (และรองชนะเลิศมากกว่าหนึ่งสโมสรสำหรับบางประเทศ) ของสมาคมฟุตบอลในประเทศของตน[1]
Remove ads
การแข่งขันเริ่มต้นขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1967 ในชื่อ เอเชียนแชมเปียนคลับทัวร์นาเมนต์ ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ใน ค.ศ. 2002 หลังการรวมการแข่งขัน เอเชียนคลับแชมเปียนชิป, เอเชียนคัพวินเนอร์สคัพ และเอเชียนซูเปอร์คัพ และเปลี่ยนชื่ออีกครั้งใน ค.ศ. 2024 เป็นชื่อปัจจุบัน
การแข่งขันประกอบด้วย 24 สโมสรที่เข้าแข่งขันในรอบลีก โดยแบ่งเป็นภูมิภาคตะวันออกและตะวันตก (ภูมิภาคละ 12 สโมสร) ผู้ชนะเลิศจะได้ผ่านเข้าไปแข่งขันในฟีฟ่าอินเตอร์คอนติเนนตัลคัพ และฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก และเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกอีลิทรอบลีกในฤดูกาลถัดไป หากพวกเขาไม่ได้ผ่านเข้ารอบจากผลงานภายในประเทศแล้ว
สโมสรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคือ อัลฮิลาล โดยพวกเขาชนะเลิศรายการนี้สี่สมัย ผู้ชนะเลิศปัจจุบันคือ อัลอะฮ์ลี โดยชนะคาวาซากิ ฟรอนตาเลในนัดชิงชนะเลิศ 2025
Remove ads
ประวัติ
สรุป
มุมมอง
ค.ศ. 1967–1972: เอเชียนแชมเปียนคลับทัวร์นาเมนต์
สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (เอเอฟซี) มีการหารือกันเป็นครั้งแรกเกี่ยวกับการจัดการแข่งขันสำหรับแชมป์ของประเทศต่าง ๆ ในเอเอฟซีในการประชุมที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 21 เมษายน ค.ศ. 1963 โดยเลขาธิการ ลี ไว ตง ได้ประกาศถึงความตั้งใจของเอเอฟซีที่จะจัดการแข่งขันที่คล้ายคลึงกับยูโรเปียนคัพ[2] การแข่งขันจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1967 ในชื่อเอเชียนแชมเปียนคลับทัวร์นาเมนต์ มีรูปแบบการแข่งขันที่หลากหลายในช่วงแรก โดยการแข่งขันครั้งแรกจัดขึ้นในรูปแบบแพ้คัดออกอย่างเดียว และอีกสามครั้งถัดมาประกอบด้วยรอบแบ่งกลุ่ม
แม้ว่าสโมสรจากอิสราเอลจะชนะเลิศรายการนี้สามในสี่ครั้งแรก แต่ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะสโมสรอาหรับปฏิเสธที่จะเล่นกับพวกเขา ในปี 1970 โฮมเน็ตเมน สโมสรจากเลบานอนปฏิเสธที่จะเล่นกับฮาโปเอลเทลอาวีฟในรอบรองชนะเลิศ ทำให้นัดดังกล่าวถูกยกเลิกและทำให้ฮาโปเอลผ่านเข้าสู่นัดชิงชนะเลิศ ในปี 1971 อาลียาตอัลชอร์ตา สโมสรจากอิรักปฏิเสธที่จะเล่นกับมัคคาบีเทลอาวีฟสามครั้ง ได้แก่ รอบเบื้องต้น (ซึ่งมีการจับสลากใหม่), รอบแบ่งกลุ่ม และนัดชิงชนะเลิศซึ่งถูกยกเลิก ทำให้มัคคาบีเป็นผู้ชนะเลิศ[3] ในระหว่างพิธีมอบรางวัลให้กับมัคคาบี ผู้เล่นของอาลียาตอัลชอร์ตาโบกธงปาเลสไตน์ไปรอบ ๆ สนาม มีการจัดการแข่งขันโดยเอเอฟซีและสมาคมฟุตบอลไทยระหว่างมัคคาบี และทีมรวมกรุงเทพฯ แทนการแข่งขันนัดชิงชนะเลิศ[4] สื่ออิรักถือว่า อาลียาตอัลชอร์ตาคือผู้ชนะเลิศการแข่งขัน โดยทีมได้จัดขบวนพาเหรดรถบัสเปิดประทุนในกรุงแบกแดด[5]
หลังการแข่งขันในปี 1972 ถูกยกเลิกโดยเอเอฟซีด้วยเหตุผลหลายประการ รวมถึงการที่สโมสรอาหรับสองสโมสรถูกตัดสิทธิ์ เนื่องจากปฏิเสธที่จะลงเล่นพบกับมัคคาบีเนทันยา สโมสรจากอิสราเอล ทำให้เอเอฟซีระงับการแข่งขันเป็นเวลา 14 ปี ก่อนที่อิสราเอลจะถูกขับออกจากเอเอฟซีในปี 1974[6]
ค.ศ. 1985–2002: กลับมาในชื่อเอเชียนคลับแชมเปียนชิป
การแข่งขันสโมสรระดับชั้นนำของเอเชียกลับมาในปี 1985 ในชื่อเอเชียนคลับแชมเปียนชิป[7]
สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียเปิดตัวการแข่งขัน เอเชียนคัพวินเนอร์สคัพ ใน ค.ศ. 1990 เป็นการแข่งขันระหว่างผู้ชนะเลิศฟุตบอลชิงถ้วยของแต่ละชาติในเอเอฟซี และยังได้เปิดตัวการแข่งขัน เอเชียนซูเปอร์คัพ ใน ค.ศ. 1995 เป็นการแข่งขันระหว่างผู้ชนะเลิศเอเชียนคลับแชมเปียนชิป และเอเชียนคัพวินเนอร์สคัพ
ค.ศ. 2002–2024: เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก

ฤดูกาล 2002–03 เห็นการรวมตัวของการแข่งขันเอเชียนคลับแชมเปียนชิป, เอเชียนคัพวินเนอร์สคัพ และเอเชียนซูเปอร์คัพ กลายเป็น เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ผู้ชนะเลิศลีกสูงสุดและผู้ชนะเลิศฟุตบอลชิงถ้วยจะผ่านเข้ารอบคัดเลือกเพลย์ออฟ โดยแปดสโมสรที่ดีที่สุดจากเอเชียตะวันออกและแปดสโมสรที่ดีที่สุดจากเอเชียตะวันตกจะผ่านเข้าสู่รอบแบ่งกลุ่ม สโมสรแรกที่ชนะเลิศในชื่อเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกคือ อัลไอน์ โดยชนะ บีอีซี เทโรศาสน ด้วยผลประตูรวม 2–1 ในปี 2004 มีสโมสร 29 แห่งจากสิบสี่ประเทศเข้าร่วมและกำหนดการแข่งขันมีการเปลี่ยนแปลงเป็นเดือนมีนาคมถึงพฤศจิกายน
ในรอบแบ่งกลุ่ม 28 สโมสรจะถูกแบ่งออกเป็น 7 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ทีม ตามภูมิภาค โดยแยกสโมสรจากเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันตกออกจากกันเพื่อลดต้นทุนการเดินทาง และกลุ่มต่าง ๆ จะถูกเล่นแบบเหย้าและเยือน ทีมชนะเลิศทั้ง 7 กลุ่ม รวมถึงแชมป์เก่า จะได้ผ่านเข้าสู่รอบก่อนรองชนะเลิศ โดยรอบก่อนรองชนะเลิศ, รอบรองชนะเลิศ และนัดชิงชนะเลิศ จะแข่งขันกันแบบสองนัด โดยจะใช้กฏประตูทีมเยือน, การต่อเวลาพิเศษ และการดวลลูกโทษเป็นการตัดสินเสมอ
การขยาย
สโมสรจากซีเรียเข้าร่วมการแข่งขันในฤดูกาล 2005 ทำให้จำนวนประเทศที่เข้าร่วมเพิ่มเป็น 15 ประเทศ และสองปีต่อมา สโมสรจากออสเตรเลียก็เข้าร่วมการแข่งขันด้วยเช่นกัน หลังย้ายมายังเอเอฟซีใน ค.ศ. 2006 อย่างไรก็ตาม หลายสโมสรตำหนิว่าเงินรางวัลที่ต่ำในเวลานั้นและค่าเดินทางที่แพงเป็นเหตุผลบางประการ แชมเปียนส์ลีกขยายเพิ่มเป็น 32 สโมสรใน ค.ศ. 2009 โดยให้สโมสรในลีกเอเชียสิบอันดับแรกเข้าสู่การแข่งขันโดยตรง แต่ละประเทศสามารถส่งได้สูงสุด 4 สโมสร แม้ว่าจะไม่เกินหนึ่งในสามของจำนวนสโมสรในดิวิชันสูงสุดของประเทศนั้น โดยจะปัดลงขึ้นอยู่กับความแข็งแกร่งของลีก โครงสร้างลีกอาชีพ ความสามารถในการทำตลาด สถานะทางการเงิน รวมถึงเกณฑ์อื่น ๆ ที่กำหนดโดยคณะกรรมการเอเอฟซีโปรลีก[8] เอเอฟซีจะปรับปรุงเกณฑ์การประเมินและจัดอันดับสมาคมที่เข้าร่วมทุก ๆ สองปี[9]

การแข่งขันรูปแบบเก่าประกอบด้วย ผู้ชนะเลิศของกลุ่มแปดทีมและรองชนะเลิศของแปดทีม ผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้าย โดยผู้ชนะเลิศของกลุ่มจะได้เป็นเจ้าภาพพบกับรองชนะเลิศในการแข่งขันแบบสองนัดซึ่งจะแข่งขันกันในระดับภูมิภาค โดยใช้กฏประตูทีมเยือน, ต่อเวลาพิเศษ และการดวลจุดโทษเป็นตัวตัดสินผลเสมอ ข้อจำกัดทางภูมิภาคจะยังมีต่อไปจนถึงนัดชิงชนะเลิศ แม้ว่าสโมสรจากประเทศเดียวกันจะไม่สามารถพบกันในรอบก่อนรองชนะเลิศได้ เว้นแต่ประเทศนั้นจะมีตัวแทนในรอบก่อนรองชนะเลิศสามสโมสรหรือมากกว่า ตั้งแต่ ค.ศ. 2013 นัดชิงชนะเลิศจะแข่งขันแบบสองนัดเหย้าและเยือน[10][11]
รอบแบ่งกลุ่มขยายจาก 32 ทีมเป็น 40 ทีม ใน ค.ศ. 2021 โดยทั้งภูมิภาคตะวันตกและตะวันออกจะแบ่งเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ทีม การจัดสรรจำนวนทีมสำหรับสมาคมสมาชิกหกอันดับแรกในแต่ละภูมิภาคยังคงไม่เปลี่ยนแปลง ผู้ชนะเลิศของกลุ่ม 10 ทีม และรองชนะเลิศ 3 อันดับแรกของแต่ละภูมิภาค จะได้รับการจัดอันดับตามตารางรวมสำหรับรอบ 16 ทีมสุดท้าย โดยนัดต่าง ๆ จะยังคงจับคู่ตามภูมิภาคจนถึงนัดชิงชนะเลิศ[12]
เอเอฟซีประกาศเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 ว่า เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกจะกลับไปใช้ตารางการแข่งขันแบบระหว่างปี (ฤดูใบไม้ร่วงถึงฤดูใบไม้ผลิ) โดยเริ่มต้นในฤดูกาล 2023–24 นอกจากนี้ กฎ "3+1" ที่ใช้อยู่สำหรับผู้เล่นต่างชาติในระหว่างการแข่งขัน (ผู้เล่นต่างชาติ 3 คนและผู้เล่นต่างชาติชาวเอเชีย 1 คน) ได้รับการขยายเป็น "5+1" (ผู้เล่นต่างชาติ 5 คนและผู้เล่นต่างชาติชาวเอเชีย 1 คน)[13]
สิทธิสตรีในฟุตบอลอิหร่าน
เมื่อ ค.ศ. 2021 ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับฝ่ายอิหร่านได้ดึงดูดความสนใจจากสื่อมวลชน สื่ออาหรับ และภาษาอังกฤษระดับนานาชาติรายงานเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิสตรีในสนามกีฬาของฝ่ายอิหร่าน
นอกจากนี้ ผู้หญิงชาวอิหร่านยังถูกห้ามไม่ให้เข้าสนามฟุตบอลเป็นเวลาประมาณ 40 ปี โดยรัฐบาลอิหร่าน[14][15] ผู้หญิงชาวอิหร่านได้รับอนุญาตให้ชมฟุตบอลในสนามกีฬาเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 2019 แต่ไม่ใช่ระหว่างเกมเอซีแอล[15][16] ก่อนหน้านี้ ฟีฟ่า ได้กดดันอิหร่านให้ผู้หญิงเข้าสนามกีฬาได้ แต่อิหร่านก็ยอมแต่จำกัดจำนวนผู้หญิงที่เข้าชมนัดชิงชนะเลิศ 2018[15][17] เอเอฟซีได้ทำการสอบสวนเรื่องดังกล่าวใน ค.ศ. 2021 โดยหวังว่าจะอนุญาตให้เข้าชมได้อย่างไม่มีข้อจำกัด เมื่อใดก็ตามที่มีสโมสรจากอิหร่านเข้าร่วม[18]
ค.ศ. 2024–25 เป็นต้นไป: เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกอีลิท
เอเอฟซีประกาศเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 2022 ว่า โครงสร้างฟุตบอลระดับสโมสรของตนจะต้องปฏิรูปใหม่ โดยการแข่งขันระดับสโมสรสูงสุดจะลดจำนวนทีมลงจาก 40 ทีมในเวทีหลักเหลือ 24 ทีม โดยแบ่งออกเป็นภูมิภาคตะวันออกและตะวันตก (ภูมิภาคละ 12 ทีม) โดยแต่ละทีมในภูมิภาคตะวันออกและตะวันตกจะต้องเจอกับทีมอื่นอีกแปดทีมจากภูมิภาคของตน (เหย้าสี่ทีม และเยือนสี่ทีม) ทีมที่จบแปดอันดับแรกจากแต่ละภูมิภาคจะผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออก โดยในเฉพาะรอบ 16 ทีมสุดท้ายที่จะเล่นสองนัด ตั้งแต่รอบก่อนรองชนะเลิศเป็นต้นไปจะเล่นในรูปแบบนัดเดียวที่สนามกลาง[19] เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 2023 มีการยืนยันแล้วว่ารูปแบบใหม่จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ฤดูกาล 2024–25 โดยชื่อของการแข่งขันจะเปลี่ยนเป็น เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกอีลิท[20] นอกจากนี้ เอเอฟซียังยืนยันด้วยว่า บันทึกและสถิติของเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกจะถูกส่งต่อไปยังเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกอีลิท[21] ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2023 ซาอุดีอาระเบียได้รับหน้าที่เป็นเจ้าภาพในรอบสุดท้ายของสองฤดูกาลแรก[22]
Remove ads
รูปแบบ
สรุป
มุมมอง
การคัดเลือก

สมาชิกเอเอฟซีที่เข้าถึงรอบลีก
สมาชิกเอเอฟซีที่ยังไม่เคยเข้าถึงรอบลีก
การแข่งขันในฤดูกาล 2024–25 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกอีลิทใช้รอบลีกซึ่งมี 24 ทีม โดยจะมีการแข่งขันรอบคัดเลือกสำหรับทีมที่ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขันโดยตรงก่อน นอกจากนี้ ทีมต่าง ๆ จะถูกแบ่งออกเป็นโซนตะวันออกและตะวันตก
จำนวนทีมที่แต่ละสมาคมส่งเข้าแข่งขันเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกอีลิทจะถูกกำหนดเป็นประจำทุกปีโดยใช้เกณฑ์ที่กำหนดโดยคณะกรรมการการแข่งขันเอเอฟซี[23] เกณฑ์ดังกล่าวดัดแปลงจากค่าสัมประสิทธิ์ยูฟ่า โดยใช้วัดสิ่งต่าง ๆ เช่น ความสามารถในการทำตลาดและสนาม เพื่อกำหนดจำนวนทีมที่สมาคมจะได้รับโดยเฉพาะ ยิ่งสมาคมมีอันดับสูงขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด ทีมต่าง ๆ จะได้เป็นตัวแทนสมาคมในการแข่งขันมากขึ้น
การแข่งขัน
การแข่งขันอย่างเป็นทางการจะเริ่มด้วยรอบลีกที่มี 24 ทีม ซึ่งแบ่งออกเป็นสองลีก (ตะวันออกและตะวันตก) โดยแต่ละทีมจะต้องเจอกับคู่แข่งแปดทีมจากลีกของตนเอง (เหย้าสี่ทีมและเยือนสี่ทีม)[24] ทีมที่จบแปดอันดับแรกในแต่ละลีกจะเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้าย ในรอบนี้ แต่ละสโมสรจะพบกับสโมสรอื่นจากภูมิภาคเดียวกันในการแข่งขันแบบสองนัดเหย้า-เยือน เพื่อตัดสินว่าแปดสโมสรใดจะเข้าสู่การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศแบบรวมศูนย์[24] หากผลประตูรวมของทั้งสองนัดเสมอกันหลังจาก 180 นาที จะมีการต่อเวลาพิเศษ หากยังเสมอกันหลังช่วงต่อเวลาพิเศษ จะตัดสินด้วยการดวลลูกโทษ การแข่งขันรอบก่อนรองชนะเลิศ, รอบรองชนะเลิศ และนัดชิงชนะเลิศ ทั้งหมดจะมีการจับคู่ข้ามภูมิภาค และจะจัดการแข่งขันแบบนัดเดียวที่สถานที่กลาง[24]
การจัดสรร
มีทีมจาก 24 ประเทศในเอเอฟซีเคยผ่านเข้าสู่รอบลีกของเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกอีลิทแล้ว การจัดสรรทีมตามประเทศสมาชิกมีดังต่อไปนี้ เครื่องหมายดอกจันหมายถึงโอกาสที่ทีมอย่างน้อยหนึ่งทีมตกรอบการคัดเลือกก่อนเข้าสู่รอบลีก มี 32 ประเทศในเอเอฟซีที่มีทีมเข้าร่วมรอบคัดเลือก และไม่แสดงประเทศที่ไม่เคยมีทีมผ่านเข้ารอบลีก
Remove ads
เงินรางวัล

เริ่มตั้งแต่ฤดูกาล 2024–25 การแจกจ่ายเงินรางวัลจะเป็นดังต่อไปนี้:[25]
การตลาด
ผู้สนับสนุน
เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกอีลิทได้รับการสนับสนุนโดยกลุ่มบริษัทข้ามชาติ ซึ่งแตกต่างจากลีกสูงสุดในแต่ละประเทศที่มีผู้สนับสนุนหลักรายเดียว
หุ้นส่วนระดับโลกอย่างเป็นทางการ
- นีอม[26]
- กาตาร์แอร์เวย์[27][28]
- วิสิตซาอุดิ
ผู้สนับสนุนระดับโลกอย่างเป็นทางการ
วิดีโอเกม
ผู้ถือลิขสิทธิ์ปัจจุบันสำหรับวิดีโอเกมเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกอีลิทคือ โคนามิ ซึ่งเป็นเจ้าของวิดีโอเกมชุด อีฟุตบอล[33] ลิขสิทธิ์นี้ยังรวมถึงทีมที่เข้าแข่งขันด้วย
Remove ads
บันทึกและสถิติ
สรุป
มุมมอง
ผลงานแบ่งตามสโมสร
ผลงานแบ่งตามชาติ
ผลงานแบ่งตามภูมิภาค
หมายเหตุ: ไม่รวมสโมสรจากอิสราเอล ผู้ชนะเลิศการแข่งขันในปี 1967, 1969 และ 1971
Remove ads
ดูเพิ่ม
- เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกทู
- เอเอฟซีแชลเลนจ์ลีก
- การแข่งขันฟุตบอลระดับทวีป
- รายชื่อการแข่งขันฟุตบอล
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads