Remove ads
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนีย (อังกฤษ: Oceania Football Confederation, ฝรั่งเศส: Confédération du football d'Océanie) หรือ โอเอฟซี (OFC) เป็นสมาพันธ์ฟุตบอลที่ดูแลการจัดการแข่งขันฟุตบอลในพื้นที่ทวีปโอเชียเนีย โดยสมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนียเป็น 1 ใน 6 สมาคมที่จัดการแข่งขันฟุตบอลทั่วโลกของฟีฟ่า สมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนียก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1966 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองออกแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ สมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนียจัดการแข่งขันภายในทวีปหลายรายการ ที่สำคัญคือ โอเอฟซีเนชันส์คัพ ฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกโซนโอเชียเนีย โอเอฟซีวีเมนส์เนชันส์คัพและโอเอฟซี แชมเปียนส์ลีก ซึ่งผู้ชนะจะได้สิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก
ชื่อย่อ | OFC |
---|---|
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1966 |
ประเภท | องค์กรกีฬา |
สํานักงานใหญ่ | ออกแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ |
ภูมิภาคที่รับผิดชอบ | โอเชียเนีย |
สมาชิก | 13 ชาติสมาชิก (โดยสมบูรณ์ 11 ชาติ) |
ภาษาทางการ | อังกฤษ |
ประธาน | แลมเบิร์ต มัลท็อก |
รองประธาน | Thierry Ariiotima จอห์น คาปี นัตโต ลอร์ด เวเอฮาลา |
เลขาธิการ | Franck Castillo |
องค์กรปกครอง | ฟีฟ่า |
เว็บไซต์ | oceaniafootball.com |
ชาติสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนียเคยเข้าร่วมการแข่งขันรายการฟุตบอลโลก 4 ครั้ง โดยฟุตบอลทีมชาติออสเตรเลียผ่านการคัดเลือกเข้าแข่งขันฟุตบอลโลกในปี ค.ศ. 1974 และ ค.ศ. 2006 และฟุตบอลทีมชาตินิวซีแลนด์ในปี ค.ศ. 1982 และ ค.ศ. 2010 ในกรณีของฟุตบอลทีมชาติออสเตรเลีย แม้จะลาออกจากการเป็นสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนียและเข้าสมัครเป็นสมาชิกใหม่ของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียในปี ค.ศ. 2006 แต่ในขณะนั้นฟุตบอลทีมชาติออสเตรเลียเข้าแข่งขันรอบคัดเลือกในเขตโอเชียเนีย จึงนับได้ว่าการเข้าแข่งขันฟุตบอลโลกในครั้งนั้นมาจากตัวแทนของทวีปโอเชียเนีย
สมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนียเป็นเพียงสมาพันธ์เดียวเท่านั้น ที่ไม่มีโควตาโดยตรงในการเข้าแข่งขันฟุตบอลโลกตามรูปแบบการแบ่งโควตาในปัจจุบัน ฟุตบอลทีมชาติออสเตรเลียเป็นชาติสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนียที่มีผลการแข่งขันดีที่สุดในการแข่งขันฟุตบอลโลก โดยสามารถเข้ารอบ 16 ทีมสุดท้ายในปี ค.ศ. 2006 ส่วนในอีก 3 ครั้งที่เหลือทั้งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ไม่สามารถผ่านเข้าสู่รอบต่อไปได้ ในการแข่งขัน 13 นัดของชาติสมาชิกโอเอฟซี พบว่ามีเพียงนัดเดียวเท่านั้นที่ชาติสมาชิกโอเอฟซีได้รับชัยชนะ คือ ฟุตบอลทีมชาติออสเตรเลียชนะฟุตบอลทีมชาติญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 2006 ด้วยผล 3 – 1 ในขณะที่ฟุตบอลทีมชาตินิวซีแลนด์เป็นเพียงชาติเดียวที่ไม่พ่ายแพ้ต่อฟุตบอลทีมชาติอื่นในการแข่งขันฟุตบอลโลก ค.ศ. 2010 ที่แอฟริกาใต้ โดยเป็นผลเสมอทั้ง 3 นัด
ในส่วนการแข่งขันระดับทวีป ตัวแทนจากฟุตบอลทีมชาตินิวซีแลนด์เป็นผู้ชนะเลิศในการแข่งขันโอเอฟซีเนชันส์คัพ โอเอฟซี แชมเปียนส์ชิพรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปีและโอเอฟซี แชมเปียนส์ชิพรุ่นอายุต่ำกว่า 17 ปี มากกว่า 1 ครั้ง ในส่วนของฟุตบอลหญิง นิวซีแลนด์เป็นผู้ชนะเลิศการแข่งขับระดับทวีปทุกรายการที่สมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนียเป็นผู้จัด อย่างไรก็ตามในส่วนของฟุตซอล เมื่อออสเตรเลียออกจากการเป็นสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนียแล้ว ฟุตซอลทีมชาติหมู่เกาะโซโลมอนกลายมาเป็นทีมชาติที่แข็งแกร่งที่สุดในทวีป โดยเป็นผู้ชนะเลิศการแข่งขันฟุตซอลโอเชียเนียแชมเปียนส์ชิพทุกครั้งนับแต่นั้นมา สำหรับฟุตบอลชายหาด หมู่เกาะโซโลมอนมีโอกาสเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลชายหาดโลก 5 ครั้งติดต่อกัน ในขณะที่ตาฮีติเป็นชาติที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด โดยได้อันดับ 4 ในการแข่งขันปี ค.ศ. 2013
ในการแข่งขันระดับสโมสร สโมสรจากออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เป็นผู้ชนะเลิศการแข่งขันโอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ซึ่งเป็นการแข่งขันระดับสโมสรที่สำคัญที่สุดของภูมิภาคทุกครั้ง ยกเว้นในปี ค.ศ. 2009 – 2010 เมื่อเฮการี ยูไนเต็ดจากประเทศปาปัวนิวกินีชนะการแข่งขันในปีนั้น
รหัส | สมาคม | ทีม | ปีก่อตั้ง | ปีที่เข้าร่วมฟีฟ่าและโอเอฟซี |
---|---|---|---|---|
FIJ | ฟีจี | ฟุตบอลชาย ฟุตบอลหญิง ฟุตซอล ฟุตบอลชายหาด | 1938 | 1963 (ฟีฟ่า), 1966 (โอเอฟซี)[1] |
COK | หมู่เกาะคุก | ฟุตบอลชาย ฟุตบอลหญิง ฟุตซอล ฟุตบอลชายหาด | 1971 | 1994[2] |
SLB | หมู่เกาะโซโลมอน | ฟุตบอลชาย ฟุตบอลหญิง ฟุตซอล ฟุตบอลชายหาด | 1978 | 1988[3] |
NCL | นิวแคลิโดเนีย | ฟุตบอลชาย ฟุตบอลหญิง ฟุตซอล ฟุตบอลชายหาด | 1928 | 2004 (ฟีฟ่า),[4] 1969 (โอเอฟซี) |
NZL | นิวซีแลนด์ | ฟุตบอลชาย ฟุตบอลหญิง ฟุตซอล ฟุตบอลชายหาด | 1891 | 1948 (ฟีฟ่า), 1966 (โอเอฟซี)[5] |
PNG | ปาปัวนิวกินี | ฟุตบอลชาย ฟุตบอลหญิง ฟุตซอล | 1962 | 1963 (ฟีฟ่า), 1966 (โอเอฟซี)[6] |
TAH | ตาฮีตี | ฟุตบอลชาย ฟุตบอลหญิง ฟุตซอล ฟุตบอลชายหาด | 1989 | 1990[7] |
SAM | ซามัว | ฟุตบอลชาย ฟุตบอลหญิง ฟุตซอล | 1968 | 1986[8] |
ASM | อเมริกันซามัว | ฟุตบอลชาย ฟุตบอลหญิง | 1984 | 1998[9] |
TON | ตองงา | ฟุตบอลชาย ฟุตบอลหญิง | 1965 | 1994[10] |
VUT | [[|วานูวาตู]] | ฟุตบอลชาย ฟุตบอลหญิง ฟุตบอลชายหาด | 1934 | 1988[11] |
สมาคมฟุตบอลในทวีปโอเชียเนียเป็นสมาชิกสมทบของสมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนีย 3 ประเทศ โดยที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสมบูรณ์ของสมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนียและสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ จึงมีสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันที่จัดโดยสมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนียเท่านั้น ไม่สามารถเข้าร่วมการแข่งขันที่จัดโดยสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศได้[14]
เหตุการณ์
ตารางต่อไปนี้แสดงถึงตัวแทนโอเอฟซีที่เข้าแข่งขันฟุตบอลโลกหญิง เรียงตามจำนวนครั้งที่เข้าร่วม
อันดับสูงสุดทีมชาติชาย การจัดเรียงคำนวณโดยฟีฟ่า |
— | อันดับสูงสุดทีมชาติหญิง การจัดเรียงคำนวณโดยฟีฟ่า | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
โอเอฟซี | ฟีฟ่า | ชาติ | คะแนน | โอเอฟซี | ฟีฟ่า | ชาติ | คะแนน | |
1 | 148 | นิวซีแลนด์ | 188 | 1 | 16 | นิวซีแลนด์ | 1,839 | |
2 | 162 | ซามัว | 152 | 2 | 49 | ปาปัวนิวกินี | 1,480 | |
3 | 164 | อเมริกันซามัว | 144 | 3 | 85 | ฟีจี | 1,292 | |
4 | 166 | หมู่เกาะคุก | 132 | 4 | 93 | ตองงา | 1,258 | |
5 | 169 | นิวแคลิโดเนีย | 120 | 5 | 94 | นิวแคลิโดเนีย | 1,252 | |
6 | 188 | ตาฮีตี | 60 | 6 | 104 | หมู่เกาะคุก | 1,185 | |
7 | 189 | ฟีจี | 60 | 7 | 113 | หมู่เกาะโซโลมอน | 1,144 | |
8 | 197 | หมู่เกาะโซโลมอน | 33 | 8 | 114 | ซามัว | 1,138 | |
9 | 200 | ตองงา | 17 | 9 | 148** | เฟรนช์พอลินีเชีย | 1,238 | |
10 | 201 | วานูวาตู | 13 | วานูวาตู | 1,139 | |||
11 | 206 | ปาปัวนิวกินี | 4 | อเมริกันซามัว | 1,075 |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.