Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สโมสรฟุตบอลเมืองเลย ยูไนเต็ด (อังกฤษ: Muang Loei United Football Club) เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ตำบลวังสะพุง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ปัจจุบันลงแข่งขันในระดับไทยลีก 3
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลเมืองเลย ยูไนเต็ด Muang Loei United Football Club | ||
---|---|---|---|
ฉายา | นักรบเซไล (Zelai Warrior) | ||
ก่อตั้ง | 2012 ( เทศบาลเมืองวังสะพุง ) 2016 ( เมืองเลย ยูไนเต็ด ) | ||
สนาม | สนามกีฬาร่วมใจมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย | ||
เจ้าของ | บริษัท เมืองเลย ยูไนเต็ด จำกัด | ||
ประธาน | ศิริศักดิ์ ศรีวิไลลักษณ์ | ||
ผู้จัดการ | เดชา บุญรอด | ||
ผู้ฝึกสอน | กิษฐชัย วงศ์สิม | ||
ลีก | ไทยลีก 3 | ||
2566–67 | ไทยลีก 3 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, อันดับที่ 7 | ||
|
โดยสโมสรก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2555 ภายใต้ชื่อว่า สโมสรฟุตบอลเทศบาลเมืองวังสะพุง และเคยสร้างผลงานการเลื่อนชั้น 3 ปีติดต่อกัน ได้แก่ การคว้ารองแชมป์ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง. ประจำปี 2557 ก่อนจะได้อันดับ 3 ในการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ค. ประจำปี 2558 และได้แชมป์ ไทยลีก อเมเจอร์ ทัวร์นาเมนต์ โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในฤดูกาล 2559 จนได้เข้ามาแข่งขันในระดับไทยลีก 4 โดยในปัจจุบันสโมสรเปลี่ยนชื่อเป็น เมืองเลย ยูไนเต็ด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559
สโมสรฟุตบอลเทศบาลเมืองวังสะพุง ส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันในรายการของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยเป็นครั้งแรกในฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง. ประจำปี 2557 ต่อมาในปี 2559 สโมสรได้เปลี่ยนชื่อจาก สโมสรฟุตบอลเทศบาลเมืองวังสะพุง เป็น เมืองเลย ยูไนเต็ด
เมืองเลย ยูไนเต็ด มีฉายาว่า นักรบเซไล โดยคำว่า เซไล เป็นชื่อเมืองเก่าแก่ในอาณาจักรสุโขทัย ยุคของพระมหาธรรมราชาที่ 1 หรือ พระยาลิไท โดยเมืองเซไลก่อตั้งขึ้นโดยชาวโยนกที่อพยพมาจากแคว้นโยนกที่ล่มสลาย ต่อมาได้มีการสันนิษฐานว่าเมืองเซไลในอดีต ปัจจุบันคือบริเวณอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย และเนื่องจากสโมสรมีที่ตั้งอยู่ที่อำเภอวังสะพุง ฉายานักรบเซไล จึงสื่อถึงที่มาและรากเหง้าของชาววังสะพุงที่มาจากชาวเซไล
ส่วนโลโก้ของสโมสรได้มีการออกแบบเป็นรูปนักรบแห่งเมืองเซไลอยู่บนพื้นหลังสีเขียว ด้านบนเป็นรูปพระธาตุศรีสองรัก ซึ่งตามประวัติศาสตร์เป็นสถานที่ที่ร่วมมือกันสร้างระหว่างสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชแห่งอาณาจักรล้านช้าง และสมเด็จพระมหาจักรพรรดิแห่งอาณาจักรอยุธยา เพื่อแสดงถึงความร่วมมือร่วมใจกัน โดยพระธาตุศรีสองรักเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคลของชาวจังหวัดเลย
เลข ค.ศ. 2016 บนโลโก้สโมสรหมายถึง ปีที่สโมสรเปลี่ยนชื่อจาก สโมสรฟุตบอลเทศบาลเมืองวังสะพุง เป็น เมืองเลย ยูไนเต็ด
พิกัด | ที่ตั้ง | สนาม | ความจุ | ปี |
---|---|---|---|---|
17.306066°N 101.770147°E | อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย | สนามกีฬากลางอำเภอวังสะพุง | - | พ.ศ. 2560 |
สนามกีฬาร่วมใจมหาวิทยาลัยราชภัฎเลย | 3,000
ที่นั่ง |
พ.ศ.
2567 |
ฤดูกาล/พ.ศ. | การแข่งขัน | โซน | ผลงาน | ลีกคัพ | เอฟเอคัพ | ลีก 3 คัพ |
---|---|---|---|---|---|---|
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | อันดับที่ 1 | รอบ 16 ทีม | รอบ 64 ทีม | |||
รอบแชมเปี้ยนส์ลีก โซนตอนบน | อันดับที่ 2 | |||||
รอบแชมเปี้ยนส์ลีก รอบระดับประเทศ | อันดับที่ 3 | |||||
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | อันดับที่ 2 | ยกเลิกการแข่งขัน | รอบ 16 ทีม | |||
รอบแชมเปี้ยนส์ลีก โซนตอนบน | อันดับที่ 6 | |||||
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | อันดับที่ 1 | รอบ 16 ทีม | รอบ 32 ทีม | |||
รอบแชมเปี้ยนส์ลีก โซนตอนบน | อันดับที่ 4 | |||||
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | อันดับที่ 6 | รอบคัดเลือกรอบแรก | รอบแรก | |||
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | อันดับที่ 7 | ไม่ได้เข้าร่วม | รอบแรก | รอบคัดเลือกรอบสอง | ||
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | รอบคัดเลือกรอบสอง | |||||
ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | เลื่อนชั้น | ตกชั้น |
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
ชื่อ | สัญชาติ | ตั้งแต่ | ถึง | ความสำเร็จ |
---|---|---|---|---|
บุญโชค กลางประพันธ์ | ไทย | พ.ศ. 2557 | พ.ศ. 2558 | รองแชมป์ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง. ประจำปี 2557 |
ธวัชชัย พลซา | ไทย | 2558 | 2559 | อันดับ 3 ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ค. ประจำปี 2558 |
ยศกร ศิลาเกษ | ไทย | 2559 | ธันวาคม พ.ศ. 2559 | แชมป์ ไทยลีก อเมเจอร์ ทัวร์นาเมนต์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (เลื่อนชั้นสู่ไทยลีก 4) |
จ.ส.อ.แมน จันทนาม | ไทย | มกราคม พ.ศ. 2560 | 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 | |
ธีรพล ทองดี | ไทย | 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 | กันยายน พ.ศ. 2560 | |
ชูศักดิ์ ศรีภูมิ | ไทย | ตุลาคม พ.ศ. 2560 | พ.ศ. 2561 | |
ชำนาญ แพรขุนทด | ไทย | พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 | กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 | แชมป์ ไทยลีก 4 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อันดับที่ 3 รอบแชมเปียนส์ลีก (เลื่อนชั้นสู่ไทยลีก 3) รองแชมป์ ไทยลีก 3 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อันดับที่ 6 รอบแชมเปียนส์ลีก |
ยศกร ศิลาเกษ | ไทย | เมษายน พ.ศ. 2564 | ตุลาคม พ.ศ. 2564 | |
ธีรธาดา จำรัส | ไทย | ตุลาคม พ.ศ. 2564 | เมษายน พ.ศ. 2565 | แชมป์ ไทยลีก 3 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
ปรัชญา สิทธิ | ไทย | กรกฎาคม พ.ศ. 2565 | พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 | |
พิชิตพงษ์ เฉยฉิว | ไทย | พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 | ||
ฤดูกาล | ผู้ทำประตูสูงสุด | สัญชาติ | จำนวนประตูทั้งหมด | จำนวนประตูในลีก | จำนวนประตูในเอฟเอคัพ | จำนวนประตูในลีกคัพ | อื่นๆ | ระดับ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
2559 | นิยม บุญพรม | 3 | 3 | 0 | 0 | 0 | ไทยลีก อเมเจอร์ ทัวร์นาเมนต์ | |
2560 | ดีมีทรี การ์ลอส โซซิมาร์ | 6 | 6 | 0 | 0 | 0 | ไทยลีก 4 | |
2561 | ชาวิน ธีรวัจน์ศรี | 20 | 17 | 1 | 1 | 1 | ||
2562 | วิทยา ธนวัชรสันติ | 17 | 13 | 0 | 3 | 1 | ||
2563–64 | ดียารา ฌูนียอร์ อาบูบาการ์ | 16 | 11 | 4 | 0 | 1 | ไทยลีก 3 | |
2564–65 | อำพร ไชยป้อง | 12 | 11 | 1 | 0 | 0 | ||
2565–66 | อีบราอีม โกนาเร | 9 | 9 | 0 | 0 | 0 | ||
2566–67 | ยายา ซิลลา | 7 | 7 | 0 | 0 | 0 | ||
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.